งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(FUNGUS-FARMING INSECTS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(FUNGUS-FARMING INSECTS)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (FUNGUS-FARMING INSECTS)
แมลงทำฟาร์มเห็ดรา (FUNGUS-FARMING INSECTS)

2 แมลงทำฟาร์มเลี้ยงเห็ดรา (Fungus-Farming Insects)
แมลงทำฟาร์มเลี้ยงเห็ดรา คือ แมลงที่มีความ สามารถในการเพาะเลี้ยงเห็ดราไว้ภายในรังเพื่อเป็นอาหาร แมลงในกลุ่มนี้ประกอบด้วย ปลวก (Termites) มด (Ants) ด้วงปีกแข็ง (Beetles)

3 Termite Fungiculture: ปลวกเพาะเลี้ยงเห็ดรา
ลักษณะโดยทั่วไปของปลวกเพาะเลี้ยงเห็ดรา ปลวกเป็นแมลงสังคม (social insects) แบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆดังนี้ ปลวกราชินี (queen) ปลวกราชา (king) ปลวกทหาร (soldier) ปลวกงาน (worker)

4 ความสัมพันธ์ระหว่างปลวกและเห็ดรา
Mueller et al. (2002) รายงานว่า ปลวกอยู่ร่วมกับเห็ดราโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (symbiosis) ปลวกมีการเพาะเลี้ยงเห็ดรามาเป็นเวลากว่า 24-34 ล้านปีมาแล้ว มีปลวกประมาณ 330 ชนิด ที่เพาะเลี้ยงเห็ดราไว้เป็นอาหาร จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Macrotermitinae ปลวกเพาะเลี้ยงราในสกุล Termitomyces

5 วิธีการเลี้ยงเห็ดราของปลวก
ปลวกสร้างรวงรัง(comb)ขึ้นภายในจอมปลวก ฆ่าเชื้อเศษไม้ (substrate) โดยผ่านเข้าไปในลำไส้ของปลวก นำสปอร์ของเชื้อราที่อยู่ใน fecal pellets ใส่เข้าไปในรวงรังที่มี substrate อยู่

6 วิธีการเลี้ยงเห็ดราของปลวก (ต่อ)
เส้นใยของเชื้อราเจริญไปบนอาหารอย่างรวดเร็ว 2-3 สัปดาห์ เชื้อราเริ่มสร้าง vegetative nodules ปลวกนำ vegetative nodules ไปเป็นอาหาร

7 รูปที่ 1 แสดงสวนเห็ดราของปลวก
สวนเห็ดราของปลวกMacrotermes bellicosus รูปที่ 1 แสดงสวนเห็ดราของปลวก ที่มา: Duur K. Aanen. (2007) รูปที่ 2 แสดงสวนเห็ดราของปลวก ที่มา: Mueller et al. (2005)

8 เห็ดในสกุล Termitomyces
รูปที่3 แสดงเห็ดโคนที่เจริญออกมาจากรังปลวก ที่มา: nedoko.sakura.ne.jp/.../cylindricus.htm (2005)

9 ประโยชน์ที่ปลวกและเห็ดราได้รับ
ปลวกใช้เห็ดราที่เลี้ยงไว้เป็นอาหาร เห็ดราได้รับการดูแล ปกป้องให้ปลอดภัยจากการ เข้าทำลายของไร ไส้เดือนฝอย และเชื้อราชนิดอื่นๆ ปลวกช่วยในการแพร่กระจายและการสืบพันธุ์ ของเชื้อรา

10 Ant Fungiculture: มดเพาะเลี้ยงเห็ดรา
ลักษณะโดยทั่วไปของมดเพาะเลี้ยงเห็ดรา เป็นแมลงสังคม อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) แบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆดังนี้ มดราชินี (queen) มดราชา (king) มดทหาร (intermediate caste) มดงาน (worker)

11 ความสัมพันธ์ระหว่างมดและเห็ดรา
Kumar et al. (2006) รายงานว่า มดมีการเพาะเลี้ยงเห็ดรา มาเป็นเวลากว่า ล้านปีมาแล้ว มีมดประมาณ 220 ชนิด ที่เพาะเลี้ยงเห็ดราไว้เป็นอาหาร จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Myrmicinae เป็นมดในกลุ่ม attini มดเพาะเลี้ยงราในวงศ์ Lepiotaceae และPterulaceae

12 วิธีการเลี้ยงเห็ดราของมด
มดงานสร้างห้อง(chamber)สำหรับเพาะเลี้ยงเห็ด ฆ่าเชื้อเศษใบไม้ หรือใบไม้สดโดยการทำความสะอาดบริเวณผิวหน้า มดราชินีใช้เชื้อราที่นำมาจากรังเก่า เพาะลงไปบนอาหาร

13 วิธีการเลี้ยงเห็ดราของมด (ต่อ)
เส้นใยของเชื้อราเจริญ และสร้างสารอาหารที่มีคุณค่า เรียกว่า gonglidia มดนำเส้นใยไปเป็นอาหาร

14 สวนเห็ดราของมด รูปที่ 5 แสดงสวนเห็ดราของมด รูปที่ 4 แสดงสวนเห็ดราของมด
Mycetosoritis hartmanni ที่มา: Alex Wild (2004) รูปที่ 4 แสดงสวนเห็ดราของมด Acromyrmex versicolor ที่มา: Alex Wild (2004)

15 ลักษณะของเห็ดในวงศ์Lepiotaceae และPterulaceae
รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างเห็ด Lepiota clypeolaria ที่มา: www1.appstate.edu (2000) รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างเห็ด Pterula verticillata ที่มา: (2006)

16 ประโยชน์ที่มดและเห็ดราได้รับ
มดใช้เห็ดราเป็นแหล่งอาหารของ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เห็ดราจะได้รับการปกป้องดูแลให้ปลอดภัยจาก การเข้าทำลายของสัตว์ และเชื้อราชนิดอื่น มดช่วยในการแพร่กระจายและการสืบพันธุ์ ของเชื้อรา

17 Beetle Fungiculture: ด้วงเพาะเลี้ยงเห็ดรา
ลักษณะโดยทั่วไปของด้วงเพาะเลี้ยงเห็ดรา Horton และ Ellis (1997)รายงานว่า ด้วงเพาะเลี้ยงเห็ดรา เป็นด้วงปีกแข็งที่อาศัยอยู่ในเนื้อไม้ เรียกด้วงในกลุ่มนี้ว่า “ambrosia beetle” ด้วงเพศเมียจะมีบทบาทหน้าที่มากกว่าด้วงเพศผู้

18 ความสัมพันธ์ระหว่างด้วงและเห็ดรา
Mueller et al. (2005) ด้วงมีการเพาะเลี้ยงเห็ดรา มาเป็นเวลากว่า ล้านปีมาแล้ว มีด้วงที่เพาะเลี้ยงเห็ดราไว้เป็นอาหารประมาณ 3400ชนิด จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Scolytinae และ Platypodinae ด้วงเพาะเลี้ยงราในสกุล Ophiostoma และ Ceratocystis

19 วิธีการเลี้ยงเห็ดราของด้วง
ด้วงเพศเมียขุดเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ เพื่อสร้างที่อยู่และห้อง (gallery) เลี้ยงเห็ดรา เพาะปลูกเชื้อราลงบนผนัง gallery เส้นใยของเชื้อราเจริญบนเนื้อเยื่อของต้นไม้ ด้วงนำเส้นใยของเห็ดรามาเป็นอาหาร

20 ลักษณะgalleryของambrosia beetle
รูปที่ 8 แสดงด้วงเพศเมียอยู่ภายใน เนื้อไม้ ที่มา: (1999) รูปที่ 9 แสดงไข่และตัวอ่อนของด้วงกับ เส้นใยของเชื้อรา ที่มา: (2008)

21 ลักษณะของเชื้อราในสกุล Ophiostoma และ Ceratocystis
รูปที่ 10 Ophiostoma spp ที่มา: (1999) รูปที่ 11 Ceratocystis spp. ที่มา: (2006)

22 ประโยชน์ที่ด้วงและเห็ดราได้รับ
ด้วงใช้เห็ดราเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ของตัวอ่อน และตัวเต็มวัย เห็ดราจะได้รับการปกป้องดูแลให้ปลอดภัยจาก การเข้าทำลายของเชื้อชนิดอื่น ด้วงช่วยในการแพร่กระจายและการสืบพันธุ์ ของเชื้อรา

23 พฤติกรรมในการทำเกษตรกรรม
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบพฤติกรรมในการทำการเกษตรของมด ปลวก ด้วง และมนุษย์ พฤติกรรมในการทำเกษตรกรรม การเปรียบเทียบ มดทำฟาร์มเห็ดรา ปลวกทำฟาร์มเห็ดรา ด้วงทำฟาร์มเห็ดรา มนุษย์ทำการเกษตร 1.ลักษณะการพึ่งพาพืชปลูก obligate facultative 2.การจัดการสภาพสวนให้เหมาะกับพืชปลูก(เช่น การเตรียมอาหาร การควบคุมความชื้น) มี 3.การปรับปรุงพื้นที่ปลูก 4.ติดตามการเติบโตของพืชและการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง ไม่มี 5.ปกป้องพืชปลูกจากโรคและสัตว์อื่น 6.การกำจัดวัชพืช ไม่มีข้อมูล 7.การใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืช 8.การใช้disease-suppressant microbesในการควบคุมศัตรูพืช 9.การคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์พืช ที่มา: Mueller et al. (2005)

24 สรุป แมลงทั้ง 3 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์ในการทำฟาร์มเลี้ยงเห็ดราเหมือนกัน คือ เพาะเลี้ยงเชื้อราไว้เป็นอาหารของสมาชิกภายในรัง เห็ดราได้รับการเลี้ยงดู ตลอดจนปกป้อง ดูแลจากแมลง การอยู่ร่วมกันระหว่างแมลงและรา เป็นระบบนิเวศหนึ่งที่สำคัญของโลก จึงควรให้ความสำคัญและมีการศึกษาต่อไป

25 จัดทำโดย นางสาวพูนสุข จันทรภักดี รหัสนักศึกษา 4740164 อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.วสันณ์ เพชรรัตน์
ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โทร


ดาวน์โหลด ppt (FUNGUS-FARMING INSECTS)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google