งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา
อ.กนิฏฐา เกิดฤทธิ์ บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา ความสำคัญของจิตวิทยา ยุคทางจิตวิทยา กลุ่มทางจิตวิทยา

2 จิตวิทยา จิตวิทยา หรือ Psychology มาจากรากศัพท์ภาษากรีก 2 คำ คือ Psyche หมายถึง วิญญาณ (Soul) กับ (Logos) หมายถึง วิทยาการหรือการศึกษา (study) ดังนั้น หากให้ความหมายตามนิยามดั้งเดิม จิตวิทยา จึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (study of mind หรือ study of soul)

3 จิตวิทยา จิตวิทยา (Psychology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) กระบวนการความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4 ความสำคัญของจิตวิทยา
1 เพื่อให้ได้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา 2 เพื่อเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น 3 เพื่อสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง 4 เพื่อสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน 5 เพื่อให้มีความตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยาและการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ ได้อย่างเป็นสุข

5 ยุคทางจิตวิทยา การศึกษาจิตวิทยานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยซึ่งจัดได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน (เอนกและภาสกร, 2554) คือ 1 จิตวิทยาสมัยก่อนจะเป็นวิทยาศาสตร์ (ยุคปรัชญา) ซึ่งอยู่ในรูปของปรัชญา มีการศึกษาเรื่องจิตวิญญาณ อำนาจลึกลับ ซึ่งมีสาระที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ 3 กลุ่มในยุคนั้น 1.1 กลุ่มที่เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยกายและจิต และแยกออกจากกันเป็นคนละส่วน 1.2 กลุ่มที่เชื่อว่ามนุษย์มีแต่กายหรือจิตอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 1.3 กลุ่มที่เชื่อว่ากายและจิตทำงานร่วมกัน และมีผลซึ่งกันและกัน

6 บุคคลที่มีชื่อเสียงในยุคนี้
พลาโต (Plato) เชื่อว่าจิตใจหรือวิญญาณเป็นของพระเจ้า ร่างกายเป็นของปีศาจ

7 บุคคลที่มีชื่อเสียงในยุคนี้
ได้แก่ อริสโตเติล (Aristotle) เชื่อว่าจิตใจอยู่ที่หัวใจ ไม่ใช่สมอง ศึกษาเรื่องราวของจิตใจโดยแยกออกจากร่างกายโดยสิ้นเชิง

8 2 จิตวิทยาสมัยเริ่มแรกเป็นวิทยาศาสตร์
อันเนื่องมาจากได้รับอิทธิพลจากนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ปัญหา ที่จิตวิทยาศึกษาในระยะนี้จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การสังเกต การทดลอง และการนำความรู้ทางสถิติมาใช้ เรื่องที่ศึกษา ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับการรับรู้ (Perception) ปัญหาการวัดความไวของปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction time) ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล จนในที่สุดมีการตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น มีการทดลองเกี่ยวกับสัตว์ เพื่อนำผลมาใช้กับมนุษย์ ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับประสาทสัมผัส สิ่งเร้า และอาการตอบสนองของอินทรีย์อย่างกว้างขวาง

9 3 จิตวิทยาสมัยใหม่ เริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา มีการทดลองปรับปรุง ทฤษฎีในสมัยแรก มีการทำจิตวิทยาให้เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น เนื้อหาสาระของจิตวิทยาสมัยนี้จึงปฏิเสธเรื่องจิต แต่หันมาเน้นเรื่องของพฤติกรรมที่จะสามารถวัดและสังเกตได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ปัญหาที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เช่น การเรียนรู้ ความสามารถทางสติปัญญา บุคลิกภาพ เป็นต้น

10 กลุ่ม หรือ ระบบทางจิตวิทยา
ระบบ (System) ในทางจิตวิทยา หมายถึง การจัดระบบ ระเบียบ แนวความคิด หรือทฤษฎีว่าเป็นแนวคิดเกี่ยวกับอะไร ปัญหาอะไร ที่กลุ่มหรือระบบนั้นให้ความสนใจ ควรจะมีวิธีการศึกษาเพื่อตอบปัญหานั้นอย่างไร นักจิตวิทยาในแต่ละระบบจึงให้ความสนใจในเรื่องและวิธีการศึกษาที่แตกต่างกัน

11 เกณฑ์สำหรับใช้ในการจัดกลุ่มจิตวิทยา
แบ่งออกตามความแตกต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1 ปรัชญา ความเชื่อที่สำคัญขั้นต้น 2 ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาหรือการรวบรวมเนื้อหาวิชา หรือ ความรู้ความเข้าใจ 3 เนื้อเรื่อง หัวข้อสำคัญ ขอบข่ายของกิจกรรม หรือชนิดของงานที่ นำเอาความรู้ทางจิตวิทยามาใช้ บางครั้งก็มีการตั้งชื่อกลุ่มจิตวิทยา ตามชื่อของแขนงวิชา ในที่นี้จะกล่าวถึง การจัดหมวดหมู่ ระเบียบแนวความคิดของนักจิตวิทยา 6 กลุ่ม (เอนกและภาสกร, 2554) ได้แก่

12 1 กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism)
เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย (body) และจิตใจ (mind) ซึ่งต่างก็เป็นอิสระแก่กัน แต่ทำงานสัมพันธ์กัน พฤติกรรม (Behavior) ของบุคคลเกิดจากการกระทำของร่างกาย ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นย่อมเกิดจาก การควบคุมและสั่งการของจิตใจ กลุ่มนี้เชื่อว่า โครงสร้างของจิตประกอบด้วยจิตธาตุ (Mental Elements) ซึ่งประกอบด้วย ธาตุ 3 ชนิด คือ 1. การรับสัมผัส (Sensation) 2. ความรู้สึก (Feeling) 3. จินตนาการ (Image)

13 เมื่อจิตธาตุทั้ง 3 นี้ มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิด รูปจิตผสมขึ้น ทำให้เกิด ความคิด (Thinking) อารมณ์ (Emotion) ความจำ (Memory) การหาเหตุผลหรือสาเหตุ (Reasoning)

14 บุคคลสำคัญในกลุ่ม Structuralism
- ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดา ของจิตวิทยาแผนใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ - ตั้งห้องปฏิบัติการทางจิตวิทยาขึ้นครั้งแรกในโลก Wilhelm Woundt วิลเฮล์ม วุนต์

15 บุคคลสำคัญในกลุ่ม Structuralism
เอ็ดเวิดร์ ทิชเนอร์ (Edward B. Titchener)  กุสทาฟ เฟคเนอร์  Gustav Fechner

16 2 กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)
มีวิวัฒนาการมานานตั้งแต่ ค.ศ บุคคลที่มีบทบาทรุ่นแรกในการพัฒนาจิตวิทยาสาขานี้ คือ Charles Darwin ( ), Sir Francis Galton ( ) และกลุ่มบุคคลที่สนใจศึกษาพฤติกรรมสัตว์ จิตวิทยากลุ่มนี้ได้รับการเผยแพร่ และได้รับการพัฒนาขึ้นจนเป็นที่สนใจและยอมรับอย่างมากมายในสหรัฐอเมริกา แบบแผนและความเชื่อของกลุ่มนี้จะเน้นไปที่การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนรู้ การรับรู้ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่หรือการทำงานของร่างกาย ที่จะช่วยปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และกระบวนการทางจิตใจไม่สามารถแยกออกจากการทำงานของสมองได้

17 บุคคลสำคัญในกลุ่ม (Functionalism)
William James ( ) ให้ความสำคัญในเรื่องวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สนใจระบบการรู้สำนึก (สัญชาติญาณ)ซึ่งเป็นกิจกรรมของอินทรีย์ ซึ่งเขายังมีทัศนคติเกี่ยวกับธรรมชาติของคนอีกว่า คนไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลเสมอไป การกระทำของคนมีอารมณ์มากพอๆ กับเหตุผล นอกจากนั้นเขายังมีแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับจิตสำนึก (Conscious) ว่าเป็นลักษณะส่วนตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีหน้าที่สำคัญในการช่วยให้คนเรามีการปรับตัวได้ดีกว่าสัตว์ ช่วยให้มนุษย์พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

18 John Dewey (1859-1952) จอห์น ดิวอี้
จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่าการต่อสู้เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ความรู้สึกเป็นแนวทางที่จะให้อินทรีย์มีกิจกรรมที่เหมาะสม และเชื่อว่าระบบเกี่ยวกับจิตวิทยาของมนุษย์ การเรียนรู้ การคิด เป็นสิ่งสำคัญที่จะปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีความเชื่อในเรื่องของการศึกษาตลอดชีวิตของมนุษย์

19 แนวคิด Functionalism เชื่อว่าพฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุผลและสาเหตุ และเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบอินทรีย์ จึงทำให้อินทรีย์มีพฤติกรรมตอบสนอง กลุ่มนี้สนใจเรื่องพฤติกรรมการวางเงื่อนไข (Conditioning) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรม และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เกิดได้จากการเรียนรู้มากกว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

20 3 จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
แนวคิดกลุ่มนี้ถูกพัฒนามาจากกลุ่มนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ได้แก่ Max Wertheirmer ( ) Wolfgang Kohler ( ) และ Kurt Koffka ( ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสำคัญในการศึกษาจากส่วนทั้งหมดมากกว่าแยกศึกษาส่วนใดส่วนหนึ่งของจิต ด้วยความเชื่อที่ว่าหากมีการแยกศึกษาจิตเป็นส่วนย่อยๆ จะทำให้ได้ความรู้ที่ผิด เพราะผลรวมของส่วนย่อยย่อมไม่เท่ากับส่วนๆนั้นทั้งหมด แมกซ์ เวอร์ ไธเมอร์ / วอล์ฟแกง โคเลอร์ / เคอร์ท คอฟพ์กา 

21 คำว่าเกสตัลท์ (Gestalt) มาจากภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึงส่วนรวมทั้งหมด กลุ่มนี้มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่างๆ มารวมกัน เริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อน แล้วจึงจะสามารถแยกวิเคราะห์เรื่องราวเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วนต่อไป (Field Theory) และยังคงใช้หลักการเดียวกัน นั่นก็คือ การเรียนรู้ของบุคคลจะเป็นไปได้ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อน เมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้ว ก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่งที่ละเอียดปลีกย่อยต่อไป

22 4 กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
เน้นความสำคัญของ “จิตใต้สำนึก” (Subconscious Mind) “จิตไร้สำนึก” (Unconscious Mind) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงในกลุ่มนี้ ได้แก่ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, ) แนวความคิดส่วนใหญ่ในกลุ่ม จิตวิเคราะห์นี้เป็นของฟรอยด์ ได้อธิบายว่าจิตของคนเรามี 3 ส่วน คือ จิตสำนึก(conscious mind) จิตกึ่งสำนึก(Preconscious mind) และ จิตไร้สำนึก(Unconscious mind) มีลักษณะดังนี้

23 จิตสำนึก สภาวะที่มีสติ รู้ตัว รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่หรือกำลังจะทำอะไรรู้จักตัวเองว่าเป็นใคร ต้องการอะไร ทำอะไรอยู่ที่ไหน กำลังรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งใด การแสดงอะไรออกไปที่แสดงไปตามหลักเหตุผล เปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่โผล่ผิวน้ำขึ้นมามีจำนวนน้อยมาก

24 จิตใต้สำนึก คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก ฮัมเพลงโดยไม่รู้ตัว ยิ้มคนเดียวโดยไม่รู้ตัว พูดอะไรออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ และประสบการณ์ต่างๆที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เช่น ความประทับใจในอดีต ถ้าไม่นึกถึงก็ไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าทบทวนเหตุการณ์ทีไรก็ทำให้เกิดปลื้มใจทุกที เปรียบได้กับส่วนของก้อนน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ จิตไร้สำนึก เป็นส่วนของจิตที่ใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ และเป็นส่วนที่ไม่รู้สึกตัวเลย อาจมาจากเจ้าตัวพยายามเก็บกดเอาไว้ เช่น เกลียดเพื่อน หรือพยายามที่จะลืม แล้วในที่สุดก็ลืมๆไป ดูเหมือนไปจริงๆ แต่ที่จริงไม่ได้หายไปไหน ยังอยู่ในตัวลักษณะจิตไร้สำนึก และจะแสดงออกมาในรูปความฝัน การละเมอ เปรียบได้ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ

25

26 จิตไร้สำนึก (ต่อ) ส่วนของจิตไร้สำนึกจะแสดงออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ การพลั้งปากพูด การแสดงออกทางด้านจินตนาการ วรรณคดี ศิลปะ ผลงานด้านวิทยาศาสตร์ การกระทำที่ผิดปกติต่างๆ แม้กระทั่งการระเบิดอารมณ์รุนแรงเกินเหตุ บางครั้งเป็นเพราะจิตไร้สำนึกที่เก็บกดไว้ ฟรอยด์มีความเชื่อว่า จิตไร้สำนึกมีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อบุคลิกภาพและการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุด ทั้งยังเชื่อว่าความก้าวร้าวและความต้องการทางเพศเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อพฤติกรรม นอกจากจิตสำนึก จิตกึ่งสำนึก และจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ยังได้แบ่งองค์ประกอบของ พลังจิต (psychic energy) เป็น 3 ส่วน คือ id, ego และ super ego ซึ่งเป็นแรงขับให้กระทำพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

27 อิด (id) เป็นส่วนที่ติดตัวมาโดยกำเนิด อาจเรียกรวมถึง สัญชาตญาณ จัดเป็นเรื่องของแรงขับตามสัญชาตญาณความอยาก ตัณหา เป็นส่วนของจิตที่กระตุ้น ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามหลักแห่งความพอใจ ดังกรณีของทารกที่แสวงหาความพึงพอใจผ่านการดูด การกิน การได้รับความอบอุ่น หรือความสบายเนื้อสบายตัว และหลีกเลี่ยงความไม่พึงพอใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความหิว ความหนาว หรือความเหนอะหนะตัว อิดนั้นมีลักษณะเห็นแก่ตัว และมักเรียกร้องการตอบสนองในทันที (เกร็ดความรู้: "อิด" มีที่มาจากภาษาละติน "it" โดยฟรอยด์ใช้คำศัพท์ภาษาเยอรมันว่า "das es" ซึ่งหมายถึง "id" นั่นเอง)

28 อีโก้ (ego) เป็นพลังส่วนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาแล้ว เป็นส่วนที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของคนๆ นั้นให้ดำเนินไปอย่าง เหมาะสม ทั้งภายใต้อิทธิพลของอิดและซุปเปอร์อีโก้ พยายามแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ของอิดและซุปเปอร์อีโก้ สรุป การปลูกฝังจากสังคมภายนอกถึงสิ่งที่ถูกที่ควร อาจจะถูกปลูกฝังผ่านการเรียนรู้ทางสังคมด้านต่าง ๆ (มาจากภายนอกตัวมนุษย์ ซึ่งก็คือสังคม)

29 ซุปเปอร์อีโก้ (super ego)
เป็นพลังจากสังคมที่เกี่ยวกับหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม อุดมคติในการดำเนินชีวิต เป็นพลัง ส่วนที่ควบคุมให้บุคคลแสดงพฤติกรรม

30 สรุป Id  -  สัญชาตญาณดิบของมนุษย์  Super-ego  -  จริยธรรม ศีลธรรม ที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ เปรียบเหมือนตัวตนในอุดมคติ Ego  -  การแสดงออกของมนุษย์ที่ผ่านการขัดเกลาจาก superego

31 ตัวอย่าง เปรียบเทียบกับเมื่อมีอารมณ์โกรธหัวหน้า  Id  บอกว่า ต้องมีเรื่องเเล้ว เป็นไงเป็นกัน  Super -ego   บอกว่าถ้าทำแบบนั้นเเล้วจะโดนออกจากงานมั้ย เเล้วคนอื่นจะมองยังไง เรามีสิทธิ์ทำกับหัวหน้าแบบนั้นมั้ย Ego   คือการเเสดงพฤติกรรมออกมานั่นคือ การพูดคุยเรื่องที่เราไม่พอใจกับหัวหน้า เพื่อหาทางเเก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะตอบสนองต่อId เเละเหมาะสมตามsuper-ego ด้วย

32 5 กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanistic Psychology)
ความเป็นมนุษย์ของเราขึ้นอยู่กับความเชื่อที่ว่า “มนุษย์เรามีอิสระ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความสามารถที่จะควบคุมตนเอง (Self Direction) และสร้างสรรค์ เนื่องมาจากตัวเราเอง กลุ่มนี้กำเนิดมาจากข้อบกพร่องของการศึกษามนุษย์ของกลุ่มจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ก่อนหน้านี้ กลุ่มนี้มีความคิดเห็นว่าการที่จะเข้าใจมนุษย์ได้ดีต้องเข้าใจมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ เราต้องยอมรับในศักยภาพของมนุษย์แต่ละบุคคลและเชื่อว่าเราจะสามารถพัฒนามนุษย์ไปสู่มนุษย์ที่มีคุณค่าอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าเราเข้าใจและสามารถขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางออกไปได้

33 นักจิตวิทยาที่สำคัญของกลุ่มนี้ ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Carl R
นักจิตวิทยาที่สำคัญของกลุ่มนี้ ได้แก่ คาร์ล โรเจอร์ (Carl R. Rogers, ) และ มาสโลว์ (Abraham H. maslow,1970) คำอธิบายของกลุ่มนี้ถือว่าสมัยใหม่ สอดคล้องกับสังคมเปิดและหลักประชาธิปไตย คาร์ล โรเจอร์ มาสโลว์

34 ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
5.1 มนุษย์มีจิตใจ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ทั้งยังมีขีดความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่จะกำหนดให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบของคนอื่น ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้ 5.2 มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งพยายามที่จะรู้จัก เข้าใจตนเอง และต้องการบรรลุศักยภาพสูงสุดของตน (Self acturalization) จึงไม่ยากนักที่จะเสริมสร้างให้บุคคลคิดวิเคราะห์ เข้าใจตน และนำจุดดีมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเอง

35 ความเชื่อเบื้องต้นของกลุ่มจิตวิทยามนุษย์นิยม มีดังนี้
5.3 ข้อบังคับและระเบียบวินัยไม่จำเป็นนัก สำหรับผู้พัฒนาแล้ว ทุกคนต่างมุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนถ้าเขาได้รับการยอมรับ 5.4 บุคคลที่พร้อมต่อการปรับปรุงตนเอง ควรจะได้มีสิทธิเลือกการกระทำ เลือกประสบการณ์ กำหนดความต้องการ และตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเอง (Self mastery) เป็นการออกแบบชีวิตที่เหมาะสมตามทิศทางของเขา 5.5 วิธีการแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริง สำคัญกว่าตัวความรู้หรือข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงจะไม่ใช่สิ่งตายตัว

36 6 กลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ การปรับปรุงเนื้อหาสำคัญของจิตวิทยาให้ได้มาตรฐานเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ และต้องการแสดงให้เห็นว่าจิตวิทยาคือ วิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรม มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ เป็นการศึกษาจากพฤติกรรมภายนอกของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมที่อยู่ภายใน(ความคิด จิตใจ) โดยพยายามนำเอาระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้

37 บุคคลที่มีชื่อเสียงในกลุ่มนี้ ได้แก่ Watson (John B Watson, ) ในความคิดเห็นของ Watson จิตวิทยา คือ สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งศึกษาถึง พฤติกรรม การกระทำ การพูด การเรียนรู้ และไม่เรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งไม่ต้องคำนึงถึงจิตใจ หรือ ความรู้สึก (Consciousness) เพราะเขามีความเชื่อว่า ความรู้สึกนึกคิดนั้นรวมอยู่ในพฤติกรรมอยู่แล้ว

38 จงอธิบายข้อความต่อไปนี้
จิตสำนึก จิตกึ่งสำนึก จิตไร้สำนึก id ego super ego ท่านคิดว่าหากมนุษย์มีโครงสร้างจิต (ตามแนวคิดของฟรอยด์) ตัวใดตัวนึงมากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น


ดาวน์โหลด ppt ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google