ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDuangrat Boonmee ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
การพัฒนาการให้บริการของภาครัฐด้วย E-Government ของเมืองย๊อกยากาต้าร์ ประเทศอินโดนิเซีย
ตัวอย่างที่ดีของโครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล ในการจัดการเมืองสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Partnership for Democratic Local Governance in Southeast-Asia) DELGOSEA สนับสนุนโดย สหภาพยุโรป (European Union) ดำเนินการโดย Konrad Adenauer Stiftung (KAS) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)
2
วิสัยทัศน์เมืองย๊อกยากาต้าร์
ย๊อกยากาต้าร์เป็นเมืองแห่งการศึกษาที่มีคุณภาพ, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, มีการพัฒนาเมืองและการให้บริการประชาชนที่เป็นเลิศ, ส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม และส่งเสริมภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วม
3
พันธกิจเมืองย๊อกยากาต้าร์
ส่งเสริมสถาบันการศึกษาในด้านทรัพยากรทางการศึกษาและการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยหลักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและหลักการแข่งขันเข้ามาปรับใช้การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มุ่งส่งเสริมและตระหนักในศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาให้เมืองเป็นศูนย์กลางชั้นนำของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
4
พันธกิจเมืองย๊อกยากาต้าร์
3. ส่งเสริมและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความเป็นเลิศในการให้บริการในพื้นที่พิเศษเมือง ย๊อกยากาต้าร์โดยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคม 4. ส่งเสริมและสร้างสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 5. ส่งเสริมและสร้างสังคมประชาธิปไตยโดยการเริ่มจากทัศนคติประชาชนอินโดนีเซียที่ สมานฉันท์และความยุติธรรมทางสังคมด้วยจิตวิญญาณของความสามัคคี
5
สภาพทั่วไปของเมืองย๊อกยากาต้าร์
6
ปัจจัยทีส่งผลให้เกิดการดำเนินโครงการ
1. เมืองย๊อกยากาต้าร์เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการศึกษา ทำให้เกิดแรงผลักดันให้ยกระดับการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการศึกษาของเมืองดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7
ปัจจัยทีส่งผลให้เกิดการดำเนินโครงการ
2. เมืองย๊อกยากาต้าร์เป็นเมืองที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มากนัก ทำให้ต้องมุ่งส่งเสริมการให้บริการที่ดีเข้ามาทดแทน มิเช่นนั้นการลงทุนหรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะหดตัวทำให้เศรษฐกิจของเมืองซบเซาได้
8
ปัจจัยทีส่งผลให้เกิดการดำเนินโครงการ
3. นายกเทศมนตรีของเมืองย๊อกยากาต้าร์เป็นผู้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน โดยได้รับการเลือกตั้งเข้ามารับตำแหน่งถึง 2 สมัย ซึ่งเป็นผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จเพราะ ระบบ E – Government เป็นโครงการที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการมาก
9
วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบและการดำเนินการ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ Best Practices :
ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารงานภาครัฐที่มีความโปร่งใส การเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุกกิจกรรมการพัฒนาของภาครัฐทั้งในขั้นตอนการวางแผน, ขั้นตอน การดำเนินงาน และขั้นตอนการประเมินผล การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาลในการดำเนินสาธารณะและการให้บริการประชาชน
10
วิธีการดำเนินโครงการ
นโยบาย และกรอบกฎหมาย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
11
ภาคประชาชน ( นักเรียน/ ชุมชน)
12
ขั้นตอนการดำเนินการ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นธำรงรักษา ขั้นต่อยอดการใช้ประโยชน์
13
ผลที่ได้รับจากการดำเนินการจัดทำระบบ E – Government ของเมืองJogyakarta
เกิดกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านระบบการศึกษาออนไลน์อย่างกว้างขวาง เกิดความโปร่งใสในการออกใบอนุญาตและการจัดทำงบประมาณ ของหน่วยงานต่าง ๆ อันเนื่องมาจากประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลการดำเนินงานต่างๆ ของภาครัฐผ่านระบบ E – Government ได้
14
ผลที่ได้รับจากการดำเนินการจัดทำระบบ E – Government ของเมืองJogyakarta
มีการการค้าการลงทุนภายในเมืองเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากความสะดวกรวดเร็วและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ส่งผลให้เศรษฐกิจของเมืองดีขึ้น เกิดความโปร่งใสในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของเมือง ย๊อกยากาต้าร์
15
ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
ผู้นำองค์กร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของประชาชน ผู้มีส่วนร่วมและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การเสริมสร้างศักยภาพ
16
ข้อสังเกตบางประการ E-Government
การเตรียมผู้ให้บริการ การเตรียมผู้รับบริการ วัฒนธรรมองค์การ และวัฒนธรรมท้องถิ่น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.