ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
มาตรฐานทางการเงิน 7 ด้าน
7 HURDLES มาตรฐานทางการเงิน 7 ด้าน
2
การจัดทำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้น ผลงาน (PBB) จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหน่วยงานในทุกระดับจะต้องมีกลไกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยอาศัยแนวทางการ พัฒนาตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน หรือ 7 HURDLES
3
PBB : Peformance Based Budgeting
เป็นระบบงบประมาณที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลงานที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรงบประมาณหรือทรัพยากร ความสำเร็จในการจัดทำงบประมาณแบบ PBB พิจารณาได้จากผลงานที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นผลผลิต (Outputs) และผลลัพธ์ (Outcomes)
4
มาตรฐานทางการเงิน 7 ด้าน
7 HURDLES มาตรฐานทางการเงิน 7 ด้าน
5
1. การวางแผนงบประมาณ (Budgeting Planning)
เริ่มต้นจากการทำแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โครงสร้างแผนงาน ผลงาน ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
6
ข้อมูลที่ได้จากแผนกลยุทธ์จะนำไปใช้ในการจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง 3 ปี (Medium Term Expenditure Framework) ซึ่งจะเชื่อมโยงกับงบประมาณที่จะใช้ และผลงานที่จะได้รับ
7
2. การคำนวณต้นทุนของกิจกรรม (Activity Based Costing)
เป็นการคำนวณต้นทุนในแต่ละกิจกรรมที่ได้วางแผนมาแล้วว่าจะใช้ต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตเท่าไร ซึ่งมีการคิดทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
8
3. การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Management)
เป็นการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุมัติ การตรวจสอบสินค้าคงเหลือ วิธีการคัดเลือก และขั้นตอนผู้ผลิต การจัดทำสัญญา ขั้นตอนการจ่ายเงิน มีขั้นตอนที่ รัดกุม มีการกำหนดมาตรฐานของการซื้อสินค้า มีความรับผิดชอบในขั้นตอน และกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้าง
9
4. การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ (Financial Management / Fund Control)
หน่วยงานจำเป็นต้องกำหนดรายการและโครงสร้างทางบัญชี เอกสารหลักฐานที่จำเป็น มีระบบควบคุมการเบิกจ่าย และการบริหารจัดการงบประมาณ ที่มีประสิทธิภาพ มีการกำหนดความรับผิดชอบในการลงบันทึกรายการทางบัญชี แยกความรับผิดชอบในการอนุมัติสั่งจ่าย เบิกจ่าย และ การรายงานทางการเงิน
10
มีการแยกหน้าที่ด้านการบัญชี การคลัง และการตรวจสอบ
แยกความรับผิดชอบในการดูแลการลงบัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีย่อยแยกประเภท มีระบบการอนุมัติ ตรวจสอบ กระทบยอด และบันทึก เพื่อ ควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ มีการแบ่งระดับชั้นการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและบัญชี
11
5. การรายงานทางการเงิน (Financial and Performance Reporting)
ในกระบวนการรายงาน จะต้องการกำหนดตัวชี้วัดกรอบและโครงสร้างการประเมินและรายงานผลที่ชัดเจน มีระยะเวลาในการตรวจสอบที่แน่นอน และที่สำคัญ คือ ข้อมูลที่รายงานจะต้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงบประมาณหรือทรัพยากรที่จัดสรรให้กับผลงานที่เกิดขึ้น ตลอดจนการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการวางแผนขั้นต่อๆ ไป
12
6. การบริหารสินทรัพย์ (Asset Management)
หน่วยงานมีระบบบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงการบริหารสินทรัพย์ เช่น มีคู่มือการดำเนินงานบริหารสินทรัพย์ มีการลงทะเบียนสินทรัพย์ที่เป็นปัจจุบัน มีการคิดค่าบริการการใช้สินทรัพย์ มีการวางแผนการใช้สินทรัพย์ที่คุ้มค่า
13
7. การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)
หน่วยงาจะต้องมีฝ่ายที่รับผิดชอบในการตรวจสอบภายในที่มีอิสระในการดำเนินงาน มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน และมีตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานที่ขัดเจนเป็นไปได้
14
7 HURDLES เป็นเครื่องมือไปสู่มาตรฐานการจัดการทางการเงินที่ชัดเจน นำไปสู่การใช้ระบบงบประมาณแบบ PBB
การตรวจสอบนอกจากจะตรวจสอบทางการเงิน (Financial Audit) แล้วยังเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Performance Audit) โดยเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้จาการใช้ทรัพยากร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.