งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้
A โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ อ.ชาณิภา ซ่อนกลิ่น

2 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้
ในการเลือกเครื่องมือวิจัย เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ หรือ แบบทดสอบ ผู้วิจัยสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของงานวิจัยความเชื่อมั่นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของเครื่องมือวิจัยในการวัดทุกชนิด ถ้าเครื่องมือในการวัดชนิดใดขาดความเชื่อมั่นแล้วผลที่ได้จากการวัดก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร ตัวอย่างเช่น ครูที่ใช้แบบทดสอบที่ไม่มีความเชื่อมั่น หรือมีความเชื่อมั่นต่ำไปสอบกับนักเรียน คะแนนที่ได้จากการสอบซึ่งเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่คงที่แน่นอน ก็จะไม่สามารถนำมาใช้แปลความหมายว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถเพียงใด คะแนนที่ขาดเชื่อมั่นนี้ก็แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีความหมายอะไร

3 ลักษณะสำคัญที่ต้องพิจารณา
1.ความเชื่อถือได้ (Reliability) ผลการวัดมีความสม่ำเสมอ แน่นอน คงที่มากน้อยเพียงใด 2.ความตรง(Validity) เครื่องมือที่ใช้วัด ได้วัดในสิ่งที่ต้องการศึกษาถูกต้องหรือไม่และครบถ้วนเพียงใด เกณฑ์การวัดความตรงจำแนกได้ 3 อย่าง คือ ความตรงเนื้อหา ความตรงโครงสร้าง และความตรงตามพยากรณ์ 3.ความเป็นปรนัย(Objectivity) เครื่องมือที่ใช้วัดมีคำถามชัดเจนหรือไม่ ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน การตรวจให้คะแนนมีความแน่นอนตรงกันและมีความชัดเจนในการแปลความหมาย

4 ลักษณะสำคัญที่ต้องพิจารณา
4.อำนาจจำแนก(Discrimination) เครื่องมือที่ใช้วัดสามารถจำแนกบุคคลออกเป็น 2 กลุ่ม ที่มีลักษณะต่างกันในเรื่องที่ศึกษา เช่น แบบสอบถามที่มีมาตรวัดทัศนคติ ที่มีการจำแนกทัศนคติออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านลบ และ ด้านบวก 5.ความยากง่าย(Difficulty) ใช้กับเครื่องมือวัดที่เป็นแบบทดสอบ เช่น แบบวัดความถนัด แบบทดสอบ หรือข้อสอบ ในระบบอิงกลุ่มเป็นสำคัญ

5 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
การใช้โปรแกรม PSPP ในการตรวจสอบเครื่องมือวัด การตรวจสอบความเชื่อมั่น

6 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
โปรแกรม PSPP ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย 2 วิธี ดังนี้ 1. วิธีการแบ่งครึ่ง (Split-Half Method) แบ่งเครื่องมือวัดออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะคู่ขนานที่มีข้อคำถามคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน เช่น ในแบบสอบถามที่มีข้อคำถาม 10 ข้อ อาจแบ่งข้อคู่กับข้อคี่ หรือ ห้าข้อแรกกับห้าข้อหลังที่มีวัตถุประสงค์ในการวัดคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน โดยแต่ละส่วนคือคะแนนแต่ละชุด นำคะแนนแต่ละชุดนี้หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์หาได้จากสูตร Spearman-Brown

7 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
โปรแกรม PSPP ได้กำหนดวิธีการตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย 2 วิธี ดังนี้ 2. สัมประสิทธิ์ Cronbach's Alpha (Cronbach's Alpha Coefficient) เป็นค่าที่ใช้วัดความสอดคล้องภายในคำตอบของเครื่องมือวัด วิธีการทดสอบนี้เป็นที่นิยมกันมาก เพราะไม่ต้องวัดซ้ำหรือแบ่งครึ่ง และเหมาะกับข้อคำถามที่ลักษณะให้คะแนนแบบจัดลำดับ หรือแบบสอบถาม หรือแบบวัดทัศนคติ หรือแบบทดสอบประเมินค่า

8 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
ตัวอย่าง1 แบบทดสอบวิชาตอมพิวเตอร์มี 10 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน ทดสอบนักศึกษา 10 คนได้คะแนนดังนี้

9 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
1. จงทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดโดยใช้วิธี Split-Half 2. จงทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดโดยใช้วิธี Cronbach's Alpha 3. จงตรวจสอบข้อคำถามใด เมื่อตัดไปแล้วจะทำให้ความน่าเชื่อถือได้ของแบบทดสอบสูงขึ้น

10 การตรวจสอบความเชื่อมั่น
ตัวอย่าง2 ในการแข่งขันประกวดร้องเพลงระดับประเทศมีคณะกรรมการที่ให้คะแนน 5 คน และมีผู้เข้าประกวด 10 คน จงตรวจสอบการให้คะแนนของกรรมการแต่ละท่านว่าสอดคล้องกันหรือไม่โดยใช้วิธี Cronbach's Alpha และกรรมการคนใด ถ้าไม่ร่วมให้คะแนน แล้วจะทำให้ผลความสอดคล้องสูงขึ้น


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเชื่อถือได้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google