งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ

2 บทนำ มาตรฐานฉบับนี้กำหนดวิธีการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียก เก็บเงินไม่ได้และเรียกเก็บไม่ได้ ลูกหนี้เป็นทรัพย์สินของกิจการควรแสดงด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ ลูกหนี้อื่น หมายถึง ลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติ

3 ข้ออภิปราย การบันทึกลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้ ทำได้ 2 วิธีคือ
บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีที่เกิดหนี้สูญจริง เรียกว่าวิธีตัดจำหน่ายโดยตรง ประมาณจำนวนที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ โดยคำนวณจากยอดขายหรือลูกหนี้ วิธีนี้เรียกว่า วิธีตั้งค่าเผื่อ วิธีตัดจำหน่ายโดยตรงไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เพราะขัดกับ หลักการเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายในงวดเวลาเดียวกัน และ มูลค่าของลูกหนี้ ในงบแสดงฐานะการเงินก็ไม่แสดงมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจริง

4 วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ
คำนวณเป็นร้อยละของยอดขาย คำนวณเป็นร้อยละของยอดขายรวม คำนวณเป็นร้อยละของยอดขายเชื่อ คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้ คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้รวม ถือว่า อัตราส่วนของจำนวนหนี้ สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ทั้งหมดคงที่ คำนวณโดยการจัดกลุ่มลุกหนี้โดยจำแนกตามอายุลูกหนี้ที่ค้างชำระ ลูกหนี้ที่ค้างชำระนานอัตราของหนี้สงสัยจะสูญย่อมสูงกว่าลูกหนี้ที่เริ่ม ค้างชำระเกินกำหนด คำนวณโดยพิจารณาลูกหนี้แต่ละราย

5 ลูกหนี้ที่จะนำมาประมาณหนี้สงสัยจะสูญ
แนวความคิดแรกรวมเฉพาะลูกหนี้การค้า ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ตามปกติ ขณะที่ลุกหนี้อื่นมีจำนวนไม่เป็นสาระสำคัญไม่สัมพันธ์โดยตรงกับรายได้ใน งวดบัญชี หนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้อื่นจึงไม่ควรนำมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในงวด นั้นๆ อีกแนวคิดมองว่า ลูกหนี้อื่นก็มีโอกาสที่จะไม่ได้ชำระหนี้เหมือนกัน หากไม่ลดลูกหนี้ อื่นลงด้วยจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จะทำให้ยอดลูกหนี้รวมแสดงมูลค่าในงบแสดง ฐานะการเงินด้วยมูลค่าที่สูงเกินกว่าที่จะได้รับชำระ ตามมาตรฐานการบัญชี ย่อหน้า 16 ให้พิจารณาจำนวนหนี้สงสัยจะสูญทั้งลูกหนี้ การค้าและลูกหนี้อื่น โดยพิจารณาแยกต่างหากจากกัน

6 การจำหน่ายหนี้สูญ ถ้าได้มีการติดตามทวงถามหนี้สินจนถึงที่สุดแล้วแต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ และหนี้สูญนั้น เข้าเกณฑ์ที่จะตัดเป็นหนี้สูญได้ตามกฎหมายภาษีอากร ให้ตัดจำหน่ายโดย Dr. หนี้สูญ xxx Cr. ลูกหนี้ xxx Dr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xxx Cr. หนี้สงสัยจะสูญ xxx ในกรณีที่คาดหมายได้ว่า จะไม่ได้รับชำระหนี้ แต่หนี้นั้นยังไม่สามารถตัดเป็นหนี้สูญได้ ตามกฎหมายภาษีอากร กิจการอาจจะตัดลูกหนี้เป็นสุญได้โดย Dr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xxx

7 หนี้สูญรับคืน กรณีที่จำหน่ายลูกหนี้เป็นสูญไปแล้วตามกฎหมายภาษีอากร
Dr. ลูกหนี้ xxx Cr. หนี้สูญได้รับคืน xxx Dr. เงินสด xxx Cr. ลูกหนี้ xxx กรณีการตัดหนี้สูญเป็นการตัดหนี้สูญทางบัญชี Dr. ลูกหนี้ xxx Cr. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xxx Cr. ลูกหนี้ xxx


ดาวน์โหลด ppt มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google