งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรียงความ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรียงความ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรียงความ

2 **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน**
ความหมาย เรียงความ คือ ข้อความหลายย่อหน้า ประกอบด้วย ๑. ชื่อเรื่อง ๒. ย่อหน้าคำนำ (ทำหน้าที่นำเรื่อง) ๓. ย่อหน้าเนื้อเรื่อง (ทำหน้าที่ขยายใจความของเรื่อง) (มีได้หลายย่อหน้า แล้วแต่เนื้อเรื่อง) ๔. ย่อหน้าสรุป (ทำหน้าที่ปิดเรื่อง) **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน**

3 หลักการเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องไกลตัว
เป็นเรื่องที่ค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวกและกว้างขวาง เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นได้กว้างขวาง เป็นเรื่องที่มีขอบเขตพอสมควร ไม่กว้างหรือแคบเกินไป

4 หลักการตั้งชื่อเรื่อง (ต่อ)
ชื่อเรื่องควรเป็นกลุ่มคำหรือประโยค เพื่อจำกัดขอบเขตของเรื่องได้ชัดเจน ชื่อเรื่องควรชี้บอกแนวทางของเรื่องว่าจะเน้นหนักในทำนองใด จะเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น หรือข้อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก

5 ต้องกระชับ รัดกุม ครอบคลุม เข้าใจง่าย น่าสนใจ
หลักการตั้งชื่อเรื่อง (ต่อ) ชื่อเรื่องต้องครอบคลุมสาระสำคัญของเรื่องให้ได้มากที่สุด เช่น เรื่อง ปุ๋ยเคมีในด้านส่วนดีและส่วนเสียและวิธีใช้ที่ถูกต้อง ควรใช้ชื่อว่า การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ ชื่อเรื่องควรใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาที่กระชับรัดกุม และเข้าใจง่าย **ชื่อเรื่อง** ต้องกระชับ รัดกุม ครอบคลุม เข้าใจง่าย น่าสนใจ

6 ย่อหน้าคำนำ ย่อหน้าคำนำ มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับข้อความหนึ่งย่อหน้าทั่วไป คือ มีเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ ซึ่งปรากฏในรูปประโยคใจความสำคัญ ประโยคประกอบ หรือประโยคประกอบย่อย

7 ย่อหน้าคำนำ(ต่อ) เกริ่นเรื่อง คือนำผู้อ่านเข้าสู่เรื่องทันที
ชี้ให้เห็นแนวทางของเรื่องทั้งหมด คือ เมื่ออ่านคำนำต้องพอทราบว่าสาระสำคัญของเนื้อเรื่องจะดำเนินไปในทำนองใด เร้าใจให้ติดตามอ่านเนื้อเรื่อง

8 ย่อหน้าคำนำ(ต่อ) คำนำต้องไม่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง
คำนำไม่ใช่บัญชีสาระสำคัญของเรื่อง คำนำมีความยาวน้อยกว่าย่อหน้าทั่วไป

9 วิธีการเขียนย่อหน้าคำนำ
การเขียนย่อหน้า ทำได้หลายวิธี ดังนี้ เน้นใจความสำคัญของเรื่อง ให้คำจำกัดความ ให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญ อ้างถึงประสบการณ์ส่วนตัว ตั้งปัญหาแล้วแสดงความมุ่งหมาย ที่จะไขปัญหานั้น

10 การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้ **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน
๑.ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ ๒. ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ๓. ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย ๔. อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะ และเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้ **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน

11 ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนคำนำ
เริ่มต้นไกลจากเรื่องเกินไป เช่น คำนำเรื่องสหประชาชาติ ไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงความล้มเหลวของสันนิบาตชาติ ใช้คำออกตัว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวในทำนองว่า - ในฐานะที่เพิ่งเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้าพเจ้าเกรงว่าเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้อาจไม่มีคุณค่าเท่าที่ควร - ก่อนที่จะเขียนเรียบเรียงเรื่องนี้ข้าพเจ้าคิดว่าคงจะมีโอกาสได้ค้นคว้าหนังสือในห้องสมุดเพียงพอ แต่พอลงมือเขียนเข้าจริงกลับหาหนังสืออ่านไม่ได้

12 ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนคำนำ
ลงความเห็นกว้างเกินไป ควรใช้คำนำที่กระชับรัดกุม คำกล่าวที่เป็นความจริงในตัวเองอยู่แล้ว เช่น เป็นที่กล่าวกันว่าสิ่งที่แน่นอนในชีวิตมนุษย์มีอย่างเดียวเท่านั้น คือ ความไม่แน่นอน

13 การวางโครงเรื่องในการเขียนเนื้อเรื่อง
เป็นการวางลำดับเนื้อหาของเนื้อเรื่องในแต่ละย่อหน้า เช่น ๑ ๕ ฯลฯ ***เป็นหลักสำคัญที่จะทำให้การเขียนไม่หลงทาง*** เป็นสิ่งเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างย่อหน้าคำนำ และส่งต่อไปยังย่อหน้าสรุปที่สอดคล้องชัดเจน

14 **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน**
เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้ **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน**

15 **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน**
การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้ ๑. ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ ๒.ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ ๓. เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ **ใช้ภาษาระดับทางการในการเขียน**

16 ย่อหน้าสรุป เป็นข้อความปิดเรื่อง คือพออ่านสรุปจบผู้อ่านจะรู้สึกว่าเรื่องนั้นจบจริงๆ ไม่อาจต่อไปได้อีก เป็นเสมือนกุญแจไขความทั้งหมดให้แจ่มแจ้ง คือ ขณะที่อ่านเนื้อเรื่องตลอดมานั้น ผู้อ่านยังไม่ทราบซึ้งเรื่องอย่างแท้จริง จะรู้สึกดังกล่าวต่อเมื่ออ่านสรุปจบ ก่อให้เกิดข้อคิดประการสำคัญอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้อ่าน โดยมากสรุปมักจบด้วยสุภาษิต คำคม หรือคำประพันธ์ สรุปไม่ใช่ใจความย่อของเนื้อเรื่อง สรุปมีความยาวไล่เลี่ยกับคำนำ

17 วิธีการเขียนย่อหน้าสรุป
วิธีเขียนย่อหน้าสรุป การเขียนย่อหน้าสรุปอาจทำได้ดังนี้ แสดงความคิดรวบยอดหรือความคิดประการสำคัญที่สุด ให้ข้อเสนอแนะที่แน่นอน ควรเน้นข้อเสนอแนะให้ชัดแจ้ง ย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าคำนำ ใช้คำถาม คำพังเพย สุภาษิต หรือคำประพันธ์ที่สัมพันธ์กับเรื่อง

18 ข้อควรหลีกเลี่ยงในการเขียนสรุป
ขออภัยต่อผู้อ่านเกี่ยวกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ เวลาเขียนหรือค้นคว้าไม่พอ เสนอประเด็นสำคัญอย่างอื่นเพิ่มขึ้น ไม่ให้ความกระจ่างเพียงพอ “คำคม” ***ย่อหน้าคำนำ+ย่อหน้าสรุป*** “เปิด – เป็น และ ปิด – ตาย “ หรือ เปิด – เป็น และ ปิด – เป็น”

19 เรียงความเรื่อง ทำอย่างไร จะพูดได้เต็มปากว่า
“เรารักในหลวง”

20 เรียงความเรื่อง ทำอย่างไร จะพูดได้เต็มปากว่า
“เรารักในหลวง” พูดได้เต็มปาก หมายถึง ว. ใช้ประกอบกริยาพูดหรือกล่าว พูดได้สนิทปาก, พูดได้อย่างไม่กระดากปาก ไม่อ้อมแอ้ม, บางทีก็ใช้ว่า เต็มปากเต็มคอ หรือ เต็มปากเต็มคำ ซึ่งการพูดได้เต็มปากในหัวข้อ ทำอย่างไรจะพูดได้เต็มปากว่า “เรารักในหลวง” นั้นไม่ได้หมายถึง แค่การแสดงออกโดยการพูดเท่านั้น แต่ต้องการสื่อถึง การกระทำที่แสดงความกตัญญูซึ่งออกมาเป็นการกระทำอย่างชัดเจน

21 สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนเขียนเรียงความ
การกระทำที่แสดงความกตัญญูซึ่งออกมา เป็นการกระทำอย่างชัดเจน หลักธรรมที่พระองค์ยึดมั่น พระราชกรณียกิจ พระราชประวัติ

22 พระราชประวัติ ประสูติเมื่อวันที่...? ชีวิตวัยเยาว์...? การศึกษา...?
พระอัจฉริยภาพ...? การเปลี่ยนแปลงจากวัยเยาว์เป็นพระมหากษัตริย์...?

23 พระราชกรณียกิจ เศรษฐกิจพอเพียง (ทฤษฎีที่สามารถใช้ได้กับทุกคน)
พระราชกรณียกิจรวม ๔,๐๐๐ กว่าโครงการ เช่น ฝนหลวง แกล้งดิน แก้มลิง ชั่งหัวมัน เศรษฐกิจพอเพียง (ทฤษฎีที่สามารถใช้ได้กับทุกคน) การสร้างอ่างเก็บน้ำ เกษตรทฤษฎีใหม่ ถนนและสะพานต่าง ๆ

24 เราจะปฏิบัติตนอย่างไร
เพื่อแสดงว่า “เรารักในหลวง” ให้สอดคล้องกับหลักธรรม

25 สัดส่วนเนื้อหาโดยประมาณ

26 กติกาการเขียนเรียงความ
ให้เขียนเรียงความเรื่อง ทำอย่างไร จะพูดได้เต็มปากว่า “เรารักในหลวง” ตามหลักเกณฑ์การเขียนเรียงความ ๒. ความยาวหนึ่งหน้าครึ่ง ไม่เกินสองหน้ากระดาษ ๓. ใช้เวลาในการเขียน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ๔. มีลายมือสวยงาม สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย ๕. มีแนวคิด หรือทัศนคติในเนื้อหา ที่สร้างสรรค์สอดคล้อง สัมพันธ์กับหัวข้อเรื่อง

27 เรียงความเกี่ยวกับเรื่อง โลกจินตนาการและโลกอุดมคติ

28 เรียงความเกี่ยวกับเรื่องโลกจินตนาการ
จินตนาการ หมายถึง ความคิดคำนึงที่เกิดขึ้นในจิตของมนุษย์โดยอาศัยประสบการณ์เป็นพื้นฐาน อาจคิดคำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีต อนาคต หรือความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ปรากฏอยู่ในที่หนึ่งกับสิ่งที่มิได้ปรากฏอยู่ในที่นั้น แต่อาจมีอยู่ในบริบทอื่น

29 การส่งเสริมจินตนาการ
๑. เริ่มต้นจากการประสมประสบการณ์ ทั้งประสบการณ์ตรง และประสบการณ์ทางอ้อม ประสบการตรง คือ การได้มีส่วนร่วมในสถานการณ์ต่างๆ ได้พบ ได้เห็น ได้กระทำ ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น เดินทางท่องเที่ยว ,ได้เข้าร่วมประชุม ประสบการณ์ทางอ้อม ได้แก่ การอ่านหนังสือ ฟังปาฐกถา ร่วมสถานการณ์จำลอง เช่น การซ้อมรบ

30 การส่งเสริมจินตนาการ
๒. ต้องหมั่นใช้ความนึกคิด พิจารณาให้กว้างและแปลกออกไป ๓. หาโอกาสแสดงจินตนาการออกมาให้ปรากฏ ๔. เปิดใจให้กว้างเพื่อให้ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์จินตนาการของตนเอง

31 หัวข้อเรียงความเกี่ยวกับโลกจินตนาการ
ขอบเขตนั้นกว้างมาก หัวข้อเรียงความจึงมีได้อย่างหลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังตัวอย่างต่อไปนี้ อดีต ปัจจุบัน อนาคต วันที่ข้าพเจ้าลืมตาดูโลก โศกนาฏกรรมนอกเวทีละคร กรุงเทพ ในศตวรรษก่อน ถ้าผมเข้าใจในเจตนาที่แท้จริงของครู การละเล่นเด็กไทยในสมัยก่อน บนจอคอมพิวเตอร์ หาดใหญ่ในวันสุดสัปดาห์ สถานการณ์ ๓ จังหวัด ส.ส. คนปัจจุบันของเรา สถานการณ์โรคมะเร็ง อนาคตของเยาวชนไทย ถ้าทุกคนช่วยคนปลูกป่า เมื่อถึงเวลาที่เราต้องจากัน เมืองไทยในศตวรรษหน้า ระบบขนส่งมวลชนที่ชาวกรุงรอ

32 เรียงความเกี่ยวกับเรื่องโลกอุดมคติ
อุดมคติ หมายถึง จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐานแห่ง “ความดี ความงาม และความจริง” ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ถือเป็นเป้าหมายแห่งชีวิต

33 เรียงความเกี่ยวกับเรื่องโลกอุดมคติ
ทุกศาสนาจะมีอุดมคติของความดีอันสูงสุดอยู่เสมอ เช่น - พุทธศาสนา คือ การดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา - คริสต์ศาสนา คือ ความรักที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวเจือปนแม้แต่น้อย - ศาสนาอิสลาม คือ ความศรัทธาในพระอัลเลาะห์เจ้าและสวดมนต์ ทุกวัน

34 หัวข้อเรียงความเกี่ยวกับเรื่องโลกอุดมคติ
อุดมคติมีได้หลากหลายทั้งที่เกี่ยวกับความดี ความงาม และความจริง ขึ้นอยู่กับจินตนาการและทรรศนะของบุคคล ดังตัวอย่างหัวข้อต่อไปนี้ ๑. ความซื่อสัตย์ ๒. ความเสียสละ/ความไม่เห็นแก่ตัว ๓. ความกตัญญู ๔. ความรับผิดชอบ ๕. สิทธิเสรีภาพ ๖. ความสามัคคี ๗. รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ๘. โรงเรียนในอุดมคติ ๙. ความเป็นไทแก่ตน ๑๐. ประโยชน์สุขส่วนรวม

35 วิธีพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับโลกอุดมคติ
อุดมคติเป็นปัญญาและจินตนาการที่เกี่ยวกับมาตรฐานสูงสุดอันจะใช้เป็นเป้าหมายของชีวิต ดังนั้นการแสดงความคิดเกี่ยวกับโลกอุดมคติจึงจำเป็นต้องมีปัญญาและจินตนาการที่กว้างไกลพอขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการสังเกต การอ่าน การฟัง และการใช้ความคิดของแต่ละบุคคล สิ่งที่นักเรียนจะต้องระลึกถึง คือ การเขียนเรียงความเกี่ยวกับโลกอุดมคติ จำเป็นต้องมีสาระสำคัญที่ผู้เขียนจะสื่อไปถึงผู้อ่านเสมอ


ดาวน์โหลด ppt เรียงความ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google