งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา อู่รัตนมณี

2 การคัดกรองทางสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต(2555) อธิบายว่าการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต หมายถึง กระบวนการการคัดแยกผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือปัญหาทางจิตเวช ออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มผู้ป่วย/กลุ่มที่มี ปัญหา กลุ่มที่ต้องพัฒนา/กลุ่มเสี่ยง กลุ่มคนปกติทั่วไป เพื่อ การส่งต่อผู้ป่วย/ผู้ที่มีปัญหา ตามขั้นตอนจนถึงตรวจวินิจฉัยหา ความผิดปกติทางจิตใจต่อไป หรือแนะนำให้กลุ่มผู้ที่ต้อง พัฒนา/กลุ่มเสี่ยงควรไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตามขั้นตอน ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช

3 การคัดกรอง (Screening)
หมายถึง การทดสอบสมาชิกของกลุ่มประชากรเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรเหล่านี้จะมีโรคใด โรคหนึ่งที่ต้องการค้นหา การคัดกรอง มี 2 ประเภทคือ การคัดกรองโรค (Disease screening) คือ คัดกรองว่าบุคคลใดป่วยบ้าง รวมถึง การคัดกรองภาวะสุขภาพ เป็นการคัดกรองเพื่อจำแนกบุคคลที่เจ็บป่วยออกจากบุคคลปกติ การคัดกรองความเสี่ยง (Health or risk screening) คือ คัดกรองว่าใครมี โอกาสเกิดปัญหาสุขภาพบ้างขณะที่ยังไม่ได้เป็นโรค ซึ่งการคัดกรองความเสี่ยงเป็นเครื่องมือ กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนัก (Awareness) และนำไปสู่แรงจูงใจในการปรับ พฤติกรรมสุขภาพโดยหากต้องการใช้การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเครื่องมือในการคัดกรองนั้นควรเป็นเครื่องมือที่ประชาชนสามารถใช้ในการ ประเมินตนเอง (Self-assessment) ได้

4 ความสำคัญของการคัดกรอง และประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
เพื่อประเมินความผิดปกติทางจิตของบุคคล เพื่อใช้จำแนกความเจ็บป่วยและระดับความรุนแรงของการ เจ็บป่วยเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงในการวินิฉัยปัญหาทางจิต

5 แนวทางและการประเมินปัญหาสุขภาพจิตของบุคคล
การประเมินภาวะสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก เพราะไม่ สามารถประเมินได้โดยตรง แต่จะประเมินจากความคิดเห็น ความรู้สึก พฤติกรรมการแสดงออก แล้วนำมาหาข้อสรุปว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในเกณฑ์ของ ผู้มีสุขภาพจิตดีหรือไม่ดี และในการพิจารณาว่าสิ่งใดปกติหรือไม่ปกตินั้น จำเป็นต้องมีเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้ กำหนดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ (The Descriptive Model) เป็น วิธีการตัดสินพฤติกรรมของคนว่าปกติหรือหรือผิดปกติ ซึ่งการกำหนด มาตรฐานเป็นเกณฑ์ การใช้ทฤษฎีเพื่ออธิบายพฤติกรรมที่ผิดปกติ (Explanatory Model) ในการที่จะบอกว่า พฤติกรรมของคนใดคนหนึ่งปกติหรือผิดปกติ นั้น จะต้องบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกตินั้นๆ ได้ด้วย

6 เกณฑ์การแบ่งประเภทของแบบทดสอบ
แบ่งตามเกณฑ์การแปลความหมายคะแนน แบบทดสอบประเภทปรนัย (Objective Tests) แบบทดสอบประเภทอัตนัย (Subjective Tests)

7 เกณฑ์การแบ่งประเภทของแบบทดสอบ
แบ่งตามประเภทของการวัด แบบสอบวัดความสามารถ (Ability Tests) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถเชิงสติปัญญา การแก้ปัญหา สมาธิ ความ สนใจ การใช้กล้ามเนื้อ แบบสอบวัดบุคลิกภาพ (Personality Tests) เป็นแบบทดสอบที่สร้างเพื่อทราบลักษณะอารมณ์ ความคิด แรงจูงใจเจตคติ มนุษยสัมพันธ์ ความขัดแย้ง

8 เกณฑ์การแบ่งประเภทของแบบทดสอบ
แบ่งโดยพิจารณาจากมิติ มิติด้านร่างกาย (Physical dimension) จะเป็นการวัดด้านการดูแลตนเอง (self-care) และการทำกิจวัตรประจำวัน (Activities of daily living) มิติด้านจิตใจ (Mental dimension) จะเป็นปัจจัยทางด้านจิตใจที่มีผลต่อ พฤติกรรมของบุคคล ซึ่งหมายรวมถึง ศักยภาพของความคิด (Cognitive potential) อารมณ์ และพฤติกรรม (Emotion and behaviors) มิติด้านสังคม (Social dimension) จะเป็นพฤติกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ทาง สังคมที่บุคคลตอบสนองต่อบุคคลอื่นในสังคม รวมทั้งทัศนคติ และการปรับตัวทางสังคม

9 การพิจารณาการใช้เครื่องมือคัดกรอง และประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
ขึ้นอยู่กับกระบวนการวัดที่จะดำเนินการ ว่า เราจะเอาไปวัดอะไร? เราจะวัดกับใคร? เราสามารถใช้เครื่องมือได้ถูกต้องหรือไม่?

10 คุณสมบัติของเครื่องมือประเมินทางสุขภาพจิต
ความเที่ยง (Reliability) ความสามารถของเครื่องมือในการให้ผลลัพธ์ เหมือนเดิม ความตรง (Validity) ความสามารถของเครื่องมือในการแสดงผลสอดคล้อง กับสิ่งที่ต้องการวัด ความไว (Sensitivity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการ วินิจฉัยผู้ที่ป่วย หรือมีความผิดปกติได้ถูกต้อง ความจำเพาะ (Specificity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมิน ในการวินิจฉัยผู้ที่ไม่ป่วย หรือไม่มีความผิดปกติได้ถูกต้อง

11 ลักษณะคำถามที่พบได้ในแบบคัดกรองสุขภาพจิต
คำถามด้านบวก เป็นข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม มี ลักษณะคำถามในแง่เชิงบวก เช่น “ท่านรู้สึกพึงพอใจในชีวิต” คำถามด้านลบ เป็นข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม มีลักษณะ คำถามในแง่เชิงลบ เช่น “ท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านมีแต่ความทุกข์”

12 ประเภทแบบทดสอบจำแนกตามมิติ
แบบสอบมิติเดียว (Uni-dimensional Tests) ซึ่งจะครอบคลุม 3 ด้าน คือ อารมณ์ (Mood) ความคิด (Cognitive) พฤติกรรม (Behavior) แบบสอบสองมิติ (Two-dimensional Tests) แบ่งออกเป็น ด้านจิตใจ-สังคม (Mental-Social: MS) ด้านร่างกาย-จิตใจ (Physical-Mental: PM) ด้านร่างกาย-สังคม (Physical-Social: PS) แบบสอบหลายมิติ (Multi-dimensional Tests) กล่าวถึงด้าน ร่างกาย-จิตใจ-สังคม (Physical-Mental-Social: PMS)

13 รูปแบบข้อคำถามที่มีคำตอบเป็นปรนัยให้เลือกตอบ
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Children’s Depression Inventory: CDI) คำชี้แจง เลือกประโยคที่ตรงกับความรู้สึก หรือความคิดของท่านมากที่สุดใน ระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกา  ลงใน   ก. ฉันรู้สึกเศร้านาน ๆ ครั้ง  ข. ฉันรู้สึกเศร้าบ่อยครั้ง  ค. ฉันรู้สึกเศร้าตลอดเวลา

14 รูปแบบที่มีหัวข้อคำถามในตาราง และให้คะแนนตามความคิดเห็น
รูปแบบที่มีหัวข้อคำถามในตาราง และให้คะแนนตามความคิดเห็น แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory) คำชี้แจง ในระยะเวลา 2 เดือน ที่ผ่านมา ท่านมีอาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึก ต่อไปนี้มากน้อยเพียงใดโปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่องแสดงระดับอาการที่เกิด ขึ้นกับตัวท่านตามความเป็นจริงมากที่สุด อาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึก ระดับอาการ 1 2 3 ไม่เคยเลย เป็นครั้งคราว เป็นบ่อย เป็นประจำ 1. นอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจ 2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ 3. ทำอะไรไม่ได้เลยเพราะประสาทตึงเครียด

15 ข้อคำถามให้เลือกตอบ ใช่/ไม่ใช่, มี/ไม่มี หรือ ได้/ไม่ได้ เพียงคำตอบเดียว
คำชี้แจง จงขีดเครื่องหมาย  ลงในช่อง ได้ หรือ ไม่ได้ ช่องใดช่องหนึ่งเท่านั้น ให้ผู้ ทดสอบพัฒนาการทดสอบจากตัวเด็กเท่านั้น ยกเว้นข้อที่อนุญาตให้ถามจากแม่ หรือ ผู้ที่เลี้ยงดูเด็ก ได้ ไม่ได้ พลิกคว่ำและหงายได้เองทั้งสองอย่าง (อาจถามจากแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก) เมื่ออยู่ในท่าคว่ำหรืออุ้มนั่ง ใช้มือหยิบของใกล้ตัวได้ เมื่อเรียกชื่อเด็กด้วยเสียงปกติ จากด้านหลัง ห่างประมาณ 1 ฟุต เด็กหันมอง

16 ตัวอย่างเครื่องมือคัดกรองและแบบประเมินที่มีการพัฒนา/แปลเป็นภาษาไทย
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory) แบบวัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด (Life Distress Inventory) แบบสอบถาม General Health Questionnaire ฉบับ ภาษาไทย (Thai GHQ) แบบวัดสุขภาพจิตในคนไทย (Thai Mental Health Questionnaire: TMHQ) ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตในคนไทย (Thai Mental Health Indicator: TMHI) เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI)

17 บทบาทของพยาบาลในการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
ช่วยให้พยาบาลสามารถแยกผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงที่มีจะมี ปัญหาด้านสุขภาพจิตออกจากกลุ่มปกติ ใช้ในการทดสอบผลการพยาบาล เปรียบเทียบระยะก่อนและ ระยะหลังได้รับบริการทางการพยาบาล ใช้เพื่อให้การวัดและคัดกรองมีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ มีความเที่ยงตรงของข้อมูล เพื่อวางแผนการพยาบาลต่อไป อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องมือวัดช่วยให้ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยลง

18 แบบฝึกหัด ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการใช้เครื่องมือคัดกรองในเอกสาร ประกอบการสอน 4 แบบทดสอบ พร้อมแปลผล 1. แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง 2. แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q 9Q 3. แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8Q 4. แบบประเมินความเครียดสวนปรุง


ดาวน์โหลด ppt เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google