งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพ
การอบรมครูแกนนำระดับชาติ วันที่ 6-8 เมษายน 2550 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร

2 เพื่อติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน
ทำไมต้องประเมินผล เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้ และสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้ เพื่อติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนและความมีประสิทธิภาพของโปรแกรมการเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

3 การประเมินผลรูปแบบต่าง ๆ
ตรวจสอบความเข้าใจอย่างไม่เป็นทางการ ใช้ข้อทดสอบย่อยและข้อสอบแบบดั้งเดิม ใช้รายการตรวจสอบ ใช้ใบให้คะแนน ใช้รูบริก ถ้าต้องการวัดทักษะพื้นฐานและความคิดรวบยอด ควรใช้ ข้อสอบแบบเขียนตอบ หรือข้อทดสอบย่อย ถ้าต้องการวัดความเข้าใจขั้นลึก ควรใช้วิธีการประเมินผลที่มี ความซับซ้อนยิ่งขึ้น

4 การประเมินผลที่ใช้เกณฑ์แบบรูบริก
รูบริกสามารถใช้ประเมินผลการเรียนรู้ที่มีความ ซับซ้อนยุ่งยาก และประเมินชิ้นงานได้ดี รูบริกสามารถใช้ได้กับกลุ่มเนื้อหาใด ๆ ก็ได้ สามารถดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้กับระดับ ชั้นเรียนต่าง ๆ ได้ง่าย

5 ระบุเป้าหมายที่ครูจะสอนและเป็นเป้าหมายที่นักเรียน ควรจะบรรลุตามนั้น
รูบริกคืออะไร รูบริก คือเครื่องมือการให้คะแนนผลงาน ซึ่งระบุเกณฑ์ด้วยประเด็นต่าง ๆ ว่าต้องประเมินอะไรบ้าง อธิบายองค์ประกอบสำคัญ ๆ เกี่ยวกับคุณภาพของการเรียนรู้ให้นักเรียนและผู้ประเมินเข้าใจตรงกัน ระบุเป้าหมายที่ครูจะสอนและเป็นเป้าหมายที่นักเรียน ควรจะบรรลุตามนั้น

6 รูบริกประกอบด้วย. มาตรวัดที่แน่นอน
รูบริกประกอบด้วย * มาตรวัดที่แน่นอน * เกณฑ์ซึ่งระบุประเด็นต่าง ๆ อย่างชัดเจน และแต่ละเกณฑ์มีคำอธิบายลักษณะและระดับคุณภาพ ตั้งแต่ระดับสูงไปถึงต่ำ หรือจากต่ำไปสูง ลดหลั่นกันตามระดับคุณภาพ ซึ่งกำหนดด้วยคะแนน

7 ทำไมจึงต้องใช้รูบริก
สำหรับครู: ช่วยให้เห็นเป้าหมายการสอนที่ชัดเจน เป็นเกณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อการประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียน ช่วยให้การประเมินเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแน่นอนสม่ำเสมอ ช่วยให้ครูทำความเข้าใจกับนักเรียนได้ง่ายว่า เหตุใดนักเรียนจึงได้คะแนนเท่านั้นเท่านี้ และรู้ว่าควรปรับปรุงการเรียนรู้ของตนให้ดีขึ้นอย่างไร

8 ทำไมจึงต้องใช้รูบริก
สำหรับนักเรียน: ช่วยให้มองเห็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน ความคาดหวังที่สำคัญสูงสุด และเกณฑ์สำหรับวัดและปรับปรุงผลงานของตนในเชิง ‘คุณภาพ’ ช่วยเป็นแนวทางให้นักเรียนมองเห็นความคาดหวังของครูที่มีต่อการเรียนรู้ของตน เมื่อนักเรียนใช้รูบริกตัดสินผลงานของตนเองอยู่เสมอ แสดงว่าเริ่มรับรู้และรับผิดชอบต่อผลผลิตขั้นสุดท้ายของตน และคอยตรวจสอบตนเองว่า “ฉันทำสิ่งนี้สิ่งนั้นสำเร็จหรือยัง” ช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวเองได้

9 รูบริกต่างชนิดใช้ประเมินงานที่แตกต่างกัน
ชนิดของรูบริก รูบริกแบบองค์รวม: สะท้อนความพอใจโดยรวมต่อคุณภาพผลงาน ของนักเรียนในด้านต่าง ๆ รูบริกเชิงวิเคราะห์: ระบุและประเมินเฉพาะ ส่วนประกอบของ ผลงานที่ทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว รูบริกต่างชนิดใช้ประเมินงานที่แตกต่างกัน

10 รูบริกแบบองค์รวมสำหรับประเมินการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
4 คำตอบแสดงให้เห็นว่าเข้าใจโจทย์ปัญหาอย่างชัดแจ้ง แม่นตรงตลอดทุกจุดที่ต้องแก้โจทย์ แสดงให้เห็น การคิดไตร่ตรองเชิงตรรกะ และได้ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพและ ชัดเจนด้วยการเขียนเรียบเรียง การใช้แผนผัง และการคำนวณที่ถูกต้องและเพียงพอสำหรับโจทย์ อาจมี ข้อผิดพลาดบ้าง แต่ไม่มีผลต่อความถูกต้องสมบูรณ์ หรือความเป็นเหตุเป็นผลในคำตอบของนักเรียน 3 คำตอบมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะแสดงให้เห็นว่าเข้าใจโจทย์ปัญหาอย่างดี และสื่อสารให้ผู้อื่น เข้าใจได้ดีพอสมควรทั้งด้วยการเขียน การแสดงแผนผัง รวมทั้งมีข้อสรุปที่สมเหตุสมผล แต่มีข้อบกพร่อง เล็กน้อยในการคิดไตร่ตรอง หรือการคำนวณ และหลุดบางประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาด้วย 2 คำตอบแสดงให้เห็นข้อบกพร่องต่อไปนี้หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งที่ ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาอย่าง ไม่ถูกต้องสมบูรณ์นัก หลงลืมบางประเด็นของปัญหา ผิดพลาดในการคิดไตร่ตรอง สรุปปัญหาไม่หนักแน่น เพียงพอ สื่อสารไม่ชัดเจนนักทั้งด้วยการเขียนและการแสดงแผนผัง หรือมีความเข้าใจขั้นตอนหรือความคิด รวบยอดเกี่ยวกับการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ไม่ดีพอ 1 คำตอบแสดงให้เห็นว่ากล่าวย้ำโจทย์ปัญหาหรือคัดลอกข้อความจากโจทย์ที่กำหนดให้ แสดงถึงความ บกพร่องดังต่อไปนี้: เข้าใจโจทย์ปัญหาเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถระบุปัญหาที่สำคัญได้ มีการคิดตรึกตรอง ที่บกพร่องมากซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ไร้เหตุผล หรือขาดความเข้าใจขั้นตอนหรือแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คำตอบแสดงให้เห็นว่าไม่เข้าใจโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เลย หรือไม่สามารถตอบโจทย์นั้นได้

11 รูบริกเชิงวิเคราะห์สำหรับประเมินการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
4 3 2 1 เข้าใจปัญหาโจทย์ เข้าใจโจทย์ปัญหาอย่างหนักแน่น เข้าใจโจทย์ปัญหาพอสมควร เข้าใจโจทย์ปัญหา ไม่ดีนัก เข้าใจโจทย์ปัญหาเพียงเล็กน้อย หรือไม่เข้าใจเลย ใช้ข้อมูลอธิบาย อย่างเหมาะสม อธิบายได้ว่าเหตุใดข้อมูลความรู้บางประการจึงจำเป็นต่อการแก้โจทย์ปัญหา ใช้ข้อมูลความรู้ทุกอย่างได้อย่างเหมาะสม ใช้ข้อมูลความรู้ได้ถูกต้องเพียงบางอย่าง ใช้ข้อมูลความรู้อย่าง ไม่ถูกต้อง ใช้สิ่งทดแทน ใช้สิ่งทดแทนที่เหนือธรรมดาซึ่งให้คุณค่าทางสุนทรียภาพและความแม่นตรงทางคณิตศาสตร์ ใช้สิ่งทดแทนที่อธิบายโจทย์ปัญหาได้อย่างเข้าใจชัดเจน ใช้สิ่งทดแทนที่ให้ข้อมูลความรู้ที่สำคัญบางอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหา ใช้สิ่งทดแทนซึ่งให้ข้อมูลที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาเพียงเล็กน้อย แสดงความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์ แสดงกฎทั่วไปเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาอื่นได้ แสดงความสามารถที่ถูกต้องสมบูรณ์ในการใช้วิธีการคณิตศาสตร์ แสดงความสามารถบางอย่างในการใช้วิธีการคณิตศาสตร์ แต่กระโดดข้ามขั้นตอนที่สำคัญบางอย่าง หรือหลุดหายไปเลย แสดงว่าใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ไม่เหมาะสม

12 สร้างรูบริกอย่างไร พิจารณาและตัดสินว่าต้องการสอนให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจใน เรื่องใด เลือกและกำหนดเกณฑ์ที่จะใช้ประเมิน จุดใดบ้างที่มีความสำคัญและสมควรต้องประเมิน เขียนคำอธิบายแต่ละเกณฑ์และแต่ละระดับคุณภาพ ใช้ภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจชัดเจนถึงคุณภาพที่ต้องการ สร้างตาราง แล้วเขียนแนวคิดและเกณฑ์ลงในตาราง ให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูบริก ตั้งแต่เริ่มมอบหมาย ภาระงานให้นักเรียนทำ วัดผลผลงานของนักเรียนด้วยรูบริก

13 ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินเนื้อหาสาระ
เนื้อหาและรูปลักษณ์ การประเมินเนื้อหา ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินเนื้อหาสาระ สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ การประเมินรูปลักษณ์ ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินการออกแบบชิ้นงาน และการจัดวางเนื้อหาและภาพประกอบซึ่งแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ควรให้น้ำหนักที่เนื้อหามากกว่ารูปลักษณ์

14 เกณฑ์รูบริกสำหรับรายงานบทคัดย่อของหนังสือ (นวนิยาย)
ใช้กับบทคัดย่อของงานนำเสนอด้วยมัลติมีเดีย คะแนน 1 2 3 4 รวม ชื่อเรื่องหรือฉาก ไม่มีชื่อหน้า มีชื่อหน้า แต่ ขาดข้อมูลที่ ต้องการ มีชื่อหน้า แต่ ข้อมูลขาดความ สมบูรณ์ มีชื่อหน้าและ ระบุชื่อผู้แต่ง, ชื่อนักเรียนและ กราฟฟิกที่ เหมาะสม ตัวละครหลัก ไม่มีรายละเอียด ของตัวละคร หลัก รายละเอียดของ ตัวละครไม่ สมบูรณ์หรือไม่ ถูกต้อง รายละเอียด เพียงพอและร่าง ตัวละครหลัก รวมทั้ง เปรียบเทียบ ลักษณะบาง ประการระหว่าง ตัวละคร รายละเอียดของ ตัวละครสมบูรณ์ รวมทั้ง เปรียบเทียบตัว ละครอย่าง ครบถ้วน ฉาก ไม่มีรายละเอียด เกี่ยวกับฉาก รายละเอียด เกี่ยวกับฉากไม่ สมบูรณ์หรือไม่ ถูกต้อง รายละเอียดของ ฉากเพียงพอ รวมทั้ง องค์ประกอบ ทางสายตาบาง ประการ รายละเอียดของ ฉากสมบูรณ์ รวมทั้งภาพวาด, ข้อมูลพื้นหลัง ครบถ้วน ชื่อเรื่องควรมีน้ำหนักเท่ากับตัวละครหลักหรือฉากใช่หรือไม่

15 เกณฑ์รูบริกสำหรับรายงานบทคัดย่อของหนังสือ (นวนิยาย)
ใช้กับบทคัดย่อของงานนำเสนอด้วยมัลติมีเดีย คะแนน 1 2 3 4 น้ำหนัก รวม ชื่อเรื่องหรือ ฉาก ไม่มีชื่อหน้า มีชื่อหน้า แต่ ขาดข้อมูลที่ ต้องการ มีชื่อหน้า แต่ ข้อมูลขาดความ สมบูรณ์ มีชื่อหน้าและ ระบุชื่อผู้แต่ง, ชื่อนักเรียนและ กราฟฟิกที่ เหมาะสม X1 ตัวละครหลัก ไม่มี รายละเอียด ของตัวละคร หลัก รายละเอียด ของตัวละครไม่ สมบูรณ์หรือไม่ ถูกต้อง รายละเอียด เพียงพอและ ร่างตัวละคร หลักรวมทั้ง เปรียบเทียบ ลักษณะบาง ประการระหว่าง ตัวละคร รายละเอียด ของตัวละคร สมบูรณ์รวมทั้ง เปรียบเทียบตัว ละครอย่าง ครบถ้วน X5 ฉาก ไม่มี รายละเอียด เกี่ยวกับฉาก รายละเอียด เกี่ยวกับฉากไม่ สมบูรณ์หรือไม่ ถูกต้อง รายละเอียด ของฉาก เพียงพอรวมทั้ง องค์ประกอบ ทางสายตาบาง ประการ รายละเอียด ของฉาก สมบูรณ์รวมทั้ง ภาพวาด, ข้อมูลพื้นหลัง ครบถ้วน X4 แต่ละเกณฑ์มีน้ำหนักคะแนนเป็นของตนเอง แสดงให้เห็นว่าอะไรทีสำคัญสำหรับนักเรียน

16 ตัวอย่างเกณฑ์รูบริก-งานเขียนวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์
คะแนนที่ เป็นไปได้ ตัวเอง เพื่อน ครู 1. บทความของงานเขียนนี้ระบุคำถามที่สำคัญและจุดยืน ของผู้เขียน 10 2. มีการอภิปรายถึงเอกสารที่เกี่ยวกับงานเขียนอย่างน้อย 3 ชิ้น 8 3. เอกสารต่าง ๆ อ้างอิงอย่างถูกต้อง 2 4. มีการสรุปประเด็นสำคัญของงานเขียนแต่ละชิ้น 5. มีการพูดถึงจุดยืนของนักเขียนแต่ละคน 6. มีการอภิปรายเกี่ยวกับหลักฐาน (ถ้ามี) ที่สนับสนุนจุดยืน ของผู้เขียน 7. มีการพูดถึงคำถามปลายเปิดสำหรับงานวิจัยหรือ การศึกษาในอนาคต 8. แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจหัวข้อของเนื้อหาทาง วิทยาศาสตร์ 20 9. การเขียนชัดเจน 10. ไวยากรณ์. เครืองหมายวรรคตอนและการสะกดถูกต้อง Where are the qualifiers? What constitutes a 10?

17 อธิบายสิ่งที่ต้องการจะวัดผลด้วยถ้อยคำที่กระจ่างชัดและปฏิบัติได้
หากครูกำหนดตัวชี้คุณภาพได้ชัดเจนและเจาะจงมาก เพียงใด นักเรียนจะสามารถพิจารณาและกำหนดคุณภาพ งานของตนได้ง่ายเพียงนั้น ถ้าฉันบอกสามีว่าฉันต้องการน้ำหอมเป็นของขวัญวันเกิด ฉันควรจะได้น้ำหอมตามที่ต้องการ ถ้าฉันบอกสามีว่าต้องการน้ำหอมยี่ห้อแชนแนล ฉันควร จะได้สิ่งที่เจาะจงมากขึ้น ถ้าฉันให้สามีดูตัวอย่างขวดและชื่อน้ำหอม ฉันยิ่งจะได้ สิ่งที่ต้องการอย่างถูกต้อง

18 แม่แบบสำหรับรูบริก เกณฑ์ ดีเยี่ยม 4 ดี 3 พอใช้ 2 ควรปรับปรุง 1
คำอธิบายลักษณะผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งปรากฏชัดเจนว่าผลงานนั้นมีคุณภาพยอดเยี่ยมและ ดีที่สุด คำอธิบายลักษณะผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งปรากฏชัดเจนว่าผลงานนั้น ดีมาก คำอธิบายลักษณะผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งปรากฏชัดเจนว่าผลงาน นั้นมีคุณภาพดี คำอธิบายลักษณะผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งปรากฏชัดเจนว่าผลงานนั้นควรได้รับการปรับปรุง

19 ตัวอย่างดัชนีชี้วัดคุณภาพ
สมมติฐาน 0-5 6 7 8 9-10 สมมติฐานไม่ เป็นที่ยอมรับ ไม่มี ส่วนประกอบทั้ง สองส่วนรวมอยู่ ด้วย มีการกล่าวถึง สมมติฐานใน ระดับที่น่าพอใจ ๑ ใน ๒ ส่วน ของส่วนประกอบ ขาดหายไป มีการกล่าวถึง สมมติฐานใน ระดับที่แสดงว่ามี ความเข้าใจที่ สำคัญตาม สมมติฐานนั้น มีการกล่าวถึง สมมติฐานใน ระดับที่มากพอ พร้อมข้อมูล มากกว่าที่ต้องการ มีการกล่าวถึง สมมติฐานใน ระดับที่ดีมาก พร้อมหลักฐาน ทางการวิจัย ประกอบ

20 ตัดสินคุ๊กกี้ชอกโกแล็ตชิพที่ดีที่สุดในโลก
ปรึกษากันในกลุ่มว่าคุ๊กกี้ที่ดีที่สุดควรเป็นอย่างไร และมีรสชาดอย่างไร ทำรายการ ส่วนประกอบที่สำคัญ แลกเปลี่ยนกับกลุ่ม เลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมิน ตัวอย่างเช่น รสชาด กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะที่จะใช้กับแต่ละระดับคะแนน ระบุในเกณฑ์ประเมินและคุณลักษณะ น้ำหนักคะแนน ถ้าคุณคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ประเมินคุ๊กกี้ตามแบบประเมินรูบริก

21 คุ๊กกี้ชอคโกแลตชิพที่ดีที่สุดในโลก
เกณฑ์ประเมิน 4 3 2 1

22 ประเมินคุ๊กกี้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบประเมินรูบริก
ประเมินคุ๊กกี้ตามแบบประเมินที่สร้างขึ้น แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนแบบประเมินรูบริก และคุณให้คะแนนคุ๊กกี้แต่ละ ชนิดอย่างไร

23 มีเนื้อชอกโกแล็ ตทุกคำที่กัด
4 3 2 1 จำนวนเนื้อชอกโก แล็ต มีเนื้อชอกโกแล็ ตทุกคำที่กัด มีเนื้อชอกโกแล็ตป ระมาณ 75% ของ ทุกคำที่กัด มีเนื้อชอกโกแล็ต 50% ของทุกคำที่กัด มีเนื้อชอกโกแล็ ตมากหรือน้อย เกินไป เนื้อของคุ๊กกี้ น่าขบเคี้ยว ตรงกลางชิ้นคุ๊กกี้ รสชาดน่าขบเคี้ยว แต่กรอบบริเวณ ขอบ เนื้อของคุ๊กกี้สุกมาก หรือน้อยเกินไป เนื้อคุ๊กกี้เหมือน อาหารของสุนัข สี น้ำตาลทอง สีอ่อนเพราะใช้เวลา อบ สีเข้มเกินไปหรือ อ่อนเกินไป ไหม้ รสชาด รสชาดเหมือนคุ๊กกี้ ที่ทำจากบ้าน รสชาดเหมือนคุ๊กกี้ ที่ซื้อมา ไม่มีรสชาด แข็ง, ชืด เหมือน ชอล์ก ความเข้มข้น เข้มข้น อุดมด้วย ความมัน มีความมันปานกลาง ส่วนผสมไขมันต่ำ ส่วนผสมปราศจาก ไขมัน C C H O O O C K O I L E A T R E U B C R H I I C P

24 แต่งเติมหน่วยการเรียนรู้
ภาระงานของคุณ แต่งเติมหน่วยการเรียนรู้ จัดทำรูบริกให้สอดคล้องกับตัวอย่างงานของนักเรียน ให้กลุ่มอื่นร่วมแสดงความคิดเห็นต่อรูบริกของคุณเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ให้ข้อคิดเห็นย้อนกลับต่อกลุ่ม แก้ไขปรับปรุงตามที่เห็นสมควร


ดาวน์โหลด ppt เครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google