ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNitthon Suttirat ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสร้างเว็บเพจ ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ ๒ ห้อง ๓ โดยใช้ชุดกิจกรรม ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรีสุนทร การชัยศรี สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจอยุธยา
2
ปัญหาการวิจัย ปัจจุบันวิวัฒนาการต่าง ๆ ของโลกกำลังพัฒนาสู่สากลมากขึ้น แต่การศึกษาของไทยกำลังถอยหลังลงคลองในบางเรื่อง โดยเฉพาะการเรียนการสอนในรายวิชาการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต เด็กไทยทุกวันนี้ให้ความสนใจการเรียนวิชาการประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต น้อยลง คิดว่าการเขียนเว็บเพจเป็นเรื่องที่ยากและน่าเบื่อ เรียนไปแล้วนำไปใช้ในชีวิตได้ไม่ค่อยเป็นรูปธรรม จึงทำให้ผู้วิจัยต้องการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสร้างเว็บเพจของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ ๒ ห้อง ๓ โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อดูความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสนใจในบทเรียนของนักเรียน และนำผลที่ได้นั้นมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
3
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพ ๘๐ /๘๐
๒. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมของ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ปีที่ ๒ ห้อง ๓ สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ๓. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม
4
ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม
วัตถุประสงค์ จากการศึกษาหลักการ แนวคิด และประโยชน์ของชุดกิจกรรมของ เบญจวรรณ ใจหาญ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจึงกำหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยได้ดังนี้ ตัวแปรตาม ตัวแปรต้น ผลสัมฤทธิ์ของชุดกิจกรรม ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม ความพึงพอใจจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรม ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม การสร้างเว็บเพจ
5
สรุปผลการวิจัย ๑. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 จากผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องมาจาก การเรียนรู้จากชุดกิจกรรมจะช่วยให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น การอภิปราย ทำให้การเรียนมีความสนุก ได้รับความรู้โดยทั่วกัน สอดคลองกับแนวคิดของพรศรี ดาวรุงสวรรค (2548: 15) ที่สรุปไววา ชุดกิจกรรมทําใหผูเรียน มีอิสระในการเรียนรูและสามารถแกปญหาในสถานการณตางๆ ที่พบ ดวยตนเอง ไดฝกทักษะกระบวนการคิดดานตางๆ เรียนรูไดตลอดเวลา และทุกสถานที่ย้ําใหเกิดความเขาใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อผูเรียนยังเกิดความไมเขาใจก็สามารถนํามาศึกษาเรียนรูไดอยูเสมอ แมกระทั่งอาจจะลืมเรื่องที่เรียนมาแลว และยังชวยพัฒนาศักยภาพของผูเรียนใหเกิดประสิทธิภาพ ผลพบว่า ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
6
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) ๒. ผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลัง การทดลองใช้ชุดกิจกรรม จากผลการทดลองพบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนทดลองใช้ชุดกิจกรรม เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยแล้วพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ วราภรณ์ ตระกูลสฤษณ์(๒๕๔๕ : บทคัดย่อ) และวิทยา อารีราษฎร์ (๒๕๔๙ : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาวิจัยในด้านการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม ผลพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น
7
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) ๓. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ จากผลการทดลองพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในทุก ๆ ด้านในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจาก การที่ได้เรียนรู้ร่วมกันโดยใช้ชุดกิจกรรม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกลุ่ม และร่วมกันแสดงความคิดเห็น การอภิปราย ทำให้การเรียนมีความสนุก ได้รับความรู้โดยทั่วกัน ดังนั้น กิจกรรมยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุก ๆ คน ได้มีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น แสดงความรู้ของตนเอง หรือการอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ผ่านแบบทดสอบ จึงมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด สอดคลองกับแนวคิดของพรศรี ดาวรุงสวรรค (2548: 15) ที่สรุปไววาชุดกิจกรรมทําใหผูเรียน มีอิสระในการเรียนรูและสามารถแกปญหาในสถานการณตางๆ ที่พบดวยตนเอง ไดฝกทักษะกระบวนการคิดดาน ตางๆ เรียนรูไดตลอดเวลา และทุกสถานที่ ทั้งยังทำใหเกิดความเขาใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น เมื่อผูเรียนยังเกิดความไมเขาใจก็สามารถนํามาศึกษาเรียนรูไดอยูเสมอ แมกระทั่งอาจจะลืมเรื่องที่เรียนมาแลว และยังชวยพัฒนาศักยภาพของผูเรียน ใหเกิดประสิทธิภาพ ผลพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.