งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา

2 1. ความหมายและธรรมชาติของบทความ
บทความ หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เขียน ต้องการถ่ายทอดความคิด และ/หรือ ข้อมูลข่าวสาร ไปยังผู้อ่านโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลาง ประเภทของบทความ บทความทั่วไป บทความกึ่งวิชาการ บทความทางวิชาการ

3 1.) บทความทั่วไป บทความทั่วไป หมายถึง งานเขียนที่มิได้มุ่งเน้นการให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงเชิงวิชาการ แต่มุ่งเน้นที่จะให้ความรู้-ทั่วไป ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน เช่น บทความอัตชีวประวัติ บทความเล่าประสบการณ์การ-เดินทาง และ บทความที่ให้ข้อคิดหรือปรัชญาชีวิต เป็นต้น

4 2.) บทความกึ่งวิชาการ บทความกึ่งวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนประสงค์จะให้ความรู้เชิงวิชาการ แต่ไม่ลึกซึ้งถึงระดับองค์ความรู้หรือทฤษฎี เช่น บทความที่เป็นบทวิเคราะห์/วิพากษ์ และบทความสนับสนุนหลักการหรือแนวคิด เป็นต้น

5 3.) บทความทางวิชาการ บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนหรือความ-เรียงที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อองค์ความรู้ หรือข้อค้นพบใหม่ๆ ทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น บทความวิจัย บทความเสนอแนวคิด หลักการ และ/หรือ แบบจำลอง เป็นต้น

6 2. องค์ประกอบในการเขียนบทความทางวิชาการ
ผู้เขียน สิ่งที่จะเขียน ผู้อ่าน 1.) ผู้เขียน : ศักยภาพและความพร้อมในการเขียนบทความทาง วิชาการ - ปัจจัยภายใน : ปัญญา สมาธิ แรงขับ/แรงกระตุ้น เวลา

7 - ปัจจัยภายนอก : บรรยากาศทางวิชาการ
ภาระงาน (ที่ทำงาน ที่บ้าน และที่อื่นๆ) ปัจจัยทางการเงิน แหล่งและบุคคลที่จะช่วยเหลือสนับสนุน

8 2.) สิ่งที่จะเขียน : - มีความแปลกใหม่ ทันสมัย อยู่ในความสนใจของวงวิชาการ - ผู้เขียนมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความชำนาญ และ/หรือ ผลที่เกิดจากการศึกษาวิจัย - มีประโยชน์ต่อสังคม และ/หรือ ประเทศชาติ - เนื้อหาสาระมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ในทางวิชาการ - อยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และจรรยาบรรณของ นักวิชาการ

9 3.) ผู้อ่าน : - ใครคือกลุ่มเป้าหมาย ?
- ความสามารถในการรับรู้สิ่งที่เขียน (ระดับความรู้ ความสามารถ และความสนใจ) - ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) สิ่งที่เขียน (ชนิดของสื่อ แหล่งที่เผยแพร่)

10 3. โครงสร้างของบทความทางวิชาการ มี 4 องค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
ชื่อบทความ คำนำ / ความนำ / บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป / บทส่งท้าย

11 ชื่อบทความ คำนำ / ความนำ / บทนำ สั้นกะทัดรัด ได้ความหมาย
ใช้ภาษาที่ง่ายแก่การเข้าใจ สื่อให้ผู้อ่านคาดเดาและอยากติดตามเนื้อหาสาระ อาจใช้คำขยาย เพื่อให้ทราบคุณลักษณะของบทความ คำนำ / ความนำ / บทนำ เป็นส่วนของการเขียนเปิดประเด็นก่อนเข้าสู่สาระ/เนื้อหา บอกที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ หรือเค้าโครงของบทความ มีความสำคัญ สามารถทำให้ผู้อ่านเลือกที่จะอ่านหรือไม่อ่านบทความ ต้องอาศัยทักษะในการใช้ภาษาเพื่อจูงใจผู้อ่าน

12 เนื้อเรื่อง บทสรุป / บทส่งท้าย
แสดงองค์ความรู้ ข้อค้นพบ สาระที่เป็นจริงในเรื่องที่เขียน อยู่บนฐานของข้อมูล หรือสถิติที่ทันสมัย มีหลักฐานอ้างอิง หรือมีที่มาชัดเจน มีความเป็นเหตุ เป็นผล และเป็นไปตามลำดับขั้นตอน มีภาพ และ/หรือ ตารางประกอบตามความเหมาะสม บทสรุป / บทส่งท้าย เป็นการสรุปเชิงพรรณนาจากส่วนของเนื้อเรื่อง อาจอภิปรายเปรียบเทียบ หรือ วิเคราะห์สาระที่เขียนกับแนวคิด / ทฤษฎีที่ได้ทบทวนไว้ การใช้สุภาษิต หรือ ปรัชญา มากล่าวอ้างในส่วนนี้เป็นเสน่ห์ที่วิเศษ! ต้องไม่ยืดยาว เยิ่นเย้อ!

13 นอกเหนือจากองค์ประกอบหลักของบทความทางวิชาการดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบเสริมที่ควรใส่ใจด้วยเช่นกัน คือ
บทคัดย่อ / Abstract แผนที่ / ภาพ / ตารางประกอบ บรรณานุกรม ภาคผนวก

14 4. ข้อเสนอแนะในการเขียนบทความทางวิชาการ
1.) กำหนดเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ในการเขียนให้แน่ชัด 2.) เลือกเรื่องที่จะเขียน 3.) รวบรวมข้อมูล / ประมวลแนวคิด-ทฤษฎี-หลักการ 4.) วางเค้าโครง 5.) ลงมือเขียน 6.) ทบทวนเนื้อหาสาระที่เขียนว่าเป็นไปตามเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ หรือไม่ 7.) ปรับแก้ 8.) อ่านตรวจทาน 9.) หาที่ลงตีพิมพ์เผยแพร่ 10.) เก็บสำเนาหรือต้นฉบับบทความไว้เป็นที่ระลึก

15 5. บทความวิจัย 1.) ธรรมชาติของบทความวิจัย
- มีความยาวจำกัด จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม วิชาการหรือลงพิมพ์ในวารสารวิชาการ - เป็นเอกสารที่มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ มากกว่ารายงานการวิจัย ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยสามารถ เพิ่มเติมหรือตัดทอนบางส่วนของรายงานการวิจัยเพื่อ การเผยแพร่ได้ - มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานการวิจัย เพราะต้องทำให้อยู่ใน format ที่เป็นที่ยอมรับตามหลัก สากล (นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวานิช)

16 2.) องค์ประกอบของบทความวิจัย
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าในบทความวิจัยจะต้องประกอบไปด้วยหัวข้ออะไรบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้จะขียนบทความวิจัยนั้นอยู่ภายใต้บริบทของอะไรและของใคร อย่างไรก็ตาม บทความวิจัยที่ดีควรมีส่วนประกอบ ดังนี้ - ชื่อบทความ - บทคัดย่อ / ABSTRACT - ความนำ / บทนำ - วิธีดำเนินการวิจัย - ผลการศึกษาวิจัย - สรุป และอภิปรายผล (อาจรวมข้อเสนอแนะด้วยก็ได้) - บรรณานุกรม

17 3.) แนวทางในการเขียนบทความวิจัย - ถามตัวเองก่อนว่าจะเขียนไหม (ทำวิจัยแล้วหรือยัง) - ทำความเข้าใจในธรรมชาติของบทความวิจัยให้ดีก่อน - กำหนดเค้าโครงที่จะเขียน - อ่านทบทวนงานวิจัยที่ทำให้ซาบซึ้ง กี่เที่ยวก็ได้ - พยายาม condence & digest เนื้อหาจากรายงานการ วิจัยมาเรียบเรียงเป็นบทความ (หลีกเลี่ยงการตัดแปะ) - เขียนตามลำดับขั้นตอน (sequences) ที่เป็นที่ยอมรับ - ตระหนักในเรื่องการใช้ภาษา และถูกหลักไวยากรณ์ - อย่าคิดหรือนึกว่าคนอื่นจะตรวจภาษาหรือพิสูจน์อักษรให้

18 4.) ปัญหาที่มักพบเสมอๆในการเขียนบทความวิจัย - ผู้วิจัยคัดเอาบทสุดท้ายมาเป็นบทความ หรือใช้การตัดแปะ - ใช้ format ไม่ตรงกับที่วารสาร หรือการประชุมกำหนด - สาระไม่เหมาะสม (บทคัดย่อยาวเกินไป ขาดข้อมูลเชิงประจักษ์ การนำเสนอผลด้วยตาราง หรือแผนภูมิโดยขาดคำอธิบาย) - ใช้ภาษาไม่ถูกหลักวิชาการ และหลักไวยากรณ์ - บทสรุปไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์/ ใช้ตัวเลขมากเกินไป - ขาดการอภิปรายผล หรือมี แต่อภิปรายไม่ถูกหลักการ - ข้อเสนอแนะไม่ได้เกิดจากการศึกษาวิจัย แต่มาจากผู้วิจัยเอง - บรรณานุกรมเขียนไม่ครบ และ/หรือเขียนไม่ถูกต้องตามหลักการ

19 ประเด็นร้อน เกี่ยวเนื่องกับการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ให้ส่งผลงานทางวิชาการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้นั้น จากประสบการณ์ ทำให้ทราบว่าการส่งผลงานวิจัยในรูปของบทความวิจัย มีโอกาสผ่านการประเมินค่อนข้างยาก เนื่องจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนในคุณสมบัติของงานวิจัยในฐานะผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่ง กับ ผลงานวิจัยโดยทั่วไป

20 That’s it. Thank you for your kind attention!!!!!


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google