งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)
รองศาสตราจารย์ บรรพต พรประเสริฐ

2 ขอบข่ายของเนื้อหา เรื่องที่ 2 ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน
เรื่องที่ 1 ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องที่ 2 ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่องที่ 3 คุณค่าและความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องที่ 4 กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน

3 สาระสำคัญ 1. การวิจัยในชั้นเรียน คือ การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ 2. การวิจัยในชั้นเรียน คือ การวิจัยโดยผู้สอนในห้องเรียน ทำกับผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบ เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบจบลงที่การคิดค้นนวัตกรรมแก้ปัญหาได้

4 ขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
ขั้นตอนของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการโดยทั่วไป สามารถเขียนเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ 1. การหาจุดเริ่มต้น 2. การทำสถานการณ์ให้กระจ่าง 3. การพัฒนากลยุทธ์ปฏิบัติการ (action strategies) และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 4. การเผยแพร่ผลการวิจัย แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ

5 3. คุณค่าและความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์และมีคุณลักษณะที่ดีตามหลักสูตร ผู้สอนจะได้คิดค้นวิธีการสอน ได้สื่อหรือเครื่องมือใหม่ๆ ที่สนับสนุนหรือส่งเสริมการเรียนการสอนในสถานศึกษา 4. กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนมี 7 ขั้นตอน คือ การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กำหนดรูปแบบวิธีการแก้ปัญหาออกแบบ การทดลอง สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด ทดลอง รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ สรุปผลและเขียนรายงาน

6 ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน
การเรียนการสอนในชั้นเรียน คือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียน บทบาทของผู้สอน คือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรให้กับผู้เรียนทั้งชั้น การสอนคงไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าผู้เรียนทั้งหมดมีพื้นฐานความรู้เหมือนกัน มีความสามารถทัดเทียมกัน และพร้อมจะเรียนรู้ได้จากวิธีการสอนของผู้สอนคนเดียวได้ทุกเวลา แต่ในความเป็นจริงผู้เรียนทั้งชั้นมีความรู้ความสามารถพื้นฐานแตกต่างกัน จึงมักเกิดปัญหาในการเรียนการสอนกับผู้สอน ผู้สอนจึงควรเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยส่วนรวม ผู้สอนต้องพยายามคิดค้นวิธีสอน สื่อ ตลอดจนเครื่องมือใหม่ๆ มาช่วยในการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาและเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน

7 การสอนในชั้นเรียนไม่ใช่การบอกหนังสืออย่างเดียว การสอนในห้องเรียนซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้กับผู้เรียนทั้งชั้นซึ่งมีความสามารถพื้นฐานแตกต่างกันออกไปทำให้บางครั้งเกิดปัญหากับผู้สอนที่ต้องจัดกิจกรรมหลากหลายสนองตอบต่อผู้เรียนแต่ละคนการสอนควบคู่กับการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้เรียนในชั้นมาวิเคราะห์ ศึกษาสภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องดำเนินการตลอดเวลา การวิจัยในชั้นเรียนจะเริ่มขึ้นหลังจากผู้สอนสรุปได้ว่าปัญหาคืออะไร เกิดที่ไหน และมีแนวทางจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร กล่าวคือผู้สอน คิดหาวิธีแก้ปัญหาทดลองใช้จนได้ผลแล้วพัฒนาเป็นนวัตกรรม สามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไป

8 การวิจัยในชั้นเรียน คือ การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพได้อย่างเหมาะสม เกิดประสิทธิผล มีประสิทธิภาพที่สุดในชั้นเรียน เพราะการวิจัยในชั้นเรียนไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบ หรือเป็นแต่ศึกษาหาคำตอบโดยอาศัยวิธีที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้น แต่ยังเน้นที่การแก้ปัญหาในชั้นเรียนอีกด้วย

9 กล่าวโดยสรุป การวิจัยในชั้นเรียนควรมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
1.เป็นการวิจัยจากปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน ทำการวิจัยเพื่อนำผลวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน 3. ทำการวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน คือ สอนไปวิจัยไป แล้วนำผลการวิจัยไปใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียน และทำการเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น

10 การวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะอย่างไร
ประเภทนวัตกรรมที่ผู้สอนพัฒนาขึ้น รายงานผลโดยการวิจัยในชั้นเรียน ผู้สอนพัฒนา ชุดการสอน รายงานการพัฒนาและผลการใช้ชุด การสอน ผู้สอนพัฒนา บทเรียนสำเร็จรูป รายงานผลการจัดทำและการใช้บท เรียนสำเร็จรูป ผู้สอนพัฒนา เอกสารประกอบ รายงานการสร้างและผลการใช้ เอกสารประกอบ ผู้สอนพัฒนา แบบฝึกหัด รายงานผลการพัฒนาความสามารถ การวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะอย่างไร

11 ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างจากการวิจัยในสถานศึกษา ตรงที่กลุ่มตัวอย่าง และเป้าหมายกล่าวคือ วิจัยในชั้นเรียน จะใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก มักศึกษาในห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่งและเป้าหมายสำคัญคือพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเชื่อว่าถ้าผู้สอนใช้กิจกรรมการสอนที่ดีและเหมาะสมกับผู้เรียน ย่อมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และบรรลุเป้าหมายทางการพัฒนาผู้เรียน ขอบเขตการทำวิจัยในชั้นเรียน

12 1. สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention)
การวิจัยในชั้นเรียน คือ การวิจัยโดยผู้สอน ในห้องเรียน ทำกับผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาที่ ผู้สอนรับผิดชอบ ขอบเขตในการทำวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะให้ความสำคัญกับการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน อย่างเหมาะสมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. สื่อการเรียนการสอนที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) 2. กิจกรรมการพัฒนา หรือเทคนิควิธีสอน (Instruction)

13 การกระตุ้นให้ผู้สอนหันมาสนใจทำการวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้นนั้น ต้องสร้างภาพลักษณ์อันชัดเจนว่าผลที่คาดว่าจะได้รับนั้นมีอะไรบ้าง เช่นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เรียนในทางที่ดีขึ้นลดปัญหาในชั้นเรียน เช่น ผู้เรียนพูดคำควบกล้ำไม่ถูกต้องใช้ตัว ร เป็น ล ความ พึงพอใจของผู้สอนที่สามารถลดเวลาการสอน การพูด เป็นต้น การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อนำไปสู่การวิจัยนั้น ควรมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ คำนึงถึงปัญหา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ปัญหาในขั้นผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์ 2. ปัญหาในขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3. ปัญหาในขั้นการเตรียมการสอน

14 คุณค่าและความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
การที่ผู้สอนสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับวงการการศึกษาเพราะคุณค่าหรือผลงานจากการคิดค้นนวัตกรรมการศึกษาขึ้นมาใช้ได้ผลนั้น จะก่อประโยชน์ต่อบุคลากรและหน่วยงานทางการศึกษา ดังนี้

15 1. ผู้เรียน ผู้เรียนในชั้นเรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานแตกต่างกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็ว ก็ไม่สร้างปัญหากับผู้สอน แต่ผู้เรียนที่เรียนช้าและผู้สอนยังใช้รูปแบบการสอนแบบเดียวแล้ว ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนตามไม่ทัน และอาจสร้างปัญหากับผู้สอน กับสถานศึกษา และสังคมส่วนรวม การที่ผู้สอนไม่วางเฉยแต่ได้ใช้ความพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอย่างมีหลักการแล้วคิดหาทางแก้ปัญหาจนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้เรียนได้ดีขึ้น ผู้เรียนเกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จนในที่สุดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ และไม่มีปัญหาการเรียนอีกต่อไป

16 2. ผู้สอน ผู้สอนมีการวางแผนการทำงานอย่างมีระบบ คือ การวางแผนทำงานประจำ ได้แก่ วางแผนการสอน เลือกวิธีสอนที่เหมาะสม ประเมินผลการทำงานเป็นระยะโดยมีเป้าหมายชัดเจน จะทำอะไรกับใคร เมื่อไร ด้วยเหตุผลอะไร และทำให้ทราบผลการกระทำว่าบรรลุเป้าหมายเพียงใดได้อย่างไร โดยการทำวิจัยในชั้นเรียน ช่วยให้ผู้สอนได้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมในการคิดแก้ปัญหา บางครั้งนวัตกรรมชิ้นแรกอาจมีข้อบกพร่อง แต่เมื่อได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอ ก็สามารถพัฒนาเป็นผลงานที่มีประโยชน์เป็นที่ยอมรับได้

17 จงอธิบายคุณค่าและความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
3. สถานศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้สอนมากขึ้นทั้งในรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในหมวดวิชา และระหว่างหมวดวิชา ตั้งแต่การร่วมกันคิดหาปัญหา การวิเคราะห์หาสาเหตุ การเขียนรายงาน เพราะผู้สอนในสถานศึกษามีความถนัด หรือชำนาญต่างๆ กัน ถ้าได้ระดมสรรพกำลังจากความถนัดของแต่ละคนแล้วก็จะทำให้งานวิจัยมีคุณภาพยิ่งขั้น จงอธิบายคุณค่าและความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

18 กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน
การทำวิจัยในชั้นเรียนมีการดำเนินการเป็นขั้นตอน โดยยึดหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และได้นำมาขยายให้เป็นขั้นตอนที่ละเอียดต่อเนื่อง เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ ผู้สอน จึงสามารถวางแผนดำเนินงานไว้ล่วงหน้าได้ ขั้นตอนของการทำวิจัยในชั้นเรียนมีดังนี้ กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน

19 ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจ และวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องใดๆ ก็ตาม จะต้องเริ่มต้นด้วยการมองปัญหาของเรื่องที่จะวิจัยอย่างชัดเจน เพราะการมองเห็นปัญหานำไปสู่ความต้องการในการแก้ไขปรับปรุงหรือการพัฒนาได้และความต้องการนี้จะนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยจะสามารถมองปัญหาการเรียนการสอนในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบได้อย่างชัดเจน โดยทำการสำรวจข้อบกพร่อง และวิเคราะห์ปัญหากล่าวคือ จะต้องค้นหาว่า ผู้เรียนมีความบกพร่องจุดใดเนื่องจากสาเหตุอะไร ซึ่งอาจได้จากการระดมพลังสมอง ตรวจสมุดแบบฝึกหัด จากผลการสอบปลายภาค

20 หรือจากผลการวิจัย เมื่อสำรวจข้อบกพร่องได้แล้ว นำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและความต้องการในการแก้ปัญหาให้ตรงกับสาเหตุนั้นๆ แล้วเขียนออกมาในรูปวัตถุประสงค์ของการวิจัย สิ่งที่ผู้สอน จะได้จากการดำเนินการในขั้นตอนที่หนึ่งนี้ คือ กำหนดปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเฉพาะเจาะจงและชัดเจน เพื่อนำเสนอเขียนสภาพปัญหาของผู้เรียนและนอกจากนี้ ผู้สอน สามารถเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ด้วย

21 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เมื่อได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยแล้วก็ควรที่จะศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยนั้นว่ามีอยู่ก่อนแล้วบ้างอย่างไร งานวิจัยที่จะทำนั้นมีความเชื่อมโยงกับทฤษฎีอย่างไร ทั้งนี้เพื่อแสดงความต่อเนื่องทางวิชาการที่ต้องการที่จะมีส่วนสร้างเสริมให้เจริญก้าวหน้าให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

22 การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ช่วยผู้สอน ในเรื่องต่อไปนี้
1. มองปัญหาที่จะวิจัยได้ชัดเจนขึ้น 2. ได้แนวคิดความรู้พื้นฐานตลอดจนทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น (ตัวแปร) ที่จะศึกษา 3. เห็นแนวทางในการศึกษาปัญหา 4. สามารถอธิบายปัญหา โดยเฉพาะการกำหนดขอบเขตของการวิจัย และสามารถอธิบายตัวแปรที่จะศึกษา 5. สามารถตั้งสมมติฐานได้อย่างสมเหตุสมผล 6. เลือกเทคนิคการสุ่มตัวอย่างได้เหมาะสม 7. เลือกเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง 8. เลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สิ่งที่ผู้สอนจะได้จากการดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ได้เทคนิคในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับ หลักการ ทฤษฎี หรืองานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว ซึ่งทำให้แนวคิดของ ผู้สอนน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

23 ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมเป็นรูปแบบ หรือวิธีการแก้ปัญหาที่ผู้สอนสร้างขึ้นมาเอง หรือนำเอารูปแบบ หรือวิธีการที่ผู้อื่นทำไว้แล้วมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข เช่น - บทเรียนสำเร็จรูป เหมาะสมกับ ผู้เรียนเรียนช้า - ชุดการสอน เหมาะสมกับ ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ - คู่มือการสอน เหมาะสมกับ ปัญหาการขาดคู่มือการสอน ฯลฯ สิ่งที่ผู้สอน จะได้จากการดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ได้นวัตกรรมที่คาดว่ามีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

24 ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบการทดลอง
การทดลองทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของนวัตกรรม จำนวนกลุ่มผู้เรียนที่ทดลองและจำนวนครั้งของการวัดตัวแปรที่ศึกษา แต่ละแบบมีการดำเนินงานที่แตกต่างกันฉะนั้นผู้สอน จะต้องออกแบบการทดลองให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ และสมมติฐาน การวิจัย โดยคำนึงถึงกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่วัด สิ่งที่ผู้สอน จะได้จากการดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ได้นวัตกรรมที่คาดว่ามีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้หรือไม่

25 ขั้นตอนที่ 5 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะใช้เครื่องมือชนิดใดย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยและตัวแปรที่จะวัด เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือวัด คือ แบบทดสอบ ถ้าต้องการวัดความคิดเห็น เครื่องมือวัด คือแบบสอบถามความคิดเห็น ถ้าต้องการวัดเจตคติ เครื่องมือวัด คือ แบบวัดเจตคติ เป็นต้น เครื่องมือวัดแบ่งออกได้หลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับข้อมูลแต่ละลักษณะจึงจำเป็นต้องศึกษาเครื่องมือแต่ละชนิด ทั้งในแง่ลักษณะของเครื่องมือวัด วิธีการสร้าง และข้อดี ข้อจำกัด เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสม

26 เมื่อผู้สอน ได้สร้างเครื่องมือวัด หรือปรับปรุงเครื่องมือวัดที่ผู้อื่นสร้างไว้แล้วจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อนที่จะนำไปใช้จริง โดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับประชากรที่เราศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดเช่น ความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability) ถ้าหากมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจริง

27 ขั้นตอนที่ 6 การทดลอง การรวบรวม การวิเคราะห์ และสรุปผล
เมื่อผู้สอน สร้างนวัตกรรม และเครื่องมือวัดเสร็จแล้ว ขั้นต่อไป คือ นำเอานวัตกรรมนั้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ การทดลอง การรวบรวม การวิเคราะห์ และสรุปผลข้อมูล ถ้าจะให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง จะต้องมีปฏิทินปฏิบัติงานแสดงเวลา และระยะเวลาของการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนด้วย สิ่งที่ผู้สอน จะได้จากการดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ได้ปฏิทินปฏิบัติงานได้นำนวัตกรรมไปทดลอง ได้เก็บรวบรวมข้อมูล นำข้อมูลไปวิเคราะห์ และสรุปผลการทดลอง

28 ขั้นตอนที่ 7 การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัยเป็นขั้นสุดท้ายของการทำวิจัย เป็นการรายงาน งานวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น วิเคราะห์ และสำรวจปัญหา การพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้รูปแบบ เพื่อแก้ปัญหาจนกระทั่งถึงการวิเคราะห์ผล สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ การเขียนรายงานมีประโยชน์อย่างมากทั้งตัวผู้สอน และ ผู้อื่น เพราะการเขียนรายงานการวิจัย เป็นการเสนอสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบให้ผู้อื่นทราบ เพื่อจะได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำไปใช้ประโยชน์อ้างอิงได้ สิ่งที่ผู้สอน จะได้จากการดำเนินการในขั้นตอนนี้ คือ ได้รายงานวิจัยที่เขียนถูกต้องตามรูปแบบ

29 กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน
กระบวนการ 7 ขั้น กรณีตัวอย่าง ปัญหาการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ ผู้เรียน มีพื้นความรู้ต่ำ ผู้เรียน ไม่สนใจทำแบบฝึกหัด ครูสอนไม่มีสื่อการสอน การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา การเรียนการสอน (1) การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง(2) ผู้สอนคิดค้นทางเลือกในการแก้ปัญหา การกำหนดรูปแบบ หรือวิธีการที่ใช้ ในการแก้ปัญหา (3) (การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา) ผู้สอนกำหนดวิธีการแก้ปัญหา แล้วพัฒนา

30 ทดลองในกลุ่มประมาณ 1 ปี ปรับปรุงจนได้มาตรฐาน
การออกแบบการทดลอง(4) ทดลองในกลุ่มประมาณ 1 ปี ปรับปรุงจนได้มาตรฐาน การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด (5) สร้างเครื่องมือประเมินผลการทดลอง การทดลอง รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปผล (6) ผู้สอนใช้กับผู้เรียน รุ่นที่ 2 ของปีถัดไป แล้วมีการประเมินสรุปผลความก้าวหน้า การเขียนรายงานการวิจัย(7) ทำรายงานประเมินผลวิจัยในชั้นเรียน

31 แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน
การที่จะตัดสินใจว่าอะไรคือปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แท้จริงของการจัดการเรียนการสอนที่เป็นจริงอยู่ในปัจจุบันนั้น อาจดำเนินการได้หลายวิธี ทั้งนี้โดยเริ่มนิยามของคำว่า “ปัญหา หรือความต้องการจำเป็นที่แท้จริง (Needs)” ซึ่งมักได้รับการนิยามว่า “เป็นเงื่อนไขความไม่สอดคล้องระหว่างสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน (Actual Conditions) กับสภาพที่ควรจะเป็นหรือสภาพที่ต้องการ (Desired Conditions) เป็นสิ่งที่จะเป็นต้องได้รับการแก้ไข” จากนิยามของคำว่า “ปัญหาหรือความต้องการจำเป็น” ดังกล่าวข้างต้น เราอาจกำหนดกรอบแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนได้ดังแผนภาพ

32 แนวการทำงานหรือกิจกรรม
แนวการทำงานหรือกิจกรรม ความรู้ ความสามารถ และ การเรียนการสอนที่ควรจะเป็น คุณลักษณะที่หลักสูตรพึง ประสงค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน สภาพการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน ที่เป็นจริงในปัจจุบัน ความรู้ ความสามารถ และ คุณลักษณะที่เกิดขึ้น กับผู้เรียนในสภาพที่เป็นจริง การจัดการของผู้สอน ผลที่เกิดกับผู้เรียน

33 การจัดอันดับความสำคัญของปัญหาเพื่อการวางแผนพัฒนา
ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน จะทำให้ผู้สอนได้รายการปัญหาจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วจะมีมากมายรายการ ปัญหาสำคัญที่นักวิเคราะห์ปัญหาจะต้องดำเนินการต่อไปก็คือ การจัดอันดับความสำคัญของปัญหา (Setting Priorities) เพื่อกำหนดเป็นรายการความต้องการจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเป็นลำดับต้นๆ

34 การจัดอันดับความสำคัญของปัญหา เป็นกระบวนการที่อิงวิธีการเชิงเหตุผล เป็นเครื่องมือในการตัดสิน ในการจัดอันดับความสำคัญของปัญหาโดยทั่วไปจะพิจารณาจากตัวแปรต่อไปนี้ 1. พิจารณาระดับความรุนแรงของปัญหา โดยดูจากขนาดของความ แตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน กับสภาพที่ควรจะเป็น 2. ตัดสินจากจำนวนสมาชิกที่พิจารณาเห็นว่ารายการปัญหาข้อนั้น ๆ เป็นปัญหาในระดับมาก ซึ่งวิธีการนี้ก็คือการโหวตคะแนนนั่นเอง 3. พิจารณาประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน กับสถานศึกษา หากราย การปัญหานั้นๆ ได้รับการแก้ไข 4. พิจารณาความสอดคล้องหรือความเกี่ยวกันระหว่างสภาพปัญหา นั้นๆ กับนโยบายขององค์กรระดับที่เหนือกว่า

35 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

36 ความหมายของการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
คุณสมบัติที่สำคัญของนักวิจัย คือ เป็นนักอ่าน นักคิด และ นักค้นคว้า การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Related literature) เป็นสิ่งที่ผู้สอนผู้วิจัยต้องกระทำเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการทำวิจัยของตน การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย หมายถึง การค้นคว้าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือเรื่องที่กำลังจะวิจัย เอกสารที่เกี่ยวข้องหมายถึงเอกสารที่เป็นแหล่งข้อมูล ตำรา บทความ และงานวิจัยที่มีความสำคัญพออ้างอิงได้กับงานวิจัยของเรา ซึ่งไม่ จำเป็นต้องตรงกับชื่อปัญหาที่จะวิจัย แต่มีเนื้อหา ผลสรุป เกี่ยวพันกับงานวิจัยที่จะทำ เพื่อให้การนิยามปัญหาเด่นชัดยิ่งขึ้น

37 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย อาจจะทำมาก่อนที่จะได้ประเด็นหรือเรื่องที่จะวิจัยก็ได้ แต่การค้นคว้าแบบนั้นถือว่าเป็นการค้นคว้าทั่วๆ ไป เป็นการค้นคว้าเพื่อเลือกปัญหามาทำวิจัย ค้นเพื่อหาคำตอบว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไรดี ค้นแบบกว้างๆ จะเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ได้ แต่ในตอนนี้จะกล่าวถึงการ ค้นคว้าเพื่อสนับสนุนหรือเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการวางแผนและการดำเนินงานวิจัยอย่างมีประสิทธิผล คือเป็นการค้นคว้าเมื่อได้ปัญหาวิจัยในขั้นต้นเรียบร้อยแล้ว การค้นคว้าจะค้นเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยเท่านั้น ทำให้ผู้วิจัยทราบว่ามีนักวิชาการ และนักวิจัยอื่นๆ ได้ศึกษาค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับปัญหาวิจัยของตนไว้อย่างไรบ้าง

38 จุดมุ่งหมายของการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการวิจัย และการดำเนินการวิจัยให้ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งแยกเป็นจุดมุ่งหมายย่อยๆ ได้ดังนี้ 1. เพื่อช่วยในการกำหนดปัญหาวิจัย เมื่อพบสภาพปัญหาที่จะวิจัยแล้ว สารสนเทศที่แสดงให้เห็นว่าปัญหาวิจัยที่จะทำเป็นปัญหาวิจัยที่ดีนั้น ผู้วิจัยจะได้จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้วิจัยเกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดในปัญหาที่จะวิจัยอีกด้วย

39 2. เพื่อสร้างกรอบความคิดและกำหนดสมมติฐานการวิจัย
สารสนเทศที่ได้จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัย จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถนิยามตัวแปร อธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร นำความรู้จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎ หลักการต่างๆ และผลการวิจัย มาสร้างกรอบความคิดสำหรับการวิจัย และกำหนดสมมติฐานการวิจัย

40 3. เพื่อหลีกเลี่ยงการทำซ้ำกับผู้อื่น
การทำวิจัยซ้ำนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อผลการวิจัยเรื่องนั้นมีปัญหา เช่น การควบคุมตัวแปรเกิดความคลาดเคลื่อน กระบวนการทำบกพร่อง เป็นต้น ผู้วิจัยอาจศึกษาซ้ำเพื่อดูผลว่าแตกต่างกันเพียงใด แต่ถ้าเป็นการวิจัยที่ถูกต้องทุกประการแล้ว ปัญหาที่ตรงกันไม่นิยมทำซ้ำเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่าในสาขาวิชาที่ตนสนใจนั้นมีปัญหาใดบ้างที่เขาทำกันแล้ว ทำเมื่อไร และผลเป็นอย่างไร

41 4. เพื่อกำหนดแบบแผนและวิธีการวิจัย
การจะได้แนวทางในการดำเนินการวิจัยนั้น ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเฉพาะงานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้วอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้ได้สารสนเทศในการดำเนินการ ดังนี้ 4.1 ขอบเขตของการวิจัย สารสนเทศจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยผู้วิจัยได้ทราบว่า ควรศึกษาครอบคลุมตัวแปรใด ควรกำหนดขอบข่ายประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรมากน้อยเพียงใดและอย่างไร

42 4.2 การออกแบบการวิจัย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบการวิจัยได้อย่างเหมาะสมและดีกว่าการวิจัยที่ทำมาแล้ว 4.3 เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษารายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ผู้วิจัยได้ทราบว่า เครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัยของตนนั้นควรสร้างขึ้นใหม่ หรือ สามารถนำเครื่องมือที่มีอยู่แล้วจากงานวิจัยมาใช้ได้เลยการเก็บรวบรวมข้อมูลควรใช้วิธีการใด จึงจะได้ข้อมูลและผลการวิจัยที่มีความตรงสูง

43 4.4 วิธีวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย
การศึกษารายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผู้วิจัยตัดสินใจเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูลว่าควรใช้วิธีใด ควรแปลความหมายผลการวิเคราะห์อย่างไร เพื่อให้การอ้างอิงผลการวิจัยมีความตรงภายนอกสูง 4.5 การอภิปรายผลการวิจัยและการให้ข้อเสนอแนะ การที่ผู้วิจัยได้ศึกษารายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดรอบคอบ ผู้วิจัยย่อมได้ข้อมูลจากข้อค้นพบในงานวิจัยเหล่านั้นเป็นฐานในการเปรียบเทียบ อภิปรายผลการวิจัยได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และเห็นแนวทางการให้ข้อเสนอแนะด้วย

44 4.6 การนำเสนอรายงานการวิจัย
การจะเสนอรายงานวิจัยแตกต่างจากการเขียนรายงานธรรมดา เพราะงานวิจัยมีกระบวนการแบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การเขียนรายงานจึงมีระบบแบบแผน การจะเขียนได้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับทั่วไปจำเป็นต้องศึกษางานเขียนของผู้อื่นว่ามีจุดเด่น จุดด้อยของการเสนออย่างไร การอ่านงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบจึงเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องทำ มิฉะนั้นแบบการเสนอรายงานการวิจัยจะไม่มีการพัฒนาเลย

45 ลักษณะและประเภทของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
การวิจัยในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้นเอกสารที่เกี่ยวข้องจึงเป็นเอกสารที่ผู้สอนใช้อยู่เป็นประจำ เช่น หลักสูตร คู่มือการสอน แบบเรียนเป็นต้น ได้มีการจัดประเภทของเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น 3 ประเภท คือ 1. เอกสารอ้างอิงทั่วไป เป็นเอกสารที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอกสาร ได้แก่ ชื่อ ผู้เขียน ชื่อเอกสาร ชื่อโรงพิมพ์ เมืองที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ เอกสารอ้างอิงที่สำคัญได้แก่ ดัชนีวารสาร บทคัดย่องานวิจัย บทคัดย่อบทความ รายการเอกสาร

46 2. เอกสารปฐมภูมิ เป็นเอกสารที่ผู้เขียนเสนอความคิดและประสบการณ์ของตนโดยตรง จึงเป็นเอกสารที่จัดว่าเป็นข้อมูลแหล่งปฐมภูมิและมีความน่าเชื่อถือสูง มีคุณค่าต่อการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นอันมาก เอกสารประเภทนี้ ได้แก่ บทความและผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์

47 3. เอกสารทุติยภูมิ เป็นเอกสารที่ผู้เขียนศึกษาผลงานทางวิชาการของ ผู้อื่น แล้วนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ การใช้เวลาศึกษาจึงน้อยกว่าการศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ เอกสารประเภทนี้ ได้แก่ หนังสือหรือตำรา พจนานุกรม ปริทัศน์งานวิจัย คู่มือ รายงานประจำปี เอกสารต่างๆ ดังกล่าว ผู้วิจัยจะค้นหาได้ที่ห้องสมุดของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีบริการต่างๆ เช่น บริการให้ยืมหนังสือ เอกสาร บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า บริการสืบค้นเอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ บริการถ่ายเอกสาร เป็นต้น

48 หลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
เนื่องจากเอกสารต่างๆ และผลงานวิจัยในแต่ละสาขาวิชานั้นมีเป็นจำนวนมาก เช่น ผลงานวิจัยก็มีทั้งงานวิจัยในประเทศและ ต่างประเทศ ซึ่งได้มีการวิจัยกันมานานและ การศึกษาเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการวิจัยยิ่งศึกษามากก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการวิจัยของเรา ทำให้การวิจัยมีความหมายมากขึ้น แต่ปัญหาวิจัยบางเรื่องก็หาเอกสารที่ เกี่ยวข้องได้น้อย เพราะว่าไม่ค่อยมีผู้วิจัยในเรื่องนั้น ซึ่ง ผู้สอนผู้วิจัยต้องพยายามค้นหา เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกนี้ เกี่ยวข้องกันทั้งนั้น ผู้วิจัยจำเป็นต้องคัดเลือกผลงานวิจัยที่เห็นว่าเกี่ยวข้องมากที่สุดมาพิจารณา โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกดังนี้

49 1. เอกสารนั้นต้องทันสมัยเหมาะสมกับงานของผู้วิจัยเป็นความรู้ใหม่ๆ ทันต่อเหตุการณ์
2. มีเนื้อหาตรงกับที่ผู้วิจัยต้องการ คือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยทำการศึกษาอยู่ 3. มีภาพ ตาราง กราฟ หรือแผนที่ (ถ้ามี) ถูกต้อง ชัดเจนและเพียงพอ 4. ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย สมเหตุสมผล ไม่ลำเอียง มีบรรณานุกรม ทำให้ ผู้อ่านสามารถตรวจสอบเรื่องที่อ้างกับของเดิมได้ และเป็นแนวทางให้ ผู้วิจัยใช้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ด้วย 5. ผู้เขียนเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในงานที่เขียนเป็นอย่างดีหรือไม่หากผู้วิจัยทราบว่า ผู้ใดบ้างที่ได้รับการยกย่องว่าเชี่ยวชาญในสาขาใด ย่อมจะช่วยให้วินิจฉัยคุณค่าของหนังสือหรืองานวิจัยได้ง่ายขึ้น

50 6. หนังสือหรือเอกสารที่ศึกษาต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ ซึ่งผู้วิจัยอาจตรวจสอบจากข้อความที่ผู้วิจัยมีความรู้อยู่แล้ว หากพบว่าผิดก็อาจสันนิษฐานได้ว่าตอนอื่นๆ อาจไม่ถูกต้องอีกก็ได้ 7. ควรเลือกหนังสือหรือเอกสารที่พิมพ์ที่เชื่อถือได้ เพราะสำนักพิมพ์บางแห่งจะเลือกพิมพ์เฉพาะผลงานที่ดีๆ เท่านั้น สำนักพิมพ์เหล่านี้มักจะมีกรรมการเพื่อพิจารณาผลงานที่จะตีพิมพ์ ดังนั้นหากเป็นหนังสือที่พิมพ์จากสำนักพิมพ์ดังกล่าว ก็จะช่วยให้ผู้วิจัยเลือกหนังสือศึกษาได้ง่ายขั้น

51 การสืบค้นและจัดหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
การสืบค้นเอกสาร กระทำเพื่อเป็นการจัดหาเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิมาศึกษาโดยมีวิธีการสืบค้นอยู่ 2 วิธี คือ 1. การสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงทั่วไปโดยตรง ผู้สอนผู้วิจัยสามารถเลือกใช้เอกสารได้ทุกประเภท โดยเมื่อได้กำหนดลักษณะและประเภทของเอกสารที่ต้องการแล้ว ก็เริ่มต้นสืบค้นจากเล่มใหม่ล่าสุดก่อนโดยอาศัยคำสำคัญของหัวข้อวิจัย

52 เมื่อค้นเอกสารพบแล้วก็บันทึกลงในบัตรบรรณานุกรม ตามรายการดังนี้
- ชื่อผู้แต่งและนามสกุล - ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ หรือชื่อวารสาร - ชื่อโรงพิมพ์ และสถานที่พิมพ์ - วัน เดือน ปีที่พิมพ์ - เล่มที่ของวารสาร หน้าไหนถึงไหน - เลขหมู่ของหนังสือ การบันทึกตามรายการดังกล่าว ให้บันทึกลงในบัตรบรรณานุกรมเพียง 1 ใบ ต่อข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1 เล่ม เมื่อขึ้นเล่มใหม่ก็ให้บันทึกลงในบัตรบรรณานุกรมใบต่อไป

53 2. การสืบค้นด้วยคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันห้องสมุดต่างๆ ทั้งระดับโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มีการนำเอาสารสนเทศบันทึกลงในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และพัฒนาโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สืบค้นแทนการค้นโดยวิธีนี้ใช้เวลาน้อยกว่าวิธีแรกมาก เพียงแต่ผู้ใช้ศึกษาวิธีใช้ ซึ่งติดไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ เครื่องจะพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับบรรณานุกรมของเอกสารที่สืบค้นให้เลย ซึ่งในอนาคตจะใช้การ สืบค้นวิธีนี้มากขึ้น ผู้สอนจึงควรศึกษาวิธีการใช้จากห้องสมุด ดังกล่าว

54 แต่ขณะนี้ข้อมูลของห้องสมุดในสถานศึกษายังมีข้อจำกัดของ สารสนเทศในด้านงานวิจัยต่างๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องพึ่งเอกสารที่มีอยู่ในห้องสมุดใหญ่ๆ โดยเฉพาะ ห้องสมุดของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้องของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งห้องสมุดของมหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ที่อยู่ใกล้ เมื่อผู้สอนได้รายการเอกสารจากบัตรบรรณานุกรมต่างๆ หรือรายการเอกสารที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ไปจัดหาเอกสารตามชั้นหนังสือที่จัดหมวดหมู่ไว้ และถ่ายเอกสารส่วนที่เกี่ยวข้องเก็บไว้ หรือยืมมาอ่านต่อไป

55 การอ่านเอกสารและการจดบันทึก
เมื่อได้ถ่ายเอกสารหรือยืมเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแล้ว กิจกรรมสำคัญที่จะต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบคือ การอ่านเอกสารและการจดบันทึก ซึ่งมีเทคนิคต่างๆ ในการอ่านดังนี้ 1. อ่านคร่าวๆ เป็นการอ่านเพื่อคัดเลือกเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา วิธีอ่านเช่น 1.1 หนังสือ ให้อ่านจากสารบัญ บทนำ และบทสรุปต่างๆ 1.2 รายงานการวิจัย ให้อ่าน บทคัดย่อ บทนำและบทสรุป 1.3 บทความ ให้อ่าน หัวข้อ บทนำ และบทสรุป

56 2. อ่านแบบคิดวิเคราะห์ มีหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ
2.1 อ่านเก็บความคิดสำคัญ ความคิดสำคัญของเอกสารต่างๆ จะอยู่ที่บทนำ และบทสรุป และในเนื้อหาแต่ละย่อหน้าซึ่งจะมีประโยคสำคัญอยู่ที่ตอนต้นและตอนท้ายของ ย่อหน้า ผู้วิจัยควรขีดเส้นใต้ข้อความที่เป็นประโยคสำคัญไว้ 2.2 อ่านเก็บรายละเอียด ลักษณะของรายละเอียดอยู่ในรูปของการยกตัวอย่างการบรรยายลักษณะนิยามต่างๆ ขั้นตอนลักษณะที่เป็นเหตุและผล ในการอ่านแบบคิดวิเคราะห์นี้ ผู้สอนต้องอ่านเอกสารหลายๆ รอบแล้ว สรุปหรือย่อความ และถอดความ ซึ่งการถอดความเป็นการเรียบเรียงแนวคิดของผู้เขียนเอกสารนั้นๆ เป็นภาษาของผู้อ่านเอง ซึ่งอาจยาวหรือสั้นกว่าเดิม ก็ได้

57 3. การจดบันทึก ให้ผู้สอนผู้วิจัยจัดหากระดาษเปล่ากว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเตรียมไว้จดบันทึกสาระจากเอกสารที่อ่าน โดยบันทึกตามขั้นตอนดังนี้ 3.1 บันทึกข้อมูลเพื่อทำ บัตรบรรณานุกรม ตามหัวข้อ การสืบค้นจากเอกสารอ้างอิงทั่วไปโดยตรง และมุมขวาบนของบัตรแต่ละใบ ให้ใส่หมายเลขไว้ ตั้งแต่ 001 เป็นต้นไป 3.2 บันทึกข้อมูลที่เป็นเนื้อหาสาระลงในบัตรแต่ละใบ ซึ่งเรียกว่า บัตรเนื้อหาโดยบันทึกตามรายการต่างๆ เช่น กรณีเป็นรายงานการวิจัย ก็บันทึกรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้

58 - ชื่อปัญหา (บัตร 1 ใบ) - วัตถุประสงค์ (บัตร 1 ใบ)
- ชื่อปัญหา (บัตร 1 ใบ) - วัตถุประสงค์ (บัตร 1 ใบ) - ตัวแปร (บัตร 1 ใบ) - ทฤษฎีที่ใช้ (บัตร 1 ใบ) - สมมติฐาน (บัตร 1 ใบ) - วิธีดำเนินการ (บัตร 1 ใบ) - ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (บัตร 1 ใบ)

59 ในการบันทึกควรมีเลขหน้าเอกสารกำกับด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงต่อไปและถ้าผู้วิจัยมีความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาที่วิจัย ข้อดีข้อเสีย เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยหรือตีความตามทัศนะของผู้เขียน ก็บันทึกประกอบไว้ในเรื่องนั้นๆ 3.3 บันทึกบรรณานุกรมของเอกสารที่อ่าน โดยเลือกเฉพาะที่น่าสนใจ ติดตามศึกษาเพิ่มเติม ไว้ในบัตรดรรชนี เพื่อเป็นเครื่องนำทางในการสืบค้นและหาเอกสารต่อไป

60 บัตรบรรณานุกรม บุญเชิด ภิญโญอนัตพงษ์. การวัดและ
001 002 003 บุญเชิด ภิญโญอนัตพงษ์. การวัดและ ประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2529.

61 บัตรเนื้อหา การตรวจให้คะแนน ข้อแนะนำในการเขียนข้อสอบ
001 002 การตรวจให้คะแนน ข้อแนะนำในการเขียนข้อสอบ ลักษณะของข้อสอบแบบเลือกตอบ (หน้า ) ………………………………..เนื้อหา ……...………………………... บันทึกบัตรละ 1 หัวข้อเรื่อง

62 บัตรดรรชนี สมหวัง พิธยานุวัฒน์. หลักการวัดและ ประเมินผล. กรุงเทพฯ.
001 002 003 สมหวัง พิธยานุวัฒน์. หลักการวัดและ ประเมินผล. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520, บันทึกบัตรละ กี่ชื่อเรื่องก็ได้

63 การสังเคราะห์เนื้อหาสาระที่ได้จากการจดบันทึกและการเสนอรายงาน
งานสำคัญของการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย คือ การสังเคราะห์เนื้อหาสาระที่ได้จากการอ่าน เพื่อให้ได้สารสนเทศตอบประเด็นคำถามตามที่กำหนดไว้ในเค้าโครงหัวข้อที่ต้องศึกษา โดยผู้สอนนำเอาบัตรบรรณานุกรมและบัตรเนื้อหามาจัดเรียงใหม่ คือ ถ้าผู้วิจัยจดบันทึกโดยมีบัตรบรรณานุกรม 5 เรื่อง แต่ละเรื่องมี 4 หัวข้อเท่ากัน ก็จัดใหม่โดยเอาหัวข้อเป็นหลักก็จะจัดได้เป็น 4 ชุด ชุดละ 5 บัตร เป็นต้น แล้วทำการสังเคราะห์เนื้อหาสาระตามประเภทของเอกสารดังนี้

64 1. สังเคราะห์ทฤษฎี การวิจัยในชั้นเรียนกระทำเพียงแต่ชี้ให้เห็นความแตกต่างและความคล้ายคลึงระหว่างทฤษฎีเท่านั้นก็พอ 2. สังเคราะห์วิธีการวิจัย ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะศึกษาความแตกต่างและความคล้ายคลึงของวิธีดำเนินการวิจัยและนิยามปฏิบัติการของงานวิจัยทั้งหมดที่บันทึกไว้ 3. สังเคราะห์ผลการวิจัย เป็นการนำผลการวิจัยมาสรุปซึ่งกระทำโดยเสนอความสอดคล้องของผลการวิจัยหรือความขัดแย้งกับสมมติฐาน ว่ามีความสอดคล้อง กี่เรื่อง ขัดแย้งกี่เรื่อง

65 ขั้นตอนสุดท้ายของการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย คือ การเสนอรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยเสนอเป็นส่วนๆ ดังนี้ 1. บทนำ เสนอรายงานตามหัวข้อดังนี้ * ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา * ปัญหาวิจัย * วัตถุประสงค์ของการวิจัย

66 2. เนื้อเรื่อง เสนอตามหัวข้อ
* ความหมายหรือนิยามของตัวแปรหลักในการวิจัย * ทฤษฎีพื้นฐานที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรหลัก 3. สรุป เสนอความคิดเห็นของผู้วิจัยถึงแนวทางการวิจัยที่จะทำ 4. อภิปราย เป็นการนำผลการวิจัยของผู้วิจัยมาเปรียบเทียบกับเนื้อหาสาระของเอกสารที่เกี่ยวข้องว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด

67 5. อ้างอิง เป็นการเสนอบรรณานุกรมทั้งหมดของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ซึ่งมีวิธีการเขียนแตกต่างกันไป ขอให้ผู้วิจัยยึดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นสากล การเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ควรนำมาทบทวนแก้ไข โดยเว้นช่วงเวลาไว้สักระยะหนึ่ง และถ้าได้พบเอกสารที่ตรงกับปัญหาวิจัยอีกก็ควรนำมาเขียนเพิ่มเติม รายละเอียดที่ได้ทั้ง 5 ส่วนสามารถนำไปใช้เขียนรายงานการวิจัยในแต่ละบทได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป

68 สรุป การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย กระทำเมื่อผู้วิจัยได้ปัญหาวิจัยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญในการวิจัย โดยมีขั้นตอนการศึกษาสรุปได้ดังนี้

69 แผนภูมิแสดงขั้นตอนการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
หัวข้อ/ปัญหาวิจัย ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

70 สังเคราะห์เนื้อหาและเขียนรายงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
บัตรบรรณานุกรม/บัตรเนื้อหา เอกสารอ้างอิงทั่วไป * ดัชนีวารสาร * บทคัดย่องานวิจัย * บทคัดย่อบทความ * รายการเอกสาร เอกสารปฐมภูมิ * หลักสูตร * บทความและผลงานวิจัย * รายงานการวิจัย * วิทยานิพนธ์ หรือ ปริญญานิพนธ์ เอกสารทุติยภูมิ * หนังสือหรือตำรา * พจนานุกรม * สารานุกรม * ปริทัศน์งานวิจัย * คู่มือผู้สอน *รายงานประจำปี

71 การออกแบบการทดลอง

72 ความหมายของการออกแบบการทดลอง
การออกแบบการทดลอง คือ การวางแผนเพื่อพิสูจน์ว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพหรือไม่ โดยการนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินว่านวัตกรรมนั้นสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ หลังจากผู้สอนได้พัฒนานวัตกรรมตามขั้นอย่างถูกต้องตามหลักการหรือทฤษฎีแล้วนำอำนาจไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไขปรับปรุง จะทำให้มีความมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า นวัตกรรที่สร้างขึ้นนั้นน่าจะมีคุณภาพ เพราะได้สร้างตามขั้นตอน มีทฤษฎีหรือหลักการรองรับ หรือมีผู้เชี่ยวชาญ

73 พิจารณาถึงการเป็นไปตามหลักวิชาแต่เพื่อให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าสามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริงตามเป้าหมาย จึงต้องนำทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย เช่นเดียวกับการที่บริษัทผลิตสินค้าชนิดใหม่ ๆ ก่อนที่จะนำสินค้านั้นออกเผยแพร่หรือจำหน่าย ทางบริษัทจะต้องทำการทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสินค้านั้นเสียก่อนจนกว่าจะมั่นใจว่ามีคุณภาพดีพอจึงนำออกเผยแพร่หรือจำหน่าย

74 โดยวิธีการทดลองนั้นทางบริษัทจะสุ่มสินค้าบางชิ้นเท่านั้น ไม่ใช่ทำการทดสอบกับสินค้าทุกชิ้น ในการทดลองใช้นวัตกรรมของผู้สอนก็เช่นเดียวกัน จะนำมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเล็ก ๆ เสียก่อนจนมั่นใจว่านวัตกรรมนั้นมีคุณภาพจริง กล่าวคือสามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนได้ จากนั้นจึงจะนำนวัตกรรมดังกล่าวไปเผยแพร่ใช้กับผู้เรียนที่สอนทั้งหมด หรือใช้กับผู้เรียนกลุ่มอื่นที่มีคุณลักษณะเช่นเดียวกัน ในการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเล็ก ๆ ดังกล่าว ต้องมีการวางแผนกำหนดวิธีการ และเทคนิคในการทดลอง เพื่อให้ผลการทดลองมีความแม่นยำเชื่อถือได้

75 ความสำคัญของการออกแบบการทดลอง
การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนกำหนดวิธีการ และเทคนิคในการทดลองถ้าผู้สอนมิได้ทำการวางแผนไว้ล่วงหน้า อาจเกิดปัญหาระหว่างดำเนินการทดลอง หรือภายหลังดำเนินการทดลองในช่วงการวิเคราะห์ และแปรผล กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่วางแผนการสร้างรูปแบบนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ ควรจะต้องมีความเด่นชัด มีทฤษฎีรองรับ เพื่อให้มั่นใจว่ามีโอกาสแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริง ต้องกำหนดและเตรียมเครื่องมือที่ใช้วัดให้เหมาะสมโดยเครื่องมือต้องมีคุณภาพ และกำหนดช่วงเวลาในการวัดว่าจะวัดเมื่อใด วัดตัวแปรใดบ้างจะใช้ใครเป็นกลุ่มตัวอย่าง

76 แนวทางการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีใด ในการวางแผนดังกล่าวต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิชา และหลักคุณธรรม แต่ถ้าผู้สอนไม่ได้เตรียมวางแผนรายละเอียดดังกล่าว และปฏิบัติตามแผนนั้น อาจทำให้ได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การสรุปผลการทดลองผิดพลาดด้วย

77 หลักการของการออกแบบการทดลอง
เพื่อให้ผลการทดลองมีความแม่นตรง ได้ข้อสรุปถึงผลการทดลองที่แม่นยำ ในการออกแบบการทดลองควรมีหลักการ ดังนี้ 1. นวัตกรรม ที่นำมาทดลอง จะต้องมีความเด่นชัด มีทฤษฎีรองรับเพื่อให้มั่นใจว่ามีโอกาสแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้ผล หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริง หรือแตกต่างจากวิธีเดิม ทั้งนี้เพื่อต้องการ ให้เกิดความมั่นใจว่า ผลของการใช้นวัตกรรมจะแตกต่างจากการไม่ได้ใช้นวัตกรรมหรือการใช้วิธีเดิมอย่างชัดเจน เช่น การทดลองสอนโดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์สรายวิชาคณิตศาสตร์ สร้างขั้นอย่างเป็นระบบ และมีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีวัตถุประสงค์ของการเรียนอย่างชัดเจนเหมาะกับการเรียนหน่วยย่อย ๆ

78 เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นวิธีสอนที่มี หลักการรองรับ ต่างจากวิธีสอนเดิมที่ผู้สอนใช้สอนได้อย่างชัดเจน ถ้าแนวทางการสร้างนวัตกรรมนั้น มีหลักวิชาการรองรับ หรือมีผู้เคยนำแนวทางนั้น ๆ ไปใช้ในสถานณ์ใกล้เคียงกันแล้วเกิดผลจะทำให้มีโอกาสสูงที่นวัตกรรมนั้นจะใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน

79 2. พยายามลดความคลาดเคลื่อนในการวิจัยให้เหลือน้อยที่สุด โดยการใช้เครื่องมือวัดที่มีความเที่ยง ( Reliability )ที่ดี คือ ผลการวัดมีความคงที่ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็ตาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ศึกษา และนอกจากนี้สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการวิจัย และเหมาะสมกับระดับของข้อมูลที่รวบรวมได้

80 ตัวอย่าง เครื่องมือวัดที่มีความตรง เช่น ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบและจุดประสงค์ ( IOC ) มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 กล่าวคือ ข้อสอบข้อนั้นเมื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้แก่ผู้สอนรายวิชานั้น ๆ ที่มีประสบการสอนอย่างน้อย 1 ปี พิจารณาว่าสามารถวัดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการวัดหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าวัดจุดประสงค์นั้นจริง

81 การเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องพิจารณาว่าสถิตินั้นสามารถตอบปัญหาการวิจัยหรือจุดประสงค์ของการวิจัยได้หรือไม่ และสอดคล้องกับข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้ค่าสถิตินั้น ๆ หรือไม่ 3. การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่รบกวนผลการทดลอง เช่น ในการทดลองสอนชุดการสอนมินิคอร์ส รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง และโพลิโนเมียล ขณะทำการทดลองอาจมีผู้เรียนบางคนได้เรียนพิเศษ รายวิชาคณิตศาสตร์ นอกเหนือจากการเรียน โดยใช้ชุดการสอนดังกล่าว การเรียนพิเศษจึงรบกวนต่อผลการทดลอง ในกรณีเช่นนี้ผู้สอนควรคัดผู้เรียนเหล่านี้ออกจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการไม่นำคะแนนการสอบวัดของผู้เรียนที่เรียนพิเศษมาวิเคราะห์เพื่อสรุปผล

82 ในการออกแบบการทดลองนอกจากยึดหลักการ ทั้ง 3 ข้อแล้ว ในทางปฏิบัติจริงควรพิจารณาถึงข้อควรคำนึงอื่น ๆ อีก เช่น ก. ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้สอนควรเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นห้องเรียนที่จัดอยู่ในสภาพเดิมอยู่แล้วไม่ควรมีการจัดชั้นเรียนใหม่เพื่อการทดลองโดยเฉพาะ เช่น มีการสุ่มนักเรียนแต่ละห้องมาห้องละ 10 คน จาก 5 ห้องเรียน แล้วมาจัดเป็นห้องทดลองใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดความวุ่นวายในการจัดการ และนอกจากนี้ผู้เรียนจะมีความรู้สึกว่ากำลังถูกทดลอง อาจส่งผลต่อการวิจัยได้

83 ข. ไม่ควรให้ผู้เรียนบางส่วนเสียโอกาสหรือเสียเปรียบ ในการทดลองบางครั้งมีการออกแบบโดยเห็นชัดเจนว่า ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งเสียเปรียบ เช่น ผู้สอนต้องการทดลองว่าแผนการสอนที่ตนสร้างขึ้นมีคุณภาพหรือไม่ จึงออกแบบการทดลองโดยให้ผู้เรียนกล่มหนึ่งที่เรียนโดยใช้แผนการสอน ผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่งเรียนโดยวิธีเดิมย่อมเสียเปรียบกลุ่มที่เรียนโดยใช้แผนการสอน ทั้งนี้เพราะในการสอนโดยใช้แผนการสอนที่ผู้สอนวางแผนมาอย่างดีแล้วย่อมเป็นการสอนที่เป็นขั้นตอน เป็นไปตามทฤษฎี และหลักจิตวิทยา จึงน่าจะมีคุณภาพกว่ากลุ่มที่เรียนโดยวิธีเดิม หรือกรณีที่มีการออกแบบการทดลองโดยให้ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งเรียนโดยใช้สื่อประกอบบทเรียนและผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่งเรียนโดยไม่ใช้สื่อประกอบ ผู้เรียนกลุ่มที่เรียนโดยไม่ใช้สื่อประกอบ ย่อมเสียเปรียบกลุ่มที่เรียนโดยมีสื่อประกอบ

84 การกำหนดตัวแปรตามของการทดลองมีแนวทาง ดังนี้
1.กำหนดจากคุณลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยตรงอันเป็นผลจากการใช้นวัตกรรม เช่น ในการทดลองใช้ชุดการสอนมินิคอร์สรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง และโพลิโนเมียล คุณลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดโดยตรงหลังจากใช้ชุดการสอน คือ “ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเลขยกกำลังและโพลิโนเมียล ” หรือกรณีทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านคำควบกล้ำ คุณลักษณะของผู้เรียนที่ต้องการให้เกิดโดยตรงหลังจากใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านคำควบกล้ำ คือ “ ทักษะ การอ่านของผู้เรียนในการอ่านคำควบกล้ำ ”

85 2. กำหนดจากผลโดยอ้อม หรือผลข้างเคียง ในบางครั้งผู้สอนมีจุดหมายในการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง แต่เมื่อใช้นวัตกรรมดังกล่าวแล้ว กลับมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่มิใช่จุดหมายที่ต้องการแก้ปัญหานั้นเกิดขึ้นด้วย เช่น ในการทดลองใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลังและโพลิโนเมียล นอกจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปลี่ยนแปลงแล้ว ผู้เรียนยังมีนิสัยในการเรียนดีขึ้น กล่าวคือ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน ขยันทำงานที่ผู้สอนมอบหมายงานนั้น “ นิสัยในการเรียน ” จึงเป็นผลโดยอ้อม หรือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส ดังกล่าว

86 ชื่อนวัตกรรมที่ทำการทดลอง ตัวแปรตามที่กำหนด
ชื่อนวัตกรรมที่ทำการทดลอง ตัวแปรตามที่กำหนด คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดโดยตรง ผลโดยอ้อมหรือผลข้างเคียง 1. ชุดการสอนมินิคอร์สเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง นิสัยในการเรียน เลขยกกำลังและเรื่อง เลขยกกำลังและเรื่อง โพลิโนเมียล โพลิโนเยล 2.ชุดฝึกทักษะการอ่านควบกล้ำ ทักษะการอ่านควบกล้ำ เจตคติต่อวิชาภาษาไทย 3. รายงานการวิจัยเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง บรรยากาศการเรียน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง ประชากรของประเทศไทย การเรียนวิชาสังคมศึกษา “ ประชากรของประเทศไทย ” ระหว่างการสอน โดยวิธี กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับ การสอนโดยวิธีปกติ

87 ชื่อนวัตกรรมที่ทำการทดลอง ตัวแปรตามที่กำหนด
ชื่อนวัตกรรมที่ทำการทดลอง ตัวแปรตามที่กำหนด คุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดโดยตรง ผลโดยอ้อมหรือผลข้างเคียง 4. คู่มือการใช้ “ แผ่นโปรงใส ” ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อวิชา คณิตศาสตร์ ประกอบการสอนรายวิชา คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ 5. รายงานการวิจัยเรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา นิสัยในการเรียน การทดลองสอนแบบผ่าน สังคมศึกษา เกณฑ์วิชาสังคมศึกษา ทวีปของเรา 6. การพัฒนาชุดการเรียนการ คุณธรรมในด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สอน เรื่อง “ การคบเพื่อน ” ความรับผิดชอบ - ความซื่อสัตย์ - ความขยันหมั่นเพียร - ความอดทนอดกลั้น

88 รูปแบบการทดลอง และแนวทางการวิเคราะห์ผล
ในการออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่านวัตกรรมสามารถแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนได้ สามารถออกแบบการทดลองได้หลายแบบ แต่แบบการทดลองที่จะได้นำเสนอต่อไปนี้ เป็นแบบของการทดลองที่สามารถนำมาใช้ในการวิจัยในชั้นเรียนได้

89 แบบการทดลองที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว และมีการวัดผลการทดลอง 1 ครั้ง x O1 x การทดลองใช้นวัตกรรม O1 การวัดผลหลังการทดลองใช้นวัตกรรม

90 การทดลอง ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างมาทดลอง ใช้กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียนที่มีผู้เรียนเก่ง อ่อนและปานกลางคละกัน แต่สถานศึกษามีข้อจำกัดจำนวนห้องเรียนน้อยไม่สามารถเลือกห้องเรียนได้ หรือมีการจัดห้องเรียนในลักษณะอื่นก็ให้เลือกห้องเรียนตามข้อจำกัดนั้น ๆ หลังจากเลือกห้องเรียนแล้วทำการสอนโดยใช้ นวัตกรรมที่สร้างขึ้น เมื่อจบการทดลองแล้วให้ทำการสอบวัดด้วยข้อสอบหรือเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ

91 จุดเด่นจุดด้อยของแบบการทดลองที่ 1
เป็นรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน มีการวัดหลังการทดลองเพียงครั้งเดียว และใช้กลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว จุดด้อย ก. ไม่มีเกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบว่าก่อนการทดลองใช้นวัตกรรม ผู้เรียนมีพื้นความรู้อยู่ในระดับใด เนื่องจากมีการวัดผลหลังจากการวัดผลเพียงครั้งเดียว จึงไม่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจว่า หลังการทดลองผู้เรียนมีคะแนนสูงขึ้นจากเดิมจริงหรือไม่ ข. เนื่องจากไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ จึงทำให้ไม่แน่ใจว่าหลัง จากใช้นวัตกรรมแล้วผู้เรียนจะมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดย ใช้วิธีเดิมหรือไม่

92 แบบการทดลองที่ 2 ใช้กลุ่มตัวอย่างเดียว มีการวัดผล 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังทดลอง O X O2 x การทดลองใช้นวัตกรรม O1 การวัดผลก่อนการทดลองใช้นวัตกรรม ( วัดผลครั้งที่ 1 ) O2 การวัดตัวแปรตามหลังการใช้นวัตกรรม ( วัดผลครั้งที่ 2 )

93 การทดลอง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะเช่นเดียวกับแบบการทดลองที่ 1 ก่อนทดลองใช้นวัตกรรม ทำการสอบวัดตัวแปรตามของการทดลองด้วยเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ หลังจากใช้นวัตกรรมแล้ว ทำการสอบด้วยเครื่องมือชุดเดิม

94 การวิเคราะห์ผลการทดลอง
เมื่อการทดลองนี้สิ้นสุดลง และทำการวัดตัวแปรตามหลังการทดลองแล้วนำผลการวัดก่อนและหลังการทดลองเปรียบเทียบกัน โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) (สำหรับกรณี dependent group)

95 จุดเด่นจุดด้อยของแบบการทดลองที่ 2
เป็นรูปแบบการทดลองที่มีการเปรียบเทียบ โดยเปรียบเทียบกับตัวของมันเองก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการทดลอง ทำให้สรุปได้อย่างค่อนข้างมั่นใจยิ่งขึ้นว่า ถ้าคะแนนหลังการทดลองเพิ่มขึ้น แสดงว่าเป็นผลเนื่องมาจากการใช้นวัตกรรม

96 จุดด้อย ก. เนื่องการทดลองนี้มีการวัด 2 ครั้ง โดยการวัดครั้งที่ 2 อาจได้รับผลกระทบจากการวัดครั้งแรก เช่น อาจมีการจำข้อคำถามได้ หรือผู้ถูกวัดอาจรู้ตัวว่ากำลังถูกทดลองจึงอาจทำให้ผลการวัดมีความคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ซึ่งกรณีเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นกับการวัดตัวแปรเจตคติมากกว่าตัวแปรด้านผลสัมฤทธิ์ ข. ถ้าการทดลองใช้นวัตกรรมเป็นระยะเวลานาน ช่วงเวลาของการวัดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จะห่างกันมาก ในช่วงเวลาดังกล่าวผู้เรียนมีอายุมากขึ้น วุฒิภาวะเพิ่มขึ้น องค์ประกอบเหล่านี้ส่งผลต่อคะแนนการวัดครั้งที่ 2 ทำให้คะแนนที่เพิ่มขึ้นมิได้เกิดจากการใช้นวัตกรรมเพียงอย่างเดียว

97 แบบการทดลองที่ 3 ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม มีลักษณะเท่าเทียมกัน ใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1กลุ่มและกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม มีการวัดผลการทดลอง 1 ครั้ง C ~X 01 E X 02 กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง สอนวิธีเดิม สอนโดยใช้นวัตกรรม วัดผลหลังการสอนโดยวิธีเดิม วัดผลหลังการสอนโดยใช้นวัตกรรม C E ~X X 01 02

98 การทดลอง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกผู้เรียน 2 ห้องเรียนที่มีความเท่าเทียมกันก่อนทดลองใช้นวัตกรรมโดยสุ่มให้ห้องใดห้องหนึ่งเป็นกลุ่มตัวควบคุมทำการสอนโดยใช้วิธีเดิม และอีกกลุ่มหนึ่งให้สอนโดยใช้นวัตกรรม เมื่อสอนครบตามกำหนดทำการสอบวัดตัวแปรตามของการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยเครื่องมือชุดเดียวกัน ความเท่าเทียมกันของผู้เรียนทั้ง 2 ห้อง หมายถึง คุณลักษณะต่างๆ ของนักเรียนโดยเฉลี่ยทั้ง 2 ห้อง ใกล้เคียงกัน เช่นความรู้พื้นฐานในวิชาที่ทดลองใช้นวัตกรรม ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครอง วุฒิภาวะของผู้เรียน ฯลฯ เป็นต้น

99 การวิเคราะห์ผลการทดลอง
เมื่อทดลองสิ้นสุดลง และทำการวัดตัวแปรตามหลังการทดลองทั้ง 2 ห้องเรียน แล้วนำผลการวัดทั้ง 2 กลุ่มมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) (สำหรับกรณี Independent Group)

100 จุดเด่นจุดด้อยของแบบการทดลองที่ 3
แบบการทดลองนี้มีกลุ่มสำหรับเปรียบเทียบ ซึ่งได้แก่กลุ่มที่เท่าเทียมกันแต่จัดให้มีการเรียนการสอนโดยวิธีเดิม (กลุ่มควบคุม) ทำให้ผลการสรุปมั่นใจยิ่งขึ้นว่า ถ้ากลุ่มทดลองมีคะแนนการวัดตัวแปรตามหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แสดงว่าการสอนโดยใช้นวัตกรรมมีคุณภาพดีกว่าการสอนโดยวิธีเดิม จุดด้อย เป็นการยากสำหรับผู้ทดลองนวัตกรรม โดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดเล็กเนื่องจากหากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เรียนที่เท่าเทียมกัน 2 ห้อง ได้ค่อนข้างน้อย

101 แบบการทดลองที่ 4 ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม มีการสอบก่อนและหลังการทดลอง
C 01 ~X 03 E X 02 04 กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง สอนวิธีเดิม สอนโดยใช้นวัตกรรม วัดผล ก่อนการสอนโดยวิธีเดิม , วัดผล หลังการสอนโดยวิธีเดิม , วัดผล หลังการสอนโดยใช้นวัตกรรม C E ~X X 02 01 วัดผล ก่อนการสอนโดยใช้นวัตกรรม 04 03

102 การทดลอง การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เลือกผู้เรียน 2 ห้องเรียนที่มีคุณลักษณะต่างๆ ใกล้เคียงกันก่อนดำเนินการทดลอง ทำการสอบวัดตัวแปรของการทดลองด้วยเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพหลังจากดำเนินการทดลองโดยทำการสอนกลุ่มควบคุมด้วยวิธีเดิม และสอนกลุ่มทดลองโดยใช้นวัตกรรม ทำการวัดตัวแปรตามของการทดลอง ทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยข้อสอบชุดเดิมอีกครั้งหนึ่ง

103 การวิเคราะห์ผลการทดลอง
นำคะแนนเฉลี่ย ของผลต่างก่อนและหลังการทดลอง ของแต่ละกลุ่ม มาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) (สำหรับกรณีเปรียบเทียบ gain scores) ถ้าพบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลต่างของกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้นวัตกรรมสูงกว่ากลุ่มที่สอนโดยวิธีเดิม แสดงว่านวัตกรรมมีคุณภาพ

104 จุดเด่นจุดด้อยของแบบการทดลองที่ 4
จุดเด่น และจุดด้อย ของแบบการทดลองนี้ เช่นเดียวกับแบบการทดลองที่ 3 แต่มีข้อเพิ่มเติม คือ ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่าง ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่ใกล้เคียงกัน และมีความแตกต่างกันมากการนำคะแนนความแตกต่างมาวิเคราะห์จะมีความเที่ยงน้อยลง

105 การเลือกใช้แบบการทดลอง
ในการเลือกใช้แบบการทดลองใด ควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้ 1. คำนึงถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแบบการทดลองแต่ละแบบ ผู้ทดลองต้องประเมินว่ายอมให้จุดด้อยใดเกิดในการทดลองของงาน 2. สภาพที่เอื้ออำนวยต่อการทดลอง หรือข้อจำกัดต่างๆ เช่น ถ้าเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก อาจใช้ แบบการทดลองที่ 3 หรือ 4 ไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถหากลุ่มตัวอย่างที่เท่าเทียมกันหรือคุณลักษณะใกล้เคียงกันได้ยาก

106 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

107 ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน มีหลายประเภท ได้แก่ 1. แบบทดสอบ (Test) 2. แบบสอบถาม (Questionnaires) 3. แบบสัมภาษณ์ (Interview) 4. แบบสังเกต (Observation)

108 การหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เรื่องที่ 2 การหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเครื่องมือที่มีคุณภาพ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจได้จากที่ผู้อื่นสร้างไว้ ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลาในการสร้างเครื่องมือใหม่ ถ้าไม่สามารถหาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่ตรงกับงานวิจัยของตนได้ ควรสร้างเครื่องมือใหม่อย่างถูกหลักวิชาและควรตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพควรมีลักษณะสำคัญคือมีความตรง ความเชื่อมั่น อำนาจแจกแจงและความยากเหมาะสมซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

109 เรื่องที่ 2.1 ความตรง (Validity)
ความตรงหรือความเที่ยงตรง หมายถึง ความสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด เช่น จะวัดเรื่องความซื่อสัตย์ ตัวคำถามในแบบสอบถามจะต้องเป็นเรื่องที่แสดงออกถึงความซื่อสัตย์หรือหากสอนเรื่องเศษส่วน แบบทดสอบถามวัดเรื่องเศษส่วนจริงๆ หรือไม่ การสร้างเครื่องมือให้มีความตรง ควรถือหลักปฏิบัติดังนี้ 1. การเขียนข้อความ ให้คำนึงถึงหลักตรรกวิทยาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมากที่สุดว่าสิ่งที่เราเขียนอยู่ในความหมายของสิ่งที่เราต้องการจะวัดหรือไม่ 2. ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ด้วยว่า ข้อความที่สร้างเหมาะสมหรือไม่ครอบคลุมสิ่งที่เราต้องการจะวัดมากน้อยเพียงใด

110 การหาค่าความตรง การหาค่าความตรงของเครื่องมือมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของความตรงและวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย ผู้วิจัยอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีพร้อมๆ กันก็ได้ ในที่นี้ ได้เสนอวิธีการหาค่าความตรงตามเนื้อหาดังนี้ ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) หมายถึง การที่เครื่องมือวัดมีข้อคำถามตรงตามเรื่องที่ต้องการจะวัด วิธีการวิเคราะห์จะดำเนินการหลังจากได้สร้างเครื่องมือวัดแล้วโดยมีวิธีการดังนี้

111 1. ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในรายวิชานั้นอย่างน้อย 3 คน ช่วยประเมินเป็นรายบุคคลว่าข้อคำถามแต่ละข้อสามารถวัดได้ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดหรือไม่ โดยให้คะแนนตามเกณฑ์ดังนี้ ถ้าข้อคำถามวัดได้ตรงจุดประสงค์ ได้ 1 คะแนน ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นวัดตรงจุดประสงค์หรือไม่ ให้ 0 คะแนน ถ้าข้อคำถามวัดได้ไม่ตรงจุดประสงค์ ได้ -1 คะแนน

112 ในช่อง +1 ถ้าข้อคำถามนั้นวัดได้ตรงกับจุดประสงค์
คำชี้แจง โปรดพิจารณาข้อคำถามแต่ละข้อที่แนบมาให้ว่าวัดได้ตรงกับจุดประสงค์หรือไม่ โดยให้กาเครื่องหมาย ในช่อง +1 ถ้าข้อคำถามนั้นวัดได้ตรงกับจุดประสงค์ 0 ถ้าไม่แน่ใจหรือตัดสินไม่ได้ -1 ถ้าข้อคำถามนั้นวัดได้ไม่ตรงกับจุดประสงค์

113 วัดได้ตรงจุดประสงค์ หรือไม่
วัดได้ตรงจุดประสงค์ หรือไม่ จุดประสงค์ที่ ข้อคำถามข้อที่ ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ 1. ………… …………………….. ………… ……………………. …………………….. 2…………… …………………….. …………… …………………….. …………… ……………………..

114 2.นำคะแนนของผู้เชี่ยวชาญทุกคนที่ประเมินมากรอกลงในแบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ย สำหรับข้อคำถามแต่ละข้อ โดยใช้สูตร IOC = X N IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (Index of Item - Objective Congruence) X คือ ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

115 เกณฑ์การคัดเลือกข้อคำถาม
1. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ คัดเลือกไว้ใช้ได้ 2. ข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ควรพิจารณาปรับปรุงให้ตัดทิ้ง

116 แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์และผลการวิเคราะห์
ตัวอย่าง แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์และผลการวิเคราะห์ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญคนที่ X IOC จุดประสงค์ที่ ข้อคำถามข้อที่ * * * -

117 ข้อคำถามข้อที่ 1,2 และ 5 มีค่า IOC ตั้งแต่ 0
เรื่องที่ 2.2 ความเที่ยง (Reliability) การหาค่าความเที่ยง อาจเลือกจากวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. วิธีของ Kuder - Richardson ใช้สำหรับข้อสอบที่มีระบบการให้คะแนนแบบ 0-1 มีสูตรที่ใช้ 2 สูตร คือ

118 rtt คือ ความเที่ยงของแบบทดสอบ
สูตรที่ 1 เรียกว่า สูตร KR - 20 rtt คือ ความเที่ยงของแบบทดสอบ เมื่อ n คือ จำนวนข้อของแบบทดสอบ S2 คือ ความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ p คือ สัดส่วนของคนทำถูกแต่ละข้อ q คือ สัดส่วนของคนทำผิดแต่ละข้อ (q = 1-p)

119 สูตรที่ 2 เรียกว่า สูตร KR - 21 rtt คือ ความเที่ยงของแบบทดสอบ เมื่อ n คือ จำนวนข้อของแบบทดสอบ X คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้งฉบับ S2 คือ ความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ

120 ความแตกต่างระหว่าง KR - 20 และ KR - 21 คือสูตร KR - 21 สมมติให้ให้ข้อสอบทุกข้อมีระดับความยาวเท่ากัน หรือค่า p คงที่ และมักจะให้ค่าความเที่ยงต่ำกว่าค่าความเที่ยงที่คำนวณด้วยสูตร KR - 20 โดยทั่วไปผู้สอนมักนิยมใช้สูตร KR - 21 เพราะว่าใช้การคำนวณน้อยกว่าและทำได้รวดเร็วกว่า เพียงแต่แทนค่าจำนวนข้อในแบบทดสอบ (n) ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าความแปรปรวน (S2) ลงในสูตร ก็สามารถคำนวณค่าความเชื่อมั่นได้

121 แสดงการหาค่าความเที่ยงโดยใช้ สูตร KR - 20 และ สูตร KR - 21 ของแบบทดสอบฉบับหนึ่ง ซึ่งมีข้อสอบจำนวน 6 ข้อ ทดสอบกับผู้เรียน 10 คน ให้คะแนนตามวิธี 0-1 (Zero - one method) ตัวอย่าง

122 ข้อที่ ผู้เรียนคนที่ 1 2 3 4 5 6 คะแนนรวม 1 1 1 1 0 1 1 5
ผู้เรียนคนที่ คะแนนรวม p q pq

123 2. วิธีของครอนบาค (Cronbach) ใช้กับแบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า วิธีนี้เรียกว่าการหา “สัมประสิทธิ์เอลฟา ( - Coefficient) ดัดแปลงมาจาก KR - 20 ใช้สูตรดังนี้ เมื่อ คือ ความเที่ยงของแบบสอบถาม n คือ จำนวนข้อคำถาม S คือ ความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ คือ ผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนแต่ละข้อ

124 เมื่อ r เป็นค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร X กับตัวแปร y
3. วิธีทดสอบซ้ำ (Test - Retest) ใช้ในกรณีที่มีการทดสอบ 2 ครั้ง โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันและกลุ่มผู้สอบกลุ่มเดียวกัน (เว้นระยะพอประมาณ) เมื่อให้คะแนนของแต่ละคนจากการสอบแต่ละครั้ง แล้วนำคะแนนจากการสอบ 2 ครั้ง มาหาค่าสหสัมพันธ์ จากสูตรดังนี้ เมื่อ r เป็นค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร X กับตัวแปร y X เป็นผลรวมของข้อมูลที่วัดได้จากตัวแปร X y เป็นผลรวมของข้อมูลที่วัดได้จากตัวแปร y Xy เป็นผลรวมของผลคูณระหว่างค่าของตัวแปร X และ y

125 4. วิธีแบ่งครึ่ง (Split - Half) ใช้ในกรณีที่มีการทดสอบเพียงครั้งเดียว เมื่อตรวจได้คะแนนแต่ละข้อแล้วให้รวมคะแนนแยกเป็น 2 ส่วน อาจแยกเป็นแบบข้อคู่ - ข้อคี่ หรือ ครึ่งแรก-ครึ่งหลัง แล้วนำคะแนนทั้งสองส่วนที่แบ่งแล้วไปหาค่าสหสัมพันธ์ เช่นเดียวกับการใช้วิธีทดสอบ 2 ครั้ง แต่ค่าสหสัมพันธ์ที่ได้ยังไม่ใช่ความเที่ยงที่แท้จริงเพราะหาได้จากคะแนนเพียงครึ่งเดียวจึงจำเป็นต้องนำมาขยายให้เต็มฉบับเสียก่อน โดยใช้สูตร

126 2rครึ่งฉบับ rเต็มฉบับ = 1 + rครึ่งฉบับ r คือ ความเที่ยงของแบบทดสอบ ค่าความเที่ยง ( r ) จะมีค่า ตั้งแต่ -1 ถึง +1 ( -1 < r < 1 ) ความเที่ยงที่ดีจะมีค่าสูงใกล้ๆ +1 ถ้าเครื่องมือใดมีค่าต่ำกว่า 0.5 ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือแล้วนำไปทดลองเพื่อหาค่า rใหม่

127 เรื่องที่ 2.3 อำนาจจำแนก (Discrimination)
อำนาจจำแนก หมายถึง ประสิทธิภาพของข้อคำถามในการแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มคนเก่งและอ่อน กลุ่มผู้ผ่านเกณฑ์กับกลุ่มผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ ในกรณีที่เป็นแบบทดสอบ หรือจำแนกผู้ที่มีคุณลักษณะสูงจากผู้ที่มีคุณลักษณะต่ำในกรณีที่เป็นแบบสอบถาม กรณีเป็นแบบปรนัยที่มีการให้คะแนน 0-1 อาจใช้วิธีคำนวณค่าอำนาจจำแนกโดยใช้เทคนิค 25% ของ Garrett ดังนี้ 1. ตรวจคะแนนของทุกคนแล้วนำกระดาษคำตอบมาเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย (ควรทดสอบเด็กประมาณ 100 คน) 2. หาจำนวน 25 % (1 ใน 4) ของกระดาษคำตอบทั้งหมดแล้วนำเอากระดาษคำตอบกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด กับกลุ่มต่ำสุดมากลุ่มละ 25 % ตรงกลาง 50 % ตัดทิ้ง

128 3. ในข้อสอบแต่ละข้อให้นับจำนวนคนตอบถูกในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ แล้วเทียบเป็นร้อยละของแต่ละกลุ่ม
4. หาความแตกต่างระหว่างร้อยละของคนตอบถูกในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ผลที่ได้คือ ค่าอำนาจจำแนก เช่น ข้อสอบข้อที่ 1 กลุ่มสูงตอบถูก 80% กลุ่มต่ำตอบถูก 20% ค่าอำนาจจำแนก = = 60% หรือ 0.60 ข้อสอบที่ถือว่ามีค่าอำนาจจำแนกใช้ได้จะมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป

129 กรณีเป็นแบบสอบถามที่ให้คะแนนเป็นแบบ 1,2,3,4 วิธีคำนวณใช้สูตร
Xสูง - Xต่ำ t = S2สูง S2ต่ำ + Nสูง Nต่ำ เมื่อ t หมายถึง คะแนน t Xสูง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มสูง (แต่ละข้อ) Xต่ำ หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ (แต่ละข้อ) S2สูง หมายถึง ค่าความแปรปรวนของคะแนนกลุ่มสูง (แต่ละข้อ)

130 S2ต่ำ หมายถึง ค่าความแปรปรวนของคะแนนกลุ่มต่ำ (แต่ละข้อ)
Nสูง Nต่ำ หมายถึง จำนวนคนในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำซึ่งมีจำนวนเท่ากัน แบบสอบถามข้อใดที่มีค่า t ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป เป็นข้อที่มีอำนาจจำแนกสูงอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้

131 เรื่องที่ 2.4 ความยาก (Difficulty)
ความยาก หมายถึง จำนวนร้อยละหรือค่าสัดส่วนของผู้เรียนที่ตอบถูกในข้อนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับผู้เรียนทั้งหมด ใช้กับเครื่องมือวัดที่เป็นแบบทดสอบปรนัยประเภท 0-1 หรือในกรณีที่แบ่งเป็นกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ ให้นำร้อยละของจำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มสูง รวมกับร้อยละของจำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำหารด้วย 2 เช่น ข้อสอบข้อ 1 กลุ่มสูงตอบถูก 80% กลุ่มต่ำตอบถูก 20% ความยาก = = 50% 2

132 การปรับปรุงเครื่องมือวัด
ความยากที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ถ้ามีค่ายิ่งมากแสดงว่ายิ่งง่าย การปรับปรุงเครื่องมือวัด ภายหลังจากการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและการนำไปทดลองใช้แล้ว ผู้สร้างอาจต้องตัดข้อคำถามบางข้อทิ้ง หรือปรับปรุงข้อความใหม่ การปรับปรุงได้แก่ การแก้ไขข้อความเช่น เพิ่มคำบางคำ หรือขยายความบางอย่างให้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วจึงนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างแล้ววิเคราะห์รายข้อทำเช่นนี้หลายๆ ครั้งจนไม่มีข้อใดที่จำเป็นต้องปรับปรุง จึงคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด

133 การวางแผนการวิจัยในชั้นเรียน

134 ความสำคัญของการวางแผนการวิจัยและโครงการวิจัย
เป็นการออกแบบการวิจัย หรือการกำหนดรูปแบบ ขอบเขต และแนวทางการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาวิจัยที่ตั้งไว้

135 แผนการวิจัยที่ดี เป็นแนวทางนำไปสู่การดำเนินการวิจัยที่มี ประสิทธิภาพ 1. เป็นสื่อกลางในการดำเนินการวิจัย ทำให้ผู้วิจัยและผู้ที่ เกี่ยวข้องทราบแนวคิด และแนวทางดำเนินงานอย่างสอดคล้อง และตรงกัน 2. ทำให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปอย่างราบรื่น และบรรลุวัตถุประสงค์ 3. ทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจในการดำเนินการวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ความสำคัญของการวางแผนการวิจัย

136 ในการวางแผนการวิจัยมีส่วนประกอบดังนี้
1. ปัญหาวิจัย ต้องเขียนปัญหาการวิจัยให้ ชัดเจนซึ่งจะเป็นแนวทางในการ กำหนดวัตถุประสงค์ และการเก็บข้อมูล 2. วิธีการวิจัย เป็นการบอกเทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูล

137 ความสำคัญและลักษณะของโครงการวิจัย
ความสำคัญของโครงการวิจัย โครงการวิจัย (Research Proposal) เป็นกรอบความคิดในการดำเนินการวิจัย ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นลักษณะของโครงการ หรือเป็นแผนปฏิบัติการในการดำเนินการวิจัย ที่ทำให้ ผู้วิจัย / ผู้เกี่ยวข้อง ได้ทราบแนวคิดและแนวทางในการดำเนินการวิจัย

138 3. ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ระบุว่าจะเก็บข้อมูลจากใคร เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด จำนวนเท่าไร 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุถึงวิธีการวิเคราะห์และการเลือกใช้ สถิติที่จะวิเคราะห์ข้อมูล 5. ปฏิทินปฏิบัติงานวิจัย ระบุกิจกรรมทั้งหมดที่จะต้องทำในการวิจัย และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ

139 ความสำคัญของโครงการวิจัยมีดังนี้
1. เป็นพิมพ์เขียว (Blueprint) หรือกรอบความคิดในการดำเนินการวิจัย 2. ช่วยให้ผู้ดำเนินการวิจัย / ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกัน ดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ 3. ช่วยในการประมาณค่าใช้จ่าย แรงงานและระยะเวลา 4. เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอนุมัติ หรือการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย 5. เป็นประโยชน์ต่อการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

140 ลักษณะของโครงการวิจัย
โครงการวิจัยเป็นโครงการที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความหมายของโครงการโดยทั่วไป เพราะโครงการวิจัยมีลักษณะคล้ายแผนปฏิบัติ ซึ่งต้องเขียนให้ชัดเจนว่าจะทำอะไร ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำที่ไหน ทำกับใคร ทำเมื่อไร เพื่อให้โครงการวิจัยเป็นไปตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบของปัญหาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงาน

141 การเขียนโครงการวิจัย
องค์ประกอบของโครงการวิจัย จุดมุ่งหมายของการเขียนโครงการวิจัย คือ ให้ผู้อ่านโครงการทราบว่าจะวิจัยอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไร จะใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อย่างไร ในการเสนอโครงการวิจัยโดยทั่วไปจะปรากฏรายการเนื้อหาสาระที่สำคัญ 3 ส่วน คือ (1) ส่วนนำ (2) ส่วนเนื้อหา และ (3) ส่วนอ้างอิง ซึ่งองค์ประกอบแต่ละส่วนมีดังนี้

142 ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนอ้างอิง
ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนอ้างอิง 1. ชื่อเรื่อง 1. ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา บรรณานุกรม 2. ชื่อผู้วิจัยและคณะ 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ภาคผนวก พร้อมวุฒิการศึกษา 3. สมมติฐานการวิจัย ปฏิทินดำเนินงาน/ เครื่องมือเก็บรวบรวม 3. ชื่อหน่วยงานสถาน 4. ขอบเขตของการวิจัย ข้อมูล ที่ทำงาน 5. คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 4. ที่ปรึกษาโครงการ 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5. ปีที่ทำการวิจัย / 7. วิธีดำเนินการวิจัย ปีงบประมาณ

143 การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

144 บทที่ 1 บทนำ จุดเด่นของบทนี้ จะต้องชี้ให้เห็นสภาพของปัญหาการเรียนการสอนโดยแสดงข้อมูลยืนยันสภาพปัญหาระบุแนวคิดในการแก้ปัญหา กำหนดจุดประสงค์ในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจน แนวทางในการเขียนบทนำ มีส่วนประกอบ 6 ข้อ คือ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3. สมมุติฐานของการวิจัย 4. ขอบเขตของการวิจัย 5. คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

145 แนวทางการเขียนส่วนประกอบในแต่ละข้อ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา กล่าวถึงสภาพการเรียนการสอนที่พึงปรารถนา หรือที่ควรจะเป็นโดยอาจกล่าวถึงแผนการศึกษาชาติ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร นโยบายการจัดการศึกษาระดับกรม ตลอดจนจุดประสงค์รายวิชาที่ตนรับผิดชอบ กล่าวถึงสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ประสบ หรือไม่เป็นไปตามที่ปรารถนา โดยบรรยายถึงสภาพปัญหาจากการวิเคราะห์ ตามขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหา ถ้ามีตัวเลขประกอบให้นำมาระบุไว้ด้วย สรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่ประสบอยู่หรือพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยข้อความที่เขียนในส่วนนี้จะต้องสอดคล้องและต่อเนื่องกันโดยตลอด

146 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
กำหนดให้ชัดเจนว่า เพื่อศึกษาอะไร เขียนถึงสิ่งที่เราอยากได้คำตอบ การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องเขียนให้สอดคล้องกับปัญหาวิจัย และนิยมเขียนเป็นประโยคบอกเล่า 3. สมมุติฐานของการวิจัย สมมุติฐานของการวิจัย เป็นคำตอบที่คาดหวังไว้ก่อนที่จะทำการวิจัย หรือสามารถทดสอบ ได้ด้วยวิธีการทางสถิติ การตั้งสมมุติฐานต้องตั้งบนรากฐานแนวคิดทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น กล่าวคือ ผู้วิจัยจะต้องศึกษาแนวคิดทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ จึงจะสามารถตั้งสมมุติฐานได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และการตั้งสมมุติฐานต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

147 4. ขอบเขตของการวิจัย เป็นการบอกกรอบงานวิจัยว่า มีขอบเขตเพียงใด ครอบคลุมอะไรบ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดมากนัก 5. คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย มีคำบางคำในรายงานการวิจัยที่ต้องให้คำจำกัดความหรือนิยาม เพื่อทำความเข้าใจระหว่างผู้วิจัยกับผู้อ่านรายงานการวิจัย ซึ่งคำเหล่านั้นจะเป็นคำที่มีความหมายแตกต่างไปจากความหมายทั่วๆ ไป ความหมายของคำที่นิยาม ให้นิยามเป็นเชิงปฏิบัติการ (Operation Definition) มิใช่นิยามตามทฤษฎีหรือความหมายสากล 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้วิจัยต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วเราจะนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงได้อย่างไรบ้าง ซึ่งต้องสอดคล้องกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และให้กล่าวถึงประโยชน์ที่เป็นผลตามมาด้วย

148 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทนี้เป็นการนำเสนอ แนวคิดหรือทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ จุดเน้นของบทนี้ คือ หลังจากได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัยแล้ว ผู้เขียนรายงานจะต้องสรุปกรอบความคิด หลักการ แนวทาง หรือรูปแบบของนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาการเรียนการสอน ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือทดลอง

149 รายการเนื้อหาของบทนี้ควรเสนอแยกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของบทที่ 2 เช่น
ตอนที่ 1 ความหมาย หรือมโนทัศน์ที่สำคัญเกี่ยวกับนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน ตอนที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ตอนที่ 3 ผลการวิจัย หรือบทความที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในแต่ละตอนจะต้องอธิบายกรอบความคิดโดยสรุปที่เป็นของผู้วิจัย

150 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
จุดเน้นของบทนี้จะแสดงให้เห็นลำดับขั้นตอนของการสร้างและการพัฒนานวัตกรรมบอกขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือวัด ระบุเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง รูปแบบการทดลองวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล แนวทางในการเขียนบทนี้ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการ 2. ขั้นดำเนินการ

151 1. ขั้นเตรียมการ รายการที่ควรเขียนรายละเอียด คือ
1.1 การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการเรียนการสอน 1.2 การศึกษาเนื้อหา หลักสูตร และเอกสารต่างๆ เพื่อตัดสินใจเลือกรูป หรือวิธีการแก้ปัญหา 1.3 การพัฒนารูปแบบหรือวิธีการที่จะใช้ดำเนินการแก้ปัญหา และเขียน ขั้นตอนการดำเนินการสร้างและพัฒนารูปแบบอย่างละเอียดพร้อม ทั้งการหาคุณภาพเบื้องต้นของรูปแบบเช่น นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ สอบ และให้ผู้เรียน 1 คน ดูความยาก - ง่ายของภาษา และดูว่าสื่อ ความหมายเข้าใจตรงกันหรือไม่ หลังจากนั้นก็ให้ผู้เรียน คน ซึ่งเป็นทั้งผู้เรียนเก่งและผู้เรียนอ่อนดูอีกครั้งหนึ่ง เป็นต้น

152 1. 4. สร้างเครื่องมือสำหรับตรวจสอบและประเมิน มีเครื่องมือกี่ชนิด
1.4 สร้างเครื่องมือสำหรับตรวจสอบและประเมิน มีเครื่องมือกี่ชนิด อะไรบ้าง เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่ ใช้นวัตกรรม ฯลฯ เครื่องมือแต่ละชนิดมีวิธีการสร้างอย่างไร สร้าง เองหรือนำของผู้อื่นมาดัดแปลงอดย่างไร และได้นำไปทดลองใช้กับ กลุ่มใด จำนวนเท่าใดได้ผลอย่างไร 1.5 วางแผนการดำเนินการทดลองแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

153 2. ขั้นตอนดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดที่ต้องระบุดังนี้
2.1 ขั้นการทดลอง เป็นขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของรูปแบบ การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง เขียนระบุว่า สุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด มี ขั้นตอนในการสุ่มอย่างไร พร้อมทั้งบอกจำนวนกลุ่มตัวอย่างด้วย การดำเนินการทดลอง เขียนเป็นขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดกลุ่มตัว อย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มดำเนินการอย่างไร มีการควบคุมการทดลองอย่างไร การรวบรวมข้อมูลหรือการประเมินผล เขียนรายงานว่าใครเป็นคน เก็บข้อมูล มีวิธีการเก็บอย่างไร มีการติดตามผลการเก็บข้อมูล อย่างไร เช่น รอบแรกเก็บได้ไม่ครบแล้วมีวิธีการติดตามต่อไป อย่างไร

154 2. 1. 4 การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ต้อง
การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ต้อง สอดคล้องกับสมมุติฐานขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะของข้อ มูลที่วัด การเขียนสูตร ควรเขียนทั้งสูตรทดสอบสมมติฐาน และสูตร ของสถิติพื้นฐานบางตัว เช่น X, SD และ C.V. เป็นต้น การปรับปรุงแก้ไข และวางแผนดำเนินการต่อไป

155 2.2 ขั้นดำเนินการแก้ปัญหาจริง
ดำเนินการเรียนการสอนกับผู้เรียนทุกคน โดยใช้รูปแบบหรือ วิธีการที่ได้ตรวจสอบคุณภาพแล้วในขั้นตอนข้อ 2.1 การประเมินผลระหว่างการดำเนินการ รวมทั้งประเมินความคิด เห็นหรือเจตคติของผู้สอนและผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูล 2.3 ขั้นเผยแพร่ ขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้สอนมั่นใจว่า ผลการดำเนินงานนั้นได้ผลแน่นอนแล้ว ให้เขียนระบุว่า การเผยแพร่โดยวิธีการใดบ้าง มีหลักฐานการเผยแพร่อะไรบ้าง และผลการเผยแพร่เป็นอย่างไร

156 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ จุดเด่นของบทนี้ คือ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ในบทนี้จะมีการรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ตอน คือ 1. ผลการวิเคราะห์ขั้นการทดลอง (ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพของรูปแบบ) 2. ผลการวิเคราะห์ขั้นดำเนินการแก้ปัญหาจริง

157 หลักในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ควรเสนอเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือ ตามสมมุติฐานของการวิจัยทีละข้อ 2. ถ้าสามารถเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลรวมเป็นตารางเดียวกันได้ก็ควรจะรวมกันไว้และการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลก็ควรแปลเฉพาะประเด็นที่สำคัญหรือข้อค้นพบที่เด่นๆ แปลความเชิงสถิติเป็นหลัก ไม่ควรตีความหรือขยายความเพิ่มเติมในบทนี้ 3. ใช้เทคนิคในการแปลผลที่เรียกว่า “ข้อมูลพูดได้” เช่น ใช้แผนภูมิ แผนภาพต่างๆ ประกอบในการแปลผล ไม่จำเป็นจะต้องเสนอตารางที่มีตัวเลขมากๆ 4. ใช้ภาษาเขียนที่อ่านง่ายและเหมาะสมกับผู้อ่าน พยายามแปลภาษาทางสถิติให้เป็นภาษาเขียนที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่าย

158 5. การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างตาราง ควรมีข้อความนำเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นความต่อเนื่องระหว่างสิ่งที่เสนอไปแล้วกับสิ่งที่จะเสนอต่อไปอย่างไร 6. การเขียนหัวตารางในการเขียนหัวตารางจะต้องเขียนให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือบอกลำดับตารางเพื่อง่ายแก่การค้นคว้าจากสารบัญตาราง เช่น ตาราง ตาราง 2 เป็นต้น 7. เสนอผลกระทบ (Impact) ซึ่งเกิดจากการดำเนินการแก้ปัญหา (ถ้ามี) เช่น ผู้เรียน ผู้สอน ได้รับคำชมเชย ได้รับรางวัลชนะการประกวดต่าง ๆ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหรือมีหน่วยงานอื่นเยี่ยมชมกิจการที่ดำเนินงานนั้น

159 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ จุดเด่นของบทนี้คือ การนำเสนอข้อสรุป หรือข้อค้นพบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยโดยอิงแนวคิดทฤษฎี รวมทั้งให้ข้อค้นพบจากผลการวิจัยครั้งนี้ บทนี้ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วนพร้อมที่จะนำไปปรับรายงานการวิจัยฉบับย่อได้ แนวทางการเขียนบทนี้ มีดังนี้ 1. สรุปวัตถุประสงค์ของการวิจัยในช่วงต้น พร้อมทั้งเล่าวิธีดำเนินการ โดยย่อในช่วงกลางก่อนที่จะเขียน สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

160 2. การเขียนสรุปผลการวิจัย
2.1 ควรสรุปสั้นๆ กระชับ สอดคล้องและเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย 2.2 การสรุปผลการวิจัยเป็นการแปลความในระดับการตีความ 3. การเขียนอภิปรายผลการวิจัย 3.1 เขียนเพื่อชี้แจงให้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลัก การทฤษฎี หรือผลการวิจัยของผู้อื่นที่ทำไว้อย่างไร ถ้าขัดแย้งให้เสนอ ความคิดเห็นหรือเหตุผลหรือข้อจำกัดที่ทำให้ผลที่ได้เป็นเช่นนั้น ใน การอภิปรายควรแยกประเด็นอภิปรายไปทีละประเด็น 3.2 ในการอภิปรายผลการวิจัย ไม่จำเป็นต้องอภิปรายทุกรายการตามข้อ สรุป ผลการวิจัย ผู้วิจัยอาจแยกประเด็นที่เป็นที่น่าสังเกต หรือโดดเด่น หรือประเด็นที่ปรากฏข้อสรุปไม่เป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย

161 แนวทางการเขียนส่วนเอกสารอ้างอิงของรายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ส่วนเอกสารอ้างอิง มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ 1. บรรณานุกรม 2. ภาคผนวก

162 1. บรรณานุกรม บรรณานุกรมเป็นส่วนที่นำเอาเอกสารทุกเล่มทุกชนิดที่อ้างอิงในรายงานการวิจัยทั้งเล่ม ไม่ว่าการอ้างอิงนั้นจะอยู่ตรงส่วนไหนของรายงานการวิจัย ตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทที่ 5 หรือว่าเอกสารเหล่านั้นจะถูกอ้างอิงเป็นเชิงอรรถอยู่แล้วก็ตาม นำมารวบรวมเขียนเป็นบรรณานุกรมของรายงานการวิจัยอย่างเป็นระบบ การเขียนบรรณานุกรม ให้เขียนตามแบบมาตรฐานการเขียนบรรณานุกรมของรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เมื่อใช้รูปแบบใดแล้วก็ให้ใช้รูปแบบนั้นเหมือนกันตลอดทั้งเล่ม และควรแยกภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเป็นคนละส่วน

163 2. ภาคผนวก ภาคผนวกหมายถึงส่วนที่นำรายละเอียดปลีกย่อยของเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องใส่ไว้ในส่วนของเนื้อหามารวมไว้ตอนท้ายเล่ม เพื่อการอ้างอิงในรายละเอียด อาจเป็นข้อมูลตัวเลขตารางผลการวิเคราะห์เอกสารต่างๆ ตัวอย่างเครื่องมือ ฯลฯ เท่าที่ผู้วิจัยเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษางานวิจัยเท่านั้น อาจจะแยกเป็นประเภทภาคผนวกก็ได้ เช่น ภาคผนวก ก. เป็นเรื่องของตารางผลการวิเคราะห์ที่เป็นรายละเอียดเพิ่มเติม ภาคผนวก ข. เป็นตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด ภาคผนวก ค. เป็นเอกสารประกอบอื่นๆ เช่น หนังสือขอความร่วมมือใน การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นต้น

164 การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้

165 ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้
1.1 ความสำคัญของการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ การวิจัยคือ การแสวงหาหรือสืบค้นข้อความรู้ความจริงในเรื่องต่างๆ โดยอาศัยกระบวนการที่เป็นระบบ มีเหตุผล เชื่อถือได้ ผลของการวิจัยจึงเป็นข้อความรู้ ความจริงที่เที่ยงตรง เชื่อถือได้ การวิจัยในชั้นเรียน เป็นกระบวนการสืบค้นความรู้ ความจริงหรือพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำผลไปใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้การวิจัยในชั้นเรียนมีความสมบูรณ์และมีคุณค่ายิ่งขึ้น

166 การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้มีความสำคัญ ดังนี้
1. ผู้สอนสามารถใช้นวัตกรรม วิธีการ เทคนิคการสอนหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่มีคุณภาพผ่านกระบวนการตรวจสอบที่เชื่อถือได้มาใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียนโดยตรงส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรยิ่งขึ้น 2. ผู้สอนสามารถนำข้อมูลอันเป็นข้อค้นพบของการวิจัยมาใช้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนทำให้การพัฒนางานของครูมีมาตรฐานยิ่งขึ้น 3. ผู้สอนสามารถส่งเสริมหรือพัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงของผู้เรียนแต่ละคนทำให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมจนบรรลุศักยภาพสูงสุด

167 4. ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลต่างๆ อันเป็นผลจากการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานบริหารจัดการหรืองานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ส่งผลให้เกิดการพัฒนา 5. ผู้สอนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ 6. ปรับปรุงหรือดัดแปลงงานให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีระบบ เป็นการนำผลการวิจัยเชิงสำรวจหรือเชิงประเมินด้านต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงหรือดัดแปลงงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง 7. วางแผนการดำเนินงานหรือกำหนดนโยบายต่างๆ งานวิจัยในชั้นเรียน บางครั้งจะเป็นการสำรวจความคิดเห็นหรือความต้องการด้านต่างๆ ซึ่งข้อมูลจากผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือกำหนดนโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรได้

168 1.2 จุดมุ่งหมายของการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้
การนำผลการวิจัยไปใช้ เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลหรือสิ่งที่ ค้นพบเพื่อให้เกิดการปรับปรุงหรือพัฒนางานต่อไป การนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. แก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยตรง เป็นการนำทางเลือกหรือ แนวทางที่ ได้จากการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในการเรียนการสอน 2. ปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยนำข้อมูลจากผลการวิจัยมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผล ยิ่งขึ้น 3. เป็นข้อมูลในการดำเนินงานเฉพาะด้าน โดยนำผลการวิจัยเฉพาะ กรณีมาใช้ดำเนินงานในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

169 4. ควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นการนำผลการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพ
4. ควบคุมการปฏิบัติงาน เป็นการนำผลการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานมาเป็นข้อมูลในการควบคุมการ ปฏิบัติงานให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นได้ผลดียิ่งขึ้น 5. ประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการนำผลการวิจัยที่เกี่ยวกับการ ประเมินผลเรื่องต่างๆ มาใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล หรือหน่วยงาน

170 แนวทางการนำผลการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้
2.1 การนำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน 1.1 การปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่ผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนจัดทำขึ้นเพื่อค้นหาข้อคำตอบ หรือหาทางเลือกในการแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำข้อความรู้หรือทางเลือดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนจึงนับว่าเป็นการใช้ผลการวิจัยที่ตรงตามเป้าหมาย ส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง การนำผลการวิจัยไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอน

171 1.2 การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
ผลของการวิจัยในชั้นเรียนนอกจากจะนำไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนโดยตรงแล้ว ยังสามารถเป็นข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่นมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น แนวทางในการใช้ผลการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อการบริหารจัดการ

172 2.2 การนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อความรู้ใหม่เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการ พัฒนาการเรียนการสอน
ผลการวิจัยในชั้นเรียน นอกจากจะใช้เป็นข้อมูลหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือสถานศึกษาโดยตรงแล้ว ยังเป็น ข้อ มูลความรู้ใหม่สำหรับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานหรือเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป ดังแนวทางการนำไปใช้ดังนี้

173 1. การเผยแพร่แก่ผู้สนใจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาเพื่อนำ
1. การเผยแพร่แก่ผู้สนใจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาเพื่อนำ ไปใช้ประโยชน์ในการนำไปใช้แก้ปัญหาหรือนำไปใช้ประโยชน์ เชิงวิชาการที่เป็นความรู้ใหม่ นำไปอ้างอิงหรือนำไปสอนนักเรียน หรือความก้าวหน้าทางวิชาการ 2. การเผยแพร่เพื่อการศึกษาข้อความรู้ใหม่ต่อไป ผลของการวิจัยหลาย เรื่องจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อไป เพื่อให้ได้ข้อความรู้ ที่ลึกซึ้งเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

174 2.3 การนำผลการวิจัยไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ
การวิจัยในชั้นเรียน นอกจากจะมีประโยชน์ในด้านการสร้างองค์ ความรู้ใหม่ในการจัดการเรียนการสอนด้านต่างๆ และเป็นการสร้างข้อมูลสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครู โดยผู้สอนสามารถนำผลการวิจัยใน ชั้นเรียนไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการได้


ดาวน์โหลด ppt การวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google