หัวข้อเนื้อหา บทที่ 1 บทนำ (ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น) การนำฐานข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญของระบบฐานข้อมูลต่อการบริหารและการตัดสินใจ.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
System Requirement Collection (2)
Advertisements

บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
อ. สิริพร มีนะนันทน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานขาย
Entity-Relationship Model E-R Model
วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
บทที่ 1 ความหมายและแนวคิดของการวิจัยการตลาด
LOGO แนวคิดเกี่ยวกับระบบ สารสนเทศ นางสาวกนกรัตน์ นพ โสภณ SMET
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การจัดเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลธรรมดา นั้น อาจจำเป็นที่ใช้แต่ละคน จะต้องมีแฟ้มข้อมูลของตนไว้เป็นส่วนตัว จึง อาจเป็นเหตุให้มีการเก็บข้อมูล ชนิดเดียวกันไว้หลาย.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การอุดหนุน งบประมาณ ให้แก่ สถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
รายชื่อกลุ่ม 1.นางสาว ศลัญญากรณ์ ศิลป์มณีโชค (พลอย) ปวส. 2/6 รหัส สาขาโลจิสติกส์ 2.นางสาว พรพรรณ หมอนสวัสดิ์ (มุก) ปวส. 2/6 รหัส สาขาโลจิสติกส์
เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงงาน(Project) เรื่อง ระบบร้านเช่าหนังสือออนไลน์
Material requirements planning (MRP) systems
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
บทสรุป ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
บทที่ 1 สถาปัตยกรรมของระบบฐานข้อมูล (Database Architecture)
บทที่ 5 การประมวลผลรายการค้า
บทที่ 11 วงจรรายจ่าย.
อยู่ระหว่างดำเนินการ
การจัดหาพัสดุในส่วนของรายจ่ายลงทุนในภาพรวม ประจำเดือนมิถุนายน 2561
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
Strategy Map สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร12
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 1 ระบบสารสนเทศ (Information System)
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
บทที่ 3 แฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
บทที่ 5 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
บทที่ 8 การควบคุมระบบสารสนเทศทางการบัญชี : การควบคุมเฉพาะระบบงาน
การจัดการข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
กลุ่มเกษตรกร.
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูล วัตถุเสพติดของกลาง (ระยะที่1)
บริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จำกัด
บทสรุป ระดับของข้อมูล มีการจัดแบ่งระดับของข้อมูลเป็น 3 ระดับ
อาจารย์ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ วท.ม.,วท.บ.เกียรตินิยมอันดับ1
วิชา พฤติกรรมผู้บริโภค
Integrated Information Technology
SMS News Distribute Service
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ต้นทุน-ปริมาณ-กำไร
ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ.
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
บทที่ 10 วงจรรายได้.
Supply Chain Management
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
การขายและการตลาดสำหรับธุรกิจโรงแรมและที่พัก
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

หัวข้อเนื้อหา บทที่ 1 บทนำ (ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น) การนำฐานข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ข้อมูลและสารสนเทศ ความสำคัญของระบบฐานข้อมูลต่อการบริหารและการตัดสินใจ โครงสร้างข้อมูล คุณสมบัติของข้อมูล การศึกษาถึงผลกระทบของการใช้ระบบข้อมูลในการบริหารและการ ตัดสินใจ วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูล ประเภทของฐานข้อมูล

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้ว เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายการใช้งานทั่วๆไปของระบบฐานข้อมูลได้ 2. วิเคราะห์ข้อแตกต่างของแต่ละประเภทฐานข้อมูลได้ 3. อธิบายถึงคุณสมบัติและปัญหาของระบบแฟ้มข้อมูลได้ 4. เข้าใจถึงความหมายของระบบฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูลได้ 5. อธิบายประวัติของการพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลได้ 6. จำแนกความแตกต่างระหว่างระบบการประมวลผลฐานข้อมูลกับระบบการ ประมวลผลแฟ้มข้อมูลแบบเดิมได้ 7. วิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของระบบการประมวลผลฐานข้อมูลกับระบบการ ประมวลผลแฟ้มข้อมูลแบบเดิมได้

คำสำคัญ ระบบฐานข้อมูล: Database System ระบบแฟ้มข้อมูล: File-based System ระบบการจัดการฐานข้อมูล: Database Management System (DBMS) ข้อมูล: Data ข้อมูลดิบ: Raw Data สารสนเทศ: Information การประมวลผลข้อมูล: Data Processing การวิเคราะห์ข้อมูล: Data Analysis รายการข้อมูล: Transaction

ระบบฐานข้อมูล (Database System) ฐานข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะระบบงานที่มีการ ประมวลผลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปการดำเนินงานต่างๆ ในแต่ละวันล้วนมีความสัมพันธ์ กับระบบฐานข้อมูลทั้งสิ้น เช่น การซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ จะมีการเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยมีการ ตรวจสอบรายการสินค้าที่อ่านผ่านทาง เครื่องอ่าน Bar Code ในแต่ละรายการที่มีการซื้อสินค้า โปรแกรมประยุกต์ฐานข้อมูล (database application program) จะทำการตรวจสอบการอ่านของ เครื่องอ่าน Bar Code และค้นหาราคาของแต่ละรายการสินค้าจากฐานข้อมูล จากนั้นโปรแกรมจะ ดำเนินงานตามที่กำหนด ได้แก่ คิดราคารายการขายสินค้า ตัดยอดรายการสินค้าที่ขายจากข้อมูล สินค้า การติดต่อกับธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการทำรายการข้อมูลต่างๆ เช่นการทำรายการข้อมูลที่ เกี่ยวข้องกับสมุดเงินฝาก ได้แก่ การฝาก การถอนเงิน การตรวจสอบยอดเงิน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็น ได้ว่าฐานข้อมูลได้เข้ามามีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันแทบทั้งสิ้น และนอกจากนั้น ฐานข้อมูลยังมีบทบาทที่สำคัญอย่างสูงในการประกอบการด้านธุรกิจ เนื่องจากผู้ใช้สามารถนำข้อมูล ที่จัดเก็บภายในฐานข้อมูล มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ และการวางแผน ในการดำเนินกิจการของ ธุรกิจ

1. การนำฐานข้อมูลมาประยุกต์ใช้ โดยทั่วไปรายการข้อมูลส่วนใหญ่ที่ถูกจัดเก็บและเรียกใช้ในฐานข้อมูล จะอยู่ในรูปของข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลข ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ ฐานข้อมูลแบบเดิม (traditional database applications) แต่ในปัจจุบัน วิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้า ก่อให้เกิดการ พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในโปรแกรมประยุกต์ใหม่ๆ เช่น การนำฐานข้อมูลมาจัดเก็บข้อมูลบน Social Network การนำฐานข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้า การนำฐานข้อมูลมาจัดเก็บภาพเพื่อสะดวกในการค้นคืน การนำฐานข้อมูลมาจัดเก็บแผนที่เพื่อใช้ในการนำทาง (Navigation)

2. ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (Raw Data) คือ ข้อเท็จจริง (Fact) หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับ ว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการ คำนวณ สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านขบวนการประมวลผล (Processing) โดยแสดงในรูปแบบที่เหมาะสมต่อความเข้าใจ และ ความต้องการของผู้ใช้ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูลหรือ ข้อเท็จจริงที่ได้มาประมวลผล สาระ + สนเทศ

2. ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล (Raw Data) สารสนเทศ (Information)

3. ความสำคัญของระบบข้อมูลต่อการบริหารและการตัดสินใจ 1.สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะในกรณีที่ องค์กรมีงานประจำที่ต้องทำเป็นประจำทุกๆวัน และงานนั้นมี ปริมาณจำนวนมาก การนำระบบข้อมูลเข้ามาช่วยจะสามารถ ประเมินผลได้ว่าควรจัดการระบบงานอย่างไร เพื่อช่วยในการลด ปริมาณงาน และลดความซ้ำซ้อนของงานที่ดำเนินการ 2.สามารถเพิ่มผลผลิต (Productivity) ในกรณีที่องค์กรนำระบบ ข้อมูลเข้ามาช่วยในการดำเนินงานจะช่วยควบคุมการทำงานของการ ผลิต จะช่วยเพิ่มผลผลิต และสามารถสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน กับคู่แข่งได้

3. ความสำคัญของระบบข้อมูลต่อการบริหารและการตัดสินใจ 3.สามารถสร้างโอกาสทางการตลาด ในกรณีที่ผู้บริหารนำระบบข้อมูล เข้ามาช่วยในการบริหารและการตัดสินใจ ระบบข้อมูลอาจจะช่วยสร้าง แบบจำลองข้อมูลในเรื่องการสร้างความโดดเด่นและความแตกต่างของ ผลิตภัณฑ์จากบริษัทคู่แข่งได้ 4.สามารถเพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินการของ องค์กรต่างๆ ต่างมุ่งหวังในการบริการให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจในระบบงาน หรือการบริการ ดังนั้นการนำระบบข้อมูลเข้ามาช่วยในการอำนวยความ สะดวกในการติดต่อลูกค้า เช่น ในธุรกิจการบิน สามารถให้ลูกค้า สอบถามตารางเวลาเที่ยวบิน จองตั๋วเครื่องบินผ่านทางโทรศัพท์ หรือเว็บ ได้ เป็นต้น

4. โครงสร้างของข้อมูล (Data Structure)

5. คุณสมบัติของข้อมูล

6. การศึกษาถึงผลกระทบของการใช้ระบบข้อมูล ในการบริหารและการตัดสินใจ 1. ระบบการจ่ายเงินเดือน (payroll system) สามารถช่วยประมาณ การจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานได้ เนื่องจากในระบบการจ่ายเงินเดือน เป็นระบบงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีเงินเดือน ซึ่งสามารถแยกประเภทของ บัญชีได้หลายประเภทด้วยกัน คือ บัญชีแบบค่าจ้างรายเดือน ใช้ในการ จ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานแบบรายเดือน บัญชีแบบค่าจ้างรายวัน 2. ระบบใบสั่งซื้อและการออกบิล (order processing & billing) สามารถช่วยในการตรวจสอบรายการสินค้าที่มีปริมาณการสั่งซื้อ บ่อยครั้งหรือรายการที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยๆได้ เพื่อองค์กรได้จัดเตรียม สินค้าไว้บริการหรือจำหน่ายได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

6. การศึกษาถึงผลกระทบของการใช้ระบบข้อมูล ในการบริหารและการตัดสินใจ 3. ระบบบัญชีพัสดุ (inventory system) สามารถช่วยในการ คำนวณจำนวนสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า เพื่อให้สินค้ามีจำนวน เพียงพอต่อการจำหน่าย สามารถทราบปริมาณและประเภทของ สินค้าที่มีอยู่ในคลัง และนำมาเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจใน การบริหารสินค้าในคลัง และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง

7. วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล 1. ระบบการทำงานโดยใช้คนเป็นหลัก 2. ระบบแฟ้มข้อมูล 3. ระบบฐานข้อมูล

7. วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล ระบบแฟ้มข้อมูล

7. วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล ข้อจำกัดของระบบแฟ้มข้อมูล ความสามารถในการควบคุมความซ้ำซ้อนของข้อมูล (controlled redundancy) ความมั่นคงของข้อมูล (consistent data) ความสามารถในการการแชร์ข้อมูลร่วมกัน (data sharing) มาตรฐานในการจัดการกับข้อมูล (standard of data) ความเป็นอิสระของข้อมูล (data independence) การบำรุงรักษาข้อมูล (data maintenance) ความปลอดภัยของข้อมูล (data security)

7. วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล จากข้อจำกัดของระบบแฟ้มข้อมูล (database system) จึงมีการ พัฒนามาสู่แนวความคิดในการพัฒนาการจัดการกับข้อมูล ให้มีความ สะดวก และ มีประสิทธิภาพ เพื่อกำจัดปัญหาที่เกิดจากระบบ แฟ้มข้อมูล โดยทำการรวบรวมข้อมูลที่ใช้งานทั้งหมดที่มี ความสัมพันธ์กันมารวมกัน และทำการจัดเก็บไว้ที่เดียวกัน ที่เรียกว่า ฐานข้อมูล

7. วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล

7. วิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล

8. ประเภทของฐานข้อมูล 1. ฐานข้อมูลแบบส่วนกลาง ฐานข้อมูลแบบไคล์แอนท์ เซิรฟเวอร์ (Client-Server) ลูกข่าย - แม่ข่าย ฐานข้อมูลแแบบส่วนกลาง

8. ประเภทของฐานข้อมูล 2. ฐานข้อมูลแบบกระจาย

8. ประเภทของฐานข้อมูล 2. ฐานข้อมูลแบบกระจาย

สรุป ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ที่มีระบบการจัดการ ฐานข้อมูล (DBMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างและจัดการบริหาร ฐานข้อมูล โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อช่วยใน การบำรุงรักษาและช่วยจัดการกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ โดยก่อนที่จะ พัฒนามาเป็นระบบฐานข้อมูลนั้นแรกเริ่มของการวิวัฒนาการของการ จัดการข้อมูลจะใช้ระบบแฟ้มข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในองค์กร ซึ่งระบบ แฟ้มข้อมูล คือ กลุ่มของโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ โดยทั่วๆไปที่ใช้ในการออกรายงาน โดยแต่ละโปรแกรมต่างก็ทำการ กำหนดและจัดการข้อมูลที่ใช้ในแต่ละโปรแกรมประยุกต์เอง ซึ่งก่อให้เกิด ข้อจำกัดของระบบแฟ้มข้อมูลไม่ว่าจะเป็นความซ้ำซ้อนของข้อมูลหรือ ความไม่สอดคล้องของข้อมูล จึงได้พัฒนามาเป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อ จัดการกับปัญหาที่เกิดจากระบบแฟ้มข้อมูล

คำถามทบทวน 1. จงยกตัวอย่างของระบบฐานข้อมูลที่พบในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง 2. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ 2.1 ข้อมูล (data) 2.2 สารสนเทศ 2.3 ฐานข้อมูล (database) 2.4 ระบบการจัดการฐานข้อมูล 3. จงกำหนดความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และสารสนเทศ 4. จงบรรยายถึงวิวัฒนาการของระบบฐานข้อมูล 5. คุณสมบัติของระบบฐานข้อมูล และระบบแฟ้มข้อมูล คืออะไร 6. ข้อจำกัดของระบบแฟ้มข้อมูลมีอะไรบ้าง 7. องค์ประกอบหลักของระบบการจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วยอะไรบ้าง 8. จงให้เหตุผลของการปฎิรูปจากระบบงานที่ใช้คนเป็นหลัก มาเป็นระบบแฟ้มข้อมูล 9. จงให้เหตุผลว่า ทำไมฐานข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อองค์กร ในปัจจุบัน 10. จงวิเคราะห์ถึงความแตกต่างระหว่างฐานข้อมูลแบบส่วนกลาง และฐานข้อมูลแบบกระจาย