ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
ระเบียบ/มติว่าด้วยการสอบ/คุมสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการบริการจัดการการคุมสอบให้ได้คุณภาพ ภายใต้นโยบาย “รวมบริการ ประสานภารกิจ” โดย ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
2
"ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี” ว่าด้วยการสอบ
"ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี” ว่าด้วยการสอบ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วยการสอบ พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศเป็นต้นไป [5 มิถุนายน 2542] ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุร นารี ว่าด้วยการสอบประจำภาค พ.ศ และให้ใช้ ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "มหาวิทยาลัย" หมายถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี "อธิการบดี“ หมายถึง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3
ข้อ 4 ในระเบียบนี้….. "นักศึกษา“ หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี "กรรมการคุมสอบ” หมายถึง บุคคลที่มหาวิทยาลัย แต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับ การกำกับห้องสอบและให้ หมายความรวมถึงอาจารย์ผู้สอน หรือบุคคลที่ได้รับ มอบหมายจากสำนักวิชาให้ควบคุมการสอบด้วย "ผู้เข้าสอบ“ หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารีหรือ ผู้ร่วมเรียนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่มีสิทธิเข้าสอบ ตามประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ "การสอบ“ หมายถึง การสอบประจำภาค การสอบกลาง ภาคหรือการสอบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่เปิด สอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
4
ข้อ 5 ให้ผู้เข้าสอบปฏิบัติดังนี้
5.1 แต่งกายถูกต้องตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี ว่าด้วย เครื่องแต่งกายนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2536 5.2 นำบัตรประจำตัวนักศึกษาไปแสดงทุกครั้ง ถ้าผู้ใดไม่มี บัตรดังกล่าวกรรมการคุมสอบอาจพิจารณาไม่อนุญาต ให้เข้าสอบ 5.3 ควรไปถึงห้องสอบก่อนเวลาสอบประมาณ 15 นาทีแต่ จะเข้าห้องสอบได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรรมการคุม สอบ ผู้ที่ไปถึงห้องสอบหลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการสอบไป แล้วเกิน 30 นาที จะไม่มีสิทธิเข้าห้องสอบ 5.4 ไม่ออกจากห้องสอบก่อนเวลา 30 นาที นับตั้งแต่เริ่ม ลงมือสอบ
5
5.5 ไม่นำตำรา หนังสือ บันทึกข้อความ หรือวัสดุอุปกรณ์ ใด ๆ เข้าไปในห้องสอบ เว้นแต่กรรมการคุมสอบ อนุญาตตามที่กรรมการออกข้อสอบกำหนด 5.6 เชื่อฟังคำแนะนำและปฏิบัติตามคำสั่งกรรมการคุม สอบโดยเคร่งครัด 5.7 ลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เข้าสอบทุกครั้ง 5.8 เขียนชื่อ - สกุล เลขประจำตัวนักศึกษา และเลขที่นั่ง สอบลงบนแบบทดสอบและกระดาษคำตอบให้ถูกต้อง ชัดเจน 5.9 ห้ามขีดเขียนข้อความ เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ ใด ๆ ลงบนกระดาษคำตอบ นอกเหนือจากที่ได้กำหนด ไว้ในคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการตอบ ถ้าจะมีการทดให้ทดใน แบบทดสอบ หรือขอกระดาษทดจากกรรมการคุมสอบ
6
5.10 ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการรบกวนผู้เข้าสอบอื่น ๆ ขณะที่อยู่ในห้องสอบ 5.11 ไม่ทุจริตในการสอบ ไม่พูดหรือติดต่อกับผู้เข้าสอบอื่น หรือบุคคลภายนอกไม่พยายามดูคำตอบจากผู้เข้าสอบอื่น หรือ ยอมให้ผู้เข้าสอบอื่นดูคำตอบของตน 5.12 ไม่นำข้อสอบ กระดาษคำตอบ กระดาษทด ออกจากห้อง สอบ 5.13 เมื่อหมดเวลาสอบ และกรรมการคุมสอบสั่งให้หยุดทำ ข้อสอบจะต้องหยุดทำทันที แต่จะออกจากห้องสอบได้ ต่อเมื่อ กรรมการได้ตรวจนับแบบทดสอบและกระดาษคำตอบ แล้ว อนุญาตให้ออกไปได้เท่านั้น 5.14 เมื่อออกจากห้องสอบไปแล้ว ต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่ เป็นการรบกวนผู้ที่ยังสอบอยู่ ในกรณีที่นักศึกษาไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 5.1, 5.2, 5.3, และ 5.4 โดยมีเหตุผลความจำเป็น ให้ กรรมการคุมสอบในห้องนั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตเป็นราย กรณี
7
ข้อ 6 ผู้เข้าสอบที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือคำแนะนำของ กรรมการคุมสอบ กรรมการคุมสอบอาจให้ออก จากห้องสอบ และไม่อนุญาตให้สอบ หลังจากที่ได้ ตักเตือนซ้ำแล้วอีกครั้งหนึ่ง โดยจะถือว่าผู้เข้าสอบ ไม่ได้คะแนนในการสอบครั้งนั้น
8
ข้อ 7 การลงโทษ 7.1 ถ้าเป็นความผิดประเภททุจริต ให้ลงโทษโดยได้รับ F ใน รายวิชาที่กระทำผิดระเบียบการสอบ ส่วนรายวิชาอื่นที่นักศึกษา ลงทะเบียนเรียนไว้ ถ้าเป็นรายวิชาที่สอบมาแล้ว ให้ได้ผลการสอบ ตามที่สอบได้จริง ถ้าเป็นรายวิชาที่ยังไม่ได้สอบก็ให้ดำเนินการสอบ ตามปกติ และให้ได้ผลการสอบตามที่สอบ ได้จริง และให้พิจารณา สั่งพักการศึกษานักศึกษาผู้นั้น 1 ภาคการศึกษา เป็นอย่างน้อย หรืออาจให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาก็ได้ 7.2 ถ้าเป็นความผิดประเภทส่อเจตนาทุจริต ให้ลงโทษโดยให้ ได้รับ F ในรายวิชาที่กระทำผิดระเบียบการสอบ และอาจพิจารณา สั่งพักการศึกษา นักศึกษาผู้นั้นได้ไม่เกิน 1 ภาคการศึกษา 7.3 ถ้าเป็นความผิดอย่างอื่นที่ระบุไว้ในข้อปฏิบัติของ นักศึกษาในการสอบให้ลงโทษตามควรแก่ความผิดนั้น แต่จะต้อง ไม่เกินกว่าระดับโทษต่ำสุดของความผิดประเภททุจริตตามข้อ 7.1
9
ข้อ 8 กรรมการคุมสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบการสอบ อย่างเคร่งครัด และต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการ เอื้ออำนวยให้เกิดการทุจริตในการสอบ หรือละเว้นไม่ ดำเนินการตามระเบียบการสอบเมื่อเกิดการทุจริตใน การสอบ มิฉะนั้นจะถือว่ากระทำความผิดอย่างร้ายแรง ข้อ 47 พนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จักต้องได้รับโทษปลดออก หรือไล่ออก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับว่าด้วยงานบริหารบุคคล พ.ศ. 2546
10
ข้อ 9 ในกรณีที่มีการทุจริต หรือสงสัยว่าจะกระทำการทุจริต ให้กรรมการคุมสอบบันทึกพฤติกรรมการกระทำผิดของผู้ เข้าสอบ พร้อมยึดหลักฐาน (ถ้ามี) โดยให้ผู้เข้าสอบ ดำเนินการสอบต่อไป และรายงานให้ศูนย์บริการ การศึกษาทราบ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป กรณีวิชาที่มีการจัดสอบนอกเหนือจากประกาศ ตารางสอบของมหาวิทยาลัย ให้รายงานศูนย์บริการ การศึกษาทราบ ภายใน 1 วันทำการ
11
ข้อ 10 นักศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามประกาศนี้ ให้ผู้ นั้นมีสิทธิ์อุทธรณ์ โดยให้ยื่นเรื่องที่ศูนย์บริการ การศึกษาได้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลงชื่อ รับทราบผลการลงโทษ ข้อ 11 ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
12
แนวปฏิบัติในการจัดหากรรมการคุมสอบ
มติที่ประชุมคณะกรรมการประจำศูนย์บริการการศึกษา ครั้ง ที่ 2/2538 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2538 และครั้งที่ 1/2552 เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 กำหนดสัดส่วนภาระงานคุมสอบ ของบุคลากร ดังนี้ อาจารย์ : พนักงานในสำนักวิชา : พนักงานอื่น = 3 : 3 : 3 โดยพนักงานอื่น หมายถึง พนักงานปฏิบัติการวิชาชีพและบริหาร ทั่วไป ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป การคำนวณจำนวนอาจารย์จะไม่คิดจำนวนอาจารย์ที่เป็นผู้บริหาร ระดับอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้อำนวยการศูนย์/สถาบัน สำหรับ คณาจารย์ในแต่ละสำนักวิชา ให้คำนวณจากอาจารย์ทั้งหมด ยกเว้นอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ
13
3. ให้ศูนย์บริการการศึกษาเป็นผู้คำนวณกรรมการคุมสอบที่ ต้องการจากแต่ละหน่วยงานแต่ละช่วงเวลาสอบ เสนอขอความ เห็นชอบจากอธิการบดี ก่อนแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นข้อมูล ในการจัดกรรมการคุมสอบ 4. การจัดรายชื่อกรรมการคุมสอบตามจำนวนที่ปรากฏในข้อ 3 ให้เป็นอำนาจของคณบดี (สำหรับสำนักวิชา) ผู้อำนวยการ สถาบัน/ศูนย์ (สำหรับสถาบัน/ศูนย์) และหัวหน้าส่วน (สำหรับส่วน ในสำนักงานอธิการบดี) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้รวมถึงหัวหน้า หน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นด้วย 5. การขอเปลี่ยนแปลง ยกเลิก งดเว้นการเป็นกรรมการคุม สอบ ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ 4 เป็นผู้พิจารณาอนุญาต และ จัดหากรรมการคุมสอบแทน
14
การวินิจฉัยสั่งการของอธิการบดีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการคุมสอบ
มติที่ประชุมคณะกรรมการประจำศูนย์บริการการศึกษา ครั้ง ที่ 1/2546 1. กรณีกรรมการคุมสอบไม่มาปฏิบัติหน้าที่ จะต้องให้ทุกราย ชี้แจงเหตุผล หากรายใดมีเหตุผลไม่สมควรจะต้องให้หัวหน้า หน่วยงานตักเตือน ตลอดจนบันทึกรายชื่อไว้ที่ส่วนการเจ้าหน้าที่ หากรายใดให้เหตุผลว่าป่วยขอให้มีใบรับรองแพทย์กำกับมาด้วย 2. กรณีกรรมการคุมสอบมาปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ขอให้หัวหน้า หน่วยงานเป็นผู้ตักเตือนเรื่องการรักษาเวลา
15
การวินิจฉัยสั่งการของอธิการบดีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการคุมสอบ (ต่อ)
มติที่ประชุมคณะกรรมการประจำศูนย์บริการการศึกษา ครั้ง ที่ 1/2546 3. กรณีกรรมการคุมสอบให้พนักงานธุรการ หรือลูกจ้าง มา คุมสอบแทน ขอให้ส่วนการเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ หาก พบว่าการกำหนดตัวบุคคลให้มาคุมสอบแทนตนเป็นไปโดยพละ การ (ตลอดจนสังเกตได้ว่าผู้ที่มาคุมสอบแทนนั้นเป็นพนักงาน ธุรการ และลูกจ้าง ซึ่งไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการคุมสอบ) เห็น ควรให้ส่วนการเจ้าหน้าที่ออกหนังสือเตือนและบันทึกชื่อไว้ หากมี เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำอีก ควรพิจารณาเรื่องวินัยการปฏิบัติงาน
16
ผลิตสำเนาแบบทดสอบ ตามมติคณะกรรมการประจำศูนย์บริการการศึกษา ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันอังคารที่ 3 สิงหาคม ให้ ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ให้หัวหน้าสาขาวิชาเป็นผู้รวบรวมต้นฉบับข้อสอบของสาขาวิชา ทั้งหมด เก็บไว้ที่คลังข้อสอบของสาขาวิชา และนำส่งที่หน่วย ผลิตตามตารางผลิตสำเนาข้อสอบ โดยต้นฉบับข้อสอบและซอง ต้นฉบับข้อสอบให้จัดทำตามรูปแบบที่กำหนด ให้แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับดูแลขั้นตอนการผลิตสำเนา แบบทดสอบ ประกอบด้วยผู้แทนจาก 3 หน่วยงาน คือ ศูนย์ บรรณสารฯ ศูนย์บริการการศึกษา และสำนักวิชา โดยผู้แทน ของสำนักวิชาขอให้เป็นอาจารย์ที่อาวุโส ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแล ระหว่างการผลิตสำเนาข้อสอบ โดยในแต่ละวันให้มีคณะทำงานฯ 2 ชุด ๆ ละประมาณ 3 ชั่วโมง
17
ผลิตสำเนาแบบทดสอบ ตามมติคณะกรรมการประจำศูนย์บริการการศึกษา ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันอังคารที่ 3 สิงหาคม พิจารณาแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ เมื่อผลิตเสร็จให้คณะทำงานฯ ควบคุมข้อสอบนำส่งที่ ศูนย์บริการการศึกษา ให้เก็บสำเนาข้อสอบที่ศูนย์บริการการศึกษาไม่เกิน 3 วันก่อนสอบ ปรับตารางผลิตสำเนาข้อสอบตาม เพื่อเอื้อให้ หัวหน้าสาขาวิชาแต่ละสาขาวิชามาส่งและดูแลการผลิต สำเนาข้อสอบ เพียงครั้งเดียว
18
การคุมสอบถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่ง
เป็นหนึ่งในกระบวนการหลัก ของการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพ Core พันธกิจอันดับ 1 ของ มทส. [(3x2)+(3x3)]x3 = 45/24 = วัน/ปี
19
ด้วยความขอบคุณ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.