Family assessment and Home health care

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Palliative Treatment : From Cure to Care
Advertisements

นพ.ก้องภพ สีละพัฒน์ ผู้นิเทศงานปฐมภูมิ
การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร
ธีรนารถ Jan Experiences in GMP Inspection in WHO Vaccine Prequalification Scheme ธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์ กองชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
Patiphak Namahoot Dip. Thai Board of Family Medicine Director of Chumsaeng Hospital.
การอภิปราย หัวข้อ “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและเตรียม ความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนน” นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผอ.กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
การจัดการการดูแล (Care Management) นางอุไลวรรณ์ ไขสังเกต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
การพัฒนาและจัดระบบบริการฯ หัวข้อ : ระบบบริการปฐมภูมิ
การบริหารจัดการข้อมูลความเสี่ยงด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามรอยครู :
(P7S10P1G2) การประชุมถ่ายทอดนโยบายและตัวชี้วัดด้านสาธารณสุข
Patient centered medicine การดูแลผู้ป่วย โดยผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การประเมินผู้ป่วยและครอบครัว ในการดูแลระยะยาว
Overview of Family Medicine
โครงการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) เขตเมืองและเขตชนบท ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการ.
แนวคิดการพัฒนาคุณภาพ การประกันคุณภาพการพยาบาล
Thai Quality Software (TQS)
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
แพทย์หญิง ฐนิตา สมตน เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
Risk Management System
คุณภาพแบบเรียบง่าย ผ่อนคลายด้วย SPA
การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
การประชุมการบริหารยุทธศาสตร์กรมอนามัย ครั้งที่ 4/2559
โครงการ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
ระบบการดูแลระยะยาว (Long Term Care: LTC) เขต 9
ความตระหนักการจัดการคุณภาพ
งานผู้สูงอายุ ตัวชี้วัดหลัก : ตำบลมีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสและการดูแลระยะยาวในชุมชน (Long Term Care) ผ่านเกณฑ์ ตัวชี้วัดรอง.
INHOMESS นพ.นนท์ โสวัณณะ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
Family assessment การประเมินปัญหาสุขภาพครอบครัว
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
รพ.สต.ติดดาว (5 ดาว 5 ดี) สู่ประชาชนสุขภาพดี
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล กองการพยาบาลสาธารณสุข
ประสบการณ์การทำงาน ชื่อ – ชื่อสกุล นายมานะ ครุธาโรจน์
การบริหารและประเมินโครงการ แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
การดูแลผู้สูงอายุพึ่งพิง
แผนบูรณาการพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยผู้สูงอายุ
การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและทิศทางการดำเนินงานควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน โดย ทนุบูรณ์ กองจินดา.
กรอบแนวคิดในการพัฒนา มาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัย
การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน.
รูปธรรมการขับเคลื่อน “รพ.สต.ติดดาว” จ.นครราชสีมา
การควบคุมภายในตามระเบียบ คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔
แผนภูมิและไดอะแกรมการเคลื่อนที่
งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2561
การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 ข้อ 6.
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
การแบ่งส่วนตลาดและการตลาดเป้าหมาย (Market Segmentation and Targeting)
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ภาพรวมของ CLT/PCT (CLT/PCT Profile)
การประเมินสภาวะของผู้สูงอายุ
Family assessment.
UHC : Universal Health Coverage: Achieving Social Protection for All
อ.ดร.พิมพ์ใจอุ่นบ้าน MD.พยาบาลชุมชน เวชปฏิบัติ
บทที่ 6 การควบคุมภายใน.
บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา ๒๕๖๒
Public Health Nursing/Community Health Nursing
พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care: LCT ) จังหวัดกำแพงเพชร
ผลการดำเนินงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบส่งต่อ
ภาพรวมของ CLT/PCT (CLT/PCT Profile)
สร้างเครือข่ายในชุมชน
การประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง เพื่อรับฟังการวิเคราะห์แนวทางวางแผนปฏิบัติงาน และนำเสนอผลการดำเนินงานพื้นที่ดำเนินงาน ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ
Evaluation and Development of Information System for Risk groups for Diabetes in Health Region 4 การประเมินและพัฒนาระบบข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในพื้นที่เขตสุขภาพที่
Working with the families of the Midlife
ผลการดำเนินงาน ER คุณภาพ
ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง
ภาพรวมของ CLT/PCT สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พฤษภาคม 2561.
สมชาย ละอองพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Family assessment and Home health care พ.ญ.บุญกฐิน ธรรมจารีสวัสดิ์ เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลกำแพงเพชร 10/7/2558

Outline ระบบครอบครัว(family system) วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle) แผนภูมิครอบครัว(genogram) ผังครอบครัวตามกาลเวลา(time flow family chart) Home health care Home visit

ครอบครัว สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยาและหมายความรวมถึงลูกด้วย1 1พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ความหมายของครอบครัวในเชิงสหสาขาวิทยา 1) ในแง่ชีววิทยา - กลุ่มคนที่เกี่ยวพันกันทางสายโลหิต เช่น สามี ภรรยา มีบุตร 2) ในแง่กฎหมาย - ชายหญิงจดทะเบียนสมรสกัน มีบุตร บุตรมีสิทธิ์ได้รับมรดกจากบิดามารดา 3) ในแง่สังคม - กลุ่มที่รวมอยู่ในบ้านเดียวกัน อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวพันทางสายโลหิตหรือทางกฎหมายแต่มีปฏิสัมพันธ์กัน ให้ความรักและความเอาใจใส่ต่อกัน มีความปรารถนาดีต่อกัน 4) ในแง่สังคมวิทยา - สถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพสถาบันอื่น ๆ

ประเภทของครอบครัว2 ครัวเรือนประเภทครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ได้แก่ ครัวเรือนที่ประกอบด้วยสามีและภรรยา หรือสามีและ/หรือภรรยา บุตรที่ยังไม่สมรส และ/หรือญาติอื่น ๆ ที่ยังไม่สมรสอาศัยอยู่ด้วย ครัวเรือนประเภทครอบครัวขยาย (Extended Family) แบ่งได้ 3 ชนิด คือ 2.1 ครัวเรือนประเภทครอบครัวย่อย Vertical (Stem) 3.2 ครัวเรือนประเภทครอบครัวรวม Horizontal (Joint) 3.3 ครัวเรือนประเภทครอบครัวผสม Vertical and Horizontal (Stem-Joint) 3. ครัวเรือนที่ไม่มีครอบครัวและญาติ (Unrelated Individuals) ได้แก่ ครัวเรือนที่ประกอบด้วยบุคคลอาศัยอยู่คนเดียว หรืออาศัยอยู่รวมกับบุคคลอื่นที่ไม่มีความสัมพันธ์ฉันญาติ 2 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำมะโนประชากรและเคหะ

ครอบครัวไทยแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบใหญ่ 3 1) ครอบครัวเนื้อแท้ หรือครอบครัวพื้นฐาน (Nuclear or Elementary Family) หรือครอบครัวเบื้องต้น  ประกอบด้วย 2 generation คือ บิดา มารดา และบุตรธิดา แต่ในทางวัฒนธรรมก็จะมีญาติอยู่ด้วย เช่น ในสังคมไทย  บางครอบครัวต้องเลี้ยงบิดามารดาของฝ่ายสามีหรือภรรยา  หรือบางครอบครัวมีพี่หรือน้องของสามีที่ยังเป็นโสดอาศัยอยู่   3สนิท สมัครการ, 2538

ครอบครัวไทยแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบใหญ่ 3 2) ครอบครัวขยาย (Extended or Joint Family) ประกอบด้วยสมาชิก 3 ระดับ คือ  พ่อ แม่ ลูกและปู่ ย่า ตา ยายอยู่ในครอบครัวเดียวกัน  การใช้จ่ายทรัพย์สินในลักษณะของ “กงสี” 3) ครอบครัวผสมหรือครอบครัวซ้อน (Composite or Compound Family) หมายถึง ครอบครัวที่ชายหรือหญิงมีคู่ชีวิตได้มากกว่า 1 คน และนำมาอยู่อาศัยรวมกันในครอบครัวเดียวกัน 4) ครอบครัวสาระ (Essential Family) คือ ครอบครัวที่มีเฉพาะแม่และลูก ๆ พ่อต้องไปหางานทำในเมือง ซึ่งกำลังทวีจำนวนมากขึ้น 3สนิท สมัครการ, 2538

คุณสมบัติของระบบครอบครัว ครอบครัวเป็นระบบเปิดทางสังคมและวัฒนธรรม (Open Socio Cultural System) ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลง (Transformation) ครอบครัวมีการจัดระบบภายในเพื่อความสมดุล (Homeostasis) ครอบครัวมีการสื่อสาร (Communication) ครอบครัวที่มีกฎที่สมาชิกต้องถือปฏิบัติ (Rules of family) ครอบครัวมีขอบเขตของตนเอง (Boundaries)

หน้าที่ของครอบครัว สืบเผ่าพันธุ์ (Reproductive) แสดงออกซึ่งความรัก ความเสน่หาต่อกัน (Sexual expression) เป็นหน้าเป็นตาในสังคม (Socialization) แบ่งบทบาทหน้าที่ต่อกันและกัน (Status:Role,parents) ช่วยกันหารายได้ (Economic cooperation) แสดงความเข้าใจเห็นใจกัน (Emotional satisfaction) เป็นการควบคุมดูแลกันในหน่วยย่อยของสังคม (Social control)

ปัญหาครอบครัว การเลี้ยงดูบุตรอย่างไม่เหมาะสม(Inadequate parenting) การทะเลาะเบาะแว้ง(Quarrel & Conflict) การแต่งงานหรือการหย่าร้าง(Marriage & Divorce) ความเจ็บป่วยหรือพิการทุพพลภาพ(Illness & Disability) ความเศร้าโศกสูญเสียจากการมีสมาชิกครอบครัวใกล้ตาย(Dying & Bereavement)

ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าความร่ำรวยหรือยากจน (Rich & Poverty) การโยกย้ายถิ่นฐานไปก่อร่างสร้างตัวในสถานที่ใหม่ที่ไม่มีรากเหง้าอยู่ (Uprooting) การว่างงาน(Unemployment) ครอบครัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวัยครอบครัว(Family morphogenesis)

ระบบครอบครัว (family system)

ระบบครอบครัว(family system) การเปรียบเทียบระบบครอบครัวกับระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ มีความสัมพันธ์กันทั้งระบบ ดังนั้นจึงต้องเข้าใจระบบทั้งหมดจึงจะสามารถวิเคราะห์โรคของอวัยวะหนึ่งๆ(สมาชิกครอบครัว)ได้ การปรับสภาพให้คงที่(homeostasis)เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ระบบครอบครัวกลับสู่สมดุลเดิม หรือสมดุลใหม่(พฤติกรรมที่จัดระเบียบให้ครอบครัว)

ระบบครอบครัว(family system) 3. ระบบประกอบด้วยส่วนที่มองเห็น(อวัยวะ หรือสมาชิกครอบครัว) และมองไม่เห็น(ฮอร์โมนหรือพฤติกรรมและการสื่อสารภายในครอบครัว) 4. อวัยวะที่แสดงอาการป่วยอาจอยู่ไกลจากอวัยวะที่มีพยาธิสภาพ 5. ระบบมีผู้อาวุโสควบคุมตามขั้นตอน โดยการสั่งงานเปลี่ยนแปลงได้ตามสังขาร

แนวทางการวิเคราะห์ระบบครอบครัว เป็นครอบครัววัยใด(family life cycle) มีใครอยู่บ้าง(family as a system) ปกติอยู่กันอย่างไร มีใครทำอะไรกันบ้าง(family stability or homeostasis) ผู้อาวุโสตามลำดับเป็นใครบ้าง (heirarchy)

แนวทางการวิเคราะห์ระบบครอบครัว 5. มีมุ้งเล็กมุ้งใหญ่อย่างไร (boundaries,alliance,coalition) 6. ความเจ็บป่วยกับครอบครัวมีผลต่อกันอย่างไร(family change,morphogenesis) 7. ครอบครัวมีรูปแบบการแก้ปัญหาที่ผ่านมาอย่างไร ถ่ายทอดข้ามรุ่นหรือไม่(family pattern, family projection process) 8. ใครคือผู้ป่วยแอบแฝงในครอบครัวบ้าง(scapegoat)

ประโยชน์ของการเข้าใจระบบครอบครัว เข้าใจ 4 องค์ประกอบสำคัญในการดูแลระบบครอบครัว คือ ปัญหาที่รอบครัวเผชิญอยู่(stress) วิธีแก้ปัญหาของครอบครัว(coping) แหล่งสนับสนุนของครอบครัว(resources) พฤติกรรมสุขภาพภายในครอบครัว(health behavior)

Outline ระบบครอบครัว(family system) วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle) แผนภูมิครอบครัว(genogram) ผังครอบครัวตามกาลเวลา(time flow family chart) Home health care Home visit

วงจรชีวิตครอบครัวหรือวัยครอบครัว (Family life cycle)

ความสัมพันธ์ของครอบครัวกับชีวิตและสุขภาพ ครอบครัวไม่ใช่เพียงการเอาหลายคนมารวมกัน ครอบครัวมีระเบียบปฏิบัติเพื่อดูแลความเป็นไปของสมาชิกครอบครัว ความเจ็บป่วยรายบุคคลมีผลกระทบต่อทั้งครอบครัว ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆบ่งบอกถึงความเข้มแข็งของครอบครัวนั้นๆ ครอบครัวไทยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยายมักมีคนหลายรุ่น การนับระยะจึงอาจนับจากตัวผู้ป่วยหลักที่ดูแลอยู่

ระยะต่างๆในวงจรชีวิตครอบครัว วงจรชีวิตคน ภารกิจและพฤติกรรม ระยะที่ 1 เริ่มสร้างครอบครัว วัยผู้ใหญ่ตอนต้น สร้างกฎระเบียบใหม่ร่วมกัน ปรับบทบาทใหม่ของแต่ละคน สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คน เริ่มแยกตัวเป็นเอกเทศจากครอบครัวเดิม ระยะที่ 2 ครอบครัวเริ่มมีบุตร ปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกใหม่ ปรับบทบาทของตนเองใหม่ สานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คน ระยะที่ 3 ครอบครัวที่มีบุตรเล็ก เตรียมพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนให้ลูกที่เริ่มโต เตรียมพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนให้คู่ของตน ปรับตัวอยู่ระหว่างความเป็นส่วนตัวของชีวิตคู่และความเป็นครอบครัวเดียวกันกับลูก

ระยะต่างๆในวงจรชีวิตครอบครัว วงจรชีวิตคน ภารกิจและพฤติกรรม ระยะที่ 4 ครอบครัวที่มีบุตรวัยเรียน วัยผู้ใหญ่ตอนต้น สร้างกฎระเบียบใหม่สำหรับบุตรที่โตขึ้นและเริ่มรู้จักสังคม เริ่มแบ่งงานภายในบ้านให้ลูกรับผิดชอบ ระยะที่ 5 ครอบครัวที่มีบุตรวัยรุ่น เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน กำหนดขอบเขตและภาระหน้าที่ที่วัยรุ่นควรมีในบ้าน เตรียมใจกับการแยกตัวของวัยรุ่นรวมถึงการแยกออกจากบ้านในอนาคต ระยะที่ 6 ครอบครัวที่บุตรแยกย้ายออกจากบ้าน วัยกลางคน ปรับตัวกับการหมดบทบาทความรับผิดชอบของ พ่อ-แม่ ลูกแยกออกจากบ้าน รับผิดชอบตนเอง มีแฟน มีคู่ครอง พ่อแม่พี่น้องของตนเองเริ่มเข้าสู่วัยชราและเริ่มเจ็บป่วย อาชีพมั่นคงและประสบผลสำเร็จ ปรับตัวกับความสัมพันธ์กับคู่ครองของตนที่มีมายาวนานและเริ่มชินชา

ระยะต่างๆในวงจรชีวิตครอบครัว วงจรชีวิตคน ภารกิจและพฤติกรรม ระยะที่ 7 ครอบครัวที่อยู่ในวัยเกษียณ เริ่มเข้าวัยชรา ปรับตัวกับภาวะที่ไม่มีงานทำ สร้างความสัมพันธ์และมีบทบาทใหม่กับลูกหลานและคู่ชีวิต ปรับตัวกับความเสื่อมโทรมของสังขารตนเองและคู่ครอง ระยะที่ 8 ครอบครัวที่อยู่ในวัยชรา วัยชรา ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามสังขาร ความเจ็บป่วยของตนเองและคู่ครอง ปรับตัวกับการสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองโดยต้องพึ่งพาลูกหลานมากขึ้น ปรับตัวกับการสูญเสียคู่ชีวิต เพื่อน และสังคมที่ตนเองเคยคุ้นมาตลอดชีวิตเหมือนถูกทิ้งให้อยู่ในโลกใหม่

Outline ระบบครอบครัว(family system) วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle) แผนภูมิครอบครัว(genogram) ผังครอบครัวตามกาลเวลา(time flow family chart) Home health care Home visit

แผนภูมิครอบครัว(genogram)

แผนภูมิครอบครัว คือ วิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลของครอบครัวที่สนใจ ด้วยการวาดผังสัญลักษณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระจ่างชัดในทันทีที่ได้รับข้อมูล

โครงสร้างหลักประกอบด้วย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางกาย โรคทางพันธุกรรม นิสัยและพฤติกรรม ฐานะทางสังคม การศึกษา ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว

สัญลักษณ์ที่ใช้วาดแผนภูมิครอบครัว

การวาดแผนภูมิครอบครัว วาดข้อมูลครอบครัวอย่างน้อย 3 ชั่วอายุคน ใส่ชื่อและอายุ(หรือปีเกิด) ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว ใส่อายุและสาเหตุการตายของสมาชิกในครอบครัว ถ้ามี ระบุโรคหรือปัญหาความเจ็บป่วยที่สำคัญของสมาชิกในครอบครัว วาดวงล้อมรอบสมาชิกที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน พร้อมบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอยู่ที่ตำแหน่งใดของแผนภูมิ ระบุวันที่การแต่งงานหรือหย่าร้างของสมาชิกในครอบครัว เรียงสมาชิกที่เกิดตามลำดับก่อนหลัง จากซ้ายไปขวา ถ้าทราบความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ให้ลากเส้นแสดงลงในแผนภูมิ

การอ่านแผนภูมิครอบครัว องค์ประกอบหลักของครอบครัวนั้นๆ ชีวิตคู่ : หย่าร้าง/แยกกันอยู่, มีการแต่งงานใหม่, มีการนอกใจ บุตร : ลำดับพี่น้อง, ช่วงเวลาที่เกิด, ความคาดหลังของครอบครัว,ทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อเพศของบุตร วัยของครอบครัว ลักษณะที่เกิดซ้ำๆข้ามชั่วอายุ ความสมดุลภายในครอบครัว

ตัวอย่างแผนภูมิครอบครัว บันทึกเมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน 2556 ประวัติจากการบอกเล่าของนาย ส บันทึกโดย พญ.บุญกฐิน ธรรมจารีสวัสดิ์

ข้อดีของแผนภูมิครอบครัว เปิดโอกาสให้ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ช่วยทบทวนเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วยในการพบกันครั้งต่อๆไปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยค้นหาความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว ช่วยให้เข้าใจชีวิตผู้ป่วย เป็นแนวทางให้ช่วยแนะนำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อความเจ็บป่วยที่เป็นลักษณะจำเพาะสำหรับตรอบครัวของผู้ป่วย

ข้อเสียของแผนภูมิครอบครัว เสียเวลา ต้องเลือกโอกาสที่เหมาะสมในการใช้ ข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อนได้เพราะมาจากความคิด ความรู้สึกและความทรงจำของผู้ป่วย

โจทย์ จงวาดgenogram

เฉลย

Outline ระบบครอบครัว(family system) วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle) แผนภูมิครอบครัว(genogram) ผังครอบครัวตามกาลเวลา(time flow family chart) Home health care Home visit

ผังครอบครัวตามกาลเวลา (Time flow family chart)

ผังครอบครัวตามกาลเวลา (Time flow family chart) คือ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญๆของผู้ป่วยและครอบครัวในอดีต ซึ่งรวมทั้งความเจ็บป่วย โรค และเหตุการณ์ทั่วไปที่กระทบต่อความเป็นอยู่หรือความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

การวาดผังครอบครัวตามกาลเวลา ลากเส้นตามแนวนอนแสดงระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี โดย 1 เส้นแสดงช่วงชีวิตของสมาชิกครอบครัว 1 คน แล้วลากเส้นขนาน สำหรับสมาชิกรายอื่นโดยระบุช่วงเวลาให้ตรงกัน ใส่ชื่อและอายุ ของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนกำกับไว้ทางซ้ายสุดของผัง ระบุเหตุการณ์สำคัญๆ หรือวิกฤติการณ์ต่างๆของสมาชิกครอบครัวลงบนผัง รวมทั้งเหตุการณ์ที่มาพบแพทย์ในช่วงต่างๆ

ประโยชน์ของผังครอบครัวตามกาลเวลา ใช้เฝ้าระวังความเจ็บป่วยของสมาชิกครอบครัวในอนาคต ในกรณีที่มีวิกฤติการณ์ซ้ำซากเรื้อรังอยู่ภายในครอบครัว ใช้วางแผนในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่สนใจในระยะยาว ใช้ทำครอบครัวบำบัด สำหรับครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ซึ่งมีผลกระทบต่อความเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวอย่างรุนแรง ใช้ทำจิตบำบัดแก่ผู้ป่วยรายบุคคล

ตัวอย่างผังครอบครัวตามกาลเวลา

ข้อสังเกตุ วาดยาก เพราะต้องมีความสัมพันธ์กับทั้งครอบครัวเป็นระยะเวลานานพอจึงจะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครอบครัวนั้นๆได้

Outline ระบบครอบครัว(family system) วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle) แผนภูมิครอบครัว(genogram) ผังครอบครัวตามกาลเวลา(time flow family chart) Home health care Home visit

Home health care เป็นการจัดบริการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuing care) โดยบุคลากรทางด้านสาธารณะสุข หรือบุคลากรทีมสุขภาพ(สหวิชาชีพ)ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพที่บ้านที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบบริการสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จและองค์รวม(Holistic care) ได้แก่ กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

Home health care บริการที่ให้ต้องเหมาะสมตามความจำเป็นของผู้ป่วยในแต่ละคน และแต่ละครอบครัว กิจกรรมประกอบด้วยการรักษาเบื้องต้น การพยาบาลที่บ้าน การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การเฝ้าระวังติดตามภาวะแทรกซ้อน/ความพิการ การฟื้นฟูสภาพ การดูแลภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลสุขภาพ(Patient-family participation) ตามความต้องการจนสามารถดูแลตนเอง (self care) ได้ตามศักยภาพ

ความต้องการของการดูแลสุขภาพที่บ้าน ผู้รับบริการ – ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ความมั่นใจในการดูแลรักษา ให้ความสนใจและรับฟังปัญหา เก็บความลับ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง ผู้ให้บริการ – ต้องการให้บริการได้ครอบคลุมทั่วถึง ให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ เลือกใช้แบบบันทึกตามความจำเป็น ญาติ/ผู้ดูแล – ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย มีเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ให้บริการที่มีมาตรฐาน

Outline ระบบครอบครัว(family system) วงจรชีวิตครอบครัว(family life cycle) แผนภูมิครอบครัว(genogram) ผังครอบครัวตามกาลเวลา(time flow family chart) Home health care Home visit

การเยี่ยมบ้าน (home visit) รูปแบบการบริการที่เป็นส่วนหนึ่งของการบริการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยทีมบุคลากรทางสาธารณสุขจะออกไปเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน อาจไปเยี่ยมครั้งแรกเพื่อประเมินสภาพความเจ็บป่วยของผู้ป่วยและครอบครัว หลังจากนั้นอาจจะกลับไปเป็นระยะๆ เมื่อผู้ป่วยหรือทีมต้องการ

การเยี่ยมบ้าน(home visit) ไม่ได้ไปเยี่ยมหมดทุกบ้าน ไม่ได้ไปเยี่ยมเพื่อสำรวจทะเบียนราษฎร์ ไม่ได้ไปตรวจเยี่ยมความสะอาด ไม่ได้ไปแจกยาหรือผลิตภัณฑ์ฟรีให้ผู้ป่วย ไม่ได้ไปเยี่ยมเพื่อเป็นบุญคุณ

วัตถุประสงค์การเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจและสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพที่บ้านได้ เพื่อให้ญาติรู้วิธีในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่บ้าน และร่วมดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินทั้งโรค(disease)และความเจ็บป่วย(illness) ที่แท้จริงของผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุม

วัตถุประสงค์การเยี่ยมบ้าน 4. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำความรู้จักและสานต่อความสัมพันธ์อันดีกับผู้ป่วยและญาติในระยะยาว 5. เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินภาวะความเสี่ยงต่างๆต่อสุขภาพของครอบครัวนั้นๆ และหาแนวทางที่จะลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น สามารถโน้มน้าวหรือแนะนำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและญาติมีความศรัทธาต่อแพทย์และทีมงานนั้นๆมานานพอ

ประเภทของการเยี่ยมบ้าน เยี่ยมบ้านคนป่วย เยี่ยมบ้านคนใกล้ตาย เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ เยี่ยมบ้านเพื่อติดตามผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล

ทำอย่างไรเมื่อจะไปเยี่ยมบ้าน ต้องวางแผนร่วมกับทีมงาน(plan) แม่นยำในหลักการ(medical management) ไม่ระรานความสงบสุข(identification of patient’s need) ขจัดทุกข์ให้เป็นระยะๆ(continuing patient-centre care) พบปะเมื่อต้องการ(participation and family conference)

ทำอย่างไรเมื่อจะไปเยี่ยมบ้าน อย่าอยู่นานถ้าไม่จำเป็น(evaluation of quality of care) เน้นสร้างเสริมและป้องกัน (risk evaluation and health promotion) พลิกผันตามสถานการณ์ (reassessment of care plan) ร่วมประสานกันเป็นทีม(teamwork)

ขั้นตอนการเยี่ยมบ้าน Previsit เลือกผู้ป่วย เตรียมความรู้ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ Visit สำรวจข้อมูลสุขภาพครอบครัว ประเมินสภาวะสุขภาพครอบครัว ให้บริการสุขภาพ Postvisit วางแผนการดูแลต่อเนื่อง

กระเป๋าเยี่ยมบ้าน แฟ้มประวัติผู้ป่วยและญาติ ใบสั่งยา แผนที่บ้านและเบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง ชุดเครื่องมือตรวจหูและตา ปรอทวัดไข้ ไม้กดลิ้น สำลี แอลกอฮอล์ ชุดทำแผล ถุงมือ กระป๋องเก็บ specimen Urine dipsticks เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา แผ่นพับสุขศึกษา ถุงใส่ขยะ

เครื่องมือในการเยี่ยมบ้าน IN-HOME-SSS Immobility Nutrition Housing Other people Medications Examinations Safety Spiritual health Servives

Immobility Basic activity of daily living (Basic ADL) Barthel Index of Activity of daily living Intermediate / Instrumental activities of daily living (IADL) Lawton’s IADL

Barthel’s Index แบ่งการประเมินออกเป็น 10 ด้าน (คะแนนเต็ม 20 คะแนน)

1. feeding (รับประทานอาหารเมื่อเตรียมสำรับไว้ให้เรียบร้อยต่อหน้า) 0 ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ ต้องมีคนป้อนให้ 5 ตักอาหารเองได้ แต่ต้องมีคนช่วย 10 ตักอาหารและช่วยตัวเองได้เป็นปกติ 2. Grooming (ล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด ในระยะ 24-48 ชั่วโมงที่ผ่านมา) 0 ต้องการความช่วยเหลือ 5 ทำได้เอง (รวมทั้งที่ทำได้เองถ้าเตรียมอุปกรณ์ไว้ให้) 3. transfer ( ลุกนั่งจากที่นอน หรือจากเตียงไปยังเก้าอี้ ) 0 ไม่สามารถนั่งได้ หรือต้องใช้คนสองคนช่วยกันยกขึ้น 5 ต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก จึงจะนั่งได้ เช่น ต้องใช้คนที่แข็งแรงหรือคนที่มี ทักษะ 1 คน หรือใช้คนทั่วไป 2 คนพยุง หรือดันขึ้นมาจึงนั่งได้ 10 ต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น บอกให้ทำตาม หรือช่วยพยุงเล็กน้อย หรือต้องมีคน ดูแลเพื่อความปลอดภัย 15 ทำได้เอง

4. Toilet use (ใช้ห้องสุขา ) 0 ช่วยตัวเองไม่ได้ 5 ทำเองได้บ้าง (อย่างน้อยทำความสะอาดตัวเองได้หลังจากเสร็จธุระ) แต่ต้องการ ความช่วยเหลือบ้างในบางสิ่ง 10 ช่วยเหลือตัวเองได้ดี (ขึ้นนั่งและลงจากโถส้วมได้เอง ทำความสะอาดได้เรียบร้อย หลังจากเสร็จธุระ ถอดเสื้อผ้าได้เรียบร้อย) 5. Mobility (การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน) 0 เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้ 5 ต้องใช้รถเข็นช่วยตัวเองให้เคลื่อนที่ได้เอง และจะต้องเข้าออกมุมห้องหรือประตูได้ 10 เดินหรือเคลื่อนที่โดยมีคนช่วย เช่น พยุง หรือบอกให้ทำตาม หรือต้องให้ ความสนใจดูแลเพื่อความปลอดภัย 15 เดินหรือเคลื่อนที่ได้เอง

6. Dressing ( การสวมใส่เสื้อผ้า ) 0 ต้องมีคนสวมใส่ให้ ช่วยตนเองแทบไม่ได้หรือได้น้อย 5 ช่วยตนเองได้ร้อยละ 50 ที่เหลือต้องมีคนช่วย 10 ช่วยตัวเองได้ดี (รวมทั้งการติดกระดุม รูดซิบหรือใช้เสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้ เหมาะสมก็ได้) 7. Stairs ( การขึ้นบันได ) 0 ไม่สามารถทำได้ 5 ต้องการคนช่วย 10 ขึ้นลงได้เอง ( ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย ) 8. Bathing ( การอาบน้ำ ) 0 ต้องมีคนช่วย หรือทำให้ 5 อาบน้ำได้เอง 9. Bowels (การกลั้นการถ่ายอุจจาระในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา) 0 กลั้นไม่ได้ หรือต้องการการสวนอุจจาระอยู่เสมอ 5 กลั้นไม่ได้เป็นบางครั้ง (เป็นน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์) 10 กลั้นได้ปกติ 10. Bladder (การกลั้นปัสสาวะในระยะ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา) 0 กลั้นไม่ได้ หรือต้องใส่สายสวนปัสสาวะ แต่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ 5 กลั้นไม่ได้เป็นบางครั้ง (เป็นน้อยกว่าวันละ 1 ครั้ง)

เกณฑ์ระดับความรุนแรง ของ Barthel ADL Index 0 ‐ 4 = total dependence 5‐8 = severe dependence 9‐11 = moderate severe dependence 12+ = mildly severe dependence

Lawton’s IADL 1. ซื้อของ 2. ทำอาหาร 3. ทำความสะอาดบ้าน 4. ใช้โทรศัพท์ Independent (2) Assistance required (1) Dependent (0) 1. ซื้อของ 2. ทำอาหาร 3. ทำความสะอาดบ้าน 4. ใช้โทรศัพท์ 5. ขึ้นรถ 6. รับประทานยา 7. การบริหารเงิน

Lawton’s IADL แปลผล 0-4 = ช่วยเหลือตนเองได้น้อย 5-8 = ช่วยเหลือตนเองได้ปานกลาง 9-14 = ช่วยเหลือตนเองได้มาก

Nutrition ประเมินภาวะโภชนาการ อาหารโปรด วิธีเตรียมอาหาร วิธีเก็บอาหาร ปริมาณที่กิน นิสัยการกิน

Housing ภายในบ้าน : แออัด โปร่งสบาย สะอาด รอบบ้าน : มีบริเวณหรือไม่ รอบบ้านเป็นอย่างไร รั้วรอบขอบชิด/ทะลุถึงกันกับเพื่อนบ้าน เพื่อนบ้าน : เป็นใคร ลักษณะอย่างไร ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างไร

Other people ภาระหน้าที่ของสมาชิกในบ้าน/ต่อผู้ป่วย

Medications แท้จริงผู้ป่วยกินยาอะไรบ้าง วิธีการจัดการยาแต่ละมื้อ สมุนไพร อาหารเสริม ยาหม้อ ยาพระและอื่นๆ

Examinations ตรวจร่างกายและประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำภารกิจประจำวันได้มากน้อยเพียงใดที่บ้าน

Safety ประเมินสภาพความปลอดภัยภายในบ้าน

Spiritual health ประเมินความเชื่อ ค่านิยมของคนในบ้าน

Servives เข้าใจบริการการดูแลสุขภาพว่ามีอะไรบ้าง

Reference สายพิณ หัตถีรัตน์และคณะ.คู่มือหมอครอบครัว ฉบับสมบูรณ์,สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน กรุงเทพฯ.2549 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.คู่มือการดูแลสุขภาพที่บ้าน(Home health care) http://med.mahidol.ac.th http://www.socialwarning.m-society.go.th/risk/5.html