งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้โปรแกรม Arc View 3.1

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้โปรแกรม Arc View 3.1"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้โปรแกรม Arc View 3.1

2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย Geoprocessing
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นวิธีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ทางพื้นที่ (Spatial relationship) ของฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อสร้างข้อมูลใหม่ ตามเงื่อนไขต่างๆ เช่น ต้องการทราบพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกป่า โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง และถูกบุกรุกแผ้วถาง เป็นต้น การเรียกใช้งาน Geoprocessing 1. Click mouse ที่ File บนเมนูบาร์ แล้วเลือกที่ Extensions 2. ใน Available Extensions เลือกที่ Geoprocessing แล้วกดปุ่ม OK

3 1. Click mouse เมนู File > Extensions
2.1 เลือก Geoprocessing

4 Buffer เป็นการหาพื้นที่รอบๆ ข้อมูลที่ต้องการ ในลักษณะของวงแหวน ซึ่งจะให้ขนาดรัศมีที่เท่ากัน ใช้ในการหารัศมีของข้อมูล เช่น การหารัศมีแพร่กระจายของฝุ่นละอองในอากาศ หรือใช้ในการกำหนด พื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เป็นต้น มีขั้นตอนดังนี้ 1. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่ต้องการ ถ้าข้อมูลมีมากกว่าความต้องการให้ทำการคัดเลือก ข้อมูลเสียก่อน 2. Click mouse ที่ Theme บนเมนูบาร์ แล้วเลือกที่ Create Buffer 3. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่ต้องการใช้สร้าง Buffer แล้วกดปุ่ม Next 4. เลือกรูปแบบของรัศมีที่ต้องการให้ปรากฏ พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไข แล้วกดปุ่ม Next 5. เลือกรูปแบบของการซ้อนทับของเส้นวงแหวน และกำหนดการแสดงของภาพที่ต้องการ ให้ปรากฏ แล้วกดปุ่ม Finish

5 1. เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการทำ Buffer
2. Click mouse เมนู Theme > Create Buffer

6 3.1 เลือกชั้นข้อมูลที่จะสร้าง Buffer
3.2 Click mouse 5.1เลือกรุปแบบที่ปรากฏ และ เลือกเก็บ Buffer 4.1 เลือกรูแบบ รัศมีที่ต้องการ ให้ปรากฏ 4.2 Click mouse 5.2 Click mouse

7 ผลลัพธ์ที่ปรากฎในการทำ Buffer เส้นแม่น้ำเจ้าพระยา

8 Dissolve เป็นการรวมข้อมูลรายละเอียดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากของข้อมูลเชิงพื้นที่ แบบ Polygon ให้มีจำนวนของข้อมูลที่น้อยลง โดยข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกันนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ด้วย เช่นรวมข้อมูลพื้นที่ตำบลเข้าด้วยกันเป็นพื้นที่อำเภอแทน หรือรวมข้อมูลพื้นที่อำเภอเข้าด้วยกัน เป็นพื้นที่จังหวัด เป็นต้น มีวิธีการทำ ดังนี้ 1. Click mouse ที่ View บนเมนูบาร์ แล้วเลือกที่ Geo Processing Wizard 2. เลือกที่ Dissolve features based on an attribute แล้วกดปุ่ม Next 3. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่ต้องการรวมข้อมูล 4. เลือก Field ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดให้รวมข้อมูล โดย Polygon ที่จะรวมจะต้องมี Field นี้ และมีข้อมูลที่เหมือนกัน 5. กำหนดชื่อ Drive, Directories ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ แล้วกดปุ่ม Next 6. กำหนด Field ที่ต้องการให้เพิ่มในตารางข้อมูล (Attributes of Theme) แล้วกดปุ่ม Finish

9 1.1 เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ Dissolve
1.2 Click mouse เมนู View > Geoprocessing

10 2.1 เลือก Dissolve features based on an attribute
2.2 Click mouse 5.2 Click mouse 3. เลือกชั้นข้อมูลที่ จะ Dissolve 4. เลือก Field ที่ต้องการให้รวม 5.1 กำหนดชื่อที่จัดเก็บ

11 6.1 กำหนด Field ที่ต้องการให้เพิ่มในตารางข้อมูล
6.2 Click mouse ผลลัพธ์ที่ปรากฏเมื่อ Dissolve

12 Merge เป็นการต่อข้อมูลที่มีพื้นที่ต่อเนื่องและติดต่อกัน และไม่ได้อยู่ในชั้นข้อมูล (Theme) เดียวกัน ให้รวมเป็นชั้นข้อมูลเดียวกัน มีขั้นตอนดังนี้ 1. Click mouse ที่ View บนเมนูบาร์ แล้วเลือกที่ Geo Processing Wizard 2. เลือกที่ Merge theme together แล้วกดปุ่ม Next 3. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่ต้องการต่อเชื่อมข้อมูล ซึ่งการเลือกชั้นข้อมูลตั้งแต่ข้อมูลที่ 2 เป็นต้นไปนั้นให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้ก่อนแล้วจึงค่อยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ 4. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่จะใช้เป็นตัวกำหนด Field หลักของข้อมูลตารางผลลัพธ์ 5. กำหนดชื่อ Drive, Directories ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ แล้วกดปุ่ม Finish

13 1. Click mouse เมนู View > Geoprocessing

14 3. เลือกชั้นข้อมูลที่จะ Merge
4. เลือกชั้นข้อมูลที่ใช้เป็น ตัวกำหนด Field หลักของ ข้อมูลตารางผลลัพธ์ 5.1 กำหนด File ที่จัดเก็บ 5.2 Click mouse

15 ผลลัพธ์ที่ปรากฏหลังจากที่ Merge

16 Clip เป็นการตัดข้อมูลบางส่วนของชั้นข้อมูล โดยมีตัวกำหนดจากแหล่งอื่นภายนอกชั้นข้อมูลนั้น ซึ่งเป็นข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้องการขยายถนนเพิ่มแล้วอยากทราบว่า พื้นที่ส่วนที่ขยายเพิ่มนั้นต้อง ใช้ที่ดินของใคร เป็นบริเวณพื้นที่เท่าใด เป็นต้น มีขั้นตอนดังนี้ 1. Click mouse ที่ View บนเมนูบาร์ แล้วเลือกที่ Geo Processing Wizard 2. เลือกที่ Clip one theme based on another แล้วกดปุ่ม Next 3. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่ต้องการตัดข้อมูล 4. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดพื้นที่ในการตัด 5. กำหนดชื่อ Drive, Directories ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลผลลัทธ์ที่ได้ แล้วกดปุ่ม Finish

17 1. Click mouse เมนู View > Geoprocessing

18 3. เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการตัดข้อมูล
4. เลือกชั้นข้อมูลที่จะใช้ เป็นตัวกำหนดพื้นที่ใน การตัด 5.1 กำหนด File ที่จัดเก็บ 5.2 Click mouse

19 ผลลัพธ์ที่ปรากฏหลังจาก Clip

20 Intersect เป็นการซ้อนทับข้อมูลของชั้นข้อูล (Theme) จำนวน 2 ชั้นข้อมูล เพื่อให้ได้ชั้นข้อมูลใหม่ ที่มี อยู่ในขอบเขตของ ทั้ง 2 Theme และตารางของ Out Theme จะประกอบด้วย ข้อมูลจากตารางของทั้ง 2 Theme มีวิธีการดังนี้ 1. Click mouse ที่ View บนเมนูบาร์ แล้วเลือกที่ Geo Processing Wizard 2. เลือกที่ Intersect two theme แล้วกดปุ่ม Next 3. เลือก Input Theme สำหรับทำ Intersect 4. เลือกชั้นข้อมูล (Theme) ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดพื้นที่ในการทำ Intersect 5. กำหนดชื่อ Drive, Directories ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ แล้วกดปุ่ม Finish

21 1 Click mouse เมนู View > Geoprocessing

22 4. เลือกชั้นข้อมูล กำหนดพื้นที่
ในการทำ Intersect 3. เลือก Input Theme สำหรับทำ Intersect 5.1 กำหนดชื่อ File ที่จัดเก็บ 5.2 Click mouse

23 ผลลัพธ์ที่ปรากฏของ Intersect


ดาวน์โหลด ppt การใช้โปรแกรม Arc View 3.1

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google