ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Electrical Instruments and Measurements
Introduction to Electrical Instruments and Measurements Piyadanai Pachanapan, Electrical Instrument & Measurement, NU
2
บทนำของการวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
นิยาม การวัด เครื่องวัดไฟฟ้า วัตถุประสงค์ การวัด เครื่องวัดไฟฟ้า ชนิดของเครื่องวัดไฟฟ้า ชนิดและวิธีการวัด
3
การวัดคืออะไร ??? ขั้นตอนพื้นฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และควบคุมระบบ
การกำหนดตัวเลขให้กับคุณสมบัติของวัตถุหรือเหตุการณ์ เช่น การวัดความยาวของวัตถุ การวัดความต้านทานไฟฟ้า การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน โดยที่มาตรฐานจะเป็นตัวแทนของหน่วยของการวัดที่ใช้ และค่าตัวเลขที่ได้จากการวัดจะเป็นการแสดงอัตราส่วนของวัตถุที่วัดกับมาตรฐาน
4
นิยามของการวัด Measurement is the process of Empirical, Objective, Assignment of numbers to properties of objects or events of the real world in such a way as to describe them
5
Empirical การวัดต้องเป็นผลจากการสังเกตหรือการทดลอง ไม่ใช่จากทฤษฎีหรือความคิด Objection ตัวเลขที่กำหนดแก่คุณสมบัติโดยการวัด จะต้องเป็นอิสระต่อผู้สังเกต (Observer)
6
Assignment of number to properties
บรรยายถึงคุณสมบัติของวัตถุหรือเหตุการณ์ ไม่ใช่ บรรยายถึงตัววัตถุหรือเหตุการณ์ ตัวเลขที่กำหนด คือ ตัวเลขที่แสดงการปรากฏของคุณสมบัติของวัตถุหนึ่ง และ กำหนดอีกตัวเลขหนึ่ง (ด้วยกระบวนการวัดเดียวกัน) ให้แก่คุณสมบัติอย่างเดียวกันของอีกวัตถุหนึ่ง
7
“การวัดเป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบระหว่างการปรากฏของคุณสมบัติ กับอีกการปรากฏหนึ่งของคุณสมบัติเดียวกัน”
8
รูปแบบของการวัดในทางปฏิบัติ
การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มาตรฐานเป็นตัวแทนทางกายภาพของหน่วย (Unit) ของการวัดที่ใช้ ค่าตัวเลข (Measure) ที่ให้แก่ค่าที่วัด จะแสดงอัตราส่วนของขนาดของคุณสมบัติต่อขนาดมาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นหนึ่ง ** มาตรฐานต้องเป็นที่ยอมรับโดยผู้คนในวงการเดียวกัน
9
วัตถุประสงค์ของการวัด
การวัดเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การวัดเพื่อใช้ในการควบคุม
10
การวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เป็นรูปแบบการวัดที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีข้อได้เปรียบหลายด้าน เช่น ความไว กำลังสูญเสียน้อย ความเร็ว ความไว้ใจได้ ความหลากหลายในการวัด การวัดที่ไม่ใช่ไฟฟ้า เช่น ตาชั่ง (เข็ม), ไม้บรรทัด
11
การวัดทางไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้ว มี 2 ความหมาย คือ
การวัดปริมาณทางไฟฟ้า คือ การวัดกระแส แรงดัน หรือ ความต้านทาน เป็นต้น 2. การวัดปริมาณต่างๆ โดยการใช้สัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อ เช่น วัด น้ำหนัก
12
ชนิดของเครื่องวัดไฟฟ้า
ระบบอนาลอก (analog) เครื่องวัดจะแสดงแบบเข็มชี้ ระบบดิจิตอล (digital) เครื่องวัดจะแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลข
13
ชนิดและวิธีการวัด การวัดโดยตรงกับการวัดโดยอ้อม
การวัดโดยตรง เป็นการวัดที่นำเอาอุปกรณ์วัดปริมาณ ซึ่งเราต้องการรู้ค่า ไปอ่านค่าโดยตรง การวัดโดยอ้อม เป็นการวัดปริมาณซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณที่ต้องการรู้ค่า จากนั้นจึงนำเอาปริมาณที่วัดได้ มาทำการคำนวณหาปริมาณที่เราต้องการรู้ค่าอีกทีหนึ่ง เช่น รู้ V, I หาค่า R จาก V / I
14
2. การวัดแบบเบี่ยงเบนกับการวัดแบบสมดุล
2. การวัดแบบเบี่ยงเบนกับการวัดแบบสมดุล การวัดแบบเบี่ยงเบน (Electromechanic Instruments, Indicating Instrument) เป็นวิธีซึ่งปริมาณที่วัด ถูกนำไปเคลื่อนที่เข็มชี้ของมาตรวัด ทำให้เข็มชี้เบี่ยงเบน การวัดแบบสมดุล (Null Type Instrument) เป็นวิธีการวัดซึ่งใช้มาตรฐานที่ปรับค่าได้ เพื่อทำให้เกิดสมดุลกับปริมาณที่ต้องการรู้ค่า จากนั้นจึงอ่านค่าที่เราต้องการวัดจากปริมาณมาตรฐานอีกทอดหนึ่ง
15
Indicating Measurement
16
Null Type Instrument
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.