งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เขียนย่อความ (ท ๒.๑ ม. ๓/๔) ตัวชี้วัด การเขียนย่อความ By G_Chai-in

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เขียนย่อความ (ท ๒.๑ ม. ๓/๔) ตัวชี้วัด การเขียนย่อความ By G_Chai-in"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เขียนย่อความ (ท ๒.๑ ม. ๓/๔) ตัวชี้วัด การเขียนย่อความ By G_Chai-in
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย การเขียน การเขียนย่อความ ตัวชี้วัด เขียนย่อความ (ท ๒.๑ ม. ๓/๔) By G_Chai-in 12/2014

2 ความสำคัญของการย่อความ
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย การเขียนย่อความต้องใช้ทักษะ ๒ อย่าง คือ อ่านและเขียน ฉะนั้นจะต้องอ่านให้ละเอียด สรุปใจความสำคัญที่ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และนำความคิดหลักของแต่ละย่อหน้า เอามาเขียนเรียงลำดับให้ครอบคลุม ประเด็นโดยใช้ภาษาของตนเอง ความสำคัญของการย่อความ ๑. ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านเรื่องที่มีความยาวมาก ๆ แต่เวลามีน้อย ๒. ช่วยให้สามารถจับประเด็นของเรื่องได้สมบูรณ์ครบถ้วนและถูกต้อง ๓. ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่ยากซับซ้อน หรือเรื่องที่มีเนื้อหามากอาจทำให้สับสน ๔. ช่วยให้ผู้ที่ไม่ได้อ่านจากต้นฉบับจริงได้รับประโยชน์จากการอ่าน และได้รับความรู้ไปด้วย By G_Chai-in 12/2014

3 รูปแบบของคำนำการย่อความ
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย รูปแบบของคำนำการย่อความ ๑. ย่อความเรียงร้อยแก้ว ให้บอกชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง วัน เดือน ปีที่แต่ง (ถ้ามี) ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อนิทานเรื่อง ของ จาก ความว่า ๒. ย่อความเรียงที่ตัดตอนมา ให้บอกชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง วัน เดือน ปี ที่แต่งหรือที่มา ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อเรื่อง ของ คัดจากเรื่อง ความว่า By G_Chai-in 12/2014

4 รูปแบบของคำนำการย่อความ
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย รูปแบบของคำนำการย่อความ ๓. ย่อจดหมายโต้ตอบ สาส์น หนังสือราชการ ให้บอกประเภทเจ้าของเรื่อง เลขที่ของหนังสือ ผู้รับ ชื่อเรื่อง วัน เดือน ปีที่เขียน ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อจดหมายของ ถึง ลงวันที่ ความว่า ย่อหนังสือราชการฉบับที่ ของ ถึง ลงวันที่ ความว่า ๔. ย่อประกาศ แจ้งความ แถลงการณ์ ระเบียบ คำสั่ง ให้บอกชื่อประเภท ชื่อเรื่อง ของใคร แก่ใคร วัน เดือน ปีที่ออก ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อแถลงการณ์เรื่อง ของ แก่ ลงวันที่ ความว่า By G_Chai-in 12/2014

5 รูปแบบของคำนำการย่อความ
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย รูปแบบของคำนำการย่อความ ๕. ย่อคำปราศรัย รายงาน สุนทรพจน์ ให้บอกประเภท ของใคร มีแก่ใคร เนื่องในโอกาสใด ที่ไหน เมื่อไร ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อสุนทรพจน์ของ แก่ เนื่องในโอกาส ทาง (ที่.....) ณ วันที่ ความว่า ๖. ย่อปาฐกถา คำบรรยาย คำสอน ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อคำบรรยายของ เรื่อง แก่ ที่ ณ วันที่ เวลา ความว่า By G_Chai-in 12/2014

6 รูปแบบของคำนำการย่อความ
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย รูปแบบของคำนำการย่อความ ๗. ย่อเทศนา โอวาท พระบรมราโชวาท ขึ้นต้นตามรูปแบบ ดังนี้ ย่อพระบรมราโชวาทใน พระราชทานแก่ เรื่อง เนื่องใน ที่ ณ วันที่ ความว่า ๘. ย่อบทร้อยกรองหรือคำประพันธ์ ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ที่มาของเรื่อง ย่อคำประพันธ์ประเภท (กลอน โคลง ฯลฯ) เรื่อง ของ จาก ความว่า By G_Chai-in 12/2014

7 ๑. อ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจ ๑ เที่ยว หรือมากกว่า ๑ เที่ยวก็ได้
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย ๑. อ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจ ๑ เที่ยว หรือมากกว่า ๑ เที่ยวก็ได้ ๒. จับประเด็นสำคัญทีละย่อหน้า เพราะใน ๑ ย่อหน้าจะมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว ๓. นำใจความสำคัญแต่ละย่อหน้ามาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง ๔. ต้องมีรูปแบบคำนำย่อความที่ถูกต้อง ๕. เปลี่ยนสรรพนามที่เป็นบุรุษที่ ๑, ๒ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ๖. ไม่ควรใช้อักษรย่อ ๗. ถ้ามีคำราชาศัพท์ให้คงราชาศัพท์นั้นไว้ ๘. ไม่ควรใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ในข้อความที่ย่อ ๙. เขียนเนื้อเรื่องย่อให้เหลือเพียงย่อหน้าเดียว ความยาวประมาณ ๑ ใน ๓ ของ เนื้อเรื่องเดิม หลักในการย่อความ By G_Chai-in 12/2014

8 หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย
ย่อบทความ เรื่อง ลดความอ้วนอย่างไรจึงปลอดภัย จากหนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ หน้า ๑๓ ความว่า ปัจจุบันนี้มีคนจำนวนมากพยายามลดความอ้วน ซึ่งแต่ละบุคคลมีเหตุผลที่แตกต่างกัน บ้างเพื่อต้องการให้รูปร่างดี บ้างก็เป็นห่วงสุขภาพของตัวเอง ความอ้วนนั้นก่อให้เกิดโรคได้สารพัด และทำให้ขาดความคล่องตัว การลดความอ้วนขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความมุ่งมั่นของแต่ละคน การลดความอ้วนที่ปลอดภัยควรลดอย่างช้า ๆ โดย การรับประทานอาหารที่มีแคลอรีน้อย ออกกำลังกายให้มากขึ้น และควรหมั่นกินผักผลไม้ที่รสไม่หวานและมีเส้นใยมาก หากยังไม่ได้ผลควรปรึกษาแพทย์ By G_Chai-in 12/2014


ดาวน์โหลด ppt เขียนย่อความ (ท ๒.๑ ม. ๓/๔) ตัวชี้วัด การเขียนย่อความ By G_Chai-in

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google