ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยYen Sangsorn ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
รายงาน เรื่อง นโยบายน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย (โครงการประปาหมู่บ้าน ) โดย นายพิษณุ หลีสัน เสนอ ผศ.ดร.เพ็ญศรี ฉิรินัง วิชา นโยบายสาธารณะ
2
นโยบายน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย
รัฐบาลของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไว้ว่าจะไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้หมดภายใน 4 ปี ครม.เห็นชอบในหลักการให้จัดให้มีระบบประปาหมู่บ้านในหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาดให้ครบ 14,580 หมู่บ้านภายในปี 2551
3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย น้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย (โครงการประปาหมู่บ้าน)
ปัจจัยผู้มีอำนาจทางการเมือง กลุ่มการเมืองพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้จึงสามารถกำหนดนโยบายอะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และพรรคไทยรักไทยจึงเลือกนโยบายแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เป็นหนึ่งในนโยบายของพรรค โดยไม่มีพรรคใดคัดค้านได้
4
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย น้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย (โครงการประปาหมู่บ้าน) ต่อ
ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน - น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพ มนุษย์เราอาจขาด น้ำมัน 3 เดือน ขาดไฟฟ้า 3 ปี แต่ไม่อาจขาดน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคได้เกิน 3 วัน - จากผลสำรวจพื้นที่ในหลายๆหมู่บ้านยังขาดน้ำดื่มน้ำใช้ในการดำรงชีพ - สนองความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้มีประปาหมู่บ้าน
5
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบาย น้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย (โครงการประปาหมู่บ้าน) ต่อ
ปัจจัยที่เป็นสิ่งแวดล้อม - เกิดการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหลายพื้นที่ - ประชาชนต้องการให้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ - ประชาชนโดยผ่านตัวแทนคือ ส.ส. ผลักดันต่อรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาโดยสร้างประปาหมู่บ้าน - รัฐบาลกำหนดนโยบายน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย โดยประกาศต้องมีน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้านภายในปี 2551
6
องค์ประกอบของนโยบายน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย
จากผลสำรวจหลายหมู่บ้านยังขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท ทักษิณ ชิณวัตร จึงมีนโยบายแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของประชาชน ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการจัดให้มีระบบประปาหมู่บ้านให้แก่หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาดให้ครบ 14,580 หมู่บ้านภายในปี โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กระทรวงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง บรรจุโครงการและงบประมาณไว้ในแผนปฏิบัติการ
7
องค์ประกอบของนโยบายน้ำกินน้ำใช้ทั่วไทย(ต่อ)
ทส.ประสาน สถ. สำรวจหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้และยังไม่มีระบบประปา หมู่บ้านทำประชาคมเสนอโครงการก่อสร้างระบบประปาเสนอ ทส.ผ่านท้องถิ่น สถ.อุดหนุนงบประมาณให้ อปท. ก่อสร้างระบบประปา ในหมู่บ้านที่ความพร้อม ( มีไฟฟ้า มีแหล่งน้ำดิบ)
8
ปัจจัยกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบาย
การสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ ความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ศักยภาพและความสามารถขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ เช่น อปท. นึกถึงส่วนรวมเป็นหลักปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
9
ผลการดำเนินการ/ผลกระทบของนโยบาย ว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่อย่างไร
การดำเนินการโครงการประปาหมู่บ้านแบ่งเป็น3ระยะ ระยะที่1ดำเนินการใน16จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงใหม่ พิจิตร สุโขทัย สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สิงห์บุรี อ่างทอง ตราด พัทลุง ภูเก็ต ระนอง หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม และ มุกดาหาร วงเงินงบประมาณ ล้านบาท กำหนดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 ก.ย. 2551 อปท.ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านในหมู่บ้านที่มีความพร้อม ตั้งแต่ปี 2549 โดย สถ. อุดหนุนงบประมาณตามขนาดของระบบประปาเท่ากันทุกพื้นที่
10
ผลการดำเนินการ/ผลกระทบของนโยบาย ว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่อย่างไร
บางพื้นที่ก่อสร้างระบบประปาไปแล้ว ประสบความสำเร็จ มีการบริหารการจัดการดี ชาวบ้านได้ประโยชน์มีน้ำประปาใช้ บางพื้นที่ก่อสร้างระบบประปาไปแล้ว แต่ไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากขาดน้ำดิบป้อนให้ระบบประปา เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างระบบประปา เช่น มีการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำเกินความจำเป็น มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการการก่อสร้างโดยไม่มีเหตุอันควร ทำให้การใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าในระยะยาว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.