ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ และแนวโน้มในอนาคต
ปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ และแนวโน้มในอนาคต
2
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
โลกเปลี่ยนจากสังคมปัจเจกชน (สมาชิกแต่ละคนจะพึ่งตนเอง กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ห่างไกลกัน ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตนเอง) สังคมชุมชนการพัฒนา โลกเปลี่ยนจากระบบกรรมสิทธิ์ถือครอง ระบบสิทธิสมาชิกภาพ โลกเปลี่ยนจากการสนองความต้องการของบุคคล สู่ การสนองความต้องการของมวลชน
3
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (ต่อ)
โลกเปลี่ยนจากนโยบายของรัฐแบบเฉพาะกิจ นโยบาย แบบสาธารณะ โลกเปลี่ยนจากสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โลกเปลี่ยนจากวิทยาการแบบเชี่ยวชาญเฉพาะ วิทยาการ เชิงประโยชน์สูงสุดอันศักดิ์สิทธิ์ โลกเปลี่ยนจากจริยธรรมเชิงนามธรรม จริยธรรม เชิงปฏิบัติการ
4
ที่มาของปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ
ผลประโยชน์ส่วนตัวและความเห็นแก่ตัว การกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนตัว ความขัดแย้งต่างวัฒนธรรม
5
ประเภทของปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ
จริยธรรมของความสัมพันธ์แบบส่วนตัว จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัท จริยธรรมที่เกี่ยวกับกิจกรรมหรือหน้าที่ต่าง ๆ ของบริษัท จริยธรรมด้านบัญชี จริยธรรมด้านการตลาด จริยธรรมด้านการเงิน จริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรมในด้านอื่น ๆ ในส่วนอื่น ๆ ของบริษัท
6
ระดับของปัญหาจริยธรรมทางธุรกิจ
ระดับบุคคล ระดับองค์การหรือบริษัท ระดับสมาคม ระดับสังคม ระดับประเทศ
7
ปัญหาจริยธรรมของธุรกิจในประเทศไทย
การมุ่งเน้นพัฒนาภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มุ่งซื้อเครื่องจักร เทคโนโลยี และวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ การให้รายได้ที่ต่ำ และการโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงาน การลงทุนอุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เน้นเครื่องจักรและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยที่ไม่มีความรู้และความเข้าใจ มาก่อน
8
สรุปปัญหาจริยธรรมของธุรกิจในประเทศไทย
จริยธรรมที่มีต่อเศรษฐกิจ จริยธรรมต่อแรงงาน จริยธรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
9
การเปลี่ยนแปลงสำหรับอนาคตของจริยธรรมทางธุรกิจ
วิกฤตความเชื่อมั่นของสาธารณชน การเน้นคุณภาพชีวิตการทำงาน การลงโทษต่อพฤติกรรมที่ผิดจรรยาบรรณ บทบาทของสื่อและสาธารณชน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและจรรยาบรรณของบริษัท เป้าหมายของการร่วมกันเพื่อการปฏิรูป
10
ข้อเสนอแนะเพื่อลดพฤติกรรม ขาดจริยธรรมในองค์การ
รับคนที่มีจริยธรรมเข้าทำงาน กำหนดนโยบายองค์การ รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติ ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ กำหนดเป้าหมายการทำงานและประเมินผลด้านจริยธรรม มีการอบรมด้านจริยธรรม ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีกลไกต่าง ๆ เช่น จัดให้มีที่ปรึกษาทางด้านจริยธรรม
11
กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม 1
กรณีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ถูกภรรยาของนายอูริก วูล์ฟกัง นักธุรกิจชาวเยอรมันกล่าวหาว่ารับเงิน จำนวน 400,000 บาท เพื่อช่วยเหลือเรื่องการนำเรือยอชต์เข้าประเทศ จากการสอบสวนเป็นการภายในของ นสพ. พบว่า ผู้สื่อข่าวได้รับเงินจริง แต่อ้างว่าเป็นค่าทนายความที่เซ็นรับแทนเพื่อนที่เป็นทนายความคดีเรือยอชต์หนีภาษีของนายอูริก วูล์ฟกัง หนังสือพิมพ์เห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และต่อมาผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวตัดสินใจลาออก ดังนั้น คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจึงมีมติรับทราบ
12
กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม 2
กรณีแจกไวน์ในงานเลี้ยง โดยมีใบปลิวแจกไปตามที่ต่าง ๆ ระบุว่า ทีมงานส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นไปงานเลี้ยงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย จัดเลี้ยงให้ที่โรงแรมดุสิตธานี และหลังงานเลี้ยงมีการแจกไวน์ขวดละ 20,000 บาท ซึ่งนายกวี จงกิจถาวร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นยอมรับว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง และหลังงานเลี้ยงมีการแจกไวน์ แต่เป็นขวดละ 5,800 บาท และได้สั่งให้นำไวน์ไปคืนทุกขวด
13
กรณีศึกษาปัญหาจริยธรรม 3
สุดา เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัท ขายดี จำกัด ซึ่งขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโรงพยาบาล สุดา ขายสินค้าให้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมูลค่าสิบล้านบาทโดยบันทึกแจ้งว่า ทางโรงพยาบาลขอบริจาคเงินจากบริษัทห้าแสนบาท แล้วทำการเบิกเงินห้าแสนบาท โดยออกเป็นเช็คเงินสด และสุดาเซ็นรับไปจากฝ่ายการเงิน โดยแจ้งว่าจะนำไปบริจาคให้โรงพยาบาล เมื่อมีการซื้อขายเสร็จแล้ว สุดาเขียนรายงานบันทึกไว้ว่าได้มอบเงินให้โรงพยาบาลแล้ว ตามข้อเท็จจริงโรงพยาบาลไม่ได้ขอบริจาคแต่อย่างใด แต่สุดานำเอาเช็คไปขึ้นเงินสดแล้วเข้ากระเป๋าตัวเอง กรณีนี้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สุดาประพฤติผิดจริยธรรม มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกจากงานได้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.