งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 56 หลักการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 56 หลักการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สิทธิในข้อมูลข่าวสาร เครื่องมือสำคัญของประชาชนในปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

2 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 56 หลักการ
ประชาชนมีสิทธิรับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น ข้อยกเว้นไม่เปิดเผย กระทบ 1. ความมั่นคงของรัฐ 2. ความปลอดภัยของประชาชน 3. ส่วนได้เสียของบุคคลอื่น/ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง > พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

3 แนวคิดหลักเรื่องการใช้สิทธิ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
รัฐรู้อะไร ประชาชนรู้อย่างนั้น หน่วยงานของรัฐ เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น ประชาชน สิทธิที่จะรู้ และรู้ที่จะใช้สิทธิ

4 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและสิทธิของประชาชน ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ - ส่งข้อมูลลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา - จัดไว้ประชาชนเข้าตรวจดู - จัดหาไว้ให้ประชาชนเป็นการเฉพาะราย - แนะนำแหล่งที่เก็บข้อมูล - อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูล สิทธิของประชาชน - ขอคำปรึกษา - ตรวจดูข้อมูล - ขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการ - ได้รู้ถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตน - ร้องเรียน - อุทธรณ์

5 ประเภทของข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป (มาตรา 7, 8, 9, 10, 11, 26) ข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคล (มาตรา 4, 21, 23, 24) ข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่ต้องเปิดเผย (มาตรา 14, 15) - ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา - หน่วยงานจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู - เอกสารประวัติศาสตร์ - ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยไม่ได้ได้แก่ ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ - ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมีให้เปิดเผย เช่น ข้อมูลที่ให้เกิดความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศเป็นอันตรายต่อชีวิต/ความปลอดภัยของบุคคล

6 1. บุคคลสามารถยื่นคำขอตรวจดูข่าวสารส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเอง
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลข่าวสารเฉพาะตัวบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม 1. บุคคลสามารถยื่นคำขอตรวจดูข่าวสารส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเอง 2. ถ้าเห็นว่าข้อมูลของตนไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอต่อหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลให้แก้ไข/ ลบ ข้อมูลข่าวสารนั้นได้ (มาตรา 25)

7 ปัญหาที่เกิดจากการใช้สิทธิ เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
1. ไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารฯ 2. ไม่จัดข้อมูลข่าวสารฯ ให้ตรวจดู 3. ไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารฯ ให้ตามที่ขอ 4. อ้างว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารฯ 5. ปฏิบัติงานล่าช้า 6. ผู้ขอไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร 7. ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ ร้องเรียน อุทธรณ์ 8. มีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ 9. มีคำสั่งไม่ฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ 10. มีคำสั่งไม่เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือลบข้อมูลข่าวสารฯ

8 วิธีการเขียนคำขอข้อมูล
1. ชื่อ – ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์, วันที่ยื่นคำขอ, รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ร้องขอ 2. รายละเอียดข้อมูลที่ขอ ชื่อ รายละเอียดข้อมูล วิธีการที่ต้องการ ตรวจดู/สำเนา/รับรอง+สำเนาถูกต้อง เหตุผลที่ขอ (กฎหมายไม่บังคับให้ต้องระบุเหตุผล) 3. ลงชื่อ

9 วิธีการเขียนหนังสือคำอุทธรณ์
1. ชื่อ – ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์, วันที่ยื่นคำขอ, รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำที่เป็นเหตุยื่นคำอุทธรณ์ ชื่อหน่วยงาน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำ หรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ โดยระบุให้ชัดเจน รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ ควรระบุให้ชัดเจนและเข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านขอดู หรือข้อมูลที่ท่านคัดค้านในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย หรือข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไขหรือลบ เป็นข้อมูลเรื่องอะไร โดยควรระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรระบุชื่อและประเภท หมายเลขและวันที่ที่กำหนดในเอกสารไว้ด้วย 3. เอกสารประกอบ (ถ้ามี) เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร

10 วิธีการเขียนหนังสือร้องเรียน
1. ชื่อ – ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์, วันที่ยื่นคำขอ, รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ร้องเรียน 2. รายละเอียดหน่วยงานและการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ชื่อหน่วยงาน ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 3. เอกสารประกอบ (ถ้ามี) เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร

11 - กรณียื่นคำขอแล้วหน่วยงานไม่เปิดเผย (มาตรา 18) อุทธรณ์ภายใน 15 วัน ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร - คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารฯ ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน - หากไม่พอใจผลการพิจารณา หรือไม่ทราบผลภายใน 60 วัน สามารถใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครอง

12 ข้อควรปฏิบัติในการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานรัฐ เพื่อประโยชน์ในการติดตามเรื่อง ควรดำเนินการดังนี้
ก) ควรสำเนาคำร้อง พยานหลักฐาน ไว้ 1 ชุด ให้เจ้าหน้าที่รับรองว่า ได้ยื่นต้นฉบับไว้แล้ว เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการร้องทุกข์และยื่น พยานหลักฐานไว้ต่อหน่วยงานรัฐ ข) ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงระยะเวลาในการดำเนินการผู้รับผิดชอบ เบอร์โทรศัพท์ที่จะติดต่อสอบถามความคืบหน้าได้ ค) ควรหมั่นตรวจตราจดหมายที่ส่งมาที่บ้านหรือที่อยู่ที่ให้ไว้กับ เจ้าหน้าที่ว่า เจ้าหน้าที่แจ้งให้เราผู้ร้องดำเนินการเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร และหากมีข้อสงสัยให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถาม โดยเร็ว

13 กรณีศึกษา การขอข้อมูลข่าวสารในประเด็นสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมหนองแซง
ข้อเท็จจริง จังหวัดสระบุรีเริ่มจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีในปี 2546 การจัดทำร่างผังเมืองฯ ได้ผ่านขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การสำรวจสภาพ พื้นที่ การรับฟังความคิดเห็นประชาชน และผ่านความเห็นชอบใน หลักการจาก ครม. ในปี 2550 ตามร่างผังเมืองอำเภอหนองแซงถูกกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและ เกษตรกรรมที่สงวนไว้เพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย ห้ามสร้างโรงงาน ทุกจำพวก

14 ข้อเท็จจริง (ต่อ) ประชาชนในพื้นที่ในนามเครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมเห็นว่าร่างผังเมือง ที่ จัดทำขึ้นสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของชุมชน และเห็นว่าหากมีการ ประกาศใช้ผังเมืองจะทำให้ไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ของตน แต่ระหว่างที่ร่างผังเมืองยังไม่ประกาศใช้ก็มีการอนุญาตให้มีการสร้างโรงงาน ขนาดใหญ่ในพื้นที่เรื่อยมา และกำลังมีการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศในพื้นที่ดังกล่าว VS

15 การใช้สิทธิในข้อมูลข่าวสารเพื่อการรณรงค์
1.ช่วงก่อนที่ EIA จะผ่านความเห็นชอบ - เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือขอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซงไปยังสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงานแห่งชาติ 25 และ 26 มิ.ย เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ข้อมูลมลพิษ ปริมาณน้ำที่ใช้ ปริมาณน้ำที่ปล่อย และมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในการทำความเข้าใจกับชุมชน และ ตรวจสอบว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่

16 1.ช่วงก่อนที่ EIA จะผ่านความเห็นชอบ (ต่อ)
3 ส.ค เครือข่ายอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผย 20 ต.ค คณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าเมื่อมีการเปิดเผยอี ไอเอที่ห้องสมุด สผ.แล้ว ผู้อุทธรณ์จึงมีสิทธิขอดูได้แล้ว จึงมีมติยุติเรื่อง

17 2. ช่วงที่มีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างบริษัทฯกับ กฟผ.
ปี 2551 มีข่าวทางหนังสือพิมพ์ว่าบริษัทฯกับ กฟผ.ได้เข้าทำ สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากัน 10 พ.ย เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือขอข้อมูลข่าวสารสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกฟผ.กับบริษัทฯเอกชน เพื่อจะได้ทราบถึงรายละเอียดในการทำสัญญาว่าเอื้อประโยชน์ต่อ เอกชนเกินสมควรหรือไม่ หรือสร้างภาระให้กับชุมชนเกินสมควรหรือไม่ 23 เม.ย กฟผ.มีความเห็นให้เปิดเผยข้อมูลต่อเครือข่ายฯ ยกเว้น ๒ รายงานคือค่าความพร้อมจ่ายและค่าพลังงานไฟฟ้า

18 6 พ. ค. 2552 บริษัทฯ อุทธรณ์คำสั่ง กฟผ
6 พ.ค บริษัทฯ อุทธรณ์คำสั่ง กฟผ.ต่อคณะกรรมการฯ ให้ เพิกถอนคำสั่งของ กฟผ.ที่ให้เปิดเผยสัญญา 11 พ.ย คณะกรรมการฯ มีมติให้เปิดเผยทั้งหมดพร้อม สำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง เว้นแต่ค่าพร้อมจ่ายและค่าพลังงานไฟฟ้าที่ ให้เปิดให้ตรวจดูแต่ไม่ให้สำเนาหรือคัดลอกข้อมูลดังกล่าว 4 ธ.ค บริษัทฯ ฟ้องคดีต่อศาลปกครองและขอให้ศาลทุเลา การบังคับตามคำสั่งของ คณะกรรมการฯและกฟผ. 28 ธ.ค ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เครือข่ายฯ จึงไม่สามารถตรวจดูสัญญาได้ ตุลาคม ๒๕๕๗ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องบริษัทฯและให้เปิดเผย สัญญา

19 3. ช่วงที่มีการออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ
มิ.ย เครือข่ายฯ ทราบว่า กกพ.ได้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ 29 มิ.ย เครือข่ายฯขอข้อมูลเกี่ยวกับการอนุมัติอนุญาต โรงไฟฟ้าหนองแซงไปยังกรมโรงงานจำนวน 5 รายการ เพื่อให้รู้ว่าการออกใบอนุญาตดังกล่าวอาศัยเหตุผลและข้อเท็จจริงใดรองรับ มีเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตอย่างไร และใช้เป็นฐานในการฟ้องคดี 25 ส.ค กรมโรงงานมีหนังสือถึงเครือข่ายฯ ให้เปิดเผย 2 รายการและปฏิเสธที่จะเปิดเผย 3 รายการ 20 ก.ย เครือข่ายได้อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้เปิดเผยไปยังคณะ กรรมการฯ 16 ก.พ คณะกรรมการฯมีมติให้กรมโรงงานเปิดเผยเอกสาร ทั้งหมดแก่เครือข่ายพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

20 4. ช่วงที่เริ่มมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่
กรณีที่ 1 งบประมาณในการรักษาความปลอดภัย หลังได้รับใบอนุญาตบริษัทฯ ก็เริ่มเข้าดำเนินการในพื้นที่และต้องเผชิญ กับการประท้วงจากคนในพื้นที่ ช่วงดังกล่าวนี้เองบริษัทฯได้ขอความร่วมมือจากอำเภอให้ส่งเจ้าหน้าที่ ตำรวจมารักษาความปลอดภัยจำนวนมาก ชาวบ้านมีข้อสงสัยว่าเหตุใดอำเภอจึงส่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากมารักษา ความปลอดภัยให้บริษัทฯนี้ได้

21 14 ม.ค. และ 2 ก.พ เครือข่ายฯ จึงมีการขอข้อมูล เกี่ยวกับคำสั่งและงบประมาณที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ต่ออำเภอหนองแซง 3 ก.พ อำเภอปฏิเสธการเปิดเผยโดยอ้างว่าเป็นข้อมูล เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 15(2) 7 ก.พ เครือข่ายอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ 27 เม.ย สั่งให้อำเภอเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้ง สำเนาที่มีคำรับรองความถูกต้อง

22 กรณีที่ 2 ก่อสร้างไม่เป็นไปตาม EIA
3 พ.ค เครือข่ายมีหนังสือถึง อบต.เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการขุด ดินถมดิน 2 รายการ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามที่ระบุไว้ใน EIA หรือไม่ 19 พ.ค อบต.ปฏิเสธการเปิดเผยโดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ผู้ให้มา ไม่ประสงค์ที่จะให้เปิดเผย เป็นข้อมูลส่วนบุคคล 31 พ.ค เครือข่ายอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ 7 ก.ย คณะกรรมการมีมติให้เปิดเผยเว้นแต่ สำเนาทะเบียน บ้าน บัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง 22 ก.ย บริษัทฯฟ้องคดีต่อศาลปกครอง 26 ก.ย ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งคณะกรรมการฯ

23 ตัวอย่างนักข่าวที่ใช้สิทธิในข้อมูลข่าวสาร
คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตนักข่าวอาวุโสในเครือมติชน (ปัจจุบันเป็น กรรมการปฏิรูปกฎหมาย) เป็นนักข่าวที่ใช้สิทธิในข้อมูลข่าวสารอย่าง สม่ำเสมอ นับตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเป็นปีแรกจนถึงปี 2550 มีคำวินิจฉัยของ ตนเองรวม 10 เรื่อง นี่ไม่รวมกรณีที่ขอแล้วหน่วยงานรัฐจัดให้ตามที่ขอ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ขอเป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นของนักการเมือง การเสียภาษี การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้วคณะกรรมการมีมติให้เปิดเผย นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่านักข่าวอาวุโสท่านนี้เห็นว่าสิทธิในข้อมูลข่าวสารเป็น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก

24 แบบฝึกหัด นักศึกษาและชาวบ้านในชุมชนของนักศึกษาทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ว่ากรมโรงงานได้ออกใบอนุญาตให้บริษัทเอกชนสร้างและประกอบกิจการ โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากขยะในพื้นที่ตำบลที่นักศึกษาอาศัยอยู่ ชาวบ้านรู้สึก กังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจึงมาปรึกษานักศึกษาว่าควรทำอย่างไรดี นักศึกษาจึงเสนอให้ชาวบ้านทำหนังสือข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าดังกล่าวไปที่ กรมโรงงานซึ่งได้แก่ ๑.โรงไฟฟ้าจะตั้งอยู่ที่ใด ๒.โรงไฟฟ้ามีกำลังการผลิต เท่าไหร่ ๓.ใช้ขยะประเภทใดเป็นเชื้อเพลิง ๔. ใช้น้ำจากที่ใด ๕.ผลกระทบที่ สำคัญคืออะไรและมีมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบอย่างไร กรมโรงงาน ปฏิเสธการให้ข้อมูลโดยให้เหตุผลว่าได้สอบถามบริษัทแล้วบริษัทฯไม่ประสงค์ ให้เปิดเผยเพราะเป็นข้อมูลความลับทางธุรกิจ เช่นนี้ให้ท่านร่างหนังสืออุทธรณ์ คำสั่งนี้เพื่อยื่นอุทธรณ์คำสั่งฉบับนี้

25 ติดตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ได้ที่


ดาวน์โหลด ppt รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 56 หลักการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google