ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
เรื่อง เต่าทะเล (Sea Turtle)
เสนอ อาจารย์ วิชัย บุญเจือ จัดทำโดย นางสาวโศภิษฐา อาจวิชัย ภาควิชาวาริชศาสตร์ รายวิชาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
2
เต่าทะเล เต่าทะเล (อังกฤษ: Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น ถึงแม้เต่าทะเลจะดำรงชีวิตในทะเล แต่ก็ยังคงคุณลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป มีกระดองเป็นเกล็ดรูปทรงรีหรือรูปหัวใจ แต่ทว่าทั้งหัวและขาของเต่าทะเลนั้นไม่สามารถที่จะหดเข้าไปในกระดองได้
3
ชนิดเต่าทะเล ในประเทศไทยพบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิด คือ
1. เต่ามะเฟือง(Leatherback :Dermochelys coriacea) 2. เต่าตนุ(Green turtle : Chelonia mydas) 3. เต่ากระ(Hawksbill : Eretmo chelys imbricate) 4.เต่าหญ้า(Olive ridley : Lepidochelys olivacea) 5. เต่าหัวฆ้อน(Loggerhead turtle) โดยเต่าหัวฆ้อนไม่เคยพบขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปีที่ผ่านมา เพียงแต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยในอดีตที่ผ่านมา
4
ชนิดเต่าทะเล 1. เต่ามะเฟือง 2. เต่าตนุ
เป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก มีความยาวกระดองประมาณ 1.5 เมตร น้ำหนักมากกว่า 300 กิโลกรัม กระดองไม่เป็นเกร็ด แต่มีลักษณะเป็นแผ่นหนา สีดำ อาจมีแต้มปะสีขาว มีสันนูนตามแนวความยาวจากส่วนหัวถึงท้าย 7 สันทำให้คล้ายผลมะเฟือง อาหารของเต่ามะเฟือง เนื่องจากเต่ามะเฟืองมีจะงอยปากที่สบกันเหมือนกรรไกร จึงมักกินอาหารที่อ่อนนุ่ม โดยเฉพาะแมงกระพรุน 2. เต่าตนุ มีอีกชื่อหนึ่งว่าเต่าแสงอาทิตย์ เพราะกระดองที่มีสีน้ำตาลและเป็นริ้วรัศมี กระจายจากส่วนของเกล็ด เกล็ดระหว่างตาหนึ่งคู่ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากเต่ามะเฟือง อาหารของเต่าตะนุ เต่าตะนุเมื่อตัวอ่อนจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก แต่เมื่อโตแล้วจะกินเฉพาะพืช อาทิ หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล
5
ชนิดเต่าทะเล 3. เต่ากระ 4. เต่าหญ้า
ลักษณะเกล็ดบนกระดองซ้อนกันอย่างชัดเจน และมีความใสเป็นริ้วลวดลาย สวยงาม ปากเป็นจงอยแหลมงุ้ม คล้ายเหยี่ยว เกล็ดบนกระดองด้านข้างมี 5 คู่ ระหว่างตามีเกล็ด 2 คู่ ในอดีตมักถูกล่า เพื่อนำมา ทำเครื่องประดับ อาหารของเต่ากระ เน่องจากเต่าชนิดนิ้มีหัวที่เรียวปากที่แหลมงุ้ม จึงสามารถมุดเข้าไปกินอาหารในแนวปะการังได้ดี มักกิน ฟองน้ำ กุ้ง และปลาหมึก 4. เต่าหญ้า จัดเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุด และมีประชากรมากที่สุดในโลก ตัวโตเต็มวัยมีขนาดกระดอง ยาว 80 เซนติเมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม กระดองมีเกล็ดสีเขียวอมเทา เรียงกัน 7-8 คู่ อาหารของเต่าหญ้า ซึ่งโดยทั่วไปมักหากินกุ้ง หอย ปู แมงกะพรุน ตามแนวหญ้าทะเล เนื่องจากมีสีกระดองที่คล้ายกับหญ้าทะเล
6
ชนิดเต่าทะเล 5. เต่าหัวค้อน
มีลักษณะคล้ายเต่าตะนุ และเต่าหญ้าผสมกัน นั่นคือมีเกล็ดกระดองด้านข้างเรียงกัน 6 คู่ (รวมเกล็ดบนต้นคอด้วย) มีหัวขนาดใหญ่กว่าเต่าตะนุ และเล็ดระหว่างตา 2 คู่ เหมือนกับ เต่ากระ จัดเป็นเต่าชนิดเดียวที่ในอดีตพบในประเทศไทย แต่ไม่ได้วางไข่บนชายหาดของไทย อาหารของเต่าหัวฆ้อน เต่าชนิดนี้มีปากที่แหลมคม แข็งแรง สามารถขบเปล์อกหอย หรือปูที่มีเปลือกแข็งได้เป็นอย่างดี
7
การผสมพันธุ์ การผสมพันธุ์ของเต่าทะเล จะสามารถผสมพันธุ์ได้ หลังจากมีอายุ ปี นั่นก็คือช่วงเวลาที่โตเต็มวัย เต่าทะเลจะผสมในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นั่นก็ขึ้นอยู่กับชนิด ของเต่าทะเล และเป็นการผสมภายใน คือตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อ เข้าไปผสมกันในรังไข่ของตัวเมีย แต่ในหนึ่งฤดู ตัวผู้และตัวเมียจะสามารถผสมกับตัวอื่น ๆ ได้ตลอด และการผสมพันธุ์กัน จะเกิดขึ้นในทะเลบริเวณใกล้กับสถานที่วางไข่ หมายเหตุ : ตัวผู้หางจะมีหางที่ยาวกว่าตัวเมีย
8
การวางไข่ เต่าทะเลจะขับเมือกใส ๆ ลงไปรอง ที่ก้นหลุม และระหว่างวางไข่ เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ ภายในไข่ และช่วยใน การหล่อลื่น เต่าทะเลร้องไห้ แท้จริงแล้ว เป็นเกลือแร่ที่ขับออกมาเพื่อ หล่อเลี้ยงตา เนื่องจากเต่าทะเลจะอยู่ในทะเล เป็นส่วนใหญ่จึงต้องมีต่อม ที่จะขับเอาเกลือแร่จากน้ำทะเลออกมา
9
การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด
ลูกเต่าทะเลเติบโตอยู่ภายในไข่ ที่กลบในหลุมทราย เป็นเวลา วัน ลูกเต่าตัวแรกเริ่มกระเทาะเปลือกไข่ให้แตก และรอให้ตัวอื่น ๆ ออกจากไข่มาพร้อมกัน ลูกเต่าพยามออกจากหลุมก่อนที่จะติดอยู่ ในหลุมตาย ซึ่งเป็นความพยายามหลังจาก ออกจากเปลือกไข่ได้
10
การล่าเต่าทะเลเพื่อผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ
ภัยคุกคาม ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้ว่าเต่าทะเลจะสามารถวิวัฒนาการมานับร้อยล้านปี แต่ปัจจุบันเต่าทะเลมีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์สูง ขึ้น ซึ่งปัจจัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนเกิดจากมนุษย์ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามเต่าทะเล และถิ่นที่อาศัย การล่าเต่าทะเลเพื่อผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ
11
ภัยคุกคาม ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
จากภาพเต่ากระตัวเต็มวัย ที่ติดมาพร้อมอวนประมง และนำมาขายในตลาดสด การนำเอากระดองเต่ามาทำเป็น เครื่องประดับ
12
จบการนำเสนอ The end
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.