ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMalivalaya Niratpattanasai ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
Basic Color HSB Model หลักการมองเห็นสีด้วยสายตาคน เป็นพื้นฐานการมองเห็นสี ตามสายตามนุษย์ HSB Model จะ ประกอบขึ้นด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ Hue เป็นที่สะท้อนมาจากสีของวัตถุ ซึ่งแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสง ที่มากระทบวัตถุ และสะท้อนกลับมา ที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศาคือ 0 ถึง 360 องศา แต่โดยการ ใช้ทั่ว ๆ ไปแล้วมักจะเป็นการเรียกสีนั้นเลยเช่น สีแดง, สีม่วง, สีเหลือง, SATURATION เป็นเรื่องของความเข้มข้นและความจางของสี Saturation คือสัดส่วนของสี Hue ที่มีอยู่ในสีเทา วัดค่าเป็น % ดังนี้ คือจาก 0% (สีเทา) จนถึง 100% (full saturation สีที่มีความอิ่มตัวเต็มที่) BRIGHTNESS เป็นเรื่องของความสว่างและความมืดของสี ซึ่งถูกกำหนดค่าเป็น % จาก 0% (สีดำ) ถึง 100% (สีขาว)
2
Basic Color(cont.) RGB Model หลักการมองเห็นสีของเครื่อง Computer
RGB Model เกิดจากการรวมกันของ Spectrum ของแสงสี แดง, เขียว และน้ำเงิน ในสัดส่วนความ เข้มข้นที่แตกต่างกัน จุดที่แสงทั้งสามสีรวมกัน คือสีขาว บางครั้งเราเรียกสีที่มองเห็นใน RGB Model ว่าเป็น Additive Color ลักษณะการรวมกันเช่นนี้ ถูกใช้สำหรับการส่องแสง ทั้งบนจอภาพทีวี และ จอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้าง จากสารที่ให้กำเนิดแสงสีแดง, สีเขียว และสีน้ำเงิน
3
Basic Color(cont.) CMYK Model หลักการมองเห็นสีของเครื่องพิมพ์
CMYK Model มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่การซึมซับ (absorb) ของหมึกพิมพ์ บนกระดาษโดยมีสีพื้นฐาน คือ สี Cyan Magenta และสีเหลือง สีทั้งสามข้างต้นรวมกันเป็นสีดำ บางครั้งเราเรียกว่า สีที่มองเห็นใน CMYK Model ว่าเป็น Subtractive Color แต่สี CMYK ก็ไม่สามารถผสมผสานรวมกันให้ได้สีบางสี เช่น สีน้ำตาล จึงต้องมีการเพิ่มสีดำลงไป เมื่อรวมกันทั้ง 4 สีคือ CMYK สีที่ได้จึงครอบคลุมสีที่เกิดจากการพิมพ์สีทุกสี
4
Basic Color(cont.) LAB Model เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationaled Eccclairage) ให้เป็นมาตรฐาน การวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYKและใช้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Monitor, Printer, Scanner ฯลฯส่วนประกอบของโหมดสีได้แก่ A. Luminance=100 (white) B. Green to red component C. Blue to yellow component D. Luminance=0 (black)
5
รูปแบบการมองเห็นสี.. การมองเห็นสีใน Photoshop เรียกว่า Mode ซึ่ง Mode สีใน Photoshop แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 Mode อ้างอิงตาม Model กลุ่มที่ 2 Mode ที่ถูกกำหนดขึ้นพิเศษ หรือที่เรียกว่า Specialized Mode กลุ่มที่ 3 Mode ที่ใช้ควบคุมค่า Pixel ใน Option Palette หรือเรียกว่า Blending Mode
6
โหมดที่อ้างอิงตาม Model
RGB Mode ใช้หลักการของ RGB Model โดยมีการกำหนด ค่าความเข้มข้นของสีแดง เขียว และน้ำ เงิน ที่รวมกันในแต่ละ Pixel เป็นค่าตั้งแต่ ตัวอย่างเช่น สี Bright Red เกิดจาก R (สีแดง) ที่ 246 และ G (สีเขียว) ที่ 20 และ B (สีน้ำเงิน) ที่ 50 ภาพที่เกิดจาก RGB Mode จะมีถึง 16.7 ล้านสี
7
CMYK Mode CMYK Mode ใช้หลักการของ CMYK Model โดยมีการกำหนดค่าสีโดยใช้เป็น เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของสีแต่ละสี ที่มาผสมกันเช่น สี Bright Red เกิดจาก C%, M93%, Y90% และ K0% หรือสีขาวเกิดจาก C M Y และ K อย่างละ 0%
8
LAB Mode LAB Mode ใช้หลักการเดียวกับ LAB Model ภาพในโหมด LAB เกิดจากการผสมกันของ 3 องค์ประกอบคือ L * A * B
9
กลุ่มที่ 2 โหมดที่ถูกกำหนดขึ้นพิเศษ
กลุ่มที่ 2 โหมดที่ถูกกำหนดขึ้นพิเศษ หรือที่เราเรียกว่า Specialized Mod Bitmap Mode ประกอบด้วยค่าสีเพียง 2 สีคือ สีขาว และสีดำ ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเพียง 1 Bit งานที่เหมาะสำหรับ Bitmap คืองานลายเส้นต่าง ๆ เช่น เครื่องหมาย และโลโกต่าง ๆ Gray Scale Mode ประกอบด้วยสีทั้งหมด 256 สีโดยไล่สีจากสีขาว สีเทาไปเรื่อย จนสุดท้ายคือสีดำ ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 8 Bit Duotone Mode เป็นโหมดที่เกิดจากการใช้ Channel สีเพียงบาง Channel เท่านั้น Indexed color Mode เนื่องจากสีทั้งหมดอาจมีถึง 16.7 ล้านสี แต่ในภาพบางภาพที่เราใช้ ไม่ได้ใช้สีทั้ง 16.7 ล้านสี และความจำเป็นในการประหยัดเนื้อที่ ในการเก็บข้อมูลนั้น เวลา Load มาใช้งานจะได้เร็ว เช่น ภาพที่ใช้งานกับ WEB SITE ต่าง ๆ Photoshop จึงมีการคำนวณเลือกเฉพาะสี ที่ใช้ และสร้างเป็นโหมดสีขึ้นมาเพียง 256 สีเราเรียกว่า Index color Mode Multichannel Mode เป็นโหมดสีที่ถูกแสดงด้วย Channel ตั้งแต่ 2 Channel ขึ้นไป แยก Channel ได้หลาย Channel เป็นโหมดสีที่ใช้ประโยชน์มาก สำหรับงานพิมพ์
10
Layer Blending Mode กลุ่มที่ 3 Layer Blending Mode
เป็นโหมดพิเศษที่ใช้เฉพาะใน Option Palette เพื่อเป็นตัวกำหนดว่า Pixel แต่ละ Pixel จะมีการเปลี่ยน แปลงอย่างไร เมื่อมีการปรับเปลี่ยนให้แสดงผล ใน Blending Mode ต่าง ๆ
11
Hues Primary Secondary Tertiary
แถบความถี่แสงที่มนุษย์สามารถมองเห็น ตั้งแต่สีแดงจนถึงสีม่วง เป็นรูปแบบการผสมสีระหว่างแถบแสงสีแดง เหลือง และ น้ำเงิน Primary Hues => แดง เหลือง น้ำเงิน Secondary Hues =>ม่วง(แดง+น้ำเงิน) ส้ม(เหลือง+แดง) เขียว(น้ำเงิน+เหลือง) Tertiary Hues => ม่วง ส้มแดง น้ำตาลอ่อน เขียวอ่อน เขียวเข้ม ม่วงน้ำเงิน ซึ่งเป็นการผสมจากระดับที่ 2 Primary Secondary Tertiary
12
วงล้อสี เกิดจากการผสม Hue หลายๆ ระดับ
13
สีบนคอมพิวเตอร์ สีบนคอมพิวเตอร์จะใช้แม่สีจาก HUES 3 สีคือ แดง เขียว น้ำเงิน ที่เรียกว่า RGB Colors ความเหมือนจริงของภาพขึ้นอยู่กับค่าระดับสีของ Pixel เช่น RGB ที่มี Color Dept เป็น 8 จะสามารถแทนค่าสีได้ 28 = 256 สี Color Dept 24 ระดับจะได้แทนค่าสีได้ 16.7 ล้านสี(True Color) Dithering เป็นหลักการใช้สีที่จำเป็นไม่ต้องใช้ทั้ง 16.7 ล้านสี แต่จะใช้ 256 สีผสมกันเองเพื่อตบตาการมองเห็น 16.7 ล้านสีได้มาจากการแบ่งระดับของสี แดง เขียว น้ำเงิน อย่างละ 256 ระดับ = 256*256*256 ระดับบิต Color Mode Name จำนวนสีที่แสดง 1 Black-White 2 Color EGA 16 8 Pseudo Color 256 16 Hi-color 65,536 24 True Color 16,777,216
14
ภาพสีกับ Color Dept 16 Bits 8 Bits 4 Bits 1 Bit
15
True Color vs 256 Colors การใช้ 256 color แทน True Color อาจ ทำได้แต่ถ้าเฉดสีมากเกินไปจะทำให้เฉดสี บางสีผิดเพี้ยน
16
สีกับความรู้สึก สีเขียวสดชื่น สีแดงที่เร่าร้อน สีส้มเป็นมิตร
สีฟ้าที่เย็น แดงเหลืองที่อบอุ่น สีเขียวสดชื่น สีส้มเป็นมิตร แดงน้ำเงินแห่งอำนาจ
17
สีกับความรู้สึก สีม่วงที่ลึกลับ ฟ้าเขียวที่ซาบซ่า
18
Image Format Format เป็นรูปแบบการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อ ประโยชน์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น การพิมพ์ภาพ การใช้งานในเว็ปไซด์ ซึ่ง ระบบ OS Windows กำหนดให้มีอักษร 3 ตัว เช่น .Doc หมายถึง ไฟล์เอกสาร สำหรับ Graphics มีดังนี้ Photoshop File (.psd) เป็นไฟล์พื้นฐานของโปนแกรม Photoshop เหมาะสำหรับใช้ ตกแต่งภาพ สามารถบันทึกขั้นตอนการทำงาน เพื่อการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภาพได้ เนื่องจากมีการเก็บ Layer ต่าง ๆ ไว้ แต่มีข้อเสียคือ ใช้กับโปรแกรม Photoshop ได้เพียงโปรแกรมเดียวเท่านั้น ถ้าจะนำไปใช้กับโปรแกรมอื่น ต้องบันทึกเป็น Format อื่น Bitmap (.bmp) เป็นไฟล์มาตรฐานของระบบ OS Windows TIFF (.tiff) Tagged Image File Format เป็นไฟล์ที่สามารถใช้ได้ทั้งเครื่อง PC และ MAC ส่วนใหญ่ใช้ในงานโปรแกรมเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ เช่น Pagemaker เป็นต้น GIF (.gif) Graphic Interchange Format เป็นไฟล์ที่ใช้กันมากบน Inter Net เพราะเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กสะดวกในการส่ง-ถ่ายข้อมูล
19
Image format(ต่อ๗ JPEG (.jpg) Joint Phpotographic Experts Group เป็นอีกไฟล์ที่มีขนาดเล็ก ไฟล์ที่ใช้กันมากบน Inter Net เพราะมีการบีบอัดข้อมูลภาพ และการลดรายละเอียดของภาพออก PICT (.pct) เป็นไฟล์ที่ใช้กับงานพิมพ์บนเครื่อง MAC เท่านั้น เพราะมีขนาดใหญ่เกินกว่าเครื่อง PC จะรับได้ RAW (.raw) เป็นไฟล์ที่ยืดหยุ่นได้ดี ถ้าต้องการเปลี่ยนการทำงานในต่าง Application หรือเปลี่ยนรุ่นคอมพิวเตอร์ PNG เป็นไฟล์ที่ถูกพัฒนาต่อจาก Gif โดยมีข้อดี คือจะเกิดการสูญเสียน้อยมาก เมื่อมีการบีบอัดข้อมูล จึงเหมาะสำหรับการใช้ Down Load ข้อมูล
20
ซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์
Graphic Standard Planning Committee ได้พยายามจัดตั้งมาตรฐานทางกราฟฟิกส์ Core Graphic System (อเมริกา) มาตรฐานด้าน 3D Graphic Kernel System (เยอรมัน) มาตรฐานด้าน 2D ประเภทซอฟต์แวร์ทางกราฟฟิกส์ โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น 3DMAX , MAYA โปรแกรมที่เขียนขึ้นเองด้วยภาษาชั้นสูงต่างๆ เช่น C , JAVA
21
End.
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.