ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ. ศ
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และ การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โดย นายยินดี ปั้นแววงาม กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียน สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน.สป.
2
พระบรมราโชวาท รัชกาลที่ ๙ “
พระบรมราโชวาท รัชกาลที่ ๙ “...เยาวชนทุกคนมิได้ต้องการทำให้ตัวเองตกต่ำ หรือเป็นปัญหาแก่สังคมประการใด แท้จริงต้องการจะเป็นคนดี มีความสำเร็จ มีฐานะ มีเกียรติ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น แต่การที่จะบรรลุถึงจุดประสงค์นั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้แนะนำควบคุมให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องในฐานะหน้าที่เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นผู้บริหารการศึกษา ท่านจะช่วยเขาได้มากที่สุด เพราะมีส่วนควบคุมดูแลใกล้ชิดอยู่ทุก ๆ ด้าน รองลงมาจากบิดา มารดา....” ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มศว. ประสานมิตร ๒๘ พย ๑๕
3
พระราชดำรัสของ รัชกาลที่ ๙
“อาสาสมัครจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ศรัทธาในการอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นนั้น เกิดขึ้นด้วยตนเอง มีความรู้สึกเห็นชอบในงานอาสาสมัคร มีศรัทธาที่จะทำงาน มีเวลาที่จะปฏิบัติงาน และพร้อมที่จะเป็นอาสาสมัคร”
4
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ๑. มีผลบังคับใช้ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ ๒. โครงสร้างประกอบด้วย ๙ หมวด ๘๘ มาตรา ๓. มีเจ้าภาพ ๔ กระทรวงหลัก (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม)
5
ความเป็นมา พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
๑. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ๒.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ (มาตรา 53 และ 80) ๓. ยกเลิกฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ๓.๒ปว.294 (2515) ๓.๑ ปว.132(2515)
6
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นตามหลักการของกฏบัตรสหประชาชาติ ที่ว่าด้วยศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์เท่าเทียมกัน โดยระลึกว่าเด็กมีสิทธิพิเศษที่จะได้รับการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครอง ทั้งในสภาพแวดล้อมของครอบครัวและการเลี้ยงอื่นๆ บนพื้นฐานทางประเพณีและค่านิยมทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์และสังคม ประเทศไทยได้ลงนามในภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ อนุสัญญาฉบับนี้ มี ๕๔ ข้อ โดย ๔๐ ข้อแรกเป็นเรื่องว่าด้วยสิทธิของเด็กโดยตรงซึ่งได้เน้นหลักการคุ้มครองเด็กจากการเลือกปฏิบัติ ประโยชน์สูงสุดของเด็ก การเคารพในสิทธิหน้าที่ของบิดามารดา และการปกป้องสิทธิของเด็กในหลายมิติ
7
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐
- มาตรา ๕๓ และมาตรา ๘๐ มาตรา ๕๓ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิ ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐ จากการใช้ความ รุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม มาตรา ๘๐ รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริม สร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
8
ยกเลิก ปว.๑๓๒ และ ปว.๒๙๔ ยกเลิก ปว.๑๓๒ (๒๒ เม.ย. ๒๕๑๕)
ยกเลิก ปว.๑๓๒ (๒๒ เม.ย. ๒๕๑๕) ยกเลิก ปว.๒๙๔ (๒๗ พ.ย.๒๕๑๕) เหตุผล ๑. ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ๒. สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ๓. สมควรกำหนดขั้นตอนและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติต่อเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ๔.อันเป็นการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
9
๖.ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
๕.ป้องกันมิให้เด็กถูกทารุณกรรม ตกป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ๖.ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ๗.สมควรปรับปรุงวิธีการส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองเด็กระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
10
มาตรา ๔ “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส “เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดู หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อน จนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
11
“เด็กกำพร้า” หมายความว่าเด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดา หรือไม่สามารถสืบหาบิดา มารดาได้ “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน หรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบากหรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญาหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
12
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า ๑. เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร
๒. เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคล ที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฏหมายหรือ ขัดต่อศีลธรรมอันดี ๓. หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรืสถานที่อันอาจชักนำไป ในทางเสียหาย ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
13
“นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน “นักศึกษา” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน “บิดามารดา” หมายความว่า บิดามารดาของเด็ก ไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
14
“ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฏมายแพ่งและพาณิช และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย “ครอบครัวอุปถัมภ์” หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร “การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน หรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดในกฏกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
15
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฏหมาย หรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
16
มาตรา ๖ รัฐมนตรีรักษาการ ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แก่
มาตรา ๖ รัฐมนตรีรักษาการ ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แก่ ๑. กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ๒. กระทรวงมหาดไทย ๓. กระทรวงศึกษาธิการ ๔. กระทรวงยุติธรรม ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจ ๑. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ๒. ออกกฎกระทรวงหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ ทั้งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น
17
มี ๒ ระดับ (ระดับชาติและระดับจังหวัด) ได้แก่
หมวด ๑ คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก กลไกในการคุ้มครองเด็ก มี ๒ ระดับ (ระดับชาติและระดับจังหวัด) ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ (มาตรา ๗) - ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ ๒. คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก กทม. (มาตรา ๑๖) - ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด (มาตรา ๑๗) - ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรรมการ
18
หน้าที่คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
มาตรา ๑๔ ที่สำคัญ วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงาน ของคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก กทม.และจังหวัด ๓. ให้คำแนะนำ เสนอแนะในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพและ ส่งเสริมความประพฤติเด็ก ในกทม.และจังหวัด
19
หน้าที่คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก กรุงเทพมหานครและจังหวัด
มาตรา ๒๐ ที่สำคัญ กำหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก จัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และการส่งเสริมความประพฤติเด็ก - ตรวจสอบหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงกรณีปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบ - ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงาน
20
กรรมการและอนุกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่ ตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ มาตรา ๒๑
- เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา คำนิยาม “เจ้าพนักงาน” ดร.หยุด แสงอุทัย ๑. กฎหมายระบุชัดว่าเป็นเจ้าพนักงาน ๒. บุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าจะเป็นการประจำหรือชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ว่าจะได้รับผลประโยชน์เพื่อการนั้นหรือไม่
21
หลักปฏิบัติที่ทุกคนต้องยึดถือ
การกระทำทุกประการต้องเป็นไปเพื่อ ประโยชน์สูงสุดของเด็ก ตามมาตรา ๒๒ เมื่อ - อาจมีวิธีการปฏิบัติต่อเด็กได้หลายวิธี - โดยเด็กสามารถได้รับประโยชน์จากทุกวิธี - ต้องเลือกใช้วิธีการที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก
22
หลักปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง
ตามหลักของมาตรา ๒๓ ผู้ปกครองมีหน้าที่ และความรับผิดชอบ - อุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน พัฒนาเด็กที่อยู่ ในความปกครองของตน ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ขั้นต่ำ ซึ่งรวมไปถึงการบำบัดฟื้นฟูเมื่อมีปัญหา สุขภาพ พัฒนาการและแก้ไขเยียวยาพฤติ กรรมที่ผิดปกติด้วย
23
มาตรฐานขั้นต่ำดูได้จาก
สภาวะของเด็ก สภาวะของผู้ปกครอง วิธีการปฏิบัติของบิดา มารดา ผู้ปกครอง ที่มีต่อเด็ก สภาพแวดล้อมทางสังคม (เพื่อนบ้าน การบริการจากชุมชนและสังคม) สถานภาพทางกฏหมายของเด็กและครอบครัว
24
เด็กคือผ้าขาว “ เด็กคือผ้าขาวที่เราพับ เด็กต้องการแบบฉบับจากผู้ใหญ่
เด็กอยากทราบว่าผู้ใหญ่คิดอย่างไร เด็กจะต้องเดินไปทางไหนดี หากผู้ใหญ่เป็นแม่ปูที่คดเคี้ยว เป็นตัวอย่างที่บิดเบี้ยวไม่เข้าที ประพฤติผิดศีลธรรมอเวจี แล้วจะมีเด็กดีดีที่ไหนกัน “
25
มาตรา ๒๕ ผู้ปกครองต้องไม่กระทำการดังต่อไปนี้
ละทิ้งเด็กในสถานที่รับเลี้ยงหรือสถานพยาบาล หรือสถานที่สาธารณะ โดยเจตนาไม่รับเด็กคืน ละทิ้งเด็กในสถานที่ใดๆโดยไม่จัดให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพ หรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่ขัดขวางการเจริญเติบโต ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูมิชอบ หมายเหตุ การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด แต่ไม่มีโทษ
26
มาตรา ๒๖ ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
(๑) กระทำการหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก (๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือรักษาพยาบาล จนน่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของเด็ก (๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร หรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด
27
มาตรา ๒๖ (ต่อ) (๔) โฆษณาทางสื่อสารมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใดเพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติของเด็ก (๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน….หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก (๖) ใช้ จ้าง หรือวานให้เด็กทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
28
มาตรา ๒๖ (ต่อ) (๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เล่นกีฬา หรือกระทำการใดๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า อันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก (๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใด หรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ห้ามไม่ให้เด็กเข้า (๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร (๑๐) จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก
29
มาตรา ๓๐ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวด ๓และหมวด๔ มีอำนาจและหน้าที่
(๑) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใดๆ หรือยานพาหนะใดๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้น ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัย (๒) ซักถามเด็กเมื่อมีเหตุอันควรสงสัย (๓) มีหนังสือเรียกผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นใดมาให้ถ้อยคำหรือข้อเท็จจริง (๕) เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัยของผู้ปกครอง สถานที่ประกอบการของนายจ้างของเด็ก สถานศึกษาของเด็ก หรือสถานที่ที่เด็กมีความเกี่ยวข้องด้วย ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) (๒)และ (๕)พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวก่อนและให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
30
หมวด ๗ การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา เป็นหน้าที่ของใคร ๑. กระทรวงศึกษาธิการ ๒. องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ๓. จังหวัด ๔. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๕. สถานศึกษา
31
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง พ.ศ.๒๕๔๘
32
ดังต่อไปนี้ ข้อ ๓ ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษามีหน้าที่
๑. พัฒนาระบบงานแนะแนว ฯลฯ ๒. สำรวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียนที่เสี่ยง ต่อการกระทำผิดเพื่อจัดกิจกรรม ๓. แจ้งผู้ปกครองนักเรียนและนักศึกษาที่เสี่ยงต่อ การกระทำผิดได้ทราบถึงพฤติกรรมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
33
- ต่อ – ๔. จัดให้มีมาตรการส่งเสริมความปลอดภัย ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง โดยมีแผนงานและผู้รับผิดชอบ ๕. สนับสนุนให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการส่งเสริมความประพฤติและความลอดภัยของนักเรียนและนักศึกษา ๖. จัดให้มีระบบการติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานต่อส่วนราชการต้นสังกัดอย่างน้อยปีการศึกษาละหนึ่งครั้ง
34
กฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘
ข้อ ๑ นักเรียนและนักศึกษาต้องไม่ประพฤติตน ดังต่อไปนี้ หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนัน หรือมั่วสุมในวงการพนัน พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด
35
(๔) ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุรา หรือเครื่องดื่ม
ที่มีแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด (๕) ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจ เพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น (๖) ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียม การหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความ ไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของ ประชาชน (๗) แสดงพฤติกรรมทางชู้สาว ซึ่งไม่เหมาะสมในที่ สาธารณะ
36
(๘) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
- ต่อ – (๘) เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี (๙) ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืนเพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อน ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ประเด็น กรณีนักเรียนและนักศึกษา อายุเกิน ๑๘ ปี ข้อ ๒ ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา กำหนดระเบียบว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฏ กระทรวงนี้
37
ความประพฤติ ประพฤติดี เรียนดี นั้นดีแน่ ประพฤติดี เรียนแย่ พอแก้ไข ประพฤติเลว เรียนแย่ ท้อแท้ใจ ประพฤติเลว เรียนดีไซร้ ใครต้องการ ดร.สนั่น อินทรประเสริฐ
38
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน (๒) ทำทัณฑ์บน (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ (๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
39
ข้อ ๖ ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธี
๑. รุนแรง ๒. หรือแบบกลั่นแกล้ง ๓. หรือลงโทษด้วยความโกรธ ๔. หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษาและความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษ
40
-ต่อ- เจตนาในการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ๑. แก้นิสัยและความประพฤติไม่ดี ๒. ให้รู้สำนึกในความผิดและกลับประพฤติตนในทางที่ดี อำนาจการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ต้อง มอบหมาย
41
กิจกรรมหน้าเสาธงอย่าลงโทษ
กิจกรรมหน้าเสาธงอย่าลงโทษ ขอได้โปรดพูดสิ่งดีที่ท่านเห็น เด็กบางส่วนซึ่งทำผิดประเด็น พบกันเป็นส่วนตัวกลัวเด็กอาย เด็กประถมตัวน้อยยังด้อยคิด ย่อมทำผิดพลาดบ้างห่างจุดหมาย วันนี้เด็กทำดีมีมากราย ประกาศไว้เป็นเกียรติยศงดประจาน
42
ศูนย์อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเยาวชน
จัดตั้งเฉพาะกิจ ๓ ปี (๒๕๕๐-๒๕๕๒) เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ ๑. โรงเรียนมีระบบป้องกันภัยบนเครือข่ายอินเทอรเน็ต ๒.โรงเรียนจะต้องส่งเสริมการใช้ ประกวดสื่อดิจิตอลในระดับครูผู้สอน ส่งผลงานเผยแพร่ผ่านเว็ปไซต์ ๓.โรงเรียนจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันและการเรียนรู้เท่าทันการใช้ ๔.โรงเรียนส่งเสริมการนำเนื้อหา หลักสูตร วิชาคอมพิวเตอร์ ๕.โรงเรียนจัดทำระบบเครือข่ายให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อรองรับการประกัน คุณภาพการศึกษา
43
โครงการวิจัยเรื่อง แนวทาง มาตรการและการปฏิบัติ ในการป้องกันและแก้ปัญหาการติดเกมของเยาวชนไทย
โดย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ กลุ่มเป้าหมาย ๑. นักเรียน นักศึกษา ที่ติดเกม ๒. ผู้ปกครอง อาจารย์ ตำรวจ ๓. เจ้าหน้าที่กรมสุขภาพจิต ๔. เจ้าหน้าที่ ICT ๕. เจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤติฯ ๖. เจ้าของผู้ประกอบการร้านค้า INTERNET
44
บันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาโรงเรียนปลอดความรุนแรง”
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
45
บันทึกความร่วมมือ การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
สู่กลไกการปฏิบัติงานศูนย์เสมารักษ์ ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กับ สำ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และกรุงเทพมหานคร ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.