งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย
กรอบ การสรุปผลงาน ศกม. ศน.ม. สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย

2 คำถามเพื่อต้องการคำตอบ
การเตรียมความพร้อมเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษารูปแบบใดที่ทำให้เกิดการประสานการบริหารการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

3 ข้อกำหนด ศกม.มีหน้าที่ ประสานการดำเนินงานการจัดการมัธยมศึกษา จัดเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และเชื่อมประสานความร่วมมือการจัดการศึกษากับ สพท. สถานศึกษา หน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ศน.ม.มีหน้าที่ ขับเคลื่อนนโยบาย ภารกิจ แผนงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมและประสานให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหา และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น และมีความเป็นเลิศสู่สากล

4 กรอบการนำเสนอ รูปแบบโครงสร้าง ศกม.ที่ประสานการดำเนินงานการจัดการมัธยมศึกษาที่ส่งผลการบรรลุเป้าหมายตามข้อตกลง 9 ข้อ กับ รมว.ศธ รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย ศน.ม.ที่ทำการนิเทศ และพัฒนาคุณภาพการศึกษามัธยมศึกษาส่งผลไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น และมีความเป็นเลิศสู่สากล

5 ผลงานเชิงประจักษ์ต่อเป้าหมาย 9 ข้อ
บอกจำนวนโรงเรียน หรือจำนวนครู จำนวนนักเรียน และคิดเป็นร้อยละใน สมป.จังหวัด และสรุปรวมเป็น ศกม. คัดเลือกชื่อผลงานที่ดีเด่น พร้อมบอกกระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

6 เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระหลัก
ปริมาณโรงเรียนที่ยกระดับผลการเรียนเฉลี่ยในแต่ละกลุ่มสาระหลักของภาคเรียนที่ 1/2552 เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าระดับผลการเรียนเดิม ร้อยละ 3 (หลักสูตร 2544 ให้เทียบเป็นระดับผลการเรียน ,ให้แจกแจงที่ละกลุ่มสาระ)

7 เรื่องประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ปริมาณโรงเรียนที่จัดทำแผนอิงระบบประกันคุณภาพรายมารฐาน และสามารถรายงานผลความก้าวหน้า หรือผลงาน เพื่อการปรับปรุง ผดุง และพัฒนาสู่ความยั่งยืนเป็นช่วงระยะเวลาสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปี

8 เรื่องการจัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษา
ปริมาณโรงเรียนที่สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคการลงทุน/สถานประกอบการ สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา นำไปสู่การมีข้อตกลงการร่วมมือกันพัฒนาครู สื่อการเรียนรู้ และการระดมทรัพยากร รูปแบบการจัดโครงสร้างหลักสูตรไปสู่ความเป็นเลิศด้านความสามารถ และคุณลักษณะที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับจังหวัด ภูมิภาค หรือประเทศ

9 เรื่องการพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปริมาณครูที่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาให้สามารถวิเคราะห์ศักยภาพผู้เรียน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ใช้เครื่องมือตรวจสอบองค์ความรู้และสอบวัดประเมินผลอิงพัฒนาการผู้เรียน สามารถนำผลมาปรับปรุงการเรียนรู้ และมีการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

10 เรื่องการจัดระบบดูแลนักเรียน
ปริมาณโรงเรียนที่จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถดำเนินการได้ตามนโยบาย 3D โดยมีผลงานนำเสนอยกตัวอย่างได้โดดเด่น ปริมาณโรงเรียนที่สามารถลดจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียน 0 ร. และ มส. เมื่อเทียบกับปีที่ผ่ามา

11 เรื่องการพัฒนามาตรฐานคุณภาพโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ปริมาณโรงเรียนที่ผู้ปกครองและนักเรียนนิยมสมัครเข้าเรียนมากกว่าแผนการรับนักเรียน ปริมาณโรงเรียนที่จัดกิจกรรมผู้เรียนโดยใช้เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือใช้ชุมชน ภูมิปัญญาในชุมชนมาจัด หรือร่วมจัดกิจกรรมผู้เรียนเป็นไปตามนโยบาย 3D และห้องสมุด 3ดี

12 เรื่องความพร้อมด้านอาคาร สถานที่ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี
ปริมาณโรงเรียนที่ได้รับงบลงทุน SP2 ไปปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานด้านอาคาร บริเวณ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ครุภัณฑ์ สามารถจัดเตรียมการประมาณราคา และนำไปวางแผนช่วยสร้างสถานการณ์การออกแบบการเรียนรู้ในแผนการเรียนรู้รายวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

13 เรื่องครูเพียงพอและการจัดประสิทธิภาพครู
ปริมาณโรงเรียนที่ครูเป็นไปตามเกณฑ์นักเรียนต่อครู ไม่ขาด ไม่เกิน กว่าร้อยละ 3 ปริมาณโรงเรียนที่ครูครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

14 เรื่องคอมพิวเตอร์และระบบ ICT
ปริมาณโรงเรียนที่ได้รับงบลงทุน SP2 เป็นค่าครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต และสื่อครุภัณฑ์ ICT สามารถเตรียมความพร้อมนำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบการเรียนรู้ในแผนการเรียนรู้รายวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

15 สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนใน 5 กลุ่มสาระ การเรียนรู้หลัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2554 1 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 3 ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผลประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย และอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 3 ของระดับผลการเรียนเฉลี่ยรายภาคเรียนแต่ละกลุ่มสาระหลักเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าระดับผลการเรียนเดิม อย่างต่อเนื่อง มาตรการ ลดจำนวนนักเรียนที่ได้ผลการเรียนต่ำกว่าระดับ 2 และเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไปในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียน GPA กับ ผลการประเมิน O-NET มีความสัมพันธ์กัน พัฒนาค่าเฉลี่ยคะแนน O-NET ของสถานศึกษากลุ่มต่ำกว่าค่ากลางของกลุ่มต่ำ

16 สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก และ มีผลการประเมินระดับดี/ดีมากไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 90 ของสถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในประจำปีอยู่ในระดับดีขึ้นไป มาตรการ เชื่อมโยงภารกิจสถานศึกษากับมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ตรวจสอบผลดำเนินงานกับเกณฑ์ความสำเร็จรายตัวบ่งชี้ ทำแผนพัฒนาจุดเด่น และปรับปรุงจุดอ่อน ปรับโครงสร้างการบริหารงาน และมอบหมายงานให้บุคลากร จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานตามโครงสร้างงาน และบุคคล ออกแบบกิจกรรมเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี เน้นการรายงานผลดำเนินงานระหว่างและเสร็จโครงการ/งาน จัดทำรายงานของสถานศึกษา (SAR)

17 สถานศึกษาทุกแห่งจัดทำและใช้หลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีการใช้แหล่งเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากชุมชน สถาบันการศึกษา แหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด 3 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษา มีและใช้หลักสูตรอิงมาตรฐาน สอดแทรกสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นในกลุ่มสาระจังหวัดและจังหวัด ร้อยละ 50 ของสถานศึกษาสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายอื่นๆ ในการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ รองรับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น มาตรการ ประเมินการใช้หลักสูตร เครือข่ายจัดทำหลักสูตร จัดทำโปรแกรมการเรียน แผนการเรียนรู้ที่มีสาระสำคัญของประเด็นกลุ่มจังหวัด ท้องถิ่น ตัวป้อนระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และรับตัวป้อนจากประถมศึกษา

18 สถานศึกษา ทุกแห่งมีการพัฒนาครู และมีผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 10 : ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี / ดีมาก 4 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ขึ้นไปที่สถานศึกษามีการพัฒนาครูตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 10 ร้อยละ 90 ของสถานศึกษามีผลประกันคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานที่ 10 ในระดับ ดีขึ้นไป มาตรการ มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล ความสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับศักยภาพนักเรียน เลือกใช้สื่อ เทคโนโลยีการเรียนรู้ได้เหมาะสมและมีทักษะการใช้ ประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่จัด และอิงพัฒนาการผู้เรียน นำผลประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน วิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน

19 สถานศึกษาจัดระบบดูแลนักเรียนที่เสริมสร้างพัฒนาการของผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของสถานศึกษา มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีคุณภาพ ร้อยละ 95 ของนักเรียนประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบวินัยของสถานศึกษา ร้อยละ 25 ของนักเรียนมี ผลการเรียน 0 ร. และ มส. ลดลงจากปีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นอย่างน้อย มาตรการ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครู : นักเรียน ในอัตรา 1 : 20 ติดตามนิเทศให้ครบ 5 องค์ประกอบ ศึกษานักเรียนรายบุคคล คัดกรองนักเรียน แก้ไขปัญหานักเรียน พัฒนาคุณภาพ และศักยภาพนักเรียน ส่งต่อ ระบบการตรวจสอบและเก็บข้อมูลพฤติกรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

20 สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม
6 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 40 ของสถานศึกษา มีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและได้รับความนิยมที่เป็นที่ยอมรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ที่เพิ่มขึ้นของสถานศึกษามีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนตามแผนการรับนักเรียนได้เต็มตามจำนวนแผนจัดชั้นเรียน มาตรการ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่รองรับความนิยมของสังคม จัดเครือข่ายความร่วมมือจาดสถาบันอุดมศึกษา และนานาชาติ ใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ และสิ่งอำนวยความสะดวกเทียบเคียงระดับสากล วัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน จัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความต้องการท้องถิ่น สร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

21 สถานศึกษามีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยี สอดคล้องกับแผนการจัดชั้นเรียน
7 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 เป็นอย่างน้อยของสถานศึกษามีอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องพิเศษ ห้องบริการ สิ่งก่อสร้างประกอบ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอน มาตรการ จัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านห้องเรียน ห้องพิเศษ ฯ เสนอขอรับงบประมาณตามความจำเป็นตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษามัธยมศึกษา การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรจากท้องถิ่น บริหารจัดการการใช้อาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ฯ อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด

22 สถานศึกษามีครูเพียงพอ อัตราส่วนครู:นักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ มีครูครบทุกกลุ่มสาระและ เพียงพอตามแผนการจัดชั้นเรียน ซึ่งกำหนดให้มีนักเรียนต่อห้องเรียนไม่เกิน 40 คน 8 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของสถานศึกษา มีการจัดชั้นเรียนโดยบรรจุนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 40 คน ร้อยละ 20 ของสถานศึกษา มีครู ขาด/เกิน ในอัตราส่วนครูต่อนักเรียนตามเกณฑ์ ร้อยละ 95 ของสถานศึกษา มีครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีจำนวน และวุฒิประสบการณ์ตรงตามเกณฑ์ มาตรการ จัดนักเรียนต่อห้องไม่เกิน 40 คน เพื่อเสริมมาตรฐาน 10 ใช้กรรมการสถานศึกษาหาครูเพิ่มที่ตรงวุฒิ และพิเศษกว่าปกติ พัฒนาครูเดิมให้มีความรู้ ทักษะตามเกณฑ์ที่จะสอน

23 สถานศึกษามีอัตราส่วนนักเรียน :คอมพิวเตอร์ ต่ำกว่า 20:1 และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการเรียนรู้ 9 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 75 ของสถานศึกษา มีอัตราส่วน นักเรียน ต่อคอมพิวเตอร์ น้อยกว่า 20 : 1 ร้อยละ 70 ของสถานศึกษา มีครูที่ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ มาตรการ ระดมทรัพยากรตามเกณฑ์ที่กำหนด ทำแผนขอรับงบประมาณจัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนการสอน ตั้งศูนย์สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา


ดาวน์โหลด ppt สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google