ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSophie Hampton ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น(Vicarious Liability)
บทที่ 3 ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น(Vicarious Liability)
2
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น (Vicarious Liability)
มีหลักการให้นายจ้างหรือผู้ปกครองดูแลของผู้ไร้ความสามารถซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายไปก่อนทั้งที่ตนเองมิได้เป็นผู้ก่อความเสียหายแต่อย่างใดหรือที่เรียกว่า ความรับผิดโดยไม่มีความผิด(Liability without Fault หรือ Strict Liability) และเมื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้วก็ย่อมที่จะไล่เบี้ยเอาจากบุคคลที่ก่อความเสียหายนั้นในภายหลังได้
3
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
ม.425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น องค์ประกอบ ม.425 1. การกระทำของลูกจ้างเป็นละเมิด 2. ลูกจ้างกระทำละเมิดในขณะที่เป็นลูกจ้าง 3. ลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง
4
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
1. การกระทำของลูกจ้างเป็นละเมิด การที่จะต้องรับผิดตามมาตรา 425 จะต้องมีการกระทำละเมิดครบองค์ประกอบตามมาตรา 420 มาก่อนนายจ้างจึงจะต้องร่วมรับผิด
5
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
2. ลูกจ้างกระทำละเมิดในขณะที่เป็นลูกจ้าง คำว่า “ลูกจ้าง” พิจารณาตามสัญญาจ้างแรงงาน ม.๕๗๕ ต้องมิใช่จ้างทำของ ตาม ม.๕๘๗ เพราะ ม.๔๒๘ ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อขึ้น
6
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
สัญญาจ้างแรงงาน ตาม มาตรา575 เป็นสัญญา ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "นายจ้าง" และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ลูกจ้าง" ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างภายใต้การบังคับบัญชาของนายจ้าง และนายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นสัญญาต่างตอบแทน
7
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
ลักษณะของสัญญาจ้างทำของ ตาม มาตรา587 เป็นสัญญาที่ ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "ผู้รับจ้าง" ตกลงจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ว่าจ้าง" และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน
8
ความแตกต่างระหว่าง สัญญาญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของ
1.วัตถุประสงค์ของการทำงาน สัญญาญาจ้างแรงงาน มุ่งที่แรงงานโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลสำเร็จของงาน แต่สัญญาจ้างทำของ มุ่งผลสำเร็จของงาน
9
แต่สัญญาจ้างทำของ จะคำนวณสินจ้างตามผลสำเร็จของงาน
2.วิธีคำนวณสินจ้าง สัญญาญาจ้างแรงงาน จะคำนวณสินจ้างตามระยะเวลา เช่น รายชั่วโมง รายเดือน รายวัน หรือรายชิ้นงาน แต่สัญญาจ้างทำของ จะคำนวณสินจ้างตามผลสำเร็จของงาน
10
3.คุณสมบัติของผู้ทำการงาน
สัญญาจ้างแรงงาน คำนึงถึงคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นสำคัญ ลูกจ้างหรือนายจ้างจะโอนสิทธิ-หน้าที่ของตนไปให้บุคคลภายนอกโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอมไม่ได้ (มาตรา577 วรรค1และ2) แต่สัญญาจ้างทำของ มุ่งถึงผลสำเร็จของงานโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นสำคัญ ยกเว้นการจ้างทำของนั้นมีสาระสำคัญอยู่ที่ความรู้ความสามารถของผู้รับจ้าง (มาตรา607) เช่น ทำสัญญาจ้างนักแสดงหนัง หรือจ้างศิลปินที่มีชื่อเสียงวาดภาพให้
11
4.อำนาจบังคับบัญชา สัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาให้ลูกจ้างทำการงานตามสั่ง แต่สัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจบังคับบัญชาผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้สำเร็จไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ได้
12
5.เครื่องมือและสัมภาระ
สัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างไม่ต้องหาเครื่องมือหรือเครื่องใช้สัมภาระ เป็นหน้าที่ของนายจ้าง แต่สัญญาจ้างทำของ เป็นของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา (มาตรา588)
13
6.ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำในทางการที่จ้าง
สัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น (มาตรา425) แต่สัญญาจ้างทำของ ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนได้ให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง (มาตรา428)
14
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
ระหว่างทดลองงานต้องถือว่าเป็นลูกจ้าง เว้นแต่ให้ทดลองทำก่อนการจ้างงาน กรณีนายจ้างเข้าร่วมกิจการกับผู้อื่น ก็ต้องถือว่าผู้อื่นเป็นนายจ้างด้วย เช่น การเอารถขนส่งเข้าร่วมรับขนคนโดยสารถือว่าเจ้าของสัมปทานเป็นนายจ้างด้วย (ฎีกาที่ 1848/2524)
15
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
กรณีที่ลูกจ้างให้คนอื่นทำงานแทนลูกจ้างไม่ว่านายจ้างจะยินยอมหรือไม่ หากมีการละเมิด นายจ้างต้องรับผิด (ฎีกาที่ 472/2524) แต่ถ้าการกระทำละเมิดในขณะที่ไม่ได้เป็นลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด เช่น ฎีกาที่ 533/2499 เจ้าของเรือให้บุคคลอื่นเช่าเรือไปพร้อมลูกเรือและลูกเรือก็รับค่าจ้างจากผู้เช่า ถือเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานให้บุคคลภายนอกโดยลูกจ้างยินยอม ตาม มาตรา 577 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลง(แม้เพียงชั่วคราว)เจ้าของเรือไม่ต้องรับผิด
16
3. ลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทฤษฎีทางการที่จ้าง(Scope of Employment Theory)
โดยฐานความคิดของนักกฎหมายก่อนศตวรรษที่ 16 มีสุภาษิตกฎหมายโรมันว่า RESPONDENT SUPERIOR หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Let the Master Answer คือให้ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าหรือเจ้านายเป็นผู้จ่าย ดังนั้น เมื่อลูกจ้างไปทำละเมิด นายจ้างก็ต้องรับผิดเสมอ แต่ปัญหาคือ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากนายจ้างจะจ้างงานที่จำกัดเฉพาะลูกจ้างที่ตนไว้วางใจเท่านั้น
17
ทฤษฎีคำสั่ง(Command Theory )
แต่ในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นว่านายจ้างมักจะอ้างอยู่เสมอว่าลูกจ้างทำนอกเหนือคำสั่งหรือนอกเวลางาน เป็นเหตุให้ผู้เสียหายในสังคมไม่ได้รับการชดเชยในความเป็นจริง สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมตามมา
18
ทฤษฎีทางการที่จ้าง(Scope of Employment Theory)
เป็นทฤษฎีที่ให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในสังคมในความเป็นจริงมากขึ้น
19
แนวคำพิพากษาฎีกาทางการที่จ้าง
หลัก พิจารณาโดยดูว่าในขอบเขตของงานที่ลูกจ้างได้รับมอบหมาย นั้นลูกจ้างกระทำลงไปเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหรือไม่ แม้จะนอกเหนือคำสั่งของนายจ้างหรือแม้จะนอกเหนือเวลาทำงาน หรือแม้จะมีประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างมาผสมแต่จุดมุ่งหมายปลายทางก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้างก็ยังถือเป็นทางการที่จ้าง
20
แนวคำพิพากษาฎีกาทางการที่จ้าง
ถ้าอยู่ในขอบเขตของงานที่ลูกจ้างได้รับมอบหมายแต่อาจเป็นความประพฤติของลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบกฎเกณฑ์ก็ยังถือเป็นทางการที่จ้าง เช่น ลูกจ้างยามรักษาความปลอดภัยดูแลทรัพย์สิน ขับรถของผู้เสียหายไปทำธุรกิจส่วนตัวแล้วเสียหาย บริษัทรักษาความปลอดภัยที่เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิด( ฎีกาที่ 5052/2542)
21
แนวคำพิพากษาฎีกาทางการที่จ้าง
แม้จะมีประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างมาผสมแต่จุดมุ่งหมายปลายทางก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้างก็ยังถือเป็นทางการที่จ้าง เช่น นายจ้างใช้ให้ลูกจ้างขับรถคันที่เกิดเหตุไปบรรทุกหินซึ่งเป็นกิจการในทางการที่จ้าง ระหว่างทางลูกจ้างรับจ้างบุคคลอื่นนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ขออนุญาตก่อน แต่ก็เป็นระหว่างที่ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างอยู่ นายจ้างต้องร่วมรับผิด(ฎีกาที่ 275/2532)
22
แนวคำพิพากษาฎีกาทางการที่จ้าง
แม้จะไม่ใช่งานในหน้าที่ของลูกจ้างโดยตรง เช่น ไม่ใช่พนักงานขับรถ แต่เมื่อลูกจ้างได้รับมอบหมาย หรือนอกเหนือคำสั่งของนายจ้างหรือผิดระเบียบของบริษัทของนายจ้างก็ตาม ก็ยันกับบุคคลภายนอกที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้(กมต้องการคุ้มครองผู้เสียหายในสังคมซึ่งไม่รู้ถึงความบกพร่องในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแต่อย่างใด (ฎีกาที่ 4270/2528)
23
แนวคำพิพากษาฎีกาทางการที่จ้าง
แม้จะนอกเหนือเวลางาน เช่น นายจ้างใช้ให้ขับรถจักรยานไปเก็บที่บ้านลูกจ้างเพื่อจะได้นำรถคันดังกล่าวมาทำงานที่เป็นประโยชน์ของนายจ้างในวันรุ่งขึ้น แต่ลูกจ้างแวะกินเหล้าแล้วชนผู้เสียหาย ถือเป็นทางการที่จ้างอยู่( ฎีกาที่ 292/2529)
24
แนวฎีกาเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างโดยแท้
ขณะนำส่งมะพร้าวให้แก่ผู้ซื้อ เกิดโต้เถียงกันจึงถูกลูกจ้างชกผู้ซื้อ ถือเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ ไม่ถือเป็นทางการที่จ้าง( ฎีกาที่ 1484/2499) คนขับรถและพนักงานเก็บค่าโดยสารรุมทำร้ายผู้เสียหายที่ต่อว่าว่าเลี้ยวรถเร็วทำให้คนโดยสารตกจากที่นั่ง ถือเป็นเรื่องส่วนตัวโดยแท้ ไม่ถือเป็นทางการที่จ้าง( ฎีกาที่ 1942/2520)
25
แนวฎีกาเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของลูกจ้างโดยแท้
ลูกจ้างขับรถชนผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ถือเป็นทางการที่จ้าง แต่ต่อมานำร่างผู้เสียหายไปหมกทิ้งน้ำเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องการปกปิดความผิดขาดตอนจากทางการที่จ้างไปแล้ว นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดละเมิดเป็นเหตุให้ตาย(ฎีกาที่2060/2524)
26
3.1 ความรับผิดของนายจ้าง
นายจ้างจะรับผิดเฉพาะมูลหนี้ละเมิดที่ลูกจ้างต้องรับผิดเท่านั้น ดังนั้น ถ้าศาลพิพากษาให้ลูกจ้างรับผิดเท่าใด นายจ้างก็จะรับผิดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าหนี้ละเมิดระงับ นายจ้างไม่ต้องรับผิด เช่น มีการปลดหนี้ให้ มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่สมบูรณ์และหนี้ละเมิดระงับ
27
การใช้สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
ตามมาตรา 426 “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น” นายจ้างไม่ใช่ผู้ร่วมก่อความเสียหาย กม.จึงไม่ได้บัญญัติให้นายจ้างต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา296 ที่ให้รับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ดังนั้นเมื่อนายจ้างจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปเท่าไหร่ก็ สามรถไล่เบี้ยคืนจากลูกจ้างได้เท่านั้น
28
การใช้สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
ไล่เบี้ยได้เฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ใช้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว รวมถึงดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดจนถึงวันชำระเสร็จ ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายไม่ไช่ค่าสินไหมทดแทนจึงไล่เบี้ยไม่ได้ แต่ถ้าศาลพิพากษาให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดจ่ายค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนาย(ในฐานะลูกหนี้ร่วมกัน) นายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยลูกจ้างได้เพียงครึ่งเดียว
29
การใช้สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างทวงถามแล้วลูกจ้างไม่ยอมชำระถือว่าลูกจ้างผิดนัด นายจ้างเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ ร้อยละ7.5 จนกว่าจะชำระเสร็จ (เป็นการเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เสียหาย)
30
3.2 ความรับผิดของตัวการ มาตรา 427 “บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและ ตัวแทนด้วยโดยอนุโลม” หลักการเช่นเดียวกับกรณีมาตรา 425 กล่าวคือ ตัวการต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดซึ่งตัวแทนได้กระทำไปในทางการที่ทำแทน
31
ตัวแทน คือบุคคลที่มีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ตัวการมอบหมาย
อาจจะโดยตรง โดยปริยาย หรือเป็นตัวแทนเชิด หรือโดยการให้สัตยาบัน มาตรา 821 บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้น จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน มาตรา 822 ถ้าตัวแทนทำการอันใดเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการ ทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนไซร้ ท่านให้ใช้บทบัญญัติมาตราก่อนนี้เป็นบทบังคับ แล้วแต่กรณี
32
ตัวแทน คือบุคคลที่มีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ตัวการมอบหมาย
มาตรา 823 ถ้าตัวแทนกระทำการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดี หรือ ทำนอกทำเหนือขอบอำนาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดย ลำพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือ ทำนอกเหนือขอบอำนาจ
33
แนวคำพิพากษาฎีกา กรณีตัวแทนโดยปริยาย
เดิมศาลเคยมองว่าการใช้หรือวานให้ทำในกิจการของผู้ใช้ไม่ใช่ตัวแทนเพราะต้องมีนิติสัมพันธ์มอบอำนาจใช้ให้ไปทำกิจการกับบุคคลที่สาม แต่ต่อมาศาลเปลี่ยนแนวคำวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทน เช่น ตัวการขับเรือไม่เป็นจึงได้ใช้ให้ตัวแทนขับเรือ โดยตัวการนั่งไปด้วยถือว่าเป็นตัวแทนโดยปริยาย (ฎีกาที่ 2385/2518)
34
แนวคำพิพากษาฎีกา กรณีตัวแทนโดยปริยาย
ตัวการได้ใช้ให้ตัวแทนขับรถยนต์ไปทำธุรกิจ โดยตัวการนั่งไปด้วยถือว่าเป็นตัวแทนโดยปริยาย (ฎีกาที่ 981/2532) กรณีที่บริษัทหรือสหกรณ์รถแท็กซี่ยอมให้ คนขับรถรถแท็กซี่ออกวิ่งรับขนคนโดยสารในนามของบริษัทหรือสหกรณ์รถแท็กซี่ ทำละเมิดถือว่าคนขับรถรถแท็กซี่เป็นตัวแทนโดยปริยาย(ฎีกาที่3983/2533)
35
3.3 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิด ขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่ง ให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
36
3.4 ความรับผิดของบิดามารดาและผู้อนุบาล
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยัง ต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
37
เกณฑ์ความรับผิดของบิดามารดาและผู้อนุบาล
หลัก บิดามารดาหรือผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถได้กระทำลงไป กรณีผู้เยาว์ บุคคลที่ต้องรับผิดเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดูอำนาจปกครองเป็นหลัก แม้บิดามารดาไม่อยู่ ก็ต้องรับผิด รวมถึงบิดามารดาของบุตรบุญธรรมด้วย
38
เกณฑ์ความรับผิดของผู้อนุบาล
กรณีคนไร้ความสามารถ(คนวิกลจริตที่ศาลสั่ง)บุคคลที่ต้องรับผิดเป็นผู้อนุบาล ถ้าเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากเป็นผู้เยาว์ บุคคลที่ต้องรับผิดเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าบรรลุนิติภาวะแล้วต้องพิจารณาว่าเป็นผู้อนุบาลตามข้อเท็จจริงตามมาตรา 29 คือบุคคลซึ่งดูแลคนวิกลจริตนั้น กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถ ไม่เข้ามาตรา429 เพราะไม่ได้วิกลจริต
39
ข้อยกเว้นความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
บิดามารดาหรือผู้อนุบาล มีภาระการพิสูจน์หักล้างว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น ผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ว่าบิดามารดาหรือผู้อนุบาล ไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง
40
ข้อยกเว้นความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
คำว่า ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล หมายถึงสามารถป้องกันไม่ให้เกิด มิฉะนั้นเป็นการไม่ได้ความระมัดระวังตามสมควร เช่น ลูกแอบเอารถไปขับชนคน ถือว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง(ฎีกาที่ 149/2526) ลูกเล่นปืนแค่ว่ากล่าวตักเตือน ไม่ได้เก็บให้ดี ถือว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง(ฎีกาที่ 974/2508)
41
3.5 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างและ ผู้ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่ง เขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
42
หลัก ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
43
ผู้ไร้ความสามารถ หมายถึง(เรื่องเดียวกับมาตรา 429)
ผู้เยาว์หรือ คนไร้ความสามารถที่ศาลจะสั่งหรือไม่ก็ได้ ผู้ต้องรับผิด คือ ผู้ซึ่งเข้ารับหน้าที่ดูแลตามข้อเท็จจริง (ต่างจากมาตรา 429 ที่เป็นหน้าที่ของบิดามารดาตามกฎหมาย) ได้แก่ ครูบาอาจารย์ เช่น ครูผู้ปกครองที่ดูแลเด็กนักเรียนในโรงเรียน แต่ครูสอนพิเศษหรืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่มีหน้าที่ดูแลจึงไม่ต้องรับผิด
44
นายจ้าง ที่ดูแลลูกจ้างที่เป็นผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ เช่น พี่เลี้ยงที่จ้างมาดูแล หรือเพื่อนบ้านที่อาสารับเลี้ยงดู ไม่ว่าจะเป็นประจำหรือชั่วครั้งคราวก็ได้ ข้อสำคัญไม่ใช่ป็นการที่ผู้ดูแลเป็นผู้ละเมิดเองหรือร่วมทำละเมิด เช่น ครูปล่อยให้นักเรียนเล่นฟุตบอลบริเวณใกล้หน้าต่างบ้านของชาวบ้าน แล้วเตะบอลให้ถูกกระจกแตก ครูประมาทเลินเล่อเป็นละเมิดเอง
45
ความแตกต่างมาตรา 429กับ มาตรา 430
ตรงที่ภาระการพิสูจน์คือ มาตรา 429 เป็นหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล ในการพิสูจน์หักล้างโดยพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น แต่มาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหาย ต้องพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.