ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผลการสังเกตการณ์กิจกรรมมูลนิธิเมาไม่ขับ
เอกสารประกอบการประชุมระดมสมองเพื่อพัฒนาทิศทางการลดปัญหาอุบัติเหตุอันเนื่องจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลการสังเกตการณ์กิจกรรมมูลนิธิเมาไม่ขับ โดย คณะทำงานวิจัยและประเมินผลโครงการรณรงค์เกี่ยวกับการขับขี่ยวดยานพาหนะภายหลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เมาไม่ขับ) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร 23-24 เมษายน 2549
2
ผลการสังเกตการณ์กิจกรรมมูลนิธิเมาไม่ขับ
กิจกรรมรณรงค์ช่วงเทศกาล กิจกรรมผลักดันนโยบาย กิจกรรมพัฒนาภาคีพันธมิตร สืบสานประเพณีสงกรานต์ ร่วมใส่ใจ เมาไม่ขับ ประชาพิจารณ์เมาแล้วขับ กับความรับผิดชอบต่อ เหยื่อผู้สูญเสีย เมาไม่ขับสัญจร: สร้างวินัย ในตนเอง ลอยกระทงเมาไม่ขับ ร่วมใจขออภัยแม่คงคา อบรมผู้นำเครือข่ายเหยื่อ เมาแล้วขับ ปีใหม่ไปให้ถึง เมาไม่ขับเทศกาลตรุษจีน
3
กรณีรณรงค์ช่วงเทศกาล: ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
การเลือกช่วงเวลา – เป็นช่วงเวลาแห่งการ “เฉลิมฉลอง” + เกี่ยวข้องกับการเดินทาง/ การบริโภคสุราในอัตราสูง 2. การเลือกสถานที่ – เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้คนสัญจรผ่านไปมามาก เช่น หัวลำโพง วัดเล่งเน่ยยี่ ถนนข้าวสาร/ถนนพระอาทิตย์ หรือเป็นสถานที่ของภาครัฐซึ่งสามารถประสานงานกับสื่อมวลชน ได้สะดวก เช่น ทำเนียบรัฐบาล ที่ว่าการกทม. 3. รูปแบบกิจกรรม – เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าข่าว (เช่น มีการปรากฏตัวของบุคคลสำคัญ) เรียกร้องความสนใจจากผู้เกี่ยวข้องได้สูง และให้ความบันเทิงควบคู่กับสาระ 4. รูปแบบสื่อ – เน้นกิจกรรม + สื่อสิ่งพิมพ์ (ต้นทุนไม่สูง) + สื่อสนับสนุนจากพันธมิตร 5. ลักษณะบุคคล/องค์กรพันธมิตรสนับสนุน – หลากหลาย + แตกต่างกันไปตามลักษณะของ กิจกรรม (นักการเมือง – ภาครัฐ – สื่อมวลชน – และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง/สนใจ (ยกเว้นธุรกิจ แอลกอฮอล์)
4
ประชาพิจารณ์เมาแล้วขับกับความรับผิดชอบต่อเหยื่อผู้สูญเสีย
กรณีผลักดันนโยบาย: ประชาพิจารณ์เมาแล้วขับกับความรับผิดชอบต่อเหยื่อผู้สูญเสีย 1. การเลือกประเด็น - เป็นประเด็นที่แรง เป็นรูปธรรม และนำไปสู่ win-win ในเชิงประโยชน์ ร่วมที่ทุกฝ่ายจะได้รับ 2. การออกแบบกิจกรรม – สะท้อนการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการ ผลักดันให้ข้อสรุปนำไปสู่การรับรู้ขององค์กรภาครัฐ การเมือง และสื่อมวลชน 3. บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง – สะท้อนให้เห็นความหลากหลาย และความเกี่ยวข้องกับมาตรการ 4. คำถาม - จำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนอื่นๆ หรือไม่/เพียงใด หากต้องการผลักดันให้เกิด กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
5
กรณีกิจกรรมพัฒนาภาคีพันธมิตร:เมาไม่ขับสัญจร/เครือข่ายผู้นำ
การเลือกประเด็น – เป็นประเด็นที่พันธมิตรต้องการ/จำเป็นต่อการพัฒนาพันธมิตร 2. การออกแบบกิจกรรม – เน้นการให้ความรู้ที่สำคัญกับพันธมิตร และการพยายาม ออกแบบที่จะกระตุ้นความสนใจ ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจกับสาระสำคัญ 3. บุคคลที่เกี่ยวข้อง – ด้านวิทยากร – เป็นบุคคลที่มีความรู้/เกี่ยวข้องกับประเด็น ด้านผู้เข้าร่วม - เป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถเป็น “แกนหลัก” ในการให้ข้อมูลกับสังคมได้ดี หากใส่ใจอย่างจริงจัง 4. คำถาม – ทำอย่างไรให้ภาคีพันธมิตรเข้มแข็ง/ขยายความร่วมมือได้อย่างรวดเร็ว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.