ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNoi Chao ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
“การพัฒนาบุคลิกภาพการเป็นผู้บริหาร” “ศิลปการพูดกับงานสาธารณสุข”
โดย อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพและศิลปการพูด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 13 มิถุนายน 2554
2
นักดนตรีใช้อารมณ์ผสมเสียง ทินวัฒน์ใช้คารมผสมสำเนียง
จิตรกรใช้อารมณ์ผสมสี นักดนตรีใช้อารมณ์ผสมเสียง ทินวัฒน์ใช้คารมผสมสำเนียง ขอพูดเพียงสามชั่วโมงไม่โกงเวลา
3
เน้นสาระวิชาการ (แห้ง) เน้นสนุกสนานบันเทิง (น้ำ)
ว่าแต่ว่า 3 ชั่วโมงนี้ เน้นสาระวิชาการ (แห้ง) เน้นสนุกสนานบันเทิง (น้ำ) ทั้ง 2 อย่าง (แห้งชาม น้ำชาม)
4
“งานสาธารณสุขเป็นงานให้ คือ ให้ ใจ ถ้าไม่มีใจจะให้ ก็ไม่สมควรทำงานนี้”
ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ปูชนียบุคคลในวงการสาธารณสุขไทย
5
บุคลิกภาพ : Personality
คือ ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งทำให้บุคคลไม่เหมือนกัน Mark Sherman
6
คือขุมทรัพย์อันมหาศาลแห่งพิภพ”
“บุคลิกภาพของมนุษย์ คือขุมทรัพย์อันมหาศาลแห่งพิภพ” That earth's great treasure lies in human personality; คำขวัญของ
7
บุคลิกภาพของบุคคล ( Individual)
คือ บุคลิกภาพขององค์กร ( Organization)
8
ดังนั้น ก็คือ การพัฒนาบุคลิกภาพ ( Personality Development : PD )
การพัฒนาองค์กร ( Organization Development: OD )
9
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ
พันธุกรรม เพศ วัย การศึกษาอบรมในวัยเด็ก สิ่งแวดล้อมและสังคม อาชีพและประสบการณ์
10
บุคลิกภาพ Personality บุคลิกภายนอก External Personality บุคลิกภายใน Internal Personality
11
บุคลิกภาพภายนอก External Personality
รูปร่างหน้าตา (Looks) การแต่งกาย (Dress / Appearance) กิริยาท่าทาง (Gesture / Manner) การพูดจา (Speaking)
12
บุคลิกภาพภายใน Internal Personality
ความเชื่อมั่นในตนเอง ความซื่อสัตย์สุจริต ความสามารถ ความกระตือรือร้น ความขยัน ความรับผิดชอบ ความรอบรู้ ความจริงใจ ความจำ ฯลฯ
13
บุคลิกที่ไม่เหมาะกับงานบริการและต้อนรับ
ล้วง แคะ แกะ เกา หาว ยัก โยก ถอน ค้อน กระพริบ
14
“พัฒนาบุคลิกภาพของท่าน ด้วยการฝึกพูด ต่อที่ชุมนุมชน”. เดล คาร์เนกี้
“พัฒนาบุคลิกภาพของท่าน ด้วยการฝึกพูด ต่อที่ชุมนุมชน”. เดล คาร์เนกี้ “Develop your personality through public speaking” Dale Carnegie
15
“บุคลิกภาพของ “ชาวสาธารณสุข” ที่ประชาชนต้องการ
1.ความเมตตาปราณี (ไม่เห็นแก่เงิน) 2.ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ (เป็นที่พึ่งของเขา) 3.ความซื่อสัตย์สุจริต (ต้องไม่โกง) 4.ความละเอียดลออ ทุกขั้นตอน (ไม่สะเพร่าเลินเล่อ) 5.ความสะอาด (กาย-ใจ) 6.ขยัน อดทน (สู้งานหนัก) 7.จรรยาบรรณ (ของแพทย์และพยาบาล)
16
1. ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีเกียรติยศ (Honesty and Dignity)
คุณธรรม (Integrity) ของ คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว ปูชนียบุคคล ในวงการสาธารณสุขไทย 1. ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีเกียรติยศ (Honesty and Dignity) 2. ความกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว (Congruence) 3. ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility) 4. ความกล้าหาญ (Courage)
17
มรรยาท และการวางตัวในสังคม
Social Etiquette การแต่งกาย การดื่มไวน์ การรับประทานอาหารแบบสากล การพูดในที่ชุมนุมชน
18
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการแต่งกายไปงาน (Dress Guideline)
สูท ยึดสีกรมท่ากับสีดำไว้ 2 สีพอ เสื้อเชิ้ต ควรเป็นสีขาว หรือฟ้าอ่อน ดูดีที่สุด เน็คไท ควรออกไปทางสีน้ำเงิน หรือแดง (Sober) ไม่ควรผูกเน็คไทลวดลายฉูดฉาด(Bold) ผูกปมเน็คไท (Knot) แบบ “Windsor” เมื่อกลัดกระดุมคอปกแล้วจะดูดีมาก ปลายเน็คไท ควรอยู่ระดับหัวเข็มขัด อย่าให้สั้นเต่อก่อนถึง เข็มขัด
19
หลักทั่วไปในการแต่งกาย คือ
สะอาด เหมาะสม เรียบร้อย Clean Appropriate Neat = CAN
20
ข้อแนะนำเกี่ยวกับมารยาทพื้นฐาน
ในการรับประทานอาหาร 1. ไม่ควรพาแขกที่ไม่ได้รับเชิญไปร่วมโต๊ะ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าภาพ 2. รอให้พนักงานพาไปนั่ง หรือนั่งโต๊ะที่มีคนนั่งอยู่แล้ว 3. ผ้าเช็ดปาก (Napkin) คลี่ออกวางบนหน้าตัก ห้ามห้อยคอ/ เช็ดด้วยริมผ้า อย่าโปะที่ปาก / จะไปไหน วางผ้าไว้บนเก้าอี้ เป็นสัญญาณว่าจะกลับมาอีก / ถ้าจบมื้อแล้วจึงพับวางไว้ บนโต๊ะ
21
ช้อนส้อมและมีด มือซ้ายจับส้อม มือขวาจับมีด/
ตักอาหารพอคำ แล้วคว่ำส้อมจิ้มเข้าปาก/ ห้ามเอามีดจิ้มอาหารเข้าปากเป็นอันขาด (รับประทานเสร็จแล้ว รวบส้อมกับมีดไว้บนจานขนานกัน ปลายอยู่เลข 12 บนหน้าปัทม์เข็มนาฬิกา
22
อย่าซดซุปจากถ้วย ซดจากขอบช้อนโดยไม่มีเสียง และอย่าเป่า
ฉีกขนมปังด้วยมือ อย่าใช้มีด ทาเนยเฉพาะชิ้นที่จะรับประทานครั้งละชิ้น อย่าฉีกและทาเนยไว้ทั้งหมด อย่าเอื้อมมือหยิบอาหาร ผ่านหน้าคนนั่งข้าง ให้เอ่ยปากขอเขา
23
อย่าคายอาหาร ลงบนผ้าเช็ดปาก อย่าบ้วนปากแล้วคายใส่ถ้วย หรือแก้ว
ถ้าเป็นแขกรับเชิญ อย่าขอถุงใส่อาหารกลับบ้านเด็ดขาด ขอบคุณ เจ้าภาพก่อนกลับ
24
มารยาทการดื่มไวน์ จับแก้วที่ก้านแก้ว ดู - ดม – อม – กลืน
การ Toast ให้ถือแก้วระดับอก และจิบพอเป็นพิธี
25
เลิกอ้างกันเสียที “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง” หากจะอ้าง เพื่อนิ่ง เพราะอันที่จริง บางครั้งพูดก็เสีย บางครั้งนิ่งก็เสีย
26
ปัญหาการพูดของคนไทย พูดน้อยไป พูดมากไป พูดปากเสีย
27
อันพูดนั้นไม่ยาก ปานใดเพื่อนเอย ใครที่มีลิ้นอาจ พูดได้
อันพูดนั้นไม่ยาก ปานใดเพื่อนเอย ใครที่มีลิ้นอาจ พูดได้ สำคัญแต่ในคำ ที่พูด นั่นเอง อาจจะทำให้ชอบ และชัง พระราชนิพนธ์ “ดุสิตสมิต”
28
“ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี”
“ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี” ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า หนังสือตรี มีปัญญา ไม่เสียหลาย ถึงรู้มาก ไม่มีปาก ลำบากกาย มีอุบาย พูดไม่เป็น เห็นป่วยการ ถึงเป็นครู รู้วิชา ปัญญามาก ไม่รู้จัก ใช้ปาก ให้จัดจ้าน เหมือนเต่าฝัง นั่งซื่อ ฮื้อรำคาญ วิชาชาญ มากเปล่า ไม่เข้าที พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 (วิวาห์พระสมุทร)
29
“ถ้าท่านลุกขึ้นยืนพูดต่อหน้าฝูงชนไม่ได้ อย่าปรารถนาเป็นผู้นำ”
จำไว้ว่า... “ถ้าท่านลุกขึ้นยืนพูดต่อหน้าฝูงชนไม่ได้ อย่าปรารถนาเป็นผู้นำ” (พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ)
30
แบบต่างๆ ของการพูด Types of Speech
แบบจูงใจหรือชักชวน (Persuasive Speech) แบบบอกเล่าหรือบรรยาย (Instructive Speech) แบบบันเทิง (Recreative Speech)
31
วิธีการพูด Methods Of Speaking
ท่องจำมาพูด (Memorized Speech) อ่านจากร่างหรือต้นฉบับ (Reading The Speech or Manu-scripted) พูดจากความเข้าใจหรือจดเฉพาะหัวข้อ (Extempo Speech / Speech at Lips) พูดแบบกระทันหัน ไม่เตรียมตัว (Impromptu Speech)
32
หลักพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับนักพูดที่ดี
หลักพื้นฐาน 10 ประการ สำหรับนักพูดที่ดี จงพูดในเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด จงเตรียมตัวให้พร้อม จงสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง จงแต่งกายสะอาด เหมาะสม และเรียบร้อย จงปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น จงใช้ท่าทางประกอบการพูด จงสบสายตากับผู้ฟัง จงใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ จงพูดภาษาเดียวกับผู้ฟัง จงยกตัวอย่างและแทรกอารมณ์ ขันพอเหมาะสม
33
การพูดในโอกาสต่างๆ Occasional Speech
โดย อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพและศิลปการพูด
34
การพูดในโอกาสต่างๆ วิเคราะห์ จุดมุ่งหมายของการชุมนุม ลำดับรายการ
บรรยากาศ สถานการณ์ และผู้ฟัง
35
เคล็ดลับ จงนึกถึงประโยคแรกๆ จงกล่าวสั้นๆ
จงพูดให้สอดคล้องกับบรรยากาศในงานนั้นๆ (Tailor Made) จงเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยใช้เทคนิคพูดเงียบ (Silent Speaking)
36
กลอน (หากิน) ขึ้นต้น วันเอ๋ยวันนี้ เป็นวันที่สำคัญกว่าวันไหน
วันพรุ่งนี้มะรืนนี้ดีอย่างไร ก็ยังไม่สำคัญเท่าวันนี้.....
37
กลอน (หากิน) ลงท้าย คุณ..........คุณ..........จง.....สุข
ไกลความทุกข์ สนุกสนาน สราญศรี ให้ฤกษ์งาม ยามปลอด ตลอดปี สุขสดชื่น เช่นคืนนี้ ตลอดไป.....
38
ผลิตจาก PowerPoint Program
ของ อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพฯ สงวนลิขสิทธิ์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.