ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โรงเรียนอรรถวิทยพณิชยการ บทเรียนออนไลน์
นำเข้าสู่บทเรียน บทที่1 การบัญชีต้นทุนช่วง บทที่2 การบัญชีต้นทุนช่วง(ต่อ) บทที่3 ผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ บทที่ 4 การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน สอนโดย บทที่ 5 การบัญชีต้นทุนผันแปร หรือการบัญชีต้นทุนทางตรง อาจารย์สุภาภรณ์ จันทร์นอก บทที่ 6 การใช้ข้อมูลต้นทุนในการ ตัดสินใจระยะสั้น บทที่ 7 งบประมาณ บทที่ 8 การวิเคราะห์งบประมาณรายจ่ายลงทุน
2
สาระการเรียนรู้บทที่ 1
1. ความหมายของการบัญชีต้นทุนช่วง 2. ลักษณะของการบัญชีต้นทุนช่วง 3. ข้อแตกต่างของการบัญชีต้นทุนงานและการบัญชีต้นทุนช่วง 4. รูปแบบของกระบวนการผลิต 5. วงจรการบัญชีต้นทุนช่วง 6. การคำนวณหน่วยเทียบเท่าหน่วยที่ผลิตเสร็จ 7. การจัดทำงบหรือรายงานต้นทุนการผลิต
3
การบัญชีต้นทุนช่วงเป็นการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันแบบต่อเนื่อง และผลิตเป็นจำนวนมากๆ โดยที่สินค้าจะผ่านกระบวนการผลิตมากกว่า 1 แผนก ซึ่งการผลิตจะเก็บไว้เพื่อขาย ไม่ผลิตตามคำสั่งของลูกค้า เพราะระบบต้นทุนช่วงจะเน้นทั้งงวดเวลา และจำนวนหน่วยผลิตที่ผลิตเสร็จ ในระบบนี้จะสะสมต้นทุนการผลิต เมื่อถึงวันสิ้นเดือนจะจัดทำงบต้นทุนการผลิตหรือรายงานต้นทุนการผลิต ที่แสดงถึงต้นทุนการผลิตรวมและต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของแผนกนั้นๆ
4
ลักษณะสำคัญของการบัญชีต้นทุนช่วงมีดังนี้
1. มีการรวบรวมข้อมูลการผลิตและจัดทำรายงานเป็นแผนกๆ เช่น แผนกตัด แผนกประกอบ และแผนกตกแต่ง 2. ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายผลิตที่เกิดขึ้นจริงในแผนกจะถูกรวบรวมเป็นงวดๆ และจะบันทึกในบัญชีงานระหว่างทำของแผนก 3. การรวบรวมข้อมูลหน่วยผลิตเสร็จจากแผนกนั้นๆ กรณีที่มีงานระหว่างทำต้นงวดและปลายงวด ต้องปรับหน่วยงานระหว่างทำให้อยู่ในรูปหน่วยเทียบเท่า 4. คำนวณต้นทุนหน่วยของแผนกต่างๆ ในแต่ละงวด 5. ต้นทุนของหน่วยผลิตเสร็จจะโอนออกจากบัญชีงานระหว่างทำไปยังบัญชีงานระหว่างทำแผนกถัดไปหรือบัญชีสินค้าสำเร็จรูป 6. การสะสมต้นทุนรวมและต้นทุนต่อหน่วยในแผนกต่างๆ จะนำไปแสดงไว้ในงบต้นทุนการผลิตหรือรายงานต้นทุนการผลิต
5
ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนงานและการบัญชีต้นทุนช่วง สรุปได้ดังนี้
1. ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า 2. ลักษณะสินค้าแตกต่างกันมาก เนื่องจากผลิตตามคำสั่งของลูกค้า 3. รวบรวมต้นทุนตามคำสั่งผลิตเป็นงานๆ และใช้บัตรต้นทุนงานเป็นบัญชีย่อย 4. มีการระบุต้นทุนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิต คือต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรงเข้างานแต่ละชิ้น ส่วนที่ไม่สามารถคิดเข้างานได้โดยตรงจะใช้อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตจัดสรร 5. เน้นต้นทุนที่ผลิตขึ้นแต่ละงาน หรือตามคำสั่งผลิตแต่ละคำสั่ง การบัญชีต้นทุนช่วง 1. ผลิตสินค้าเพื่อขายและผลิตเป็นจำนวนมาก 2. กรณีที่ผลิตสินค้าเพียงชนิดเดียว สินค้าจะมีลักษณะเหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน 3. รวบรวมต้นทุนตามแผนกผลิตมีงบหรือรายงานต้นทุนการผลิตเป็นบัญชีย่อย 4. ไม่ต้องแยกว่าเป็นต้นทุนทางตรงหรือทางอ้อมเพราะไม่คิดเข้างานหรือตัวสินค้าโดยตรง จะคิดต้นทุนประเภทเข้าแผนกผลิตก่อน แล้วจึงคำนวณเข้าตัวสินค้าในภายหลัง 5. เน้นต้นทุนที่เกิดขึ้นในแผนกโดยพิจารณาตามงวดเวลา
6
กระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
1. กระบวนการผลิตแบบเรียงลำดับ สินค้าสำเร็จรูป แผนก 1 แผนก 2 แผนก 3 วัตุดิบ 2. กระบวนการผลิตแบบขนาน วัตถุดิบ แผนก 1 แผนก 2 สินค้าสำเร็จรูป แผนก 5 วัตถุดิบ แผนก 3 แผนก 4 3. กระบวนการผลิตแบบเลือกแผนก สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ แผนก 1 สินค้าสำเร็จรูป แผนก 1 สินค้าสำเร็จรูป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.