ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยRaffaela Lombardo ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การบริหารโดยวัตถุประสงค์ ( Management By Objectives)
การบริหารโดยวัตถุประสงค์ ( Management By Objectives)
2
ความเป็นมาการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)
การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)นั้น เป็นเทคนิคการบริหารงานแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยนักวิชาการคนหนึ่งชื่อ Peter F. Drucker ได้เสนอแนวความคิดเรื่องนี้เป็นคนแรก ที่อเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1954 ในหนังสือของเขาชื่อ The Practice of Management Drucker ชี้ให้เห็นว่าทุกองค์การต้องมีเป้าหมาย เพื่อนำทางบุคคลที่บริหารงานองค์การ ประสานเป้าหมายของพวกเขาเข้ากับเป้าหมายขององค์การและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อนำองค์การไปสู่ความต้องการ
3
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)
และการควบคุมระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหาร ระหว่างการวางแผน และการควบคุมเข้าด้วยกัน ซึ่งมีแนวคิด 4 อย่าง ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนว่าจะทำงานให้ได้ผลตามเป้าหมายเท่าไรภายในระยะเวลาที่กำหนด )
4
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)
ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันวางแผนโดยผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานให้สำเร็จได้ด้วยวิธีการของแต่ละคน ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงร่วมกันในการวัดผลงานที่เกิดขึ้นจริง ทบทวนแก้ไขผลการปฏิบัติงานและกระบวนการ MBO ใหม่ )
5
ความหมายการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)
6
กระบวนการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)
การกำหนดวัตถุประสงค์และการวางแผนเป็นหลักการที่สำคัญ การมอบหมายงานและหน้าที่รับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ การประเมินผลงาน
7
ข้อได้เปรียบของ MBO ช่วยให้การบริหารงานดีขึ้น (Better managing) ช่วยทำให้องค์กรมีความชัดเจน (Clarifies organization) ช่วยให้เกิดความผูกมัดในการปฏิบัติงาน (Elicits commitmentc) ช่วยให้เกิดการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ (Helps develop effective controls)
8
ข้อเสียเปรียบของ MBO ขาดการชี้แนะให้เข้าใจถึงปรัชญาการทำงานของ MBO ขาดแนวทางที่จะให้กับผู้กำหนดเป้าหมาย เป้าหมายมีลักษณะเป็นเป้าหมายระยะสั้น ผู้บริหารไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในขณะดำเนินการ
9
บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด
10
วัตถุประสงค์ขององค์กร
การทำแบรนด์ให้อยู่ในจุดสูงสุดในอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ โดยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยนวัตกรรมคุณภาพ เทคโนโลยีชั้นสูง และความมุ่งมั่นที่จะให้บริการที่เหนือความคาดหวังของลูกค้า
11
ยกตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าหมายโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO) โดยการทำยอดขาย Yamaha Fino 125 หกพันคันต่อเดือน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.