ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDurudee Souvanatong ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การประเมินคุณภาพภายนอก ระดับอุดมศึกษา รอบที่3
การประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี 3 พ.ย. 50 ศ.ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร
2
สิ่งท้าทายสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาในอนาคต
จะทำอย่างไรให้ “กระบวนการให้การศึกษาและการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา” เป็นไปตามความมุ่งหมาย หลักการและ “แนวการจัดการศึกษา” ที่ระบุในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542? จะทำอย่างไรให้ “ผลผลิต” และ “ผลลัพธ์” ของการจัดการศึกษาสร้าง “ผลกระทบ”สอดคล้องกับความต้องการของชาติ และการแข่งขันทางเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน? จะทำอย่างไรให้แต่ละสถาบันสามารถพัฒนาตาม “จุดเน้นของตนเอง” ไปสู่ “มาตรฐานระดับสากล”? จะทำอย่างไรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย “สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศ”ของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ถูกต้องแม่นยำ สอดคล้องกับความต้องการใช้และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา? จะทำอย่างไรในการส่งเสริม “ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้” (accountability) ทั้งต่องานวิชาการ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต่อการบริหาร ให้เกิดขึ้นในทุกสถาบันอุดมศึกษา? จะทำอย่างไรให้การประกันคุณภาพการศึกษาพัฒนาไปเป็น “วัฒนธรรมคุณภาพ” (quality culture)?
3
การดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล หลังยุคอุตสาหกรรม (Post-industrial)
มีอาชีพหลากหลาย (Multiple careers) ทำงานหลายอย่าง (Multiple jobs) ไม่มีความชัดเจนในตัวตน (Blurred identity) การเรียน-การงานขาดความสัมพันธ์ (Work-study mismatch) มีโอกาสทำงานอิสระ (Possible free-lancing) ตกงานบ่อย (Frequent off-jobs) รายได้ไม่แน่นอน (Precarious incomes) สถานภาพปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง (Fluctuating status) อนาคตไม่แน่นอน (Unpredictable future) มีการเปลี่ยนเครือข่าย (Varying networks) มีการเปลี่ยนคู่ความสัมพันธ์ (Changing partners) ความไม่มั่นคง/ไม่แน่นอน (Insecurity, uncertainty) Kai-ming cheng, 2007
4
ความสามารถที่คาดหวังของแต่ละบุคคลหลังยุคอุตสาหกรรม (Post-industrial)
การสื่อสาร (Communication) การทำงานเป็นทีม (Team-working) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Human relations) การแก้ปัญหา (Problem-solving) การกล้าเสี่ยง (Risk-taking) การสร้างสรรค์ & นวัตกรรม (Design & innovations) ความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Personal responsibility) การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous learning) การจัดการตนเอง (Self-management) จรรยาบรรณ ค่านิยม และหลักการ (Ethics, values principles) Kai-ming cheng, 2007
5
หน้าที่ตามพรบ.ฯ มาตรา 48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ...”
6
หน้าที่ตามพรบ.ฯ มาตรา 49 “ให้มีสมศ. ... ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และประเมินผลการจัดการศึกษา ... โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษา .... ตามที่กำหนดไว้ในพรบ.”
7
ความแตกต่างสำคัญของการประเมินรอบ2 ของสมศ
ความแตกต่างสำคัญของการประเมินรอบ2 ของสมศ. ( ) เทียบกับรอบแรก( ) รอบแรก(8 มาตรฐาน 28 ตัวบ่งชี้) ประเมินให้เห็นสภาพจริงของสถาบันเพื่อกระตุ้นการพัฒนา รอบสอง(7 มาตรฐาน 39+9 ตัวบ่งชี้) ประเมินสถาบันและกลุ่มสาขา ประเมินตามจุดเน้นของสถาบัน(มีตัวบ่งชี้ร่วมและเฉพาะ) ประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์(ได้มาตรฐาน มีพัฒนาการ และบรรลุเป้าหมาย)
8
คำถามเบื้องต้นของการประเมินรอบที่ 3 ของสมศ.
จะพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินอย่างไร ที่มั่นใจว่าได้ประเมินผลการจัดการศึกษา (ทั้งผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ) เทียบกับ ลักษณะคุณภาพที่ควรจะเป็น ทั้งการประเมินผลการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม?
9
สรุปคำถามสำคัญของการประเมินภายนอกรอบที่ 3
ลักษณะคุณภาพที่ควรจะเป็นของ “ผลการจัดการศึกษา” คืออะไรในรอบต่อไป? มีตัวบ่งชี้อะไรที่ใช้ประเมินลักษณะคุณภาพดังกล่าว? ทำอย่างไรให้การได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับการประเมินแต่ละตัวบ่งชี้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ? มีวิธีการประเมินอย่างไรที่จะทำให้ผลการประเมินมีคุณภาพและตรงตามความเป็นจริงสอดคล้องกับจุดเน้นของสถาบันมากที่สุด? มีระบบเชื่อมโยงผลการประเมินกับการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติอย่างเป็นรูปธรรมเพียงใด?
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.