ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรคภูมิแพ้
2
สาเหตุของโรคภูมิแพ้ อย่างแรก ก็คือ เรื่องของสิ่งแวดล้อมและสภาวะที่เป็นพิษ ซึ่งสารเคมีต่างๆ หากถูกผิวที่บอบบางของเราแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้และในบางครั้งสภาวะแวดล้อมที่มีแต่สิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย อย่างทุ่งดอกไม้ หรือว่าที่ที่มีเกสรดอกไม้หรือฝุ่นละอองมากๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการแพ้องเรากำเริบขึ้นมาได้
3
สาเหตุที่สอง ก็คือ กรรมพันธุ์ ซึ่งหากว่าในครอบครัวองเรามีคนเป็นโรคภูมิแพ้ เราก็มีสิทธิ์เป็นโรคภูมิแพ้ อันเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของเรานั้น เป็นสิ่งที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้
4
สาเหตุที่สาม ก็คือ อาหารการกิน ซึ่งหากว่าร่างกายรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดการผื่นมา ก็จะทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาอย่างเช่น การแพ้อาหารทะเล หรือว่าแพ้นม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาหารที่เราแพ้นั้น มักจะเป็นอาหารประเภทโปรตีนอย่างเช่น นม อาหารทะเล ถั่วต่างๆ ซึ่งหากว่าเราแพ้นั้น ก็จะมีผื่นขึ้นตามตัว และอาจจะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารร่วม
5
ส่วนสาเหตุอื่นๆ ของการแพ้นั้น ก็อาจจะเป็นการแพ้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีส่วนผสมจากสารเคมี ซึ่งทำให้ร่างกายของเรารู้สึกว่านี่คือสิ่งแปลกปลอมที่ต้องกำจัดออกไปให้เร็วที่สุด ดังนั้น เวลาใช้ของสิ่งใด ก็ควรจะระวังให้ดี สิ่งของเหล่านั้นก็อย่างเช่น น้ำหอม ยาปฏิชีวนะ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาขัดห้องน้ำ เป็นต้น
6
โรคภูมิแพ้มีหลายโรค โรคภูมิแพ้มีหลายโรค เกิดขึ้นได้หลายระบบ เช่น 1. เกิดขึ้นในระบบการหายใจ มีอาการได้ตั้งแต่น้ำมูกไหล จาม คันจมูก คัดจมูก (คนทั่วไปมักเรียกโรคแพ้อากาศ) หรืออาจมีอาการรุนแรง เช่น ไอ มีเสมหะมาก มีอาการหอบ ซึ่งเป็นอาการของโรคหืด บางคนอาจเป็นทั้งโรคหืดและโรคแพ้อากาศ 2. เกิดขึ้นที่ผิวหนัง เช่น อาการลมพิษ หรือผื่นภูมิแพ้ในเด็ก หรือผื่นแพ้จากการสัมผัส สาเหตุใหญ่ของลมพิษมักเป็นอาหารและยา ส่วนผืนภูมิแพ้ในเด็กมักเกิดขึ้นเองในเด็กที่มีแนวโน้มในการเกิด เช่น มีกรรมพันธุ์ของโรคภูมิแพ้ในครอบครัว อาหาร เช่น นม ไข่ อาจทำให้เกิดอาการผื่น ซึ่งมักเกิดบริเวณแก้มเด็กเล็ก หรือข้อพับในเด็กโต
7
3. เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้อาหาร
4. เกิดขึ้นในหลายระบบและรุนแรง ผู้ป่วยบางรายมีอาการแพ้มาก อาจมีอาการเกิดขึ้นในทุกระบบ เช่น หอบ ลมพิษ ช็อค หรืออาจรุนแรงจนเสียชีวิตภายหลังจากกินอาหารบางชนิด เช่น กุ้ง ถั่วลิสง ฯลฯ หรือภายหลังได้รับยา เช่น เพนนิซิลลิน
8
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่พบบ่อย - ไรฝุ่น
- ไรฝุ่น - เรณูหรือเกสรดอกไม้ และหญ้า - สะเก็ดรังแคของสัตว์(แมว สุนัข ม้า) - แมลงสาบ - เชื้อรา - อาหาร ( ไข่ขาว นม แป้งสาลี ถั่วเหลือง อาหารทะเล ถั่ว ) - เหล็กในของผึ้งและตัวต่อ - ยา - ยางพารา
9
แนวทางในการปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
แนวทางในการปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเป็นโรคภูมิแพ้ -ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน -ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุ๊กตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ -ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ -เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง -งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน -หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ -ออกกำลังกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง
10
การใช้ยารักษา ยาต้านฮิสตามีน
ยาต้านฮิสตามีน ที่เป็นที่รู้จักกัน คือ คลอร์เฟ-นิรามีน ซึ่งเป็นเม็ดเล็กๆ สีเหลือง หรือไฮดรอกไซซีน ซึ่งเป็นเม็ดเล็กสีขาว ยาทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคภูมิแพ้ และราคาย่อมเยา แต่มีข้อเสียคือทำให้ง่วง ปากแห้ง คอแห้ง ในรายที่ต้องทำงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น ขับรถ ทำงานเครื่องจักร เป็นต้น ก็ควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้
11
ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ ยาชนิดนี้บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า สตีรอยด์ มีทั้งชนิดฉีด ชนิดเม็ด ชนิดพ่นจมูก ชนิดสูดเข้าปอด ชนิดครีมทาผิวหนัง เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดีในการรักษา แต่เมื่อมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะชนิดฉีดและชนิดเม็ด เมื่อมีการใช้นานๆ จะไปกดการทำงานของไต ระบบภูมิคุ้มกันและอื่นๆ ทำให้ร่างกายมีการสะสมของน้ำเป็นปริมาณมาก ทำให้ตัวบวมน้ำ ความดันเลือดสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ในทางการแพทย์จึงไม่ใช้ยาสตีรอยด์ ในกรณีทั่วไป จะเก็บไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
12
ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ ชนิดพ่น ยาต้านฮิสตามีน
13
อาหารที่ช่วยต้านการแพ้เติมพลังให้แก่ภูมิคุ้มกันร่างกาย
เนื้อสีขาว เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ขาว และเต้าหู้ซึ่งย่อยง่าย จึงทำให้โปรตีนเหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่ดี ในการสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งต้องใช้โปรตีนเป็นวัตถุดิบ ผักใบเขียวจัด มีสารต้านสนิมอนุมูลอิสระ ทำให้เม็ดเลือดขาวไม่ต้องทำงานหนัก ในการสร้างต้านอนุมูลอิสระมาก เมื่อเม็ดเลือดขาว ไม่ต้องทำงานหนักก็ไม่เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรง
14
ผักหลากสี โดยเฉพาะสีส้มแดง ที่มีวิตามินเอ Carotenoid รวมถึงมีวิตามินบี ที่ช่วยบำรุงประสาทอัติโนมัติ ให้ทำงานได้ดีขึ้น ไม่ไวต่อสารกระตุ้นแพ้จนเกินพอดี วิตามินซี เสริมภูมิคุ้มกันในฐานะ ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมากที่สุดตัวหนึ่ง และสร้างเสริมเส้นใยคอลลาเจนในร่างกายให้แข็งแกร่ง ช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดีไม่แก่เร็ว กลายเป็นผิวบางมีแต่ชั้นไขมันซ่อนอยู่ ซึ่งทำให้แพ้ง่ายคล้ายคนแก่ก่อนวัย สังกะสี เป็นเสบียงสำหรับต่อมไทมัส ซึ่งทำหน้าที่ สร้างเม็ดเลือดขาวอันเป็นภูมิคุ้มกัน ชนิดจำเพาะของร่างกาย เท่ากับช่วยสร้างกองทหารมือปราบ ให้กับร่างกายมากขึ้น
15
วิตามินเอ มีส่วนในการสร้างเนื้อเยื้อและเซลล์ต่างๆในร่างกาย เพื่อให้อวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์ และแข็งแรง เช่น ฟักทอง มะละกอสุก แตงโม เป็นต้น ซีลิเนียม ทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้สามารถต่อต้านกับสิ่งแปลกปลอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น โอเมก้า3 สามารถกับกลุ่มเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้อย่างดีเช่น ปลาทู ปลากะพง เป็นต้น
16
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
สมาชิกกลุ่ม 1.นางสาวปวริศา ถวิลวงศ์สุริยะ เลขที่ 1 2.นายศรัณย์ วันทวี เลขที่ 2 3.นางสาวพรทิพย์ ปี่แก้ว เลขที่ 6 4.นายอัครวิทย์ พงศ์วิรัตน์ เลขที่ 8 5.นายจิรายุ พรมสูงวงศ์ เลขที่ 14 6.นายกิตติ สุขพิทักษ์ เลขที่ 33 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.