งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อควรรู้เพิ่มเติม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อควรรู้เพิ่มเติม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อควรรู้เพิ่มเติม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา

2 ความหมาย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ปร (ประเสริฐ) + ชญา (ความรู้) ปรัชญา จึงหมายถึง ความรู้อันประเสริฐ

3 ความหมาย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (ต่อ)
“เศรษฐกิจ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่างๆ ของชุมชน ความหมายตามแนวพุทธศาสนา เศรษฐ(สันสกฤต) / เสฏฐ(บาลี) หมายถึง ประเสริฐ, เลิศ, ดี กิจ หมายถึง กิจกรรมหรืออาชีพการงาน เศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมที่ทำให้เกิดความประเสริฐ

4 ความหมาย “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (ต่อ)
“เศรษฐกิจพอเพียง” หมายถึง เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดี พออยู่ พอกิน พอใช้ ยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาในการดำเนินชีวิต หมายถึง แนวคิดโดยมีหลักการและอุดมการณ์ที่ช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์และสังคมให้มุ่งไปสู่ความยั่งยืนด้วยการรู้จักตนเอง พึ่งตนเอง พอเพียง ไม่โลภมาก มีเหตุผล และไม่ประมาท

5 ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง เศรษฐกิจทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียง
อัตถประโยชน์ ต่อคนส่วนน้อย ต่อคนทั้งหมด ๒. การกระจายอำนาจ รวมศูนย์ เคารพความหลากหลายของชุมชนท้องถิ่น ๓. การกระจายรายได้ กระจุก กระจาย ๔. ครอบครัวและชุมชน แตก (social disintegration) เข้มแข็ง ๕. สิ่งแวดล้อม ไม่ยั่งยืน ยั่งยืน ๖. ภูมิปัญญาดั้งเดิม สูญหาย อนุรักษ์และพัฒนา

6 หลักการ “ทฤษฎีใหม่” ๓ ขั้น
ขั้นที่ ๑ มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ขั้นที่ ๒ รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม ขั้นที่ ๓ สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพ และขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยประสานความร่วมมือกับรัฐและเอกชน

7 นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่
คือ ความยิ่งใหญ่ทางความคิดของพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ๙ ประการ ๑. หลากหลาย (Multiple, Diverse) เป็นแนวคิดแบบพหุนิยม ทั้งในแง่การคิด และการกระทำ ๒. ร่วมนำ (Co-existing) เป็นแนวคิดที่ยอมรับการอยู่ร่วมกันของสิ่งที่แตกต่างกัน เช่น เกษตรแบบพึ่งตนเองอยู่ร่วมกันกับการผลิตทางเกษตรอุตสาหกรรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะเกษตรพอเพียงไปเป็นการผลิตรูปแบบอื่น

8 นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ (ต่อ)
๓. คิด-ทำ (Thinking-Doing) เป็นแนวคิดที่ปฏิบัติได้ ทำให้เห็นจริงได้ ๔. เรียบง่าย (Simple) เป็นแนวคิดที่เข้าใจง่าย ๕. ผสานทุกส่วน (Integrating) เป็นแนวคิดที่นำประสบการณ์ของประเทศไทยและลักษณะสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาล วิถีชีวิต ฐานะทางเศรษฐกิจ ตลอดจนลักษณะเด่นของความเป็นอยู่และการผลิตของไทย มารวมกันเข้าเป็นทฤษฎีใหม่

9 นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ (ต่อ)
๖. ควรแก่สถานการณ์ (Timely) เป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่จะใช้เตือนผู้บริหารในการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศ ๗. องค์รวมรอบด้าน (Holistic) เป็นแนวคิดที่มีหลายมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และปรัชญาในการดำรงชีวิต มีผลในการส่งเสริมจริยธรรมแห่งความพอเพียง

10 นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ (ต่อ)
๘. บันดาลใจ (Inspiring) เป็นแนวคิดที่มีพลังในการกระตุ้นให้ผู้ยากไร้เข้าถึงความเป็นจริง สามารถมีความสุขได้ตามอัตภาพ ๙. ไม่ใฝ่อุดมการณ์ / เป็นสากล (Universal) เป็นแนวคิดที่ปลอดจากการเมือง ผลประโยชน์และอุดมการณ์ จึงเป็นทฤษฎีที่มีความเป็นสากล เป็นผลดีต่อประเทศที่มีปัญหาคล้ายประเทศไทยในการนำไปประยุกต์ใช้

11 เศรษฐกิจพอเพียงสู่แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ๑๓ ประการ ประกอบด้วย ๑. การทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือ ทฤษฎีใหม่ ๒. การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ๓. การจัดกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์และการจัดทุนหมุนเวียนในชุมชน ๔. การพัฒนากลุ่มอาชีพ เช่น พืชสมุนไพร แพทย์แผนโบราณ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และการพัฒนาแหล่งชุมชนโบราณ ๕. การทำผังเครือข่ายองค์การชุมชน

12 เศรษฐกิจพอเพียงสู่แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม (ต่อ)
๖. การจัดลานค้าชุมชน หรือตลาดนัดชุมชน ๗. การสร้างเครือข่ายร้านค้าชุมชน ๘. การจัดเวทีประชาคมอำเภอ ๙. การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการเกษตร ๑๐. สนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานของภาครัฐ ๑๑. สนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาตามแนวทางแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ๑๒. สนับสนุนการขยายบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ๑๓. สนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจแบบพอเพียงอื่นๆ ที่กลุ่มหรือชุมชนต้องการ


ดาวน์โหลด ppt ข้อควรรู้เพิ่มเติม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google