งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า Unit 1.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า Unit 1."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า Unit 1

2 Unit 1 ระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า
ความหมายของการส่งและจ่ายไฟฟ้า การส่งและจ่ายไฟฟ้า หมายถึง การส่งระบบกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจาก ต้นกำลังไฟฟ้า/โรงไฟฟ้า แล้วส่งกำลังไฟฟ้าไปในสายส่งไฟฟ้าไป ยังผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า

3 โครงสร้างและส่วนประกอบในระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า

4 โครงสร้างและส่วนประกอบในระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
ระบบผลิตกำลังไฟฟ้า ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า ระบบจำหน่ายไฟฟ้า

5 โครงสร้างและส่วนประกอบในระบบส่งจ่ายไฟฟ้า
กฟผ. EGAT มีหน้าที่หลัก คือ ผลิตและจัดส่งกำลังไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับ MEA. PEA. กฟน. MEA มีหน้าที่หลัก คือ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ กฟภ. PEA มีหน้าที่หลัก คือ จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในเขตพื้นที่จังหวัดในส่วนภูมิภาคทั้งหมดที่เหลือ

6

7 ส่วนประกอบของระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า
โรงไฟฟ้า/โรงต้นกำลัง (Power Plant) หม้อแปลงไฟฟ้าแรงดันไฟฟ้าสูง (high Volt Transformer) สายส่งไฟฟ้าแรงสูง (Transmission Line) สถานีแรงสูงของ กฟผ. (Substation) สถานีควบคุมการจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟภ. หม้อแปลงระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Distribution Transformer)

8 หน้าที่หลักของระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า
ส่งกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าไปยังศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า ส่งกำลังไฟฟ้าจากระบบใหญ่ไปยังแหล่งใช้พลังงานที่อยู่ห่างไกลออกไป เชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน เพื่อถ่ายเทกำลังระหว่างระบบให้แก่กันในกรณีฉุกเฉินหรือบางช่วงเวลาของการใช้ฟ้าสูงสุดไม่ตรงกัน

9 โรงไฟฟ้า/โรงต้นกำลัง (Power Plant)
พลังงาน/ต้นกำลังที่จะนำมาใช้สำหรับขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พลังน้ำ Hydro Power พลังความร้อนหรือพลังไอน้ำ Thermal/Steam Power พลังกังหันก๊าซ Gas Turbine Power พลังความร้อนร่วม Combine Power พลังเครื่องยนต์ดีเซล Diesel Power พลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Power

10 โรงไฟฟ้า/โรงต้นกำลัง (Power Plant)
พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power พลังงานลม Wind Power พลังงานชีวมวล Biomass Power พลังความร้อนใต้พิภพ Geothermal Power

11 ความหมายของโรงต้นกำลัง
โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ Hydro Power Plant : โรงไฟฟ้าที่ใช้แรงดันของน้ำหมุนไปผลักดันกันหัน - พลังงานกลที่ได้จากการหมุนของกังหันสามารถควบคุมได้ - สามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าได้รวดเร็ว - เหมาะสำหรับผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ Power peak ** การปล่อยน้ำมีขีดจำกัด ต้องคำนึงถึงความต้องการน้ำ อุปโภค/บริโภค การผลิตไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำ

12 ความหมายของโรงต้นกำลัง
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน Thermal Power Plant : โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังความร้อนเป็นต้นกำลังในการผลิตไฟฟ้า โดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงต้มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูงไปขับดัน Turbine ของ Generator - การเริ่มเดินเครื่องจนสามารถใช้งานได้ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง - เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ได้แก่ น้ำมันเตา Coke , Neutral Gas และ Nuclear ** โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าหลัก/ฐาน

13 ความหมายของโรงต้นกำลัง
โรงไฟฟ้าพลังกังหันก๊าซ Gas Turbine Power Plant : โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยการเผาไหม้เชื้อเพลิงในห้องอัดอากาศไห้เกิดความร้อนที่มีแรงดันสูงไปขับเคลื่อน Turbine - การเริ่มเดินเครื่องสามารถเดินเครื่องได้อย่างรวดเร็ว - เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ได้แก่ น้ำมันเตาปรับสภาพ Neutral Gas , Diesel ** โรงไฟฟ้าพลังความกังหันก๊าซเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าสำรองในช่วง Power Peak

14 ความหมายของโรงต้นกำลัง
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม Combine Cycle Power Plant : โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังความร้อนร่วมกับเครื่องกังหันก๊าซเป็นต้นกำลัง ในการผลิตไฟฟ้า โดยการนำไอเสียของเครื่องกังหันก๊าซที่มีความร้อนสูงไปให้ความร้อนกับน้ำในหม้อไอน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำแล้วนำไอน้ำไปขับดัน Turbine - เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในส่วนโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซต้องใช้เชื้อเพลิงคุณภาพดี Neutral Gas ** โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมมีความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องค่อนข้างสูง

15 ความหมายของโรงต้นกำลัง
โรงไฟฟ้าดีเซล Diesel Power Plant : โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานกลจากเครื่องยนต์ดีเซลไปหมุนเครื่องกำเนิด - สามารถเดินเครื่องได้รวดเร็ว - สามารถติดตั้งได้รวดเร็วและเคลื่อนย้ายไปติดตั้งยังสถานที่ใหม่ได้ไม่ยุ่งยาก ** โรงไฟฟ้าดีเซลเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าสำรองสำหรับจ่ายไฟฟ้าในช่วง Power Peak

16 ความหมายของโรงต้นกำลัง
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ Geothermal Power Plant : โรงไฟฟ้าที่อาศัยความร้อนจากแหล่งน้ำร้อนไปถ่ายเทความร้อนให้กับสารของไหล ( Ammonia Freon Working Fluid ) ที่มีจุดเดือดต่ำจนกระทั่งเดือดกลายเป็นไอแล้วนำไปหมุน Turbine

17 การเลือกระดับแรงดันไฟฟ้า
ปริมาณไฟฟ้าที่จะส่งเพิ่มขึ้นในอนาคต - การส่งไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงกว่า ย่อมสามารถส่งพลังงานได้มาก - นำแรงดันไฟฟ้าสูงแทนการใช้แรงดันเดิมต้องมีการเพิ่มขนาดสายหรือเพิ่มจำนวนวงจรไฟฟ้าในสายส่ง ระดับแรงดันไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม/ระดับแรงดันไฟฟ้าที่มีอยู่ในย่านใกล้เคียง - ในการออกแบบระบบส่งกำลังไฟฟ้า จะต้องออกแบบระดับแรงดันไฟฟ้าให้สามารถส่งได้เป็น 2 เท่าของแรงดันที่ใช้ส่งพลังงานในช่วงแรก ( สายส่งแรงดันได้ 2 เท่า จะสามารถส่งกำลังได้ 4 เท่า ) - โครงการเชื่อมโยงไฟฟ้าระหว่างประเทศ

18 การเลือกระดับแรงดันไฟฟ้า
ระดับแรงดันไฟฟ้าตามาตรฐานสากล ระดับแรงดันไฟฟ้า KVA แรงดันสูงสุดสำหรับการกำหนดอุปกรณ์ไฟฟ้า KVA 96 72.5 115 123 138 145 161 170 230 245 275 300 345 362 280 420 500 525 700 765

19 ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า องค์ประกอบของการจ่ายกำลังไฟฟ้า ความประหยัด Economic
ความเชื่อถือได้ Reliable ความมั่นคง Stability ความยืดหยุ่น Flexibility มีประสิทธิภาพ Efficiency

20 โครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ระบบ Radial System เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงไปในทิศทางเดียวกัน

21 ระบบ Radial System

22 ระบบ Radial System

23 โครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ระบบ Network System เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทดแทนกันได้จากสายส่งของสถานีไฟฟ้าย่อยอีกแห่งหนึ่ง ช่วยลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ แบบ Close Loop เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าขนานกัน ตลอดเวลาระหว่างสองวงจรสายส่งขึ้นไป

24 โครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ระบบ Network System แบบ Open Loop เป็นระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าที่แต่ละวงจรสายส่งไฟฟ้าจะจ่ายทางเดียวหรือแบบ Radial โดยมีสวิตซ์ตัดตอนติดตั้งไว้สำหรับกรณีเกิดปัญหาขัดข้อง

25 ระบบ Network System

26 ระบบ Network System

27

28

29 สถานีไฟฟ้าแรงสูง เป็นสถานีกลางในการเปลี่ยนระดับแรงดันไฟฟ้าจากระบบแรงดันสูง 69 kV , 115 kV , 230 kV ให้เป็นระดับแรงดันปานกลาง 11 kV , 22 kV หรือ 33 kV การจัดวงจรไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าแรงสูงมีข้อพิจารณาทางเทคนิคดังนี้ คือ ความมั่นคงสม่ำเสมอในการจ่ายไฟฟ้า ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน จำกัดปริมาณกระแสไฟฟ้าลัดวงจร

30 สถานีไฟฟ้าแรงสูง ระบบป้องกันที่ดี ระบบป้องกันที่สมบูรณ์ อุปกรณ์ป้องกันที่มีประสิทธิภาพ การบำรุงรักษาและตรวจซ่อมจะต้องไม่กระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้า การเพิ่มวงจรไฟฟ้าในอนาคตจะต้องสะดวกไม่กระทบต่อระบบอื่นๆ มีลักษณะเหมือนๆกัน/มาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์ทดแทนกันได้ การก่อสร้างประหยัด สนองต่อความต้องการด้านอื่นๆได้


ดาวน์โหลด ppt ระบบส่งและจ่ายไฟฟ้า Unit 1.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google