งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บริษัทจำกัด Company Limited.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บริษัทจำกัด Company Limited."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บริษัทจำกัด Company Limited

2 หัวข้อการศึกษา ลักษณะสำคัญของบริษัทจำกัด การจัดตั้งบริษัท จำกัด
ลักษณะ ประเภทของหุ้น การโอนหุ้น และข้อจำกัดการโอน ผู้ถือหุ้น (สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด) การบริหารงานของบริษัทจำกัด (กรรมการ / ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น) การจ่ายเงินปันผล เงินทุนสำรอง การเพิ่มทุน และการลดทุน การเลิกบริษัทจำกัดและการชำระบัญชี

3 ลักษณะสำคัญของบริษัทจำกัด
มาตรา 1012 ต้องเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการ ร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ นั้น มาตรา บริษัทจำกัดต้องประกอบด้วยคู่สัญญาหรือผู้ถือหุ้นไม่ ต่ำกว่า 3 คน มาตรา 1237(4) ก็ยังบัญญัติในลักษณะสนับสนุนไว้อีกว่า ศาลอาจสั่งให้ เลิกบริษัทด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (4) ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือ ไม่ถึง 3 คน ศาลอาจจะสั่งให้เลิกบริษัทได้

4 ลักษณะสำคัญของ บจก.(ต่อ)
แบ่งทุนออกเป็นหุ้นละเท่า ๆ กัน หมายถึงว่าหุ้นแต่ละ หุ้นนั้นต้องมีค่าเท่ากันหมด และเมื่อกำหนดแล้วมูลค่าหุ้นตอนที่ตั้ง กิจการกับหุ้นที่อาจจะเพิ่มเข้ามาอีกในอนาคตก็ต้องมีมูลค่าเท่าเดิม เช่น บริษัท ร่ำรวย พาณิชย์ จำกัดจดทะเบียนทุน 1,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นมูลค่าหุ้นละ 100 บาท จำนวนทั้งหมด 10,000 หุ้น เป็นต้น เรื่องมูลค่าหุ้นนั้นจะมีค่าเท่าไหร่ไม่มีกฎหมายบังคับ ไว้ เพียงแต่กฎหมายกำหนดไว้ประการเดียวว่ามูลค่า หุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท ตามมาตรา 1117

5 ลักษณะสำคัญของ บจก.(ต่อ)
ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ กรณีนี้เป็นไป ตามมาตรา 1096 และ 1095(1) ข้อสังเกต ผู้ถือหุ้นทุกคนในบริษัทจำกัดนั้นรับผิดจำกัดเหมือนกันทุกคน ไม่มีผู้ถือหุ้นบางกลุ่มหรือบางจำพวกที่ รับผิดไม่จำกัดจำนวน ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างจากบรรดาห้างหุ้นส่วนทั้งหลาย (เว้นแต่กรณี “กรรมการ บริษัท” อาจจะแถลงความรับผิดไว้แบบไม่จำกัดจำนวนตาม ม ได้ แต่ไม่ ปรากฎมีการใช้ในทางปฏิบัติ ถ้ามีก็จะรับผิดไม่เกิน 2 ปีนับแต่เมื่อออกจากการ เป็นกรรมการ) บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ดู 1097, 1098, 1099, 1011, 1102, 1104, 1105, 1107, 1108, 1110, 1111, 1111/1, 1112 คุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นสาระสำคัญ

6 การจัดตั้งบริษัทจำกัด (มาตรา 1097-1116)
เพิ่มเติม มาตรา 1111/1

7 การจัดทำและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 1097 และ 1099 วรรคสอง)
ขั้นตอนที่ 1. การจัดทำและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา และ 1099 วรรคสอง) ต้องมีผู้เริ่มก่อการ (บุคคลธรรมดา) ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปเข้าชื่อกัน จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิแล้วนำไปจดทะเบียนที่หอทะเบียน การค้าที่บริษัทตั้งอยู่ (ทางปฏิบัติเวลาจะไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์ฯ ต้องมีการจอง ชื่อบริษัทไว้ก่อนที่จะไปจดทะเบียนเพื่อป้องกันชื่อบริษัทซ้ำซ้อนกับ บริษัทอื่นที่จดทะเบียนจัดตั้งไปก่อนแล้ว) (ดู มาตรา 1115)

8 ผู้เริ่มก่อการ Promotor / founder
คือ บรรดาบุคคลผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมีจำนวน 3 คนขึ้นไป ตามมาตรา 1097 และถือเป็นผู้ถือหุ้นชุด แรกของบริษัทโดยจะเป็นผู้รับผิดชอบกระทำการต่าง ๆ ในการจัดตั้งบริษัทจนกว่าจะได้มี การมอบหมายงานให้กรรมการชุดแรกจึงจะหมด ความรับผิดชอบ มาตรา 1100 ผู้เริ่มก่อการต้องถือหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้นและต้องร่วมกันกำหนดสิ่งสำคัญ ขั้นต้นต่างๆของการจัดตั้งบริษัท เช่น ชื่อบริษัท ที่ตั้งสำนักงาน วัตถุประสงค์ทั้งหลาย จำนวนทุน เรื่องหุ้นของบริษัท เป็นต้น ผู้เริ่มก่อการมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา ซึ่งบัญญัติ “ผู้เริ่มก่อการบริษัท ต้องรับผิดร่วมกันและโดยไม่จำกัดในบรรดาหนี้และการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทมิได้ อนุมัติ และแม้จะได้มีอนุมัติก็ยังคงต้องรับผิดเช่นนั้นไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท”

9 หนังสือบริคณห์สนธิ หนังสือบริคณห์สนธิจะเป็นเอกสาร ที่กำหนดกรอบวัตถุประสงค์ของ บริษัท โดยเป็นแม่บทในการที่จะ จัดการงานของบริษัทในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ซึ่งจะ ตรงกันข้ามกับข้อบังคับของ บริษัทซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติ ภายในของบริษัท

10 หนังสือบริคณห์สนธิ ต้องมีรายการตามมาตรา 1098 คือ
หนังสือบริคณห์สนธิ ต้องมีรายการตามมาตรา คือ ชื่อบริษัท ซึ่งต้องมีคำว่า “บริษัท” ไว้ท้ายชื่อนั้นด้วย สำนักงานของบริษัทตั้งอยู่ ณ ที่ใด วัตถุที่ประสงค์ของบริษัท ถ้อยคำแสดงว่าความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด จำนวนทุนเรือนหุ้นและมูลค่ากำหนดแต่ละหุ้น ชื่อ สำนัก อาชีวะและลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการ และจำนวนหุ้นซึ่งผู้เริ่ม ก่อการเข้าชื่อซื้อกันไว้ รายการอื่น ๆ เช่น กรรมการจะรับผิดไม่จำกัดตามมาตรา 1011 ก็ได้ หรือ

11 ขั้นตอนที่ 2. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อและจัดสรรหุ้นจนครบ
ขั้นตอนที่ 2. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อและจัดสรรหุ้นจนครบ มาตรา ในการจัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องลงลายมือชื่อซื้อหุ้น ๆ หนึ่งเป็นอย่างน้อย (มาตรา 1100) ห้ามมิให้ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้น กล่าวคือ ในการจัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น นั้นต้องกระทำโดยวิธีธรรมดาโดยตรงต่อผู้รับคำเสนอจะออกเป็นหนังสือชี้ชวน หรือโฆษณาแก่สาธารณชนทั่วไปไม่ได้ (ม.1102) การเข้าชื่อชื้อหุ้นเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนว่าถ้าบริษัทตั้งขึ้นได้แล้ว ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะใช้เงิน (มาตรา 1106)

12 ข้อสังเกต มาตรา 1114 ในกรณีที่บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนอยู่ตราบใด ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นมี สิทธิจะเพิกถอน หรือบอกเลิกการจองหุ้นได้ โดยหุ้นที่มีการเพิก ถอนหรือบอกเลิกนั้นต้องนำมาขายใหม่ แต่หากบริษัทได้จดทะเบียนแล้ว ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะขอเพิกถอนหรือ บอกเลิกการจองหุ้นไม่ได้ หรือแม้กระทั่งฟ้องร้องต่อศาลขอให้ เพิกถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นโดยยกเหตุสำคัญผิดหรือต้องข่มขู่ หรือ ถูกลวงล่อฉ้อฉลก็ไม่ได้เช่นกัน

13 ขั้นตอนที่ 3 การประชุมตั้งบริษัท
การเตรียมและนัดประชุม เป็น หน้าที่ของผู้เริ่มก่อการที่จะต้อง เตรียมการและนัดประชุมผู้เข้าชื่อ ซื้อหุ้นเพื่อประชุมตั้งบริษัทตาม มาตรา 1107 โดยกฎหมายได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ คือ ได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นหมดแล้ว ( มาตรา 1107 วรรคแรก) ขั้นตอนที่ 3

14 ผู้เริ่มก่อการต้องส่งรายงานการตั้งบริษัทไปยังผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุก คนก่อนวันนัดประชุมอย่างน้อย 7 วัน ตามมาตรา 1107 วรรค สอง โดยรายงานดังกล่าวต้องมีคำรับรองของผู้เริ่มก่อการว่า ถูกต้อง และต้องส่งระเบียบวาระการประชุมซึ่งได้กำหนดไว้ใน มาตรา 1108 ไปด้วย ผู้เริ่มก่อการต้องส่งสำเนารายการตั้งบริษัทไปยังนายทะเบียน ( มาตรา 1107 วรรคสาม) ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นพร้อมทั้งแสดง ฐานะที่อยู่ และจำนวนหุ้นซึ่งแต่ละคนลงชื่อซื้อหุ้นไว้ เพื่อเสนอต่อที่ ประชุมด้วย ( มาตรา 1107 วรรคสี่)

15 1. ตั้งข้อบังคับของบริษัท
การประชุมตั้งบริษัทจำกัดนั้นเพื่อพิจารณา เรื่องดังต่อไปนี้เป็นสำคัญ ตามมาตรา 1108 1. ตั้งข้อบังคับของบริษัท ข้อบังคับของบริษัท หมายถึง ข้อกำหนดและระเบียบในการ ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เป็นหลักใหญ่ของบริษัทรวมถึงอำนาจหน้าที่ของ กรรมการในอันที่จะบริหารกิจการบริษัทให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ บริษัทที่กำหนดไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ กรณีนี้ย่อมแสดงว่าข้อบังคับ ของบริษัทต้องไม่ขัดแย้งกับหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท

16 ข้อบังคับเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้ง บริษัทและนำไปจดทะเบียนแล้ว
หากต่อมาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้อง ปฎิบัติดังนี้ ต้องมีการลงมติพิเศษ (มาตรา 1145) และต้องนำไปจด ทะเบียนการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือ ตั้งขึ้นใหม่ซึ่งข้อบังคับนั้นภายใน 14 วัน นับแต่วันลงมติพิเศษ (มาตรา 1146) และต้องส่งมอบฉบับตีพิมพ์ของ ข้อบังคับที่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตั้งขึ้นใหม่จำนวน 10 ฉบับในเวลาที่ ขอจดทะเบียน (มาตรา 1147)

17 การให้สัตยาบันแก่บรรดา
2. ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทได้กระทำลงไปเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท การให้สัตยาบันแก่บรรดา สัญญา หรือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งผู้เริ่มก่อการได้กระทำลงหรือใช้จ่ายไป เช่น ผู้เริ่มก่อการทำสัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อสร้างสำนักงาน ซื้อขาย เครื่องจักรสำหรับผลิตสินค้า หรือวางเงินค่ามัดจำซื้อที่ดิน ค่า พาหนะในการติดต่อต่าง ๆ หรือค่าแบบพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น

18 ข้อสังเกต สิ่งเหล่านี้ต้องให้ที่ประชุมตั้งบริษัทให้สัตยาบัน เพื่อโอนสิทธิ และหน้าที่ต่าง ๆ มาเป็นของบริษัทเสมือนว่าบริษัทได้ กระทำสิ่งนั้นมาตั้งแต่ต้น เพื่อให้ผู้เริ่มก่อการหลุดพ้น ความรับผิด แต่หากที่ประชุมไม่ได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่ ผู้เริ่มก่อการคนนั้นได้ทำลงหรือทดรองออกไปก่อนจะตกเป็นพับ แก่ผู้เริ่มก่อการคนนั้นเอง บริษัทจะไม่ต้องรับผิดให้

19 3. กำหนดจำนวนเงินที่จะสมนาคุณให้แก่ผู้ก่อการ (ถ้ามี)
ถ้าหากว่าประสงค์จะให้เงินแก่ผู้เริ่มก่อการในการ ดำเนินการต้องเสนอต่อที่ประชุมตั้งบริษัทเพื่อให้ อนุมัติเท่านั้น เช่น อนุมัติให้เงินผู้เริ่มก่อการเป็นค่า เหนื่อยที่จะมีงานชิ้นใหญ่สำหรับบริษัทเมื่อตั้งขึ้นเรียบร้อย แล้ว เป็นต้น

20 โดยหลักหุ้นในบริษัทจะมีอยู่สองประเภทคือ หุ้นสามัญ กับหุ้นบุริมสิทธิ
4. วางกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิแห่งหุ้นนั้น ๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด ถ้าหากจะมีหุ้นเช่นนั้นในบริษัท โดยหลักหุ้นในบริษัทจะมีอยู่สองประเภทคือ หุ้นสามัญ กับหุ้นบุริมสิทธิ หากผู้เริ่มก่อการประสงค์จะให้มีหุ้นบุริมสิทธิในบริษัทต้อง นำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมตั้งบริษัท โดยกำหนดจำนวน หุ้นบุริมสิทธิว่าจะมีกี่หุ้น สภาพหรือสิทธิประโยชน์เป็น อย่างไร จึงจะสามารถมีหุ้นบุริมสิทธิได้

21 5. วางกำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งจะออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้ว เพราะมาตรา กำหนดให้หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็ม ค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือมาตรา 1221 ดังนั้น หากผู้เริ่มก่อการประสงค์ให้มีหุ้นที่ออกให้เสมือนใช้เงินเต็มมูลค่าหรือ บางส่วนแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องแถลงในที่ประชุมเป็นการเฉพาะว่าจะออกหุ้น สามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินแล้วเช่นนั้น เพื่อแทนคุณ แรงงาน หรือตอบแทนทรัพย์สินอย่างใด ให้บรรยายให้ชัดแจ้ง เช่น เพื่อตอบ แทนคุณแรงงานหรือทรัพย์สินในการตั้งบริษัท จำนวน 100 หุ้นต้องให้ที่ประชุมอนุมัติ จึงมีผลเป็นหุ้นซึ่งออกให้เหมือนได้ใช้เต็มค่าหรือได้ใช้บางส่วนแล้วแต่กรณี

22 บริษัทรับทำบัญชี ผู้สอบบัญชี
6. เลือกตั้งกรรมการและผู้สอบบัญชีชุดแรกของบริษัท ตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ บริษัทรับทำบัญชี กรรมการบริษัท (กรรมการชุดแรก) โดย หลักจะมีกี่คนก็ได้โดยพิจารณาจากขนาด ของกิจการ และข้อบังคับบริษัทกำหนดไว้ อย่างไร (อำนาจ สิทธิ หน้าที่และความ รับผิดชอบจะได้กล่าวถึงต่อไป) เลือกจากผู้ เริ่มก่อการหรือใครก็ได้เป็นกรรมการ ผู้สอบบัญชี จะเลือกจากผู้ถือหุ้น หรือ บุคคลภายนอกก็ได้ แต่หากเลือกจากผู้ถือ หุ้นต้องไม่มีส่วนได้เสียในการงานของ บริษัท เช่นเป็นกรรมการหรือพนักงาน ลูกจ้างของบริษัท (อำนาจ สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดชอบจะได้กล่าวถึงต่อไป) ส่วน ใหญ่คือ ผู้สอบบัญชี (Licensed Auditor) ผู้สอบบัญชี

23 โดยสรุป ในขั้นตอนที่สามนี้ กฎหมายกำหนดกิจการอันจะถึงทำในที่ ประชุมตั้งบริษัทไว้เพียง 6 อย่าง แต่หากผู้เริ่มก่อการเห็น ว่าควรเสนอเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติมก็สามารถนำเสนอในที่ ประชุมได้ เช่น กำหนดธนาคารที่จะใช้กับบริษัท กำหนดรายชื่อ กรรมการที่มีอำนาจลงนามในเอกสารสัญญา หรือเอกสาร ทางการเงินของบริษัท เป็นต้น

24 ขั้นตอนที่ 4 กรรมการชุดแรกของบริษัทต้องจัดการให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายชำระค่าหุ้นอย่างน้อย ร้อยละ 25 ต่อหนึ่งหุ้น มาตรา 1105 วรรคสาม บัญญัติว่า “อนึ่ง เงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิให้น้อยกว่า ร้อยละยี่สิบห้าแห่งมูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้” ถ้าหุ้นละ 10 บาท / 25%? ประกอบกับ มาตรา 1110 วรรคสอง บัญญัติว่า “เมื่อกรรมการได้รับการแล้ว ก็ให้ลงมือจัดการเรียก ให้ผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินในหุ้นซึ่งจะต้องใช้เป็นตัวเงิน เรียกหุ้นหนึ่งไม่น้อย กว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนบอกกล่าวป่าวร้องหรือหนังสือชวนให้ซื้อ หุ้น” ดังนั้น ภารกิจประการหนึ่งที่กรรมการชุดแรกได้รับมอบกิจการจากผู้เริ่มก่อการแล้วจะต้อง ทำคือ ลงมือจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายชำระเงินค่าหุ้นซึ่งต้อง ชำระเป็นตัวเงินและจะต้องชำระในงวดแรกไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

25 ขั้นตอนที่ 5 กรรมการชุดแรกของบริษัทต้องนำไปจดทะเบียน บริษัทภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท เมื่อผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นชำระค่าหุ้นตามที่กรรมการชุดแรกเรียกเก็บจนครบแล้ว กรรมการชุดแรกต้องขอจดทะเบียนเพื่อตั้งบริษัท ณ หอทะเบียนการค้าในเขตที่บริษัทตั้งอยู่ การยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท คำขอและข้อความที่จะจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้น ตามมาตรา วรรคสอง บัญญัติให้ระบุรายการตามที่ตกลงกันในที่ประชุมตั้งบริษัท นอกจากรายการที่ ปรากฏทั้ง 8 ข้อแล้ว จะมีรายการอื่นที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบก็อาจลงไว้ในรายการ ได้

26 ข้อสังเกต หากกรรมการไม่ได้ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทภายใน 3 เดือนนับ แต่วันประชุมตั้งบริษัท ถือว่าบริษัทไม่ได้ตั้งขึ้น กรรมการจะไป ขอจดทะเบียนเป็นบริษัทอีกไม่ได้ เพราะพ้นกำหนดที่จะไปขอจด ทะเบียนถือว่าขั้นตอนทั้งหลายในการตั้งบริษัทที่ผ่านมาเสีย ทั้งหมด แต่หากจะขอจดทะเบียนต้องเริ่มตั้งบริษัทกันใหม่ตามลำดับ จนถึงประชุมตั้งบริษัทและจึงมาขอจดทะเบียนใหม่ได้

27 ชื่อ วัตถุประสงค์ ผู้ถือหุ้น ที่อยู่
ม.1098 ม.1111/1 ชื่อ วัตถุประสงค์ ผู้ถือหุ้น ที่อยู่ อย่างน้อย 1 หุ้น ม / ห้ามชี้ชวน 1102 ม.1105 ม.1107 ว.1 ว.2 ม.1108 ม.1110 ม. 1112 ม.1111

28 ผลการจดทะเบียนบริษัท
บริษัทที่ได้จดทะเบียนแล้วย่อมมีสถานะเป็นนิติบุคคลมีฐานะและตัวตนแยกต่างหากจากบรรดาผู้ถือหุ้นและสามารถมีชื่อ ภูมิลำเนา สัญชาติต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน แต่ต้องเป็นกรณีที่เหตุแห่งความรับผิดนั้นเป็นการกระทำภายใต้ขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท (เท่านั้น) + (ไม่มีให้สัตยาบันรับรองหนี้นอกวัตถุประสงค์แต่อย่างใดอีก)

29 ผลเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จดทะเบียน มาตรา 1020 มาตรา 1022 และมาตรา 1023
ผลเกี่ยวกับเอกสารที่ได้จดทะเบียน มาตรา 1020 มาตรา 1022 และมาตรา 1023 คำพิพากษา 347/2506 ข้อจำกัดอำนาจกรรมการในอันจะลงนามผูกพันบริษัท จะต้อง มีตราของบริษัทประทับด้วยนั้น เมื่อได้จดทะเบียนและได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราช กิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไป หนังสือสัญญาเช่าซื้อมีข้อความ ในตอนต้นว่า บริษัทโดยกรรมการผู้จัดการเป็นผู้เช่า และมีลายมือชื่อกรรมการ ผู้จัดการในช่องผู้เช่า แต่ไม่มีตราของบริษัทประทับด้วยนั้น ย่อมไม่ผูกพันบริษัท ผลโดยเฉพาะ บรรดาผู้เริ่มก่อการพ้นความรับผิดในบรรดาหนี้สินและการจ่ายเงินซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทให้การอนุมัติ ตามมาตรา 1113 โดยบริษัทรับภาระและความรับผิดชอบแทน ผู้ถือหุ้นจะฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำขอเข้าชื่อซื้อหุ้นของตนไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดทั้งสิ้น (มาตรา 1114)

30 หุ้นและผู้ถือหุ้น (มาตรา 1117 – 1143)
หุ้นและผู้ถือหุ้น (มาตรา 1117 – 1143) ลักษณะพิเศษของหุ้น หุ้นทุกหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน ( มาตรา 1096) หุ้นแต่ละบริษัทต้องมีมูลค่าเท่ากัน แต่จะมีมูลค่าสูงหรือต่ำเพียงใด ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ทุนในการดำเนินกิจการมากน้อยต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา มูลค่าหุ้นต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท หุ้นแบ่งแยกไม่ได้ ( มาตรา 1118) หุ้นเป็นทรัพย์ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้โดยสภาพของหุ้นเอง ดังนั้น ถ้าจะมี บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้าชื่อซื้อหุ้นหนึ่งหุ้นร่วมกัน ไม่สามารถใช้ชื่อสองคนนั้นเป็น ผู้ถือหุ้นได้ ต้องเลือก คนใดคนหนึ่งให้มีชื่อถือหุ้นและมีสิทธิต่าง ๆ ได้ แต่สำหรับการเรียกร้องให้ชำระค่าหุ้นค้างชำระนั้น ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อบริษัทในการส่งใช้มูลค่าหุ้นร่วมกัน ตามมาตรา 1118 วรรคสาม ในการชำระเงินค่าหุ้นต้องชำระด้วยเงินเท่านั้น (มาตรา 1119) การชำระเงินค่าหุ้นสำหรับบริษัทจำกัดนั้น ต้องชำระด้วยเงินเท่านั้น จะใช้ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือแรงงานไม่ได้ (เว้นแต่จะเป็นหุ้นซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทได้ กำหนดให้ตามมาตรา 1118 (5) นอกจากนั้นผู้ถือหุ้นจะหักกลบลบหนี้กับบริษัทเพื่อชำระค่าหุ้นก็ไม่ได้ (มาตรา 1119 วรรคสอง)

31 ใบหุ้น บริษัทจะต้องจัดทำใบหุ้นขึ้นไว้ให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคน เป็นหนังสือสำคัญเพื่อแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ใบหุ้นนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามแต่จะเลือก คือ ใบหุ้นชนิดออกให้กับผู้ถือ คือ ใบหุ้นที่ไม่มีการใส่ชื่อผู้ถือหุ้นว่าเป็นใคร ทำนองเดียวกับเช็คผู้ถือที่ไม่มีระบุชื่อผู้รับเงิน ดังนั้นหากใครเป็นผู้ถือใบหุ้น ก็ถือว่า เป็นเจ้าของหุ้น ข้อสังเกต เฉพาะใบหุ้นผู้ถือนั้น มาตรา 1134 กำหนดไว้เฉพาะว่าจะออกใบหุ้น ชนิดนี้ได้ ต้องมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้ และจะออกได้ก็ต่อเมื่อหุ้น จำนวนดังกล่าวได้มีการชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ คือ ใบหุ้นชนิดนี้เป็นการระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของหุ้นไว้อย่างชัดเจน เฉพาะบุคคลผู้มีชื่อในใบหุ้นเท่านั้นที่มีสิทธิในหุ้นจำนวนดังกล่าว

32 ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ

33 ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ

34 สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น มี ไว้เพื่อจดบันทึกรายการ ต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ถือหุ้น และการถือหุ้นของ บริษัท จะได้รู้ว่าขณะนี้ บุคคลใดเป็นเจ้าของหุ้น ของบริษัท เลขหมาย เท่าใด มีจำนวนกี่หุ้น ถือเป็นหลักฐานสำหรับ ฝ่ายบริษัท กรรมการเป็นผู้มีหน้าที่จัดให้มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและรักษาให้ เรียบร้อย (มาตรา 1168 วรรคสอง(2)) สำหรับรายการของสมุด ทะเบียนผู้ถือหุ้น กำหนดไว้ใน มาตรา 1138 สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานที่จดทะเบียนไว้เพื่อ เป็นหลักฐานการถือหุ้นของบริษัท และผู้ถือหุ้นตรวจสอบและคัดสำเนา ได้ (มาตรา 1139 วรรคแรก)

35 มาตรา 1139 วรรคสอง ให้บริษัทต้องส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นให้นายทะเบียนอย่างน้อยปีละครั้ง โดยให้ เป็นหน้าที่กรรมการที่จะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อของผู้ที่ยังคงถือหุ้นอยู่ทั้งหมดในเวลาที่ประชุมและรายชื่อผู้ที่ขาดจาก การเป็นผู้ถือหุ้นจำเดิมแต่วันประชุมสามัญครั้งที่แล้วมานั้นไปยังนายทะเบียนอย่างน้อยปีละครั้ง และมิให้ช้ากว่า วันที่ 14 นับแต่การประชุมสามัญ บัญชีรายชื่อนี้ให้มีรายการบรรดาที่ระบุไว้ในมาตราก่อนนั้น (มาตรา 1138) ทุกประการ ผู้ถือหุ้นชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น หรืแต่ตอนหนึ่งตอนใดแก่ตนได้เมื่อเสียค่าคัดสำเนาห้าสิบ สตางค์ต่อร้อยคำ (มาตรา 1140) ข้อสังเกต สมุดทะเบียนถือเป็นรายการหลักฐานการถือหุ้นของบริษัทที่ได้รับข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย มาตรา 1141 ว่า ข้อความที่จดลงไว้ในทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง ดังนั้น หากมีการโอนหุ้นกัน ผู้รับโอนก็จะต้องมาแก้ไขชื่อของตนเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนนี้ด้วย ( มาตรา 1129) มิฉะนั้นทางบริษัทจะไม่ถือว่าผู้รับโอนนั้นเป็นผู้ถือหุ้นก็จะทำให้ผู้รับโอนเสียสิทธิต่าง ๆ ในการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทไปจนกว่าจะได้แก้ไขใส่ชื่อของตนเป็นผู้ถือหุ้นแล้ว

36 คำพิพากษาฎีกาที่ 2362/2520 บัญชีผู้ถือหุ้นบันทึกรายงานการประชุมและข้อมติ ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือที่ประชุมกรรมการเพียง ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นพยานหลักฐานอัน ถูกต้องและเป็นไปโดยชอบเท่านั้น จึงอาจนำสืบ หักล้างว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นไปโดยมิชอบได้ เช่นเดียวกัน

37 การโอนหุ้น การโอนหุ้นโดยนิติกรรมสัญญา การโอนหุ้นโดยผลของกฎหมาย
การโอนหุ้น หมายถึง การที่หุ้นเปลี่ยนมือโดยเจตนาของผู้ถือหุ้นและ ผู้รับโอนหุ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นกัน ระหว่างคนสองคน การโอนหุ้นแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การโอนหุ้นโดยนิติกรรมสัญญา การโอนหุ้นโดยผลของกฎหมาย

38 การโอนหุ้นโดยนิติกรรมสัญญา
การโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ตามมาตรา บัญญัติวิธีการโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือดังนี้ เพียงแต่ส่งมอบใบหุ้น(โดยเจตนา)ให้กับผู้รับโอนเท่านั้นก็มีผลสมบูรณ์ ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องไปทำหนังสือสัญญาใด ๆ ก็เข้าเป็น ผู้ถือหุ้น แทนผู้โอนได้ทันที เนื่องจากใบหุ้นชนิดนี้เป็นใบหุ้นที่ได้มีการชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหุ้นแล้วย่อม สามารถโอนให้กันได้ทันทีและจึงไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ถือหุ้นเป็นการเฉพาะ เพียงแต่ระบุให้ผู้ใดที่ถือใบหุ้นนี้อยู่ก็ถือว่าเป็นเจ้าของหุ้นตามจำนวนที่กำหนดในใบหุ้น ได้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องมีการแก้ไขทางทะเบียน หรือแก้ไขรายการอะไร

39 การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ
มาตรา ผู้โอนและผู้รับโอนหุ้นชนิดนี้ต้องปฏิบัติดังนี้ จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญา ลงลายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอนหุ้น มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย (ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน) ต้องจดแจ้งการโอนหุ้นทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือ หุ้นของบริษัทด้วย การโอนหุ้นที่ไม่ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่ง การโอนตกเป็นโมฆะ

40 คำพิพากษาฎีกาที่ 1174/2487 โอนหุ้นบริษัทจำกัด ชนิดระบุชื่อ เมื่อไม่ได้ลงชื่อผู้รับโอนด้วยย่อมเป็นโมฆะ แม้จะ ได้จดแจ้งการโอนในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทก็ใช้ไม่ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 2970/2522 การโอนหุ้นบริษัท จำกัดชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงลายมือชื่อในหนังสือโอน หุ้น มิฉะนั้นเป็นโมฆะ แม้จะทำต่อหน้าพยานรู้เห็นหลายคนก็ ตาม ผู้ที่จะรับโอนหุ้นต่อไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ ไม่เป็นเจ้าของหุ้น

41 ข้อสังเกต การโอนหุ้นนั้นเป็นสิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะทำได้ เสมอ แม้หุ้นนั้นจะยังเรียกชำระค่าหุ้นไม่เต็ม จำนวนก็ตาม เช่น หุ้นราคาพาร์ 100 บาท ชำระไปแล้ว 25 บาท (ตอนเริ่มจดทะเบียนบริษัท ดู ม. 1110) ผู้ถือหุ้นก็สามารถโอนหุ้น ไปได้โดยผู้รับโอนก็จะเข้าเป็นผู้ถือหุ้นคนใหม่และมีหน้าที่ต้อง ชำระค่าหุ้นให้บริษัทอีก 75 บาทที่เหลือ

42 ข้อสังเกต มาตรา 1129 วรรคสอง คือ บทบัญญัติที่ กำหนดแบบการโอนหุ้น ไม่ใช่แบบสัญญาซื้อ ขาย แม้ในสัญญาซื้อขายจะไม่ได้ทำตามแบบ ของมาตรา 1129 วรรคสอง ก็ไม่ทำให้สัญญา ซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะ

43 คำพิพากษาฎีกาที่ 1802/2529 ความมุ่งหมายของมาตรา 1129 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าการโอนหุ้น ชนิดระบุชื่อถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อของผู้โอนหุ้นชนิด ระบุชื่อกับมีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้น เป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มี หลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หากใช่เป็นแบบของการซื้อขาย หุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่ไม่ได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นใน บริษัทได้เท่านั้น แต่หาถึงกับทำให้การซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะไปด้วยไม่

44 ข้อสังเกต เมื่อมีการโอนหุ้นให้แก่กันแล้ว ผู้รับโอนจะต้องแจ้งต่อทางบริษัทว่า ขอ เปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากผู้โอนมาเป็นตนเองในฐานะผู้รับโอน เพื่อให้มีการ แก้ไขทางทะเบียนใน “สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น” ของบริษัท มิฉะนั้นทาง บริษัทจะถือว่าผู้โอนยังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนชื่อทาง ทะเบียน ผลก็คือ บริษัทยังเรียกให้ผู้ถือหุ้นเดิมชำระค่าหุ้นที่ค้างได้ หรือ จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม หรือไม่ยอมให้ผู้รับโอนหุ้นคนใหม่เข้า ประชุมบริษัทก็ได้ นอกจากนั้นผู้รับโอนหุ้นคนใหม่ยังไม่สามารถใช้สิทธิยันบุคคลภายนอกได้

45 เช่น ผู้ถือหุ้นโอนหุ้นให้นักศึกษาไปแล้ว แต่ปรากฏว่าก็มาโอนหุ้นให้เพื่อน นักศึกษาอีกคนหนึ่ง ดังนี้หากเพื่อนนักศึกษานำไปจดทะเบียนการโอนก่อน เรา เราจะไปอ้างความเป็นเจ้าของหุ้นที่แท้จริงเพราะได้รับโอนหุ้นมาก่อน เพื่อนเราไม่ได้ หรือ ผู้ถือหุ้นโอนหุ้นไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ปรากฏ ว่าเจ้าหนี้ของบริษัทย่อมจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นคนเดิมชำระเงินค่าหุ้นที่ยังชำระ ไม่ครบเพื่อชำระหนี้ของบริษัทได้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการ โอน เพราะการโอนหุ้นถ้าได้จดทะเบียนการโอนเรียบร้อยแล้วตาม มาตรา 1133 ผู้ถือหุ้นคนเดิมจะรับผิดในเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ ครบถ้วนเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัท เฉพาะกรณีที่หนี้นั้น เกิดขึ้นก่อนการโอนเท่านั้น

46 แต่ใช้ยัน(อ้างหรือโต้แย้งสิทธิ)ระหว่างกันเองได้
เมื่อการโอนหุ้นถูกต้องตามแบบแล้ว แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ผูกพันกันระหว่างผู้โอนและผู้รับโอนได้ แต่ก็ใช้ยัน ระหว่างคู่สัญญาได้ เช่น ผู้ขายหุ้นมีหน้าที่ต้องไปจัดการจดทะเบียนการโอนหุ้นให้แก่ผู้ซื้อหุ้น หากผู้ขายไม่ไป จัดการจดทะเบียนโอนให้ ผู้ซื้อก็ฟ้องร้องบังคับได้ หรือ ก่อนจดทะเบียนการโอน ผู้ขายหุ้นย่อมถือหุ้นในฐานะถือแทนผู้ซื้อหุ้น หากมีการประชุม ใหญ่ผู้ถือหุ้นในระหว่างนั้น ผู้ขายหุ้นก็จะต้องไปประชุมและลงมติตามที่ผู้ซื้อสั่ง หากผู้ขายหรือผู้โอนหุ้นรับเงินปันผลมาหลังจากการโอนก็ต้องจ่ายหรือนำส่งให้แก่ผู้รับ โอนในฐานะผู้ซื้อ เว้นแต่จะเป็นการโอนขายหุ้นโดยระบุว่าไม่รวมถึงปันผลด้วย ซึ่งกรณี เช่นนี้ต้องระบุเป็นเงื่อนไขชัดแจ้ง

47 คำพิพากษาฎีกาที่ 3913/2531การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของ บริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือ ผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลย เอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่ได้ จดแจ้งการในลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับ โอนหุ้นกันเอง โดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้น ได้โอนกันที่บริษัทจำเลย กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยานจึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้บังคับได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 478/2534 สัญญาโอนหุ้นระหว่างผู้ร้องกับ ก. โดยมี กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยลงชื่อเป็นพยานพร้อมทั้งประทับตราสำคัญ ของบริษัท แม้จะไม่มีการจดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักงานผู้รับโอนนั้นลงใน ทะเบียนผู้ถือหุ้นก็อาจนำการโอนหุ้นนั้นมาใช้ยันบริษัทจำเลยได้ ไม่เป็นกรณีที่ต้อง ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 1129 วรรคสาม

48 สรุป หากกรรมการผู้จัดการ หรือกรรมการผู้มี อำนาจของบริษัทได้ร่วมรู้เห็นเป็นพยานในการ โอนด้วยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องจดแจ้งให้บริษัท ทราบอีก

49 การโอนหุ้นโดยผลของกฎหมาย
มาตรา บัญญัติว่า “ในเหตุบางอย่างเช่นผู้ถือ หุ้นตายก็ดี หรือล้มละลายก็ดี อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเป็นผู้ มีสิทธิจะได้หุ้นขึ้นนั้น หากว่าบุคคลนั้นนำใบหุ้นมาเวนคืน เมื่อเป็นวิสัยจะทำได้ ทั้งได้นำหลักฐานอันสมควรมาแสดง ด้วยแล้ว ก็ให้บริษัทรับบุคคลนั้นลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น สืบไป”

50 อธิบาย กรณีผู้ถือหุ้นตาย หุ้นถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาและถือเอาได้ หากว่าผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นก่อนหรือในขณะตาย หุ้นนั้นย่อมถือเป็น ทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทได้ (ตามมาตรา 1599 – 1600) กรณีผู้ถือหุ้นล้มละลาย บุคคลผู้ล้มละลายย่อมหมดอำนาจใน การจัดการทรัพย์สินของตนเอง และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์เข้ามาจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายได้ เพื่อประโยชน์ใน การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายชำระคืนแก่เจ้าหนี้

51 เหตุอื่นๆที่อาจมีผลเช่นเดียวกันก็สามารถโอนหุ้นไปได้โดยผลของกฎหมาย
กรณีคู่สมรสที่หย่ากันและให้แบ่งหุ้นในบริษัทคนละครึ่งในฐานะที่หุ้น ดังกล่าวเป็นสินสมรส หรือ อาจมีการเพิกถอนการให้หุ้นเพราะเหตุเนรคุณ (มาตรา 531) หรือ กรณีผู้ซื้อหุ้นจากการขายทอดตลาดของศาล เป็นต้น กรณีเหล่านี้ ผู้มีสิทธิได้หุ้นเหล่านั้นต้องนำเอาใบหุ้นมาคืนบริษัทก่อนหากสามารถทำได้ พร้อมกับแสดงหลักฐานแห่งสิทธิของตน เช่น มีคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลให้เป็น ผู้จัดการมรดก หรือคำสั่งศาลถึงความเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือใบมรณะบัตร

52 เหตุที่กฎหมายให้นำเอาใบหุ้นมาเวนคืนบริษัทก่อนถ้าเป็นวิสัยจะทำได้ ก็เพื่อ
ให้บริษัทจะได้ออกใบหุ้นใหม่ และบริษัทจะได้ทำลาย หรือเพิก ถอนใบหุ้นเดิมนั้นเสีย และ ถ้าหากไม่สามารถนำใบหุ้นมาเวนคืนได้ อาจเนื่องจากใบหุ้นหาย ก็ไม่ต้องนำมาคืน เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับเป็นบทเด็ดขาด เมื่อบริษัทออกใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้นใหม่แล้วก็ต้องแก้ไขชื่อผู้ถือหุ้นลง ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นต่อไป

53 การครอบครองปรปักษ์หุ้น ?
การครอบครองปรปักษ์หุ้น ? การได้กรรมสิทธิ์ในใบหุ้นโดยการครอบครองปรปักษ์ หุ้นเป็นทรัพย์สินซึ่งอาจครอบครองปรปักษ์ได้ เนื่องจากหุ้นมี ลักษณะเป็นสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง ดังนั้นถ้าผู้รับโอนได้หุ้นมาโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1129 วรรคสองก็ตาม แต่หากได้ครอบครองมีเจตนา เป็นเจ้าของด้วยความสงบและเปิดเผยติต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปี จะได้หุ้นนั้นมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

54 คำพิพากษาฎีกาที่ 38/ การโอนหุ้นเป็นโมฆะนั้นถ้าผู้รับโอน ครอบครองปรปักษ์หุ้นเกิน 5 ปี ย่อมได้หุ้นเป็นสิทธิ คำพิพากษาฎีกาที่ 3395/ แม้การโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้มาเป็น ของ ผู้ร้องจะกระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องรู้สึกแต่มิได้โต้แย้ง ปฏิเสธการโอนหุ้นนั้น ถือได้ว่าผู้ร้องรับหุ้นนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ย่อมได้สิทธิครอบครองนับแต่วันที่ผู้ร้องครอบครองหุ้นจนถึงวันที่เจ้า พนักงานพิทักทรัพย์ทวงค่าหุ้นส่วนที่เหลือเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี หากการ โอนเป็นโมฆะ ผู้ร้องก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องจึง จะต้องรับผิดในมูลค่าหุ้น ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทวงถาม

55 ข้อจำกัดการโอนหุ้น 2 กรณีคือ
ข้อจำกัดการโอนโดยข้อบังคับของบริษัท ข้อจำกัดห้ามโอนโดยกฎหมาย

56 ข้อจำกัดการโอนโดยข้อบังคับของบริษัท
มาตรา 1129 หากบริษัทมีข้อจำกัดการโอนไว้เช่นใดก็จะต้องเป็นไป ตามข้อบังคับของบริษัท เช่น บริษัทอาจออกข้อบังคับได้ว่า การโอนขายหุ้นจะต้องเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นในบริษัทเสียก่อน หรือ การโอนหุ้นจะต้องไม่โอนให้แก่บริษัทอื่นซึ่งประกอบกิจการค้าขายใน ลักษณะเดียวกัน หรือ การโอนหุ้นให้บุคคลใดจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เสียก่อน หรือต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเสียก่อน

57 ข้อสังเกต อย่างไรก็ตามข้อบังคับของบริษัทจะห้ามโอน โดยเด็ดขาดไม่ได้ เพราะจะเป็นการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย ซึ่งทำให้ข้อบังคับห้ามโอนเป็น โมฆะ

58 ข้อสังเกต สำหรับหุ้นชนิดผู้ถือจะมีข้อบังคับห้ามโอน หรือจะบังคับ การโอนมีข้อจำกัดมีเงื่อนไขในการโอนอะไรไม่ได้เลย เพราะถือว่า เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้โดยการส่งมอบเหมือนกับเช็คผู้ถือ ดังนั้นจะออกเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นข้อจำกัดการโอนโดย ข้อบังคับบริษัทได้เฉพาะหุ้นชนิดที่ระบุชื่อเท่านั้น

59 ข้อจำกัดห้ามโอนโดยกฎหมาย (มาตรา 1130 มาตรา 1131 และกฎหมายพิเศษ )
ข้อจำกัดห้ามโอนโดยกฎหมาย (มาตรา มาตรา 1131 และกฎหมายพิเศษ ) มาตรา 1130 กรณีหุ้นใดที่บริษัทได้เรียกให้ส่งเงินค่าหุ้นซึ่งค้างชำระ อยู่ บริษัทจะไม่ยอมรับจดทะเบียนโอนหุ้นนั้นให้ก็ได้ (ทวงและค้างค่าหุ้น) มาตรา 1131 ในระหว่างสิบสี่วันก่อนการประชุมใหญ่สามัญ บริษัทจะ ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเสียก็ได้ (ปิดรับการโอนชั่วคราว) กฎหมายพิเศษอื่น ๆ ที่กำหนดกิจการบางอย่างจะต้องมีคนไทยถือหุ้น บางส่วน และคนต่างประเทศถือหุ้นได้ไม่เกินส่วนที่กฎหมายกำหนดไว้ (เกินสัดส่วนตามกฎหมายเรื่องการถือครองหุ้น)

60 ผู้ถือหุ้น Shareholders
ผู้ถือหุ้นที่เข้าชื่อซื้อหุ้นเมื่อตอนบริษัทอยู่ระหว่างจัดตั้ง ผู้ที่บริษัทออกหุ้นให้เป็นการตอบแทนแรงงาน หรือทรัพย์สิน มาตรา 1108(5), 1221 (ตอนเพิ่มทุน) ผู้ซื้อหุ้นจากบริษัทตอนที่บริษัทออกขายหุ้นเพื่อเพิ่มทุน ผู้ซื้อหุ้นต่อจากผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ถือหุ้นโดยการได้รับมรดก พินัยกรรม ผู้ถือหุ้นโดยการได้แบ่งสินสมรส ผู้ถือหุ้นโดยการการซื้อจากการขายทอดตลาด ผู้ถือหุ้นโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ถือหุ้นโดยเหตุอื่น ๆ ตามกฎหมาย

61 สิทธิของผู้ถือหุ้น

62 1. สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล (ม.1201)
สิทธิจะได้รับเงินปันผลของผู้ถือหุ้นย่อมเป็นไปตาม ข้อบังคับของบริษัท และชนิดของหุ้น โดยหลักจะได้รับเงินปัน ผลก็ต่อเมื่อบริษัทมีกำไรและที่ประชุมใหญ่อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลได้ (แม้จะมีกำไรแต่ ที่ประชุมใหญ่อาจจะอนุมัติไม่จ่ายเงินปันผลก็ได้ เช่น อาจกำหนดให้เงินกำไร นำไปลงทุนสำหรับโครงการปีหน้าเพื่อเป็นการขยายกิจการก็ได้) การจ่ายเงินปันผลมักจะกระทำกันในรอบสิ้นปีบัญชี แต่กรรมการอาจจะ จ่ายเงินปันผลระหว่างปีก็ได้ และจ่ายตามส่วนซึ่งผู้ถือหุ้นได้ส่งเงินค่าหุ้นแล้ว เว้นแต่หุ้นบุริมสิทธิซึ่งอาจตกลงเงื่อนไขไว้เป็นอย่างอื่นก็ได้ (มาตรา 1200)

63 2. สิทธิในการควบคุมการดำเนินงานของบริษัท
สิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่(1176) แต่การเข้า ประชุมและลงคะแนนนั้นผู้ถือหุ้นหาจำเป็นต้องกระทำเองไม่ อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นไป ทำแทนก็ได้ ( 1187) สิทธิในการเรียกประชุม (มาตรา ) ผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนหุ้นของบริษัทอาจขอให้กรรมการเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้ด้วย หากกรรมการไม่ยอมเรียกตามที่ผู้ถือหุ้นร้องขอภายใน 30 วัน ผู้ถือหุ้นจำนวน ดังกล่าวอาจเรียกประชุมเองก็ได้ สิทธิตรวจดูรายงานการประชุมกรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา 1207)

64 สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือกฎหมาย (มาตรา 1195)
สิทธิฟ้องกรรมการผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความเสียหายแก่ บริษัท เมื่อบริษัทไม่ยอมฟ้อง (มาตรา 1169) (การฟ้องเป็นการ เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย แต่จะฟ้องเพื่อให้ศาล พิพากษาให้นิติกรรมสัญญาใด ๆ ที่กรรมการกระทำต่อ บุคคลภายนอกเป็นโมฆะไม่ได้) และถ้ากรรมการทำให้ผู้ถือหุ้น เสียหายเป็นส่วนตัว ผู้ถือหุ้นก็อาจฟ้องในนามตนเองได้ด้วย

65 3. สิทธิใน“หุ้น” สิทธิจำหน่ายจ่ายโอนหุ้น (มาตรา 1129 หรือ 1135) หรือใช้ เป็นหลักประกันหนี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายและข้อบังคับของ บริษัท (เช่น ห้ามบริษัทรับจำนำหุ้น มาตรา 1143) สิทธิที่จะได้ซื้อหุ้นออกใหม่ของบริษัทตามส่วนของการถือ หุ้นเดิม (มาตรา 1222) สิทธิที่จะได้เงินค่าหุ้นและส่วนแบ่งทรัพย์สินของบริษัทหลังจากมี การเลิกบริษัทและชำระบัญชีและมีเงินเหลือจากการชำระบรรดา เจ้าหนี้ทั้งหลายแล้ว

66 สิทธิที่จะได้รับใบหุ้น (มาตรา 1127)
สิทธิขอเปลี่ยนใบหุ้นจากหุ้นชนิดระบุชื่อเป็นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ ( 1134) หรือเปลี่ยนใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นใบหุ้นชนิดระบุชื่อ (1136) สิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิขอตรวจทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือขอคัดสำเนาโดยเสีย ค่าธรรมเนียม ( ) หรือสิทธิเป็นผู้สอบบัญชี ( 1208) สิทธิถือหุ้นหลายคนร่วมกัน (1118 )เพียงแต่ต้องมอบหมายให้คนใด คนหนึ่งใช้สิทธิต่าง ๆ แทน

67 หน้าที่และความรับผิดของผู้ถือหุ้น
ชำระค่าหุ้นจนเต็มจำนวน เช่น กรณีเริ่มตั้งบริษัท ตอน เข้าชื่อซื้อหุ้นก็ถือว่าสัญญาว่าจะใช้เงินค่าหุ้นตามจำนวนนั้น ๆ เมื่อบริษัทตั้งขึ้นแล้ว (1106) หรือ กรณีตามมาตรา 1118 วรรคสาม ก็กำหนดให้ ผู้ถือหุ้นทุกคนต้อง ร่วมกันรับผิดส่งใช้เงินค่าหุ้นร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นก็ต้องรับผิดชอบชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่ยังส่งใช้ไม่ ครบอยู่เสมอ เว้นแต่กรณีที่พิสูจน์ได้ว่าการได้มาซึ่งหุ้นนั้นเป็นโมฆะ การโอนไม่ถูกต้อง ผู้รับ โอนหุ้นนั้นก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระอยู่ แม้ผู้รับโอนจะได้แสดง ตนอย่างเปิดเผยให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าตนเป็นผู้ถือหุ้น บริษัทก็ไม่มีสิทธิ เรียกให้ผู้รับโอนชำระค่าหุ้น สิทธิในหุ้นนั้นยังอยู่กับผู้โอนเดิม (ฎ. 413/2513)

68 ข้อสังเกต การเรียกใช้เงินค่าหุ้นของบริษัทต้องกระทำโดยสุจริต เช่น กรรมการเรียกให้ชำระค่าหุ้นเฉพาะผู้ถือหุ้นบางรายเท่านั้น ไม่ได้ ไม่อาจหักเงินค่าหุ้นกับหนี้ของบริษัทได้ (มาตรา 1119) หมายความว่า แม้ผู้ถือหุ้นจะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัท และในอีกทางหนึ่ง ตนเองก็ค้างชำระค่าหุ้นอยู่ก็ไม่อาจใช้สิทธิหักกลบลบหนี้กันได้ ดังนั้นในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัทก็ชอบที่จะเรียกให้บริษัทชำระหนี้โดยตรง ส่วนบริษัทก็จะเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามจำนวน และเวลาที่กำหนดได้

69 ความรับผิดในหุ้นที่โอนไปแล้ว
มาตรา 1133 หุ้นซึ่งโอนกันนั้น ถ้าเป็นหุ้นอันยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่า หุ้น ท่านว่าผู้โอนยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วน นั้น แต่ว่า ผู้โอนไม่ต้องรับผิดในหนี้อันหนึ่งอันใดของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้น ภายหลังโอน ผู้โอนไม่ต้องรับผิดออกส่วนใช้หนี้ เว้นแต่ความปรากฎขึ้นแก่ศาลว่า บรรดาผู้ที่ยังถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะ พึงต้องออกใช้นั้นได้ ในข้อความรับผิดเช่นว่ามานั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้โอนเมื่อพ้น 2 ปีนับแต่ได้ จดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

70 1. ความรับผิดในเงินค่าหุ้นต่อบริษัท
หลักก็คือรับผิดชำระค่าหุ้นค้างให้บริษัทเมื่อ บริษัททวงถามจนครบ แต่ความรับผิดนี้จะหมดสิ้นเมื่อหุ้นได้โอนไป โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ความรับผิดโอนไป ยังผู้ถือหุ้นรายใหม่ แม้ผู้ถือหุ้นคนใหม่จะไม่ สามารถชำระค่าหุ้นได้อีกก็ตาม

71 2. ความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท
แม้ผู้โอนหุ้นไปแล้วจะไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทอีก แต่ผู้โอนหุ้น ยังอาจต้องรับผิดในหนี้ค่าหุ้นต่อเจ้าหนี้ของบริษัทได้ (มาตรา ) เหตุผลเพื่อป้องกันการโอนหุ้นเพื่อให้พ้นจากความรับผิดอันเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การโอนหุ้นไปแล้วจะต้องรับผิดตามมาตรา ต้องปรากฏว่า หุ้นที่โอนไปนั้นยังชำระค่าหุ้นไม่ครบถ้วน หนี้ของบริษัทก่อให้เกิดขึ้นก่อนการโอนหุ้น (โดยคำนึงถึงการก่อหนี้เป็น สำคัญ มิใช่หนี้ถึงกำหนดชำระ ดังนั้นถ้าหนี้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนการโอนแม้ หนี้จะถึงกำหนดชำระภายหลังการโอนก็อาจต้องรับผิด และการโอนจะ ถือวันที่มีการจดแจ้งการโอนในทะเบียนเป็นหลัก ตามมาตรา วรรคสาม)

72 ผู้โอนหุ้น บริษัทจำกัด เจ้าหนี้ของบริษัทฯ โอนหุ้น ผู้รับโอนหุ้น
ผู้โอนหุ้นต้องรับผิดในหนี้สินของบริษัทต่อเจ้าหนี้บุคคลภายนอกอย่างไร? หนี้บริษัท 500,000 หนี้บริษัท 700,000 หนี้บริษัท 1.0 ลบ หนี้บริษัท 2.0 ลบ. หนี้บริษัท 200,000 หนี้บริษัท 5.0 ลบ. เจ้าหนี้ของบริษัทฯ โอนหุ้น ค้างค่าหุ้น? ผู้โอนหุ้น หุ้นชำระเต็ม? ผู้รับโอนหุ้น ใครต้องรับผิดในหนี้ค่าหุ้นที่ค้างชำระต่อบริษัท?


ดาวน์โหลด ppt บริษัทจำกัด Company Limited.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google