ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNattasut Kawrungruang ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปรับปรุงมะม่วงคุณภาพดีเพื่อการส่งออกมงคลธรรมนิมิต
การปรับปรุงโครงสร้างการผลิตการเกษตร จากทำนาทำไร่มาเป็นการสร้างสวนไม้ผลถือเป็นความกล้าแกร่ง ของหัวใจเกษตรกรโดยแท้ อะไรคือสิ่งที่นำมาสู่การตัดสินใจ พวกเราทีมงานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สสข.1 ชัยนาท จะนำท่านมารู้จักกับ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปรับปรุงมะม่วงคุณภาพดีเพื่อการส่งออกมงคลธรรมนิมิต” อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง โดยการพูดคุยกับ คุณสุนทร สมาธิมงคล ประธานกลุ่มฯ และ คุณสุวัฒน์ ทรัพย์มาก รองประธานกลุ่ม จุดเริ่มต้นของการทำสวนมะม่วง เพราะได้เข้าร่วมโครงการของรัฐบาลสมัยนั้น คือโครงการปรับโครงสร้างการผลิตการเกษตร (คปร.) ปี มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มส่งเสริมอาชีพไร่นาสวนผสม โดยการสนับสนุนของสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง เช่นการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน ในปี 2545 ได้ไปดูงานการทำสวนมะม่วง เพื่อการส่งออก ของ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่เมื่อกลับมาทำก็ยังไม่สามารถผลิตมะม่วงที่มีคุณภาพดีในปริมาณมากๆได้ เนื่องจาก สภาพพื้นที่จังหวัดอ่างทองเป็นที่ลุ่ม ความชื้นสูงมาก การห่อผลใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผลทำให้มีหมึกติดไปกับผิวมะม่วง บริษัทปฏิเสธการรับซื้อผลผลิต ต่อมาจึงได้จัดหาสมาชิกที่มีความมุ่งมั่น มีความประสงค์ผลิตมะม่วงคุณภาพดี เพื่อการส่งออกโดยสามารถรวบรวมได้จำนวน30 คนเมื่อมีการติดต่อกับบริษัทผู้ส่งออกได้บริษัทหนึ่ง จึงกำหนดให้มีการควบคุมคุณภาพ เช่น ระบบการใช้สารเคมีบริษัท จะเป็นผู้กำหนด กลุ่มจะต้องส่งผลผลิตไปตรวจก่อน7 วัน สมาชิกจะต้องงดใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว และจะต้องบอกชนิดสารเคมีที่สมาชิกใช้ การผลิตเน้นผู้บริโภคจะต้องไม่เป็นอันตราย สามารถตรวจค่า MRL และมีการตรวจสอบย้อนกลับ โดยดูจาก GAP code
2
การควบคุมคุณภาพมะม่วงของกลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มมีข้อบังคับว่าสมาชิกต้องตรวจการใช้สารเคมี จะต้องส่งตัวอย่างผลผลิตให้บริษัทผู้รับซื้อตรวจ และแจ้งผลยืนยันว่าผ่านก่อนจึงจะให้ส่งผลผลิตออกได้ นอกจากนี้หากสวนสมาชิกอยู่ต่างจังหวัดจะมีคณะกรรมการจำนวน2 คนออกไปตรวจสวน เพื่อให้คำแนะนำโดยคิดค่าบริการเมื่อขายผลผลิตได้ 2 บาทต่อ กิโลกรัม กลุ่มเริ่มส่งออกเมื่อปี 2546 มูลค่า 7 แสนบาท และมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี 2550 สามารถส่งออกคิดเป็นมูลค่า ล้านบาท และจำหน่ายในตลาดภายในประเทศ มูลค่า 6 ล้านบาท ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกทั้งในจังหวัดอ่างทอง และต่างจังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ปทุมธานี และ สระบุรี จำนวนสมาชิกรวม 102 คน มีพื้นที่ปลูก 2,000 ไร่ ได้แก่ มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เบอร์4 จำนวน 600 ไร่ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง 400 ไร่ พันธุ์เขียวเสวย 500 ไร่ พันธุ์โชคอนันต์ 300 ไร่ พันธุ์มันเดือนเก้า 100 ไร่ พันธุ์ฟ้าลั่น 100 ไร่ นับว่ากลุ่มสามารถดำเนินกิจการได้สำเร็จเป็นอย่างดี เพราะมีแนวทางที่ดี ดังนี้ 1.เน้นความซื้อสัตย์ โปร่งใส เช่น ประชุมสมาชิกและเชิญบริษัทมาตกลงร่วม ในเรื่องราคาผลผลิต 2.ฝึกอบรมสมาชิกเพื่อถ่ายทอดเทคนิคการปฏิบัติทุกเดือน 3.มีกฎระเบียบการเข้าประชุมอย่างชัดเจนแต่ก็อะลุ้มอล่วยบ้างตามกรณีและเหตุผล 4.การตลาด เน้น ตลาดต้องมั่นคง ขณะนี้ มีบริษัทส่งออกจำนวน 5 บริษัท 5.สมาชิกมีความตั้งใจในการผลิต การควบคุมคุณภาพมะม่วงของกลุ่ม ประกอบด้วย 1.ทำให้ขนาดผลโต ได้ตามสเป็คของบริษัท โดย การซอยผลขนาดเล็กๆออก รวมทั้ง มีการห่อผลด้วยถุงคาร์บอน(พันธุ์น้ำดอกไม้)และถุงกระดาษที่แสงผ่านได้(พันธุ์เขียวเสวย) การปรับปรุงรสชาติ การใช้ฮอร์โมนไข่ 2.ผลิตให้มีผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอด กลุ่มสามารถสั่งทำให้มีผลผลิตออกได้ แต่อาจจะไม่ได้คุณภาพเพราะอาจจะเจอฝนตกชุก ใช้การตัดแต่งทรงพุ่ม แบบทรงฝาชีหงาย (ระบบมะม่วงต้นเตี้ย) และเทคนิคทำมะม่วงอุ้มบุญ 3.จัดสรรโควต้า เพื่อวางแผนการผลิตสมาชิกแต่ละราย ให้เลือกโควต้า ว่าจะส่งประเทศอะไรหรืออาจจะต้องจับสลาก สมาชิกทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมเสมอกัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.