ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายสิ่งแวดล้อม Environmental Legal
ISO 14001:2015
2
4.3.2 กฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม
องค์กรจะต้องจัดทำและคงไว้ซึ่งระเบียบปฏิบัติในการระบุและเข้าถึงซึ่ง a) กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สิ่งแวดล้อมขององค์กรและ b) ข้อกำหนดอื่นๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับองค์กร และต้องมีการระบุว่ากฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเกี่ยวข้องอย่างไร ซึ่งองค์กรจะต้องแน่ใจว่า กฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นได้ถูกพิจารณา ในการนำไปปฏิบัติ ปรับปรุง พัฒนาและรักษาไว้ซึ่งระบบมาตรฐานการจัดการ สิ่งแวดล้อม
3
กฎหมายสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กำหนดปริมาณของภาวะมลพิษที่จะให้มีได้ กำหนดให้ต้องมีการวางแผนและการตรวจสอบกิจการบางอย่าง กำหนดบทลงโทษหากมีการละเมิดกฎหมาย
4
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติโรงงาน 2535 หมวด 1 การประกอบกิจการโรงงาน มาตรา 8(5) กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากการ ประกอบกิจการโรงงาน
5
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 หมวด 4 การควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ข้อ 13 การกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล และวัสดุที่ไม่ใช้ ข้อ 14 ห้ามระบายน้ำทิ้งออกจากโรงงาน เว้นแต่ได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างจนน้ำทิ้งมีลักษณะตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง ข้อ 16 ห้ามระบายอากาศเสียออกจากโรงงาน เว้นแต่ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่าง จนอากาศมีปริมาณสารเจือปนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำให้ เจือจาง ข้อ 17 เสียงดังที่เกิดจากการประกอบกิจการต้องไม่เกินมาตรฐานที่รัฐมนตรีกำหนด
6
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (1) ห้ามการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทาง สาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย นอกจากในที่ที่ราชการส่วน ท้องถิ่นจัดไว้ให้ มาตรา 20 (3) ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคาร หรือสถานที่นั้น ๆ
7
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หมวด 1 การควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 2 มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด ส่วนที่ 4 มลพิษทางอากาศและเสียง ส่วนที่ 5 มลพิษทางน้ำ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ ทำงานพ.ศ. 2554 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 6 ให้นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มี สภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
8
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ (ต่อ) หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 14 นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจก คู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ ทำงาน มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม มาตรา 17 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความ ปลอดภัย มาตรา 12 ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
9
มาตรฐานสีและเครื่องหมายความปลอดภัย อ้างอิง มอก. 635-2554
แสดงพื้นที่เขตหวงห้าม หรือพื้นที่เก็บอุปกรณ์ผจญเพลิง สีแดง สีเหลือง แสดงพื้นที่อันตราย สีฟ้า แสดงพื้นที่บังคับ สีเขียว แสดงพื้นที่ปลอดภัย
10
มาตรฐานสีและเครื่องหมายความปลอดภัย อ้างอิง มอก. 635-2554
11
เครื่องหมายห้าม
12
เครื่องหมายบังคับ
13
เครื่องหมายบอกพื้นที่ปลอดภัย
14
เครื่องหมายเตือนอันตราย
15
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 2535 หมวด 1 การอนุรักษ์พลังงาน มาตรา 7 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เช่น การป้องกันการสูญเสียพลังงาน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานอีกประเภท หนึ่ง การใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง มาตรา 9 เจ้าของโรงงานควบคุมต้องอนุรักษ์พลังงานตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้ พลังงาน มาตรา 17 การอนุรักษ์พลังงานในอาคารได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เช่น การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร การปรับอากาศ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายใน การใช้แสงสว่างในอาคาร อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์
16
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
ขยะและของเสีย ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย 1. ต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของของเสีย รวมไปถึงการติดไฟ 2. ต้องไม่ครอบครองของเสียเกิน 90 วัน 3. ต้องมีการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงาน และได้รับอนุญาตจากกรม โรงงานอุตสาหกรรม (แบบ สก 2.) 4. ต้องนำของเสียไปกำจัดโดยติดต่อผู้มารับกำจัดที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง 5. ต้องส่งรายงานประจำปีให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบ สก.3 ภายใน มี.ค. ปีถัดไป (แบบสก 3.)
17
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
ขยะและของเสีย บัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ 2544 ข้อ 5 ห้ามมิให้ผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือ ทางสาธารณะ นอกจากที่กรุงเทพมหานครจัดไว้ให้ ข้อ 6 เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่ง ปฏิกูล หรือมูลฝอย ภายในอาคารหรือสถานที่นั้นอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ข้อ 8 ห้ามมิให้ผู้ใดขน นำพา หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ใน ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิด ไม่ให้มีมีกลิ่นรั่วซึมออกมาภายนอก
18
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำเสีย ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออก ตามความใน พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 เรื่อง กำหนดคุณลักษณะ ของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ pH TDS ไม่เกิน 3000 มก./ล. และ SS ไม่เกิน 50 มก./ล อุณหภูมิ ไม่มากกว่า 40 องศาเซลเซียส สีและกลิ่นต้องไม่เป็นที่พึงรังเกียจ น้ำมันและไขมัน ไม่มากกว่า 5 มก./ล. COD ไม่เกิน 120 มก./ล BOD ไม่เกิน 20 มก./ล
19
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
เสียง กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 ข้อ 8 ต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาการทำงานในแต่ละวันมิให้เกิน มาตรฐานดังนี้ - เวลาที่ได้รับเสียง 8 ชม. ระดับเสียงเฉลี่ยไม่เกิน 90 เดซิเบลเอ - ในการทำงานแต่ละวันระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานต้องสูงสุดไม่เกิน 140 เดซิเบลเอ ข้อ 10 กรณีที่ปรับปรุงระดับเสียงไม่ได้ให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ข้อ 11 บริเวณที่ระดับเสียงเกินมาตรฐาน ต้องมีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์ป้องกัน
20
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
อากาศ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 หมวด 7 การควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ข้อ 28 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและควบคุม เพื่อมิให้มีระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ในบรรยากาศของสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายเกินขีดจำกัดความเข้มข้นของ สารเคมีอันตรายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ 29 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายใน บรรยากาศของสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ข้อ 30 ในกรณีที่ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศของสถานที่ทำงานหรือ สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายเกินมาตรฐานจะต้องทำการบริหารสภาพแวดล้อม การจัดการทาง วิศวกรรม การป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
21
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
อากาศ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปน ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ.2549 ข้อ 3 อากาศที่ระบายออกจากโรงงาน ต้องมีค่าปริมาณของสารเจือปนแต่ละ ชนิดไม่เกินที่ กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ 14.ไซลีน (Xylene ) จากการผลิตทั่วไป ค่าปริมาณของสารเจือปนใน อากาศที่ ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง คือ 200 ส่วนในล้านส่วน
22
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
วัตถุอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 หมวด 1 ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย ข้อ 2 ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครองจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย และรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตรายตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ 3 ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบและอธิบายให้ลูกจ้างเข้าใจข้อมูลความปลอดภัยของ สารเคมีอันตรายที่อยู่ในครอบครองของนายจ้าง ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายทราบและเข้าใจวิธีการใน การทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัย
23
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
วัตถุอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายพ.ศ (ต่อ) หมวด 2 ฉลากและป้าย ข้อ 6 ให้นายจ้างจัดให้มีการปิดฉลากที่เป็นภาษาไทยมีขนาดใหญ่พอสมควร อ่านง่ายคงทน ไว้ที่หีบ ห่อบรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ข้อ 7 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายห้าม ป้ายให้ปฏิบัติ หรือป้ายเตือน ในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตรายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ชัดเจน ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ข้อ 9 ให้นายจ้างปิดประกาศหรือจัดทำป้ายแจ้งข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม ประกอบอาหาร หรือเก็บอาหาร” ด้วยตัวอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจนไว้ ณ บริเวณ สถานที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย
24
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
วัตถุอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย พ.ศ (ต่อ) หมวด 3 การคุ้มครองความปลอดภัย ข้อ 10 ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างจัดให้มีสภาพที่ ถูกสุขลักษณะ สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยและไม่มีวัสดุเกะกะกีดขวางทางเดิน และมีระบบระบายอากาศแบบทั่วไป หรือแบบที่ทำให้สารเคมีอันตรายเจือจาง ข้อ 11 ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างจัดให้มีสถานที่ และอุปกรณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ได้แก่ ถังดับเพลิง ที่ชำระร่างกาย (ไม่น้อย กว่าหนึ่งที่ต่อลูกจ้าง 15 คน)
25
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
วัตถุอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ (ต่อ) หมวด 3 การคุ้มครองความปลอดภัย ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะอันตราย ข้อ 13 นางจ้างมีสิทธิ์พักงานลูกจ้าง จนกว่าจะยอมสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย หมวด 4 การเก็บรักษา การบรรจุ และการถ่ายเทสารเคมีอันตราย (2) มีพื้นเรียบ ไม่ขรุขระ ไม่เปียก ไม่ลื่น สามารถรับน้ำหนักได้ และไม่ดูดซับสารเคมีอันตราย (4) พื้นที่เพียงพอที่จะนำเครื่องมือและอุปกรณ์ดับเพลิงมาใช้ได้อย่างสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง (8) จัดทำเขื่อน กำแพง ทำนบ ผนัง หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อป้องกันการรั่วไหล ของสารเคมี
26
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
วัตถุอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ (ต่อ) หมวด 4 การเก็บรักษา การบรรจุ และการถ่ายเทสารเคมีอันตราย (10) มีป้ายข้อความว่า “สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้าสถานที่นั้นให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา (11) มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตรายของสารเคมีอันตรายให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา (12) มีแผนผังแสดงที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ผจญเพลิง อุปกรณ์ที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ติดไว้บริเวณทางเข้าออกให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา ข้อ 18 ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสารเคมีอันตรายในบริเวณ สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย
27
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
วัตถุอันตราย กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย พ.ศ (ต่อ) ข้อ 19 การจัดเก็บสารเคมีอันตรายให้นายจ้างทำบัญชีรายชื่อ และปริมาณสารเคมี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อ 20 ให้นายจ้างดำเนินการจัดเตรียมภาชนะที่มั่นคงแข็งแรง ไม่ชำรุดผุกร่อน และ ต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ข้อ 21 สารเคมีไวไฟต้องวางห่างแหล่งกำเนิดประกายไฟ หรือความร้อน ข้อ 22 ถ้ามีการถ่ายสารเคมีไปยังภาชนะอื่นๆ จะต้องติดป้ายบ่งชี้ที่ภาชนะนั้น
28
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
อัคคีภัย ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหน่วยงานฝึกอบรม การดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ พ.ศ. 2550 ข้อ 4 ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้เป็นหน่วยงานที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการ ฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ฝึกซ้อมดับเพลิงหรือฝึกซ้อมหนีไฟ ได้แก่ (1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (2) สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร (3) หน่วยงานดับเพลิงของเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหาร ส่วนตำบลและเมืองพัทยา (4) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
29
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
อัคคีภัย กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทางานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ข้อ 3 นายจ้างจัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิง และการอพยพหนีไฟ และปิดประกาศ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ 4 สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและ ระงับอัคคีภัย ประกอบด้วยการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์ ข้อ 9 สถานประกอบกิจการที่มีอาคารตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป หรือมีพื้นที่ประกอบกิจการตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบ กิจการทุกชั้น และต้องติดห่างจากจุดที่ลูกจ้างทำงานไม่เกิน 30 เมตร นอกจากนี้เสียงที่ใช้ ต้องแตกต่างจากเสียงที่ใช้ในการทำงาน
30
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
อัคคีภัย กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้าน ความ ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทางานเกี่ยวกับการป้องกันและ ระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ข้อ 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ จัดทำวิธีใช้เป็นภาษาไทย อย่างชัดเจน และจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของถังดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ หมวด 8 การดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยและการรายงาน ข้อ 27 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนลูกจ้างในแต่ละ หน่วยงานของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ข้อ 30 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อม กันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
31
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม
อัคคีภัย ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 หมวด 3 เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ข้อ 9 เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ติดตั้งแต่ละเครื่องต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน ๒๐ เมตร และให้ส่วนบนสุดอยู่สูงจากพื้นไม่เกิน 1.50 เมตร มีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ ชัดเจน ไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องสามารถนำมาใช้งานได้สะดวก หมวด 6 การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ข้อ 15 ทำการตรวจสอบถังดับเพลิงเดือนละ 1 ครั้ง โดยตรวจสอบสภาพถัง สายยาง แรงดัน และสิ่งกีดขวาง
32
เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
บทลงโทษทางกฎหมาย เสียค่าชดเชย หรือ ค่าปรับ จำคุก จำคุกและเสียค่าปรับ ปิดกิจการโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ละเมิด
33
การเข้าถึงกฎหมาย พิจารณาประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
พิจารณากฎหมายใกล้ตัว พิจารณากฎหมายที่มีความเข้มข้นมากที่สุด ค้นหากฎหมายจากหน่วยงานราชการ และ เว็บไซต์ สื่อสารกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง Up date กฎหมายอย่างสม่ำเสมอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.