งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“การบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐบาล”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“การบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐบาล”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “การบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐบาล”
โดย ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง การบรรยายในช่วงนี้จะเป็นการบรรยายในเรื่องวิสัยทัศน์นโยบายการคลังการเงิน โดยจะเน้นการใช้เครื่องมือนโยบายการคลังการเงินในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย และวิสัยทัศน์ที่จะดำเนินนโยบายการคลังการเงินในอนาคต ซึ่งเชื่อว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของทุกท่าน

2 หัวข้อในการบรรยาย เป้าหมายของนโยบายการคลัง
นโยบายการคลังในการบริหารเศรษฐกิจ III. กรอบในการใช้นโยบายการคลังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การบรรยายจะแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1. เป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจ 2. นโยบายการเงินการคลังในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ 3. กรอบในการใช้นโยบายการเงินการคลัง 4. วิสัยทัศน์ในการดำเนินนโยบายการคลังการเงิน

3 I. เป้าหมายของนโยบายการคลัง
ก่อนที่จะเริ่มอธิบายนโยบายการคลังการเงินในรายละเอียด ผมเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจเป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจทั่วๆ ไปก่อน เพื่อให้เราได้รู้ว่าจุดมุ่งหมายสุดท้ายทางเศรษฐกิจแล้วคืออะไร ทั้งนี้ มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐดำเนินการจะต้องสอดรับกับเป้าหมายเหล่านี้

4 I. เป้าหมายของนโยบายการคลัง
การรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability) การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Resource Allocation) การกระจายรายได้และทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม (Equitable Income Distribution) การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ก็เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1. การรักษาและเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้จะวัดได้จากอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP Growth) เป้าหมายทางเศรษฐกิจประการที่ 2 ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ การรักษาเศรษฐกิจของประเทศให้มีเสถียรภาพ ซึ่งหมายถึงการดูแลไม่ให้เศรษฐกิจมีความผันผวนมากจนเกินไป 3. นอกจากนี้ เป้าหมายทางเศรษฐกิจด้านการจัดสรรทรัพยากรให้แต่ละฝ่ายในระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. เป้าหมายสำคัญประการสุดท้ายก็คือ การกระจายรายได้และทรัพย์สินที่เป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เราจะเห็นได้ว่า นโยบายการคลังการเงินที่ได้ดำเนินการมา ก็เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายทั้ง 4 ประการที่กล่าวข้างต้นนี้

5 II. นโยบายการคลังในการบริหารเศรษฐกิจ
ก่อนที่จะอธิบายวิสัยทัศน์นโยบายการคลังการเงิน ผมจะอธิบายเครื่องมือนโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน เพื่อให้ผู้ฟังรู้จักเครื่องมือที่จะใช้ก่อน

6 นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
นโยบายบริหารด้านรายได้ นโยบายบริหารด้านรายจ่าย นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ นโยบายบริหารทรัพย์สิน นโยบายการคลังจะเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของภาครัฐ ทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย การก่อหนี้สาธารณะ และนโยบายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งด้านการขยายตัวเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในการที่จะเข้าใจถึงการใช้นโยบายการคลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีนั้นเราจะต้องรู้ว่าเครื่องมือนโยบายการคลังมีอะไรบ้าง

7 เครื่องมือนโยบายการคลัง (Fiscal Policy )
นโยบายด้านรายได้ ภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล) ภาษีทางอ้อม (ภาษี VAT ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร) เงินนำส่งกำไรของรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เครื่องมือนโยบายการคลังจะแบ่งได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้คือ นโยบายด้านรายได้ ซึ่งรัฐบาลจะจัดเก็บรายได้ในรูปของภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาษีทางตรงคือภาษีที่เก็บบนฐานรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนภาษีทางอ้อมคือภาษีที่เก็บบนฐานการบริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บบนฐานการบริโภคทั่วไป และภาษีสรรพสามิตที่เก็บบนฐานการบริโภคของสินค้าฟุ่มเฟือย รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังดำเนินการจัดเก็บรายได้ในรูปภาษีอากรทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านกรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรม ได้แก่ กรมสรรพากร มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร 8 ประเภท ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีการค้า อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และอื่น ๆ ทั้งนี้กฎหมายที่รองรับอำนาจในการจัดเก็บที่สำคัญคือ ประมวลรัษฎากร กรมสรรพสามิต มีหน้าที่จัดเก็บภาษี 12 ประเภท ได้แก่ ภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน ภาษีสุรา ภาษีเบียร์ ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเครื่องไฟฟ้า ภาษีรถยนต์ ภาษีรถจักรายานยนต์ ภาษีแบตเตอรี่ ภาษีหินอ่อนและหินแกรนิต ภาษีไพ่แก้ว เครื่องหอม เรือ สนามม้า สนามกอล์ฟ พรม และภาษีอื่น ๆ ทั้งนี้ กฎหมายรองรับและอำนาจในการจัดเก็บที่สำคํญคือ พรบ.ภาษีสรรพสามิต กรมศุลกากร มีหน้าที่จัดเก็บภาษี 3 ประเภท ได้แก่ อากรขาเข้า อากรขาออก และอื่น ๆ ทังนี้กฎหมายรองรับและอำนาจในการจัดเก็บที่สำคัญ คือ พรบ.ศุลกากร นอกจากนั้น ภาครัฐยังมีรายได้อื่นๆ อีกเล็กน้อยจากกำไรนำส่งของรัฐวิสาหกิจ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ

8 องค์ประกอบของรายได้ ปี 2550-2551
รายได้ปี 2550 1.444 ล้านล้านบาท - จากแผนภาพข้างต้น จะเห็นว่ารายได้หลักของประเทศ ส่วนใหญ่มาจากกรมสรรพากร (มากกว่าร้อยละ 60) รองลงมาก็คือ กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ตามลำดับ รายได้ปี 2551 1.495 ล้านล้านบาท

9 เครื่องมือนโยบายการคลัง (Fiscal Policy )
นโยบายด้านรายจ่าย รายจ่ายจากงบประมาณ รายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ รายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ เครื่องมือทางการคลังแบบที่ 2 คือ นโยบายด้านรายจ่าย สามารถกระทำผ่านรายจ่ายจากงบประมาณ หรือรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ หรือ รายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ รายจ่ายจากงบประมาณ : มุ่งเน้นการใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานของรัฐบาล โดยผ่านกระบวนการทางสภาฯ ที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยผู้รับภาระรายจ่ายทั้งหมดคือประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งภาระนั้นอาจผ่านทางภาษีหรือการกู้เงินภายในประเทศ รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ : รัฐบาลมีอำนาจในการเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศเนื่องจากรายจ่ายเหล่านี้อาศัยเงินกู้ ต่างประเทศ การใช้จ่ายจึงต้องมั่นใจว่าให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจหรือสังคม มิใช่นำเงินเหล่านั้นมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคให้หมดไป รัฐสามารถใช้นโยบายการคลังผ่านการเพิ่มรายจ่ายการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้ เช่น ที่เรามักได้ยินกันในเรื่อง Mega Projects ต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

10 ฐานะการคลังของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2539 - 2552
1,951,700 รายจ่าย 850,026 1,604,640 781,520 รายได้ 68,506 - จากแผนภาพข้างต้น จะเห็นว่ารัฐบาลพยายามจัดทำงบประมาณแบบสมดุล คือ ใช้จ่ายเท่ากับที่หารายได้มา - ในปีงบประมาณ 2548 นี้ แม้ว่าจะมีการตั้งงบประมาณที่สมดุลเมื่อต้นปี แต่การที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องและการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บภาษี ทำให้เรามีดุลงบประมาณเกินดุลเป็นปีแรก -347,061 ดุลงบประมาณ หน่วย: พันล้านบาท

11 เครื่องมือนโยบายการคลัง (Fiscal Policy )
นโยบายบริหารหนี้สาธารณะ กู้หนี้ในประเทศ กู้หนี้ต่างประเทศ เครื่องมือการคลังแบบที่ 3 คือ นโยบายด้านบริหารหนี้สาธารณะ: - การก่อหนี้สาธารณะไม่ว่าจะเพื่อเป็นการชดเชยการขาดดุลในการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ เพื่อเป็นการลงทุนในการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจะต้องบริหารเงินกู้เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากประชาชนในประเทศจะมีส่วนในการรับภาระหนี้ในฐานะผู้เสียภาษีอากร -รัฐบาลสามารถก่อหนี้สาธารณะได้จาก 2 แหล่ง คือ การก่อหนี้ในประเทศและการก่อหนี้ต่างประเทศ -การบริหารหนี้ที่ดีจะช่วยรัฐบาลในด้านการลดต้นทุนการกู้เงิน การรักษาระดับภาระหนี้ การรักษาระดับความเชื่อถือในฐานะของประเทศ การกระจายความเสี่ยงของเงินกู้ นั่นคือการบริหารหนี้ที่ดีจะทำให้โครงสร้างหนี้ของรัฐบาลอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ

12 หนี้สาธารณะ/GDP - จากแผนภาพข้างต้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาลพยายามรักษาระดับหนี้สาธารณะ ต่อ GDP ไม่ให้เกินร้อยละ 50 แม้ว่าจะต้องมีการลงทุนของภาครัฐเพิ่มขึ้น

13 เครื่องมือนโยบายการคลัง (Fiscal Policy )
นโยบายบริหารทรัพย์สิน การบริหารเงินคงคลัง การบริหารที่ราชพัสดุ การบริหารรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ เครื่องมือทางการคลังด้านที่ 4 คือ นโยบายการบริหารทรัพย์สิน หมายถึง การบริหารทรัพย์สินของภาครัฐที่เป็นเงินสด (เงินคงคลัง) ทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน (ที่ราชพัสดุ) และทรัพย์สินที่เป็นสินทรัพย์อื่นๆ (เช่น หลักทรัพย์ของรัฐ) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด : เงินคงคลังนั้น หมายถึง เงินสดและสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงเงินสดที่มีไว้สำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐซึ่งจะเปรียบเสมือนเป็นเงินหมุนเวียนของภาคธุรกิจ (OD) โดยเงินคงคลังที่เป็นเงินสดนั้นส่วนใหญ่จะฝากไว้ในบัญชีเงินคงคลังที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และบัญชีเงินสดที่คลังจังหวัดและคลังอำเภอ การที่รัฐบาลมีเงินคงคลังสูงเกินไปจะเป็นการบริหารเงินคงคลังที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเงินที่ฝากไว้ในบัญชีเงินคงคลังจะไม่ได้รับดอกเบี้ย ดังนั้นรัฐบาลจะต้องพยายามนำเงินคงคลังส่วนเกินจากระดับที่เหมาะสม (ระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน liquidity แก่ภาครัฐ) มาใช้จ่ายซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาล การบริหารที่ราชพัสดุ คือ การบริหารที่ดินของราชการ (โดยกรมธนารักษ์) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในส่วนสุดท้าย คือการบริหารสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจให้มีมูลค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

14 รัฐวิสาหกิจเป็นทรัพย์สินของประเทศ และเป็นเครื่องมือสำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ทรัพย์สินรวม 5.9 ล้านล้านบาท (75% ของ GDP) รายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาท (27% ของ GDP) หนี้สินรวม 4.5 ล้านล้านบาท (57% ของ GDP) 59 แห่ง - ในปัจจุบันนี้ รัฐวิสาหกิจเป็นทรัพย์สินรวมค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน: 51 แห่ง รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน: 8 แห่ง

15 นโยบายกึ่งการคลัง (Quasi-fiscal Activities)
ขอบเขตของรัฐบาล รัฐบาล รายได้/รายจ่าย ในงบประมาณ รัฐบาล การใช้จ่ายเงินกู้ต่างประเทศ กองทุนนอกงบประมาณ อปท. ดุลการคลังท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ งบลงทุน/รายได้เพื่อการลงทุน ภาครัฐ ภาคสาธารณะ นอกบัญชีการคลังภาคสาธารณะ แต่รัฐบาลมีอำนาจสั่งการ - นอกจากนั้น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่สถาบันการเงินมีปัญหา ไม่สามารถปล่อยกู้ได้ตามปรกติ รัฐบาลได้ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินของรัฐ เข้ามาเป็นผู้นำในการปล่อยกู้ให้ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการใช้นโยบายการคลังผ่านสถาบันการเงินของรัฐ มักจะเรียกว่า นโยบายกึ่งการคลัง นโยบายกึ่งการคลัง (Quasi-fiscal Activities)

16 กรอบในการใช้นโยบายการคลัง
Demand Management Supply Management การใช้นโยบายการเงินการคลัง สามารถเป็นเครื่องมือในด้านกระตุ้นอุปสงค์ demand management และด้านการบริหารด้านอุปทาน supply management

17 Export Subsidy (no longer used)
Demand Management VAT, Excise Tax Personal Income Tax Current Expenditure Transfer C Corporate IncomeTax, BOI’s Incentives Capital Expenditure SOE’s Investment I นโยบายกรายได้ นโยบายรายจ่าย นโยบายการคลังและนโยบายการเงินจะกระทบ GDP ผ่าน ด้านการบริโภค การลงทุน และการส่งออกนำเข้า Custom Tax Export Subsidy (no longer used) X-M

18 Social & Economic Environment
Supply Management Quality Quality Labor Capital Quantity Quantity นอกจากนั้น นโยบายการเงินการคลัง ยังใช้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาอุปทาน ได้ ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้าน พัฒนาคุณภาพทุนและพัฒนาคุณภาพแรงงาน ซึ่งโครงการ Mega Project ที่จะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานก็เป็นนโยบายด้านพัฒนาอุปทาน Logistics Social & Economic Environment

19 นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจรัฐบาล
มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ องค์ประกอบหลักของนโยบายการคลัง 2552 2553 2554 2555 2556 งบประมาณกลางปี‘ แสนล้าน 1 มาตรการภาษี งบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว 2 สนับสนุนสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินของรัฐ 3 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณรัฐบาล 1.84 ล้านล้าน 4 งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 3.08 แสนล้าน งบประมาณ อปท. 3.66 แสนล้าน ผลักดันโครงการลงทุน งบประมาณ ’ ล้านล้านบาท 5 Stimulus Package วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท

20 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt “การบริหารรายได้รายจ่ายของรัฐบาล”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google