งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552: ประสบการณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552: ประสบการณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552: ประสบการณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2 หลักการและเหตุผล มจธ.เสนอให้มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย โดยได้จัดทำรายวิชาศึกษาทั่วไปขึ้นใหม่ และกำหนดเนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ มจธ., กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และปรัชญาวิชาศึกษาทั่วไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 นอกจากนี้ มจธ. ยังได้พิจารณาปรับกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายตามลักษณะและวัตถุประสงค์ของวิชา อาทิ การเรียนรู้จากปัญหา (Problem-based learning PBL) การเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย (Research-based learning) การเรียนรู้จากโครงงาน (Project-based learning) หรือการสอดแทรกกิจกรรมในกระบวนการเรียนการสอน (Activity-based learning) ศศิธร สุวรรณเทพ

3 แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ. 2553
ยึดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ มจธ. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ และปรัชญาวิชาศึกษาทั่วไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548 ศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก สังคมไทย ศึกษาแนวทางการพัฒนาและโครงสร้างหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณการ และเน้นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (Interaction learning through action) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: CoP) ศศิธร สุวรรณเทพ

4 เป้าประสงค์ บัณฑิต มจธ. เป็นผู้นำของพลเมืองโลก (Leader Global Citizen)
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ บัณฑิตให้เป็นคนเก่งและดีมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และซื่อสัตย์สุจริต มีทักษะด้านวิชาชีพ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อสารและเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน ศศิธร สุวรรณเทพ

5 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
โดยมุ่งเน้นที่ ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของผู้เรียนซึ่งเป็น มาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ศศิธร สุวรรณเทพ

6 ปรัชญาวิชาศึกษาทั่วไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548
วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล เข้าใจธรรมชาติตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อ สื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะ และวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี ศศิธร สุวรรณเทพ

7 21st Century Student Outcomes and Support System
ที่มา: Partnership for 21st century skill ศศิธร สุวรรณเทพ

8 Core Subjects and 21st Century Themes
English, Reading or Language Arts World Languages Arts Mathematics Economics Science Geography History Government and Civics ที่มา: Partnership for 21st century skill ศศิธร สุวรรณเทพ

9 21st Century interdisciplinary themes
Global awareness Using 21st century skills to understand and address global issues Learning from and working collaboratively with individuals representing diverse cultures, religions and lifestyles in a spirit of mutual respect and open dialogue in personal, work and community contexts Understanding other nations and cultures, including the use of non-English languages ที่มา: Partnership for 21st century skill ศศิธร สุวรรณเทพ

10 21st Century interdisciplinary themes (con’t)
Financial, Economic, Business and Entrepreneurial Literacy Knowing how to make appropriate personal economic choices Understanding the role of the economy in society Using entrepreneurial skills to enhance workplace productivity and career options ที่มา: Partnership for 21st century skill ศศิธร สุวรรณเทพ

11 21st Century interdisciplinary themes (con’t)
Civic Literacy Participating effectively in civic life through knowing how to stay informed and understanding governmental processes Exercising the rights and obligations of citizenship at local, state, national and global levels Understanding the local and global implications of civic decisions ที่มา: Partnership for 21st century skill ศศิธร สุวรรณเทพ

12 21st Century interdisciplinary themes (con’t)
Health Literacy Obtaining, interpreting and understanding basic health information and services and using such information and services in ways that enhance health Understanding preventive physical and mental health measures, including proper diet, nutrition, exercise, risk avoidance and stress reduction Using available information to make appropriate health-related decisions Establishing and monitoring personal and family health goals Understanding national and international public health and safety issues ที่มา: Partnership for 21st century skill ศศิธร สุวรรณเทพ

13 Ability and Skills in ASEAN Countries
Vietnam Malaysia Singapore จุดมุ่งหมาย Communication Team work Problem solving Examining issues in totality Balance this with the benefits of community and individuals Creative thinking Lifelong learning Lateral Thinking Well rounded graduate Writing Innovative Articulate Groomed to lead Thinking Skills Communication Leadership Civilization ลักษณะรายวิชา Foreign Languages Social Sciences Humanities Natural Sciences and Mathematics National Defend Education Physical Education Well-trained vs Well-educated doctors Synthesize and integrate knowledge from diverse discipline to establish a connection between all human knowledge and infuse students with a concrete understanding of the process of human creation One module each from Writing Program and History Select modules from the Humanities and Social Sciences and from areas of Science and Mathematics ศศิธร สุวรรณเทพ อ้างอิงจาก ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ม.ธุรกิจบัณฑิต ตุลาคม 2552 13

14 America (1) อ้างอิงจาก ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ม.ธุรกิจบัณฑิต ตุลาคม 2552
University of Missoury Indiana State University San Francisco State University จุดมุ่งหมาย Reason and Think clearly Write and speak coherently Understand the important issues Understand the important of international affairs Understand our culture and history Appreciate the fine arts and Humanities Understand major scientific and technological influence in society Critical thinking Communication skills Quantitative literacy Lifelong learning Issue of value and belief Critical thinking Written Communication Oral Communication Quantitative reason ลักษณะรายวิชา Skills Math English American History and Government Math Proficiency Course Understanding Biological Science Physical Science Mathematical Science Behavioral and Social Science Humanity and / or Fine Arts Segment 1 Basic Subjects Written/Oral Communication Critical thinking/Qualitative Reasoning Segment 2 Arts and Sciences Physical and biological science Area Behavioral and Social Sciences Area Integrative Science Humanities and Creative Arts Area Basic Studies English/Foreign Language Math/it/physical education Liberal Studies Scientific of Mathematical Social and Behavior Studies Literary Artistic and Philosophical Studies Historical Studies Multicultural Studies ศศิธร สุวรรณเทพ

15 America (2) อ้างอิงจาก ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ม.ธุรกิจบัณฑิต ตุลาคม 2552
Harvard University Columbia University Stanford University จุดมุ่งหมาย To introduce students to a broad range of fields and areas of study within the humanities, social sciences, natural sciences, applied sciences, and technology To help students prepare to become responsible members of society. The requirements are also intended to introduce students to the major social, historical, cultural, and intellectual forces that shape the contemporary world. General education prepares for civic engagement. General education teaches students to understand themselves as products of – and participants – traditions of art, ideas, and values. General education prepares students to respond critically and constructively to change. General education develops students’ understanding of the ethical dimensions of what they say and do. Interactive Pedagogy Taught in seminars limited to approximately twenty-two students Active intellectual engagement. Intellectual relationships with their College career Shared process of intellectual inquiry Skills and habits : observation, analysis, arrangement, imagination Provide a rigorous preparation for life an intelligent citizen ลักษณะรายวิชา Writing and Speaking Aesthetic and Interpretive Understanding Culture and Belief Empirical Reasoning Ethical Reasoning Science of Living Systems Science of the Physical Universe Societies of the World The United States in the World University Writing Contemporary Civilization Literature Humanities Art Humanities Music Humanities Major Cultures Requirement Frontiers of Science Science Foreign Language Requirement Physical Education Requirement Foundations: writing/freshman seminar Area 1 Introduction to the Humanities courses Area 2 Natural Sciences, Applied Science and Technology, and Mathematic Area 3 Humanities and Social Sciences Area 4 World Cultures, American Cultures, and Gender Studies ศศิธร สุวรรณเทพ

16 อะไรที่ใช่และไม่ใช่การศึกษาทั่วไป
ไม่ใช่วิชาเบื้องต้น Introduction to… ไม่ใช่วิชาเรียนก่อน Physics 1 ไม่ใช่วิชาพื้นฐานวิชาชีพ Economics for … ไม่ใช่วิชาเติมเต็ม History of … ไม่ใช่วิชาทดลอง Experiment in … ความเป็นคนที่สมบูรณ์ (ตามที่มหาวิทยาลัยเชื่อ) เข้าใจโลก / สังคม / ชีวิต (อย่างดีตีให้แตก) เชื่อมโยงวิชาที่เรียนกับชีวิตประจำวัน (มีความรับผิดชอบ) พัฒนาคิดวิเคราะห์ สื่อความคิดได้ดี (เหตุผล/ที่มาที่ไป) เรียนรู้ด้วยตนเองได้ / ใฝ่รู้ รู้จักเลือก (Judgment) ศศิธร สุวรรณเทพ อ้างอิงจาก ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ม.ธุรกิจบัณฑิต ตุลาคม 2552

17 กรอบแนวคิด รู้กว้าง - นอกสาขา สมดุลย์ - Glorified Technical School
บัณฑิตที่สมบูรณ์ - รู้จักสังคม บัณฑิตที่สมบูรณ์ - แก้ปัญหาสังคม บัณฑิตที่สมบูรณ์อุดมคติ - บัณฑิตอุดมคติ บูรณาการ - Integration โลกยุคใหม่ - รับรู้ / ทางเลือก / ตัวตน ศศิธร สุวรรณเทพ อ้างอิงจาก ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ม.ธุรกิจบัณฑิต ตุลาคม 2552

18 Educational environment How to learn? (method & strategies)
Curriculum Teachers Learning resources Teaching aids, scientific instrument, etc. Supporting facilities Support What to learn? (contents) Input Outcome Do they learn? (assessment) How to learn? (method & strategies) Process ที่มา : ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ้างใน รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วช.หาดใหญ่ (18 สิงหาคม 2552) ศศิธร สุวรรณเทพ

19 ปรัชญาของหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของ มจธ.
มุ่งหวังให้บัณฑิต มจธ. มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยมีปณิธานที่จะอบรมสั่งสอนนักศึกษาให้มีฐานความรู้ทางวิชาการที่กว้างขวาง มีระบบการคิดที่มีเหตุผล มีทักษะทางภาษาไทย และมีความสันทัดในภาษาต่างประเทศอีกอย่างน้อย 1 ภาษา ได้รับการปลูกฝังให้ยึดมั่นในจริยธรรม และคุณธรรม มีจิตสำนึกที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดี มีวินัย รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ สนใจ และมีใจเปิดกว้างที่จะรับวิทยาการใหม่ๆ (ปรับปรุงจากวิสัยทัศน์ มจธ.) ศศิธร สุวรรณเทพ

20 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อสังคม เคารพในความแตกต่างทางความคิด และสามารถดำรงชีวิตอย่างดีงาม เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีโลกทัศน์กว้างไกล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในบริบทของท้องถิ่น ของประเทศ และของโลก เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม และความงดงามตามธรรมชาติ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษาและสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน ในหน้าที่การงาน ชีวิตครอบครัว และกิจกรรมทางสังคมได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น อันเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศศิธร สุวรรณเทพ

21 โครงสร้างหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ.2553
มหาวิทยาลัยได้จัดรายวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะของการบูรณาการ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดยมีกลุ่มวิชาบังคับ 25 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต กลุ่มวิชา จำนวนหน่วยกิต ผู้รับผิดชอบ กลุ่มวิชาบังคับ กลุ่มวิชาสุขพลานามัย กลุ่มวิชาบูรณาการ กลุ่มวิชาภาษา 25 หน่วยกิต 1 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป สายวิชาภาษา กลุ่มวิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป/ คณะ/ ภาควิชาที่เกี่ยวข้อง 31 หน่วยกิต ศศิธร สุวรรณเทพ

22 เปรียบเทียบโครงสร้างวิชาศึกษาทั่วไปใหม่กับโครงสร้างเดิม
โครงสร้างใหม่ (31 หน่วยกิต) โครงสร้างเดิม กลุ่มวิชาบังคับ กลุ่มวิชาสุขพลานามัย กลุ่มวิชาบูรณาการ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชาบังคับเลือก 25 หน่วยกิต 1 หน่วยกิต 15 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 13 หน่วยกิต ศศิธร สุวรรณเทพ

23 โครงสร้างกลุ่มวิชาบังคับ
นักศึกษา มจธ. ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2553 จะต้องเรียนวิชาบังคับตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างจำนวน 25 หน่วยกิต โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนรายวิชาบังคับ 2 หน่วยงานคือ สายวิชาภาษา รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาภาษาจำนวน 9 หน่วยกิต สำหรับวิชาที่เหลือสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอน ศศิธร สุวรรณเทพ

24 โครงสร้างกลุ่มวิชาบังคับเลือก
นักศึกษาจะต้องเลือกเรียนวิชาบังคับเลือกที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปอีก 6 หน่วยกิต ตามความสนใจ โดยวิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต ดังกล่าว จะต้องไม่อยู่ในกลุ่มวิชาเดียวกัน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีความรู้หลากหลาย ทั้งนี้วิชาบังคับเลือกจะดำเนินการโดยสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป หรือเป็นรายวิชาที่เสนอโดยคณะอื่นๆ ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ผลการเรียนรู้ของหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และสภาวิชาการแล้ว ศศิธร สุวรรณเทพ

25 โครงสร้างหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ( 31 หน่วยกิต)
โครงสร้างหลักสูตรแบ่งกลุ่มตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ( 31 หน่วยกิต) รายวิชาบังคับ ( หน่วยกิต) รายวิชาบังคับเลือก ( 6 หน่วยกิต) หมายเหตุ สุขพลานามัย GEN 101 พลศึกษา (Physical Education) 1 (0-2-2) GEN 301 การพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Health Development) 3 (3-0-6) จัดการเรียนการสอนโดย สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป คุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต GEN 111 มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต (Man and Ethics of Living) 3 (3-0-6) GEN 211 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (The Philosophy of Sufficiency Economy) GEN 311 จริยศาสตร์ในสังคมฐานวิทยาศาสตร์ (Ethics in Science Based Society) GEN 411 การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะ (Personality Development and Public Speaking) 3 (2-2-6) ศศิธร สุวรรณเทพ

26 โครงสร้างหลักสูตรแบ่งกลุ่มตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (ต่อ)
โครงสร้างหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ( 31 หน่วยกิต) รายวิชาบังคับ ( หน่วยกิต) รายวิชาบังคับเลือก ( 6 หน่วยกิต) หมายเหตุ การเรียนรู้ตลอดชีวิต GEN 121 ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา (Learning and Problem Solving Skills) 3 (3-0-6) GEN 321 ประวัติศาสตร์อารยธรรม (The History of Civilization) 3 (3-0-6) GEN 421 สังคมศาสตร์บูรณาการ (Integrative Social Sciences) 3 (3-0-6) จัดการเรียนการสอนโดย สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป การคิดอย่างมีระบบ GEN 231 มหัศจรรย์แห่งความคิด (Miracle of Thinking) 3 (3-0-6) GEN 331 มนุษย์กับการใช้เหตุผล (Man and Reasoning) 3 (3-0-6) จัดการเรียนการสอนโดยสำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป ศศิธร สุวรรณเทพ

27 โครงสร้างหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ( 31 หน่วยกิต)
โครงสร้างหลักสูตรแบ่งกลุ่มตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (ต่อ) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตรหมวดศึกษาทั่วไป ( 31 หน่วยกิต) รายวิชาบังคับ ( หน่วยกิต) รายวิชาบังคับเลือก ( 6 หน่วยกิต) หมายเหตุ คุณค่าและความงาม GEN 241 ความงดงามแห่งชีวิต (Beauty of Life) 3 (3-0-6) GEN 341 ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (Thai Indigenous Knowledge) 3 (3-0-6) GEN 441 วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (Culture and Excursion) 3 (2-2-6) จัดการเรียนการสอนโดย สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป เทคโนโลยี นวัตกรรมและการจัดการ GEN 351 การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ (Modern Management and Leadership) 3 (3-0-6) GEN 352 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Technology and Innovation for Sustainable Development) 3 (3-0-6) GEN 353 จิตวิทยาการจัดการ (Managerial Psychology) 3 (3-0-6) ภาษาและการสื่อสาร LNG * (หลักสูตรปกติ) LNG (หลักสูตรนานาชาติ) LNG XXX (ขึ้นอยู่กับภาควิชาเป็นผู้กำหนด) จัดการเรียนการสอนโดย สายวิชาภาษา GEN XXX (หรือรายวิชาอื่นๆที่เปิดสอน) * หมายเหตุ: นักศึกษาที่คะแนนภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ตามที่สายวิชาภาษากำหนด สามารถเรียนภาษาอังกฤษในระดับที่สูงกว่า ทั้งนี้ขอให้ดูรายละเอียดวิชาได้จากสายวิชาภาษา ศศิธร สุวรรณเทพ

28 มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต
พลศึกษา มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา ปัญหาและการนิยามปัญหา (Mind mapping) ทบทวนทักษะกีฬาเบื้องต้น แนะนำวิชาและมหาวิทยาลัย (ประวัติ ร.4 และมจธ.) Generate ideas/ Creative thinking (Mental barriers, Brainstorming & Teamwork, Fishbone diagram, Analogy and cross-fertilization, Incubating ideas) ปรัชญาและแนวคิดในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ฝึกทักษะกีฬา คุณธรรมและจริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม ฝึกทักษะกีฬาและวิธีการเล่น การเผชิญและการแก้ไขปัญหาในชีวิต วิธีการแสวงหาความรู้ (สืบค้น, แหล่งข้อมูล) กติกาการแข่งขัน การเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลและสังคม ข้อมูลและข้อเท็จจริง (สืบค้น, กลั่นกรอง, ความน่าเชื่อถือ, อ้างอิงแหล่งข้อมูล) การจัดการแข่งขันและการตัดสิน คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รูปแบบการแข่งขันประเภทต่างๆ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต การอ่าน (การตั้ง Obj., สรุป, จับประเด็น, อ่านเร็ว, ตีความ) การนำหลักคำสอนทางศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต ยุทธวิธีในการแข่งขันและการแข่งขันกีฬา การคิดเชิงขวาง (Holistic thinking, LCA) มารยาทในสังคม การสร้างแบบจำลอง (Qualitative modeling, Logical thinking, Quantitative modeling, What-if question) แนวคิดการบริหารจัดการและการจัดการองค์การ หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจ (Situation analysis, Decision analysis) การประเมินผล (ความปลอดภัย, กม./จริยธรรม, บริบททางสังคม/วัฒนธรรม, ผลกระทบทางศศ./ สวล.) นโยบายและการจัดการเชิงกลยุทธ์ องค์กรแห่งการเรียนรู้ การบริหารโครงการ แหล่งที่มาของความคิดที่เรียนจากธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม/ ความหมาย หลักการ คุณค่า แนวคิด การบัญชีการเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การคิดเป็นระบบและการคิดเชิงระบบ การบรรยายพิเศษด้านการบริหารจัดการสําหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ (Brain mapper diagram, Tree diagram) การบริหารจัดการตนเอง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ การคิดเชิงวิพากษ์/ การตั้งคำถาม ภาวะผู้นําและการบริหารทีมงาน มนุษย์กับคุณค่าความงาม การคิดวิเคราะห์/ ทฤษฎีหมวก 6 ใบ การจัดการการตลาดและตราสินค้า แนวคิด/ ทฤษฎีเกี่ยวกับความงาม การเชื่อมโยงความคิด/ การผูกเรื่อง (คิดให้ครบจนจบเรื่อง, คิดในภาพรวมทั้งระบบ) การบริหารคุณภาพ ชีวิตกับศิลปะ ชีวิตกับดนตรี การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเขียน (สรุป, บทความ, เทคนิค, In text citation, ความคิดเห็น, พรรณนา) ชีวิตกับจริยศาสตร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีวิตกับความงดงามแห่งธรรมชาติ กิจกรรมการแสดงออกที่สะท้อนความงดงามในตัวผู้เรียน การแก้ปัญหาโดยวิธีคิดเชิงระบบด้าน S&T สังคม สวล. และอื่นๆ ศศิธร สุวรรณเทพ การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ ความงดงามแห่งชีวิต มหัศจรรย์แห่งความคิด

29 คำอธิบายระบบรหัสวิชา
GEN หมายถึง รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไปเป็นผู้ดูแล LNG หมายถึง รายวิชาในกลุ่มภาษา ที่สายวิชาภาษา คณะศิลปศาสตร์เป็นผู้ดูแล ตัวเลข 3 ตัว หลังรหัส GEN มีความหมายดังนี้ เลขลำดับที่หนึ่ง แสดงถึง ชั้นปีที่เรียน (เช่น เลข 1 รายวิชาที่เรียนในชั้นปีที่ 1) เลขลำดับที่สอง แสดงถึง รายวิชาในกลุ่มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เลข 0 แสดง กลุ่มสุขพลานามัย เลข 1 แสดง กลุ่มคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต เลข 2 แสดง กลุ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิต เลข 3 แสดง กลุ่มการคิดอย่างมีระบบ เลข 4 แสดง กลุ่มคุณค่าและความงาม เลข 5 แสดง กลุ่มเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการ เลขลำดับที่สาม แสดงถึง ลำดับรายวิชาที่เปิดในกลุ่มคุณลักษณะดังกล่าวตามชั้นปี ศศิธร สุวรรณเทพ

30 แผนการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปในแต่ละชั้นปี
รายวิชา ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 1/1 1/2 2/1 2/2 3/1 3/2 4/1 4/2 กลุ่มวิชาบังคับ GEN 101 พลศึกษา (Physical Education) 1 (0-2-2) GEN 111 มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต (Man and Ethics of Living) 3 (3-0-6) GEN 121 ทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหา (Learning and Problem Solving Skills) GEN 231 มหัศจรรย์แห่งความคิด (Miracle of Thinking) 3 (3-0-6) GEN 241 ความงดงามแห่งชีวิต (Beauty of Life) 3 (3-0-6) GEN 351 การบริหารจัดการยุคใหม่และภาวะผู้นำ (Modern Management and Leadership) กลุ่มวิชาบังคับเลือก GEN xxx 1 GEN xxx 2 ศศิธร สุวรรณเทพ

31 แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้วิชาศึกษาทั่วไป
ศศิธร สุวรรณเทพ

32 ประเด็นหลักที่บูรณาการในรายวิชาศึกษาทั่วไป
ศศิธร สุวรรณเทพ

33 แนวทางการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณการ มีแนวทางดำเนินการโดย การบูรณาการเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องระหว่างศาสตร์ต่างๆ การบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ การบูรณาการสิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตประจำวัน การบูรณาการทีมอาจารย์สอนจากหลากหลายสาขาวิชา เพื่อสร้างเนื้อหาวิชา กำหนดประเด็นการเรียนรู้ ศศิธร สุวรรณเทพ

34 วิธีการวัดผลการเรียนการสอนวิชาบูรณาการ
การวัดผลการเรียนการสอนในวิชาบูรณาการของนักศึกษา เป็นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นการประเมินจาก การสังเกต บันทึกรวบรวมข้อมูลจากผลงาน หรือกิจกรรมที่ผู้เรียนทำ เพื่อตัดสินความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน โดยพิจารณาจากข้อมูล 3 ด้านคือ Performance of Learning Process of Learning Product of Learning ศศิธร สุวรรณเทพ

35 การติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา จึงได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา เพื่อติดตามและประเมินผล ตลอดจนสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้การเรียนการสอนในครั้งต่อไปมีผลสัมฤทธิผลขึ้น และดำเนินการให้สอดคล้องกับการจัดทำ course report มคอ.5 ของ สกอ. ศศิธร สุวรรณเทพ

36 แนวทางการเขียน มคอ. 3 รายวิชาศึกษาทั่วไป
จาก template มคอ.3 ของ สกอ. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 ลักษณะการดำเนินการ หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา (ดูตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น) ประกอบด้วย ศศิธร สุวรรณเทพ

37 ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการเขียน มคอ. 3
หมวดที่ 4 มคอ. 3: การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 5 ด้าน ต้องสอดคล้องกับ GE Mapping ของวิชานั้นๆ หมวดที่ 5: แผนการสอนและการประเมินผล ส่วนที่ 1 จัดทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนการสอนที่ระบุในหมวดที่ 2 (บรรยาย-ปฏิบัติ/ภาคสนาม/การฝึกงาน) และเป็นตามโครงสร้างหน่วยกิต (เช่น หรือ 2-2-4) ส่วนที่ 2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้ วิธีการประเมินต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้จาก GE Mapping ศศิธร สุวรรณเทพ

38 ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการเขียน มคอ. 3
หมวดที่ 7: การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา อาจใช้ระบบ online หรือส่วนกลางมหาวิทยาลัยดำเนินการ การประเมินการสอน ดำเนินการโดยคณะกรรมการฯของภาควิชา โดยการสังเกตการสอน สุ่มสัมภาษณ์นักศึกษา การปรับปรุงการสอน อาจใช้แนวทางการวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือ การทวบสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ดำเนินการโดยคณะกรรมการภาควิชาฯ โดยการสุ่มประเมินข้อสอบ การให้คะแนน หรืออาจจะสุ่มดูคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ว่าเป็นตามมาตรฐานผลการเรียนรู้หรือไม่ การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลจากการดำเนินการข้างต้นมาใช้ปรับปรุงเพื่อพัฒนารายวิชาต่อไป (ดูตัวอย่างจากเอกสาร มคอ. 3) ศศิธร สุวรรณเทพ

39 Q & A ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552: ประสบการณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ.ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google