ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
ค่าสินไหมทดแทน บทบัญญัติพื้นฐานของการกำหนดค่าสินไหมทดแทน คือ มาตรา 438 “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาล วินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงทางละเมิด อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหาย ต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอัน จะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย”
3
องค์ประกอบของ มาตรา 438 มาตรา 438 วรรคแรก การกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด ศาลจะต้องใช้ดุลพินิจในขอบเขตที่ กฎหมายกำหนดไว้ คือ ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น 1) ศาลจะต้องพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งละเมิด และ 2) ความร้ายแรงแห่งละเมิด ข้อสังเกต "ค่าสินไหมทดแทน" มีความหมายที่แตกต่างจากคำว่า "ค่าเสียหาย" เพราะค่าเสียหายเป็นเพียงส่วน หนึ่งของค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น มาตรา 438 วรรคสอง การกำหนดถึงการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มี 3 กรณีคือ 1) การคืนทรัพย์ 2) การใช้ราคาทรัพย์ 3) การใช้ค่าเสียหาย
4
บทบาทของศาลในฐานะผู้กำหนดค่าเสียหายจากมาตรา 438 วรรคแรก
“พฤติการณ์” คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลย เช่น การไตร่ตรองไว้ก่อนลงมือทำละเมิด วางแผน ที่จะฆ่าแล้วเผาทำลายศพ หรือ การประมาทอย่างมาก ขาดความระมัดระวังในการบำรุงรักษารถโดยสายสาร ตามมาตรฐานจนเบรคแตกทำให้ผู้โดยสายตาย แต่มิใช่การพิจารณาองค์ประกอบภายในว่าเป็นการกระทำโดย “จงใจหรือประมาท” แต่พิจารณาลักษณะ ข้อเท็จจริงของการกระทำ ว่าผู้ทำละเมิดมีส่วนในการทำละเมิดมากน้อยแค่ไหนในความเสียหาย “ความร้ายแรงแห่งละเมิด” คือ ระดับของความเสียหาย เช่น ทรมานต่อบุคคลด้วยความทารุณโหดร้าย จนทำ ให้บาดเจ็บสาหัส/ตาย การใช้อาวุธร้ายแรงที่ทำให้ถึงตายและตายเป็นจำนวนมาก จุดไฟด้วยน้ำมันทำให้ ไฟลามทุ่งไปติดบ้านหรือเกิดควันหนาแน่นรมจนคนและสัตว์ตาย ผู้พิพากษาจึงมีอำนาจในการวินิจฉัยว่าจะกำหนดค่าเสียหาย ตั้งแต่ สัดส่วนความรับผิดของแต่ละฝ่าย ไป จนถึงการกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้เหมาะกับปริมาณความสูญเสีย
5
ภาระการพิสูจน์ความเสียหาย
จากมาตรา 438 วรรคแรก โจทก์มีหน้าที่นำสืบเพียงให้ศาลเห็นว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ จำเป็นต้องนำสืบว่าเสียหายมากน้อยเพียงใด ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยและกำหนดค่าเสียหายเอง ระหว่างบรรทัด คือ โจทก์นำเสนอความเสียหายให้ศาลเห็น และขอค่าเสียหายได้ แต่ในท้ายที่สุดศาลจะเป็น ผู้ตัดสินว่า แต่ละฝ่ายควรรับผิดในสัดส่วนเท่าไร และต้องชดใช้สินไหม จ่ายค่าเสียหายมากน้อยเพียงไร คำพิพากษาฎีกาที่ 366/2474 แม้ว่าโจทก์จะนำสืบไม่ได้ว่าความเสียหายมากน้อยเพียงใด ศาลก็มีอำนาจ กำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด อย่างไรก็ดีศาลจะต้องให้ “ไม่เกินคำขอ” ตามฟ้อง ด้วยระบบของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นทนายโจทก์ในทางปฏิบัติต้องนำสืบให้เห็นความเสียหายมากที่สุดก่อน ทนายจำเลยต้องโต้แย้งทั้งในแง่สัดส่วนที่ตนไม่พึงรับผิดตามพฤติการณ์ และความร้ายแรงที่เกินผลโดยตรง
6
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหาย
ค่าเสียหายที่เหมาะสมกับต้นทุนในการบริหารจัดการระบบละเมิด ค่าเสียหายที่เหมาะสมกับโอกาสในการบรรเทาความเสียหายของผู้เสียหาย ค่าเสียหายที่เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายค่าเสียหายของผู้ก่อความเสียหาย ค่าเสียหายที่เหมาะสมในกรณีที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) หรือไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้น (Unforeseeable) ความรับผิดทางละเมิดกับการประกันภัย ค่าเสียหายที่เหมาะสมในกรณีผู้เสียหายมีหลักประกันชดเชยความเสียหาย
7
ที่มาของการแยกแยะ 2 ศัพท์บัญญัตินี้ออกจากกัน ตาม ม.438 วรรคสอง
“ค่าสินไหมทดแทน” นั้นมีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ค่าเสียหาย” อันมีขอบเขตครอบคลุม การคืนทรัพย์หรือใช้ราคา ค่าเสียหาย - ที่คำนวณเป็นตัวเงินได้ - ที่คำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้ เนื่องจากสองนัยยะมีผลในเรื่องอายุความละเมิดที่ต่างกัน ตามมาตรา 448 กล่าวคือ การฟ้องเรียกค่าเสียหายมีอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิด หรือ 10 ปีตั้งแต่ เกิดเหตุละเมิด แต่การฟ้องให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาเป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิตามเอาทรัพย์คืนตลอดเวลาจึง ไม่มีอายุความ
8
ตัวอย่างความต่างระหว่างเรียกคืนทรัพย์กับชดใช้ค่าเสียหาย
ดังนั้นจึงอยู่ที่การวางรูปคดีแล้วเลือกใช้อายุความที่เป็นประโยชน์กับการเรียกร้องสิทธิ เช่น หากมีคนแอบเอารถไปแล้วเผาทิ้งเสียหาย อาจจะฟ้องโดยถือเป็นการเรียกคืนทรัพย์แต่เมื่อคืนทรัพย์ไม่ได้จึงให้ใช้ราคา หรือจะวางรูปคดีเป็นการทำลายทรัพย์จึงต้องใช้ราคาทรัพย์ เนื้อหาในการบรรยายข้อเท็จจริงมีความใกล้เคียงกันมาก แต่เงื่อนไขทางกฎหมายแตกต่างกัน ต้องวิเคราะห์ว่ามีการแย่งการครอบครองหรือมีแต่การทำลายทรัพย์อย่างเดียว แม้จะมีการพาทรัพย์เคลื่อนที่ไปแต่เพื่อเอาไปทำลายเท่านั้นก็จะถือเป็นทำลายทรัพย์ ถ้าเอารถไปใช้แล้ว แต่กลัวความผิดจึงเผาไปทิ้ง ถือเป็นการแย่งการครอบครองไม่ใช่เพื่อทำลายทรัพย์ แต่ถ้าเกลียดชังจึงเอารถไปเผาทิ้ง เป็นการเอาไปเพื่อทำลาย มิใช่ต้องการแย่งการครอบครอง
9
คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับ แย่งการครอบครอง กับ การทำลายทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2472 จำเลยเมาสุราหยิบกล้วยหอม 1 หวี แล้วมาทำลายต่อหน้า เจ้าของ ถือเป็นการทำลายทรัพย์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2512 จำเลยยิงกระบือเพื่อชำแหละเอาเนื้อไป ถือเป็นการเอา ทรัพย์ไป มิใช่ทำลายทรัพย์ เพราะฉะนั้น จึงต้องดู “วัตถุประสงค์” ที่กระทำต่อทรัพย์ว่าทำไปเพื่อการใด ดังนั้นหากทำทีไปเช่ารถยอทช์จัดปาร์ตี้เพื่ออำพรางวัตถุประสงค์ที่แท้จริงซึ่งต้องการขโมย เรือไปขายที่น่านน้ำสากล แต่บังเอิญว่าไปเกิดอุบัติเหตุรถโขดหินเพรียงเสียหายทั้งลำ ถือเป็น การเอาทรัพย์ไป สามารถฟ้องร้องในลักษณะการเรียกคืนทรัพย์ได้โดยไม่มีอายุความ แต่ถ้ามีการเรียกร้องค่าเสียโอกาสในการเอาเรือให้ผู้อื่นเช่า คำขอส่วนนี้เป็นค่าเสียหาย มี อายุความ 3/10 ปี แล้วแต่เงื่อนไข
10
การฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์คืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2548 จำเลยลักลอบขุดหน้าดินในที่ของโจทก์ไปขาย โจทก์สามารถติดตามฟ้อง เรียกเอาดินซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินคืนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2553 จำเลยหลอกให้โจทก์ออกเช็คจ่ายเงินหมุนเวียนของห้างฯจำนวน 154 ฉบับ โจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยคืนเงินของห้างฯ ถือเป็นการติดตามเอาทรัพย์คืน เพราะสั่งจ่ายเงินในนามห้างฯ โดยทั่วไปการที่จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยละเมิด จำเลยต้องคืนทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เสียหาย ถ้าจำเลย คืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาทรัพย์เมื่อมีการคืนทรัพย์ หรือใช้ราคาทรัพย์ไปแล้ว ถ้ายังมีความเสียหายอยู่อีก ก็เรียก ค่าเสียหายได้ตามมาตรา 438 วรรคสองที่ว่า "ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายใดๆ ที่ ก่อให้เกิดขึ้น" การเรียกค่าเสียหายตามมาตรา 438 วรรคสอง จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการคือ 1) ต้องเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิด 2) ต้องเป็นความเสียหายที่ไม่ไกลกว่าเหตุ
11
ค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องได้
นำทฤษฎีผลโดยตรงมาปรับใช้ในการคิดคำนวณความเสียหายจากการทำละเมิด โดยไม่ จำเป็นต้องคาดหมายได้ว่าร้ายแรงเพียงใด คือ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยตรงระหว่าง “การ กระทำ” กับ “ผล” แม้เกิดผลร้ายแรงเกินกว่าที่คาดการณ์ในขณะทำแต่เป็นผลธรรมดาเกิดขึ้นได้ จำเลยก็ต้องรับผิด การทำร้ายร่างกายกันโดยอาจคาดหวังความเสียหายว่าบาดเจ็บ แต่ถ้าผู้ถูกละเมิดตายจากผลของ การทำร้ายโดยตรง ผู้ละเมิดจำต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่ผู้อื่นตาย แม้ไม่อาจคาดหมาย ความเสียหายว่าตายแต่ต้น หลักสำคัญของกฎหมายละเมิด คือ เรียกร้องได้ตามเสียหายที่เกิดจากการละเมิด (โดยกฎหมาย มุ่งฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมเท่าที่จะทำได้)
12
เมื่อพิจารณาเรื่องค่าเสียหายตามหลักทั่วไปในกฎหมายหนี้ มาตรา222
ต้องเป็นความเสียหายที่คาดหมายจากการผิดสัญญาได้ “โดยตรง” หรือ “พฤติการณ์พิเศษ” การเรียกค่าเสียหายจากค่าเสียโอกาสใน กำไรที่พึงจะได้ หรือ จำต้องขายของถูกลง หรือ ชดใช้ ราคาทรัพย์ที่ผิดสัญญา ถือเป็นค่าเสียหายโดยตรง หากเป็นกรณีสืบเนื่องกันโดยตรงตามเงื่อนไข เช่น ผู้ขายไม่อาจส่งมอบสินค้า ทำให้ผู้ซื้อสินค้า เพื่อส่งออก นั้นต้องเสียค่าปรับให้แก่ที่ผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบ ทรัพย์ที่ขายได้ ถือเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ จากลักษณะความเสียหายข้างต้นจะเห็นความ “เชื่อมโยงโดยตรง” ของผลกับเหตุ จำเลยจึงเรียก ค่าเสียหายได้
13
โครงสร้างค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายจากละเมิด
เสียหายต่อทรัพย์ เสียหายต่อชีวิต เสียหายต่อร่างกายอนามัย เสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพ เสียหายต่อชื่อเสียง (ม.438 ว.2) 1) คืนทรัพย์ 2) ใช้ราคาแทนการคืน 3) ค่าเสียหาย 1) ค่าปลงศพ (ม.443 ว.1) 2) ค่าใช้จ่ายอัน จำเป็น เกี่ยวเนื่องกับการปลง ศพ (ม.443 ว.1) 3) ค่ารักษาพยาบาลก่อน ตาย (ม.443 ว.2) 4) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ก่อนตาย (ม.443 ว.2) 5) ค่าขาดไร้อุปการะ(ม.443 ว. ท้าย) 6) ค่าชดใช้ขาดการงาน (ม.445) 1) ค่าใช้จ่ายอันต้องเสีย ไป (ม.444 ว.1) 2) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ระหว่างเจ็บป่วย (ม.444 ว.1) 3) ค่าเสียความสามารถ ประกอบการงาน (ม.444 ว.1) 4) ค่าชดใช้ขาดการงาน(ม.445) 5) ค่าความเสียหายอย่างอื่นอัน มิใช่ตัวเงิน (ม.446) 1) ค่าชดใช้ขาดการ งาน (ม.445) 2) ค่าความเสียหายอย่างอื่นอัน มิใช่ตัวเงิน(ม.446) (ม.447) 1) ค่าเสียหาย 2) ให้จัดการให้ชื่อเสียง กลับคืนดีดังเดิม 3) ทั้ง ข้อ 1) และ 2)
14
ค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 438 วรรค 2
หลักการสำคัญ คือ การคืนสู่สภาพเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งถือเป็นประเภทความ เสียหายจริง (Substantial Damage) 1) คืนทรัพย์ 2) ใช้ราคา 3) ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ เช่น ขาดรายได้ 4) ค่าเสียหายอื่น ๆ เช่น ค่าเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน ความเสียหายตาม ม.446 (กรณีไขข่าว)
15
ตัวอย่างของคำสั่งศาลให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน
1) กรณีเอาทรัพย์ไป ให้คืนทรัพย์ ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาทรัพย์ 2) กรณียึดถือทรัพย์ไว้ กรณีอสังหาริมทรัพย์ ศาลจะสั่งให้ขับไล่ กรณีสังหาริมทรัพย์ ศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์ 3) กรณีสอดเกี่ยวข้องขัดขวางในทรัพย์สินของเขา ศาลสั่งห้ามมิให้ เข้าเกี่ยวข้องกับ ทรัพย์ต่อไป 4) กรณีใช้ชื่อบุคคล ศาลสั่งห้ามมิให้ใช้ชื่อ/ถอนการจดทะเบียนชื่อ
16
ตัวอย่างของคำสั่งศาลให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน
5) กรณีเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ศาลสั่งห้ามใช้/สั่งทำลาย 6) กรณีโฆษณาให้เขาเสียชื่อเสียง ศาลสั่งให้จัดการให้ชื่อเสียงกลับคืนดี เช่น ลงหนังสือแก้ข่าวใน พื้นที่เดียวกัน ฯลฯ 7) กรณีปลูกเรือนขวางทางเดิน/ทางสาธารณะ/ ที่ดิน ศาลสั่งให้รื้อถอน 8) กรณีก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ศาลสั่งให้แก้ไข/ห้ามมิให้เดือดร้อนรำคาญ
17
ศาลอาจให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนขั้นต่ำ (Nominal Damage)
แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ว่าละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่นำสืบ ได้ว่ามีความเสียหายจริง ศาลก็อาจจะกำหนดค่าเสียหายอย่างต่ำเพื่อให้รับรู้ว่ามีการ ละเมิดกันจริง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2475 จำเลยเอาไม้มาปักในที่ดินโจทก์ ศาลให้รื้อไม้ ออกและให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 1 บาท เป็นการยืนยันว่าโจทก์ไม่มีสิทธิกระทำการ จึงเป็นละเมิด และมีความเสียหาย
18
เรียกร้องค่าเสียหายที่มิใช่ผลโดยตรงจากการละเมิด ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2479 ค่าธรรมเนียมศาลและทนาย เรียกร้องจากจำเลยมิได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2531 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญา ค่าจ้างนักสืบ ขาดประโยชน์จากการศึกษา เล่าเรียน ที่โจทก์เสียไป มิอาจเรียกร้องจากจำเลย โจทก์กู้เงินมาซื้อบ้านที่ให้เช่า จำเลยอยู่ในบ้านโดยละเมิด การที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้ธนาคาร มิใช่ เกิดจากการละเมิดที่จำเลยยังคงอยู่ในที่พิพาท นอกจากนี้การคิดดอกเบี้ยในค่าเสียหายสามารถทำได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ม.206, 224 (ผิดนับตั้งแต่วันทำละเมิด) ถ้าโจทก์ได้รับการเยียวยาทางอื่น (ที่ไม่เกี่ยวกับจำเลย) แล้วจะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2519 แม้โจทก์มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลแล้วก็ไม่ทำสิทธิเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนระงับไป
19
การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive Damage)
กลิ่นอายจากระบบคอมมอนลอว์ที่มิได้แยกกฎหมายอาญาออกจากกฎหมายละเมิด(ลงโทษ+ชดใช้ค่าเสียหาย) สาเหตุที่ต้องกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในทางเศรษฐศาสตร์ คือ ผู้ละเมิดมีโอกาสที่จะรอดพ้นจากความรับ ผิดสูง ศาลไม่สามารถกำหนดค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน การสนับสนุนการทำธุรกรรมในระบบตลาด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2474 จำเลยกระทำอุกอาจร้ายกาจมาก ก่อนยิงโจทก์ได้แสดงกิริยาดูหมิ่นโจทก์ ไม่ได้เกรงขามในอำนาจราชการเสียเลยโจทก์เพียงได้รับบาดเจ็บ ให้จำเลยใช้โจทก์ 2,500บาทนั้นสมควรแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2475 จำเลยฉุดคร่ากระทำอนาจารให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ 1,500 บาทเพื่อให้สมแก่เหตุที่เจ้าทุกข์ระกำใจและเป็นเยี่ยงอย่างสำหรับป้องกันไม่ให้กระทำผิดเช่นนี้อีก นโยบายของศาลไทยไม่ใช้หลักการนี้อีก แม้จะมีการประกาศใช้ พรบ.ความรับผิดจากสินค้าไม่ปลอดภัยฯ ก็ ต้องถึงขั้นผู้ประกอบการจงใจ/ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจึงจะกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ
20
การคืนทรัพย์ตามมาตรา 439
หลัก คือ บุคคลต้องคืนทรัพย์ แม้ว่า ทรัพย์ถูกทำลายลงโดยอุบัติเหตุ เช่น แอบเอาเรือยอทช์ไปแล้วเรือชนโขดแตกทั้งลำ ตกเป็นพ้นวิสัย เช่น สึนามิพัดสูญหาย หรือถูกขโมยไปอีกต่อก็ยังต้องคืนเรือคันแบบเดียวกัน ถูกทำให้เสื่อมเสียลงโดยอุบัติเหตุ (ไม่ถึงขนาดถูกทำลายทั้งหมด) เช่น เฉี่ยวเรือรั่ว ข้อยกเว้น เมื่อการที่ทรัพย์สินทำลายหรือตกเป็นพ้นวิสัย จะคืนหรือเสื่อมเสียนั้น ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการทำ ละเมิดก็คงจะต้องตกไปเป็นอย่างนั้นอยู่เอง เช่น ไฟไหม้ทั้งดอย แม้ไม่ได้ละเมิดก็ยังคงทำให้บ้านพักถูก ทำลายอยู่ดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2518 จำเลยใช้คนลักไม้ของโจทก์ไป ศาลลงโทษจำเลยแล้ว ไม้ของกลางอยู่ที่ สถานีตำรวจถูกไฟไหม้หมด เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าแม้ไม่ละเมิดก็ยังเสียหายอยู่นั่นเอง จำเลยต้องรับผิด
21
การคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ที่คืนตาม มาตรา 440
มาตรา 440 “ในกรณีที่ต้องใช้ราคาทรัพย์อันได้เอาของเขาไปก็ดี ในกรณีที่ต้องใช้ราคาทรัพย์อันลดน้อยลง เพราะบุบสลายก็ดี ฝ่ายผู้ต้องเสียหายจะเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้ง แห่งการประมาณราคานั้นก็ได้” การใช้ราคาทรัพย์ เป็นหน้าที่ต่อเนื่องจากการคืนทรัพย์ กล่าวคือ ในกรณีที่ผู้กระทำละเมิดไม่สามารถคืน ทรัพย์ที่เอามาได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือเป็นการพ้นวิสัยก็ดี ก็ให้ผู้กระทำ ละเมิดชดใช้ราคาทรัพย์ หรือใช้ราคาค่าลดน้อยลงเป็นจำนวนเงินโดยตรง และเมื่อเป็นหนี้เงิน ผู้เสียหายก็มี สิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยนี้ กฎหมายให้ร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคา นั้น คือ ตั้งแต่วันทำละเมิดนั่นเอง เพื่อให้สอดคล้องกับ ป.พ.พ.มาตรา 206 และมาตรา 224 วรรคแรก ดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ = เริ่มนับตั้งแต่วันทำละเมิด
22
ข้อพิจารณาการคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ที่คืนตาม มาตรา 440
สิทธิเรียกคืนทรัพย์สินมีตลอดเวลาที่ครอบครองโดยละเมิด เพราะฉะนั้นเจ้าหนี้มีสิทธิเลือก โจทก์สามารถเลือกเพื่อเป็นประโยชน์ได้เท่าที่อยู่ในขอบเขต วันละเมิดเกิด - วันฟ้อง แต่เลือกวันใดต้องคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป ข้อสำคัญจะต้องไม่ใช่หลังจากวันที่ทรัพย์ถูกทำลายไปแล้ว ราคาจะขึ้นลงไม่ได้ เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิเลือก เว้นแต่ ถ้าจะเลือกต้องอาศัย ม.222 ลูกหนี้คาดหมายได้ถึงความเสียหายที่เกิดจากการเอาทรัพย์ ไปโดยละเมิดและทำให้เจ้าหนี้สูญเสียประโยชน์จากทรัพย์นั้นถึงขนาดที่เจ้าหนี้จะเรียกร้องได้
23
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ครองทรัพย์ในขณะทำละเมิด และการอ้างความหลุดพ้นเพราะได้ใช้แก่ผู้ครองทรัพย์แล้ว ม.441 มาตรา 441 “ถ้าบุคคลจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ เพราะเอาสังหาริมทรัพย์ของเขาไปก็ดี หรือเพราะทำของเขาให้บุบสลายก็ดี เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่เอาไป หรือขณะที่ทำให้บุบสลายนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นอันหลุดพ้นไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้กระทั่งบุคคลภายนอกจะ เป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิอย่างอื่นเหนือทรัพย์นั้น เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตน หรือ มิได้รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน” หลักสำคัญของมาตรา 441 1) เอาสังหาริมทรัพย์ไป หรือทำให้สังหาริมทรัพย์บุบสลาย 2) ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ครองทรัพย์เต็มจำนวนหนี้ 3) ใช้ให้ผู้ครองทรัพย์ขณะเอาไป หือทำให้บุบสลาย 4) ชดใช้โดยสุจริต หรือไม่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อยกเว้น 1) รู้อยู่แล้วว่าผู้ครองทรัพย์มิใช่เจ้าของทรัพย์ 2) ไม่รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
24
หลักและข้อยกเว้นตามมาตรา 441
หลักนี้สอดคล้องกับ “หลักสุจริต” ตามมาตรา 316 ถ้าการชำระหนี้นั้นได้ทำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่ง สิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการชำระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ได้กระทำการโดยสุจริต ดังนั้น ถ้าผู้กระทำละเมิดกระทำการชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ เพราะเอา สังหาริมทรัพย์ของเขาไป หรือเพราะทำของเขาให้บุบสลาย ให้แก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่ เอาไป หรือขณะที่ทำให้บุบสลายโดยสุจริตแล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนย่อมระงับลง เช่น ก. ขับเรือชนเรือที่ ข. ขับมา (ผู้ครองทรัพย์) โดยไม่รู้ว่า ข.ไม่ใช่เจ้าของ ถ้า ก.ชดใช้เงินค่าเสียหายให้ ข. ไปแล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนระงับลงตาม ม.441 เจ้าของที่แท้จริงเรียกร้องจาก ก. อีกไม่ได้ ผู้ครองทรัพย์ (สังหาริมทรัพย์) ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีสิทธิตามกฎหมาย ม.1372 ผู้ครองสังหาริมทรัพย์อาจได้แก่ เจ้าของหรือมีสิทธิครองครอง สิทธิจำนำ, จำนอง ฯลฯ แต่ถ้าเป็นกรณีอสังหาริมทรัพย์มีทะเบียน (ชื่อผู้มีสิทธิ) จะไม่ใช้ ม.441
25
หลักและข้อยกเว้นตามมาตรา 441
เมื่อชดใช้ค่าเสียหายตามศาลพิพากษาแล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนเป็นอันระงับ แม้ว่าค่าเสียหายจะน้อย เพราะศาลเป็นผู้กำหนดค่าเสียหาย! (มูลค่าที่แท้จริงมากกว่า) แต่ถ้ายังไม่ชำระตามคำพิพากษาหนี้ก็ยังไม่ระงับ เรียกตามมูลค่าจริงได้ แต่ถ้าเป็นเพียงการทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งผูกพันระหว่างผู้ละเมิดกับผู้ ครองทรัพย์แต่ไม่ผูกพันเจ้าของ เว้นแต่ผู้ครองจะอยู่ในฐานะทำแทนเจ้าของ ถือว่า ยังคงผูกพันเจ้าของ (ฎีกาที่ 553/2502) เว้นแต่ผู้ครองจะอยู่ในฐานะทำแทนเจ้าของ ถือว่ายังคงผูกพันเจ้าของ
26
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้เสียหายมีส่วนผิด ตามมาตรา442
ม.442 “ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่าน ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” เทียบเคียงกม.หนี้ มาตรา 223 ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย ด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์ เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย (มิใช่เป็นต้นเหตุ) เช่น เกิดจากความประมาทของผู้เสียหายด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2516 ก. ด่า ข. ด้วยถ้อยคำหยาบคายพาดพิงไปถึงบิดามารดาของ ข. ข. จึงใช้ ขวานทำร้ายร่างกาย ก. ถือว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของ ก. ด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2524 ความเสียหายเกิดจากโจทก์และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลย ไม่ต้องรับผิด
27
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้เสียหายมีส่วนผิด ตามมาตรา442
ความตามมาตรานี้หาใช่ กรณีความยินยอมไม่เป็นละเมิด/ร่วมกันทำละเมิด/กระทำด้วยความ จำเป็น/ป้องกันซึ่งเป็นกรณีนิรโทษกรรมที่ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด การพิจารณา ให้ดูฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากัน มิใช่ดูว่าใครเป็นผู้เสียหายมากน้อยกว่ากัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2507 ดูพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายมากน้อยกว่า กัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2514 เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียหายมากแต่เป็นฝ่ายประมาทน้อยกว่า จำเลย จำเลยเสียหายน้อยกว่าแต่ประมาทมากกว่า เห็นควรแบ่งค่าเสียหายเป็น 3 ส่วน โดยให้ จำเลยรับผิด 2 ใน 3 ส่วน อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลพิเคราะห์แล้วศาลอาจให้ค่าเสียหายเป็นพับแก่โจทก์ หากความเสียหาย เกิดจากการกระทำของแต่ละฝ่ายที่ก่อไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.