งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบบัญชาการเหตุการณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบบัญชาการเหตุการณ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบบัญชาการเหตุการณ์
ผู้บัญชาการ situation ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ SA & ยุทธศาสตร์ ภารกิจ แนวทางการปฏิบัติ การสั่งการ ข้อมูล ขอทบทวนระบบบัญชาการเหตุการณ์อีกครั้ง ระบบบัญชาการเหตุการณ์กรมควบคุมโรค แบ่งได้เป็น ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ มีกลุ่มภารกิจ 2 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุข และกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์ ผู้ปฏิบัติ มี 9 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ 1) กลุ่มภารกิจปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค – Operations 2) กลุ่มภารกิจการสื่อสารความเสี่ยง 3) กลุ่มภารกิจการดูแลรักษาผู้ป่วย – Case management 4) กลุ่มภารกิจด่านระหว่างประเทศ – Point of Entry 5) กลุ่มภารกิจการสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุง – Stockpiling and Logistics 6) กลุ่มภารกิจกฎหมาย 7) กลุ่มภารกิจการเงินและงบประมาณ 8) กลุ่มภารกิจกำลังคน 9) กลุ่มภารกิจประสานงานและเลขานุการ – Liaison ผู้ปฏิบัติ Operation สื่อสารความเสี่ยง Case Management PoE หน่วยสนับสนุน Stockpiling | กฎหมาย | การเงินและงบประมาณ | กำลังคน Liaison

2 ทบทวนระบบ ICS ผู้บัญชาการ และฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์

3 การแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์
โดยทั่วไป ผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์กรจะเป็น แต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ นั่นคือ ระดับจังหวัดฯ – ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ระดับ สสจ – นพ.สสจ เป็นผู้แต่งตั้งผู้บัญชาการ เหตุการณ์ ผู้บัญชาการเหตุการณ์มีหน้าที่ต้องรายงานผลการ ปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา

4 บทบาทหน้าที่ของผู้บัญชาการเหตุการณ์
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการบัญชาการเหตุการณ์ ติดตามสถานการณ์ของเหตุการณ์ จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉิน (Incident Action Plan: IAP) โดยคำนึงถึงความ ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ติดตาม ประเมิน และแก้ไขปัญหา การดำเนินงานในส่วนต่างๆ ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ บริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ สำหรับการตอบโต้เหตุการณ์ ประสานระดับนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอกองค์กร ตัดสินใจ ยกระดับ – ลดระดับ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินฯ (Emergency Operation Center:EOC) และสั่งการหน่วยย่อยใน ระบบบัญชาการเหตุการณ์ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน

5 ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค
ผู้บัญชาการ situation ผู้บัญชาการเหตุการณ์ กลุ่มภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุข ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ SA & ยุทธศาสตร์ ภารกิจ แนวทางการปฏิบัติ การสั่งการ ข้อมูล ต่อไปจะเป็นการบรรยายถึงบทบาทหน้าที่ของกลุ่มภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุข ซึ่งอยู่ในฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มภารกิจด้านยุทธศาสตร์ และกลุ่มภารกิจด้านการปฏิบัติการ การจัดโครงสร้างว่ากลุ่มภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุขจะอยู่ที่ใดในโครงสร้างของระบบบัญชาการเหตุการณ์ มักมีทางเลือก 3 ทางคือ 1. อยู่ในกับกลุ่มภารกิจด้านยุทธศาสตร์ 2. อยู่ในกลุ่มภารกิจด้านการปฏิบัติการ 3. แยกออกมาเป็นกลุ่มภารกิจอีกกลุ่มภารกิจ โดยไม่ได้เข้าไปรวมอยู่ในกลุ่มภารกิจใดๆ กรมควบคุมโรคให้ความสำคัญกับภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุขเป็นอย่างสูงจึงตัดสินใจที่จะแยกกลุ่มภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุขออกมาเป็นกลุ่มภารกิจอีกกลุ่มหนึ่งโดยไม่ไปขึ้นอยู่กับกลุ่มภารกิจใด ผู้ปฏิบัติ Operation สื่อสารความเสี่ยง Case Management PoE หน่วยสนับสนุน Stockpiling | กฎหมาย | การเงินและงบประมาณ | กำลังคน Liaison

6 เป็นกลุ่มภารกิจที่รับผิดชอบงาน
กลุ่มภารกิจตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุข (Situation Awareness Team, SAT) เป็นกลุ่มภารกิจที่รับผิดชอบงาน เฝ้าระวังเหตุการณ์ผิดปกติ ที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพของประชาชน ประเมินสถานการณ์การระบาดของโรค/ภัย สุขภาพทั้งในและต่างประเทศ จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายหรือมาตรการป้องกัน ควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ เสนอ เปิด EOC และปิด EOC หน้าที่ของกลุ่มตระหนักรู้สถานการณ์สาธารณสุข 1. ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ 2. ประสานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบข่าวการระบาดหรือเหตุการณ์ผิดปกติดังกล่าว ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงข่าวลือ พร้อมทั้งเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ทีมสอบสวนควบคุมโรคในพื้นที่ได้ดำเนินการไปแล้ว แนะนำมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ทีมสอบสวนควบคุมโรคในพื้นที่ควรจะทำเพิ่มเติม รวมถึงให้การสนับสนุนด้านวิชาการ หรือส่งทีมจากส่วนกลางร่วมสอบสวนและประสานการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เกิดเหตุ กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือทีมสอบสวนควบคุมโรคในพื้นที่ร้องขอ 3. ประสานข้อมูลและปฏิบัติงานคู่ขนานกับผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 5. จัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโรค/ภัยสุขภาพที่สำคัญระดับสูงหรืออาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง เสนอผู้บริหารทราบ 6. รายงานเหตุการณ์เร่งด่วนที่สำคัญให้ผู้บริหารกรมควบคุมโรค 7. สรุปเหตุการณ์การระบาดของโรค/ภัยสุขภาพ หรือเหตุการณ์ผิดปกติต่างๆ เสนอผู้บริหารทุกวัน 8. สรุปสถานการณ์ที่สำคัญประจำสัปดาห์และจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร 9. เสนอข้อพิจารณาเพื่อให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ตัดสินใจยกระดับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (เปิด EOC กรมควบคุมโรค)

7 บทบาทหน้าที่ของ SAT ในภาวะปกติ
ตรวจสอบข่าวการระบาด แหล่งข้อมูล ไม่เป็นจริง ข่าวลือ เป็นจริง ยืนยันการระบาด ประสานข้อมูลกับผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (SMEs) ประเมินความเสี่ยงของเหตุการณ์ รุนแรง สนับสนุนทีม JIT ส่วนกลาง ร่วมสอบสวนโรคในพื้นที่ ไม่รุนแรง ทีม JIT ในพื้นที่ลงสอบสวนโรคและควบคุมสถานการณ์ ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ประสานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบข่าวการระบาดหรือเหตุการณ์ผิดปกติดังกล่าว ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงข่าวลือ พร้อมทั้งเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ SRRT ในพื้นที่ได้ดำเนินการไปแล้ว แนะนำมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ทีม SRRT ในพื้นที่ควรจะทำเพิ่มเติม รวมถึงให้การสนับสนุนด้านวิชาการ หรือส่งทีมจากส่วนกลางร่วมสอบสวนและประสานการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เกิดเหตุ กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือทีม SRRT ในพื้นที่ร้องขอ ประสานข้อมูลและปฏิบัติงานคู่ขนานกับผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(Subject Matter Experts: SME) ประเมินความเสี่ยงเหตุการณ์การระบาดของโรคและภัยสุขภาพ ว่ามีแนวโน้มเพิ่มระดับความรุนแรงหรือมีโอกาสขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ อย่างไร บันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล Event-based Surveillance ของสำนักระบาดวิทยา รายงานเหตุการณ์เร่งด่วน ตาม DCIR (Director Critical Information Requirement) ให้ผู้บริหารกรมควบคุมโรค ด้วยระบบ SMS ซึ่งบรรจุอยู่ในโปรแกรม Event-based Surveillance ภายใน 30 นาที หลังได้รับทราบข่าวการระบาด/เหตุการณ์ผิดปกตินั้นๆ การรายงานเหตุการณ์เร่งด่วนอื่นๆ 6.1 มีเหตุการณ์เร่งด่วน ที่อาจมีผลกระทบสูง จะต้องเสนอผู้บริหารภายใน 120 นาที 6.2 กรณีที่มีข่าวการระบาดของโรค/ภัยสุขภาพในต่างประเทศ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประเทศไทย จะต้องประเมินความเสี่ยงและรายงานผู้บริหารภายใน ชั่วโมง 8. สรุปเหตุการณ์การระบาดของโรค/ภัยสุขภาพ หรือเหตุการณ์ผิดปกติต่างๆ เสนอผู้บริหาร ทาง Line : Sat DDC ภายในเวลา น. ของทุกวัน 9. จัดทำรายงานประเมินสถานการณ์ทางด้านสาธารณสุข (Risk Assessment) ของโรค/ภัยสุขภาพที่สำคัญระดับสูงหรืออาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง เสนอผู้บริหารกรมควบคุมโรค ทางอีเมล์ ภายใน 48 ชั่วโมง หลังทราบเหตุ 10. สรุปสถานการณ์ที่สำคัญประจำสัปดาห์และจัดทำรายงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ในรูปแบบของรายงานประจำสัปดาห์ (WESR) บน เว็บไซต์ของสำนักระบาดวิทยาและหนังสือราชการถึงหัวหน้าส่วนราชการระดับกอง/สำนักขึ้นไป 11. เสนอข้อพิจารณาเพื่อให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ตัดสินใจยกระดับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (เปิด EOC กรมควบคุมโรค) ***DCIR คือ เหตุการณ์เร่งด่วนที่ต้องรายงานผู้บริหารภายใน 30 นาที รายงานสถานการณ์ให้ทีมตระหนักรู้สถานการณ์ทราบและจัดทำรายงานสรุปเหตุการณ์เสนอต่อผู้บริหาร

8 บทบาทหน้าที่ของ SAT ในภาวะฉุกเฉิน
ติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสถานการณ์ อย่าง ใกล้ชิด ประสาน เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆที่ เกี่ยวข้อง จัดทำฐานข้อมูลให้พร้อมใช้ กำหนดทางเลือกในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ร่วมกับทีมยุทธศาสตร์ จัดทำสรุปสถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพ เสนอข้อพิจารณา ปิด EOC กรมควบคุมโรค

9 ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค
ผู้บัญชาการ situation ผู้บัญชาการเหตุการณ์ กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์ ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ SA & ยุทธศาสตร์ ภารกิจ แนวทางการปฏิบัติ การสั่งการ ข้อมูล ต่อไปจะเป็นการบรรยายถึงบทบาทหน้าที่ของกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์ ผู้ปฏิบัติ Operation สื่อสารความเสี่ยง Case Management PoE หน่วยสนับสนุน Stockpiling | กฎหมาย | การเงินและงบประมาณ | กำลังคน Liaison

10 บทบาทหน้าที่หลักของกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์
เสนอกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมายในการตอบโต้ภาวะ ฉุกเฉินแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ เชิญทุกภารกิจมาร่วมการจัดทำแผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan, IAP) สนับสนุนด้านวิชาการให้กับผู้ปฏิบัติงานในระบบ ICS ประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมาย เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์/มาตรการให้เหมาะสม ตามสถานการณ์ จัดสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (After Action Review, AAR) ในระยะฟื้นฟู หลังเกิดภาวะฉุกเฉิน จัดทำแผนประคองกิจการ

11 “What Who How and what if”
1. เสนอกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมายในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ การนำเสนอ กลยุทธ์/มาตรการ ในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน นั้นๆ ให้กับ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ และคณะทำงานต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการควบคุมสถานการณ์ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2. การจัดทำแผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan: IAP) ในทุกๆเหตุการณ์ในระบบ ICS จะต้องมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์ทุกครั้ง โดยปกติแผนเผชิญเหตุนั้น ต้องระบุรายละเอียดสำคัญประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของเหตุการณ์ (Incident Objectives) 2) รายละเอียดภารกิจ และกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ รวมถึงผู้รับผิดชอบ 3) ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน (Operational Period) “What Who How and what if” เสนอกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมายในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์ มีบทบาทหน้าที่หลัก คือ การนำเสนอ กลยุทธ์/มาตรการ ในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน นั้นๆ ให้กับ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ และกลุ่มภารกิจต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการควบคุมสถานการณ์ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ อนึ่งในการเสนอกลยุทธ์ มาตรการ และเป้าหมายในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินแก่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ กลุ่มภารกิจด้านยุทธศาสตร์ควรเสนอทางเลือกพร้อมวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์เป็นผู้ตัดสินใจ การจัดทำแผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan: IAP) ในทุกๆ เหตุการณ์ จะต้องมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ ควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในระบบสามารถเข้าใจแผนการทำงานที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติงานตามระบบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไป แผนเผชิญเหตุต้องระบุรายละเอียดสำคัญประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ของเหตุการณ์ 2. รายละเอียดภารกิจ และกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ รวมถึงผู้รับผิดชอบ 3. ห้วงระยะเวลาในการปฏิบัติงาน หรือ Operational Period จะเห็นได้ว่ารายละเอียดดังกล่าวในแผนเผชิญเหตุ เป็นการตอบคำถามสำคัญ “อะไร ใคร อย่างไร จะทำอะไรถ้า” นั่นเอง

12 3. สนับสนุนด้านวิชาการให้กับผู้ปฏิบัติงานในระบบ ICS
สนับสนุนข้อมูลด้านวิชาการ ที่มีความจำเป็นต่อการปฎิบัติงาน เป็นข้อมูลสั้น กระชับ เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ โดยครอบคลุมทั้ง 5 กลุ่มโรคและภัย 4. ประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมาย เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์/มาตรการให้เหมาะสมตามสถานการณ์ การติดตามและประเมินผล คือ กระบวนการในการสังเกตการณ์และบันทึกกิจกรรมในการปฏิบัติการของผู้มีส่วนร่วมตามโครงสร้าง ICS และเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ 1) กําหนดกรอบวิธีการประเมินผล 2) สรุปผลและรายงาน สนับสนุนด้านวิชาการให้กับผู้ปฏิบัติงานในระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นการสนับสนุนข้อความรู้ด้านวิชาการที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานหลัก เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค วิธีการติดต่อ วิธีการจัดการกับปัญหาในเชิงเทคนิคในสถานการณ์เฉพาะต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลด้านวิชาการที่ดี ควรเป็นข้อมูลที่ สั้น กระชับ เข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติได้ ประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ มาตรการ เป้าหมาย เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์/มาตรการให้เหมาะสมตามสถานการณ์ การติดตามและประเมินผล คือ กระบวนการในการสังเกตการณ์และบันทึกการปฏิบัติงานของผู้มีส่วนร่วมปฏิบัติงานตามโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ เพื่อสะท้อนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งในที่นี้ กลุ่มภารกิจด้านยุทธศาสตร์มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อขั้นตอนและวิธีการในการประเมินผล ดังนี้ 1) กําหนดกรอบวิธีการประเมินผล หมายถึง การกําหนดขอบเขตของการประเมินผล วิธีการ หัวข้อประเด็นที่จะทําการประเมินผลและการให้คะแนน 2) สรุปผลและรายงาน คือ การนําผลที่ได้จากการสังเกตการณ์ บันทึกกิจกรรม จุดอ่อน จุดแข็ง ที่พบตามกรอบวิธีการประเมินผล และนํามาวิเคราะห์ประมวลผล สรุปรายงานต่อผู้บัญชาการเหตุการณ์ และผู้เกี่ยวข้องทราบ กลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์ต้องทบทวนและปรับปรุงขั้นตอนปฏิบัติงานตลอดเวลาทั้งในขณะที่กำลังปฏิบัติการจัดการภาวะฉุกเฉินอยู่เพื่อพัฒนาระบบงานในขณะนั้นให้ดียิ่งขึ้น หรือหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจจัดการภาวะฉุกเฉินไปแล้ว ซึ่งการดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้นภารกิจไปแล้วดำเนินการไปเพื่อการเตรียมการสำหรับรับมือภาวะฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป

13 5. จัด After Action Review (AAR) ในระยะ Recovery
เครื่องมือการสรุปบทเรียน ทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของงาน 1) เป้าหมายของงานนี้คืออะไร? 2) เป้าหมายส่วนใดที่บรรลุผลเกินความคาดหมาย เพราะอะไร? 3) เป้าหมายส่วนใดที่บรรลุผลน้อย หรือไม่ บรรลุผล เพราะเหตุใด? 4) สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานนี้คืออะไร? 5) ถ้าจะมีงานในลักษณะนี้อีก จะทําอย่างไรให้ดี กว่าเดิม? เรียนรู้ก่อนทำ เรียนรู้ระหว่างทำ เรียนรู้หลังทำ การทบทวนและสรุปบทเรียนในระยะฟื้นฟูหลังเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉิน เครื่องมือที่สําคัญมากเครื่องมือหนึ่งในการจัดการความรู้ คือ เรียนรู้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการเรียนรู้ก่อนลงมือทํา-ระหว่างทํา-หลังทํา การเรียนรู้ก่อนทํา เป็นการทบทวน/หาข้อมูลของเรื่องที่จะทํา ว่าต้องดําเนินการอะไรบ้าง หรือสืบค้น เพื่อหาว่าเรื่องนั้นๆ มีใครทําไว้แล้วได้ผลดีบ้าง เราจะ “เรียนลัด” “ต่อยอด”ให้ดีขึ้นได้อย่างไร การเรียนรู้ระหว่างทํา เป็นการทบทวน/ประเมินงานเป็นระยะๆ เพื่อนําไปปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม การเรียนรู้หลังทํางานเสร็จ หรือการสรุปบทเรียน ซึ่งอาจดำเนินการได้โดยให้ผู้ที่รับผิดชอบงานหรือ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด คิดทบทวน/สอบทานวัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ของงาน แผนงาน และวิธีการทํางานใน แต่ละขั้นตอน เพื่อนําไปปรับปรุงงานในหรือวางแผนการดําเนินงานต่อไป การสรุปบทเรียนมักให้ผู้รับผิดชอบงานตอบคําถาม ดังนี้ 1. เป้าหมายของงานนี้คืออะไร? 2. เป้าหมายส่วนใดที่บรรลุผลเกินความคาดหมาย?เพราะอะไร? 3. เป้าหมายส่วนใดที่บรรลุผลน้อย หรือไม่บรรลุผล เพราะเหตุใด? 4. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานนี้คืออะไร? 5. ถ้าจะมีงานในลักษณะนี้อีก จะทําอย่างไรให้ดีกว่าเดิม?

14 6. จัดทำแผนประคองกิจการ
หมายถึง แผนงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อรองรับหรือเรียกคืนการดำเนินงานให้กลับสู่ภาวะปกติ จะเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานปกติสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง แผนประคองกิจการ ต้องครอบคลุมทุกภารกิจงานที่สำคัญและจำเป็นในองค์กร จัดทำแผนประคองกิจการ แผนประคองกิจการ หมายถึง แผนงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อรองรับหรือเรียกคืนการดำเนินงานให้กลับสู่ภาวะปกติ จะเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการปฏิบัติงานปกติสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้การปฏิบัติงานปกติต้องหยุดชะงัก เช่น อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ อัคคีภัย อุทกภัย การก่อเหตุวินาศกรรม หรือการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น แผนประคองกิจการ ต้องครอบคลุมทุกภารกิจงานที่สำคัญและจำเป็นในองค์กร และผู้ให้บริการหลักที่เกี่ยวข้องมีการปรับปรุงแผนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อสามารถนำไปดำเนินงานได้ตรงตามเป้าหมายเมื่อต้องการ

15 ผู้ปฏิบัติ : ทีมปฏิบัติการหลัก
หน่วยที่ 5 จะพูดถึงภาพรวมบทบาทหน้าที่ของกลุ่มภารกิจปฏิบัติการหลักในระบบบัญชาการเหตุการณ์ ตามโครงสร้างของกรมควบคุมโรค

16 โครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์
ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ผู้บัญชาการ SA& ยุทธศาสตร์ ฝ่ายข้อมูลและยุทธศาสตร์ ภารกิจ แนวทางการปฏิบัติ การสั่งการ ผู้ปฏิบัติ ในหน่วยการเรียนรู้นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะทีมปฏิบัติการหลัก ซึ่งได้แก่ • กลุ่มภารกิจปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค(Operation) • กลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) • กลุ่มภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วย (Case Management) • กลุ่มภารกิจด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ (Point of Entry) ทีมปฏิบัติการหลัก Operation Operation สื่อสารความเสี่ยง สื่อสารความเสี่ยง Case Management Case Management PoE PoE ทีมสนับสนุน Stockpiling | กฎหมาย | การเงินและงบประมาณ | กำลังคน Liaison

17 กลุ่มภารกิจปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (Operations)
หน้าที่หลัก: ส่วนกลาง จัดระบบการปฏิบัติการภาคสนามใน การปฏิบัติการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เช่น กลุ่ม ภารกิจปฏิบัติการ ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการ ปฏิบัติงาน (JAS: Job Action Sheet) รวบรวมความรู้ มาตรฐาน มาตรการในการปฏิบัติงาน ภาคสนาม จัดทำรูปแบบการรายงาน จากกลุ่ม ภารกิจปฏิบัติการภาคสนามให้ เหมาะสมกับเหตุการณ์ การประสานงาน (ระบบเชื่อม ประสานข้อมูล) กับกลุ่มภารกิจ ปฏิบัติงานภาคสนาม กลุ่มภารกิจที่ 1 กลุ่มภารกิจปฏิบัติการ (Operation) มีหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและภาคสนาม ซึ่งหน้าที่หลักของกลุ่มภารกิจปฏิบัติการส่วนกลาง คือ 1. กลุ่มภารกิจปฏิบัติการ 2. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการปฏิบัติงาน 3. รวบรวมความรู้ มาตรฐาน มาตรการในการปฏิบัติงานภาคสนาม 4. จัดทำรูปแบบการรายงาน จากกลุ่มภารกิจปฏิบัติการภาคสนามให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ 5. การประสานงาน (ระบบเชื่อมประสานข้อมูล) กับกลุ่มภารกิจปฏิบัติงานภาคสนาม

18 กลุ่มภารกิจปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (Operations)
หน้าที่หลัก: ภาคสนาม กำหนดมาตรการความปลอดภัย ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ประเมินขนาด ความรุนแรง การกระจาย ของปัญหา (Rapid Assessment) และ สรุปผลแจ้งศูนย์ปฏิบัติการผ่าน Situation Awareness ปฏิบัติการควบคุมสถานการณ์ ภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ รายงานสถานการณ์ และ ปัญหาอุปสรรค หรือร้องขอการ สนับสนุนเพิ่มเติมกับศูนย์ บัญชาการผ่าน Situation Awareness เป็น Real time รายงานผลการปฏิบัติงานและ ประเมินผลการปฏิบัติงานให้ผู้ บัญชาการเหตุการณ์ทราบ ส่วนหน้าที่หลักของกลุ่มภารกิจปฏิบัติการภาคสนาม คือ 1. กำหนดมาตรการความปลอดภัยของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน 2. ประเมินขนาด ความรุนแรง การกระจาย ของปัญหา (Rapid Assessment) และสรุปผลแจ้งศูนย์ปฏิบัติการผ่าน SA 3. ปฏิบัติการควบคุมสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ 4. รายงานสถานการณ์ และปัญหาอุปสรรค หรือร้องขอการสนับสนุนเพิ่มเติมกับศูนย์บัญชาการผ่าน Situation Awareness เป็น Real time 5. รายงานผลการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ทราบ

19 กลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication)
หน้าที่หลัก: เฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ทุกช่องทาง และประเมินการ รับรู้ของสาธารณะ (Public perceptions) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และจัดทำแผนการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสมและรวดเร็ว เฝ้าระวังข่าวลือ จากช่องทางต่างๆ และตอบโต้อย่างเหมาะสม และ รวดเร็ว จัดทำข้อมูลข่าวสาร ประเด็นข่าว (Press release) ประเด็นสาร (Talking point) ที่ถูกต้องแม่นยำ และครบถ้วน เหมาะกับ สถานการณ์และกลุ่มภารกิจเป้าหมาย ดำเนินการสื่อสารความเสี่ยงผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งผลิตสื่อ เพื่อ เผยแพร่ด้วยรูปแบบและภาษาที่เหมาะสม กลุ่มภารกิจที่ 2 ในกลุ่มภารกิจผู้ปฏิบัติการหลัก ได้แก่ สำหรับกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง หรือ Risk Communication ซึ่ง มีหน้าที่หลักดังต่อไปนี้ เฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆทุกช่องทาง และประเมินการรับรู้ของสาธารณะ (Public perceptions) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดทำแผนการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสมและรวดเร็ว เฝ้าระวังข่าวลือ จากช่องทางต่างๆ และตอบโต้อย่างเหมาะสม และรวดเร็ว จัดทำข้อมูลข่าวสาร ประเด็นข่าว (Press release) ประเด็นสาร (Talking point) ที่ถูกต้องแม่นยำ และครบถ้วน เหมาะกับสถานการณ์และกลุ่มภารกิจเป้าหมาย ดำเนินการสื่อสารความเสี่ยงผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งผลิตสื่อ เพื่อเผยแพร่ด้วยรูปแบบและภาษาที่เหมาะสม

20 กลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) (ต่อ)
หน้าที่หลัก: ประสานกับกลุ่มภารกิจงานย่อย เพื่อจัดการและ Update ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อเผยแพร่ และสื่อสารความเสี่ยง จัดทำทำเนียบผู้บริหาร โฆษก และวิทยากร เพื่อแถลงข่าว ให้ข่าวสื่อมวลชน และให้ความรู้ประชาชน และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวง สาธารณสุข เพื่อดำเนินการสื่อสารความเสี่ยง ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานสื่อสารความเสี่ยงต่อ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ หน้าที่หลัก (ต่อ) ประสานกับกลุ่มภารกิจงานย่อย เพื่อจัดการและ Update ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อเผยแพร่ และสื่อสารความเสี่ยง จัดทำทำเนียบผู้บริหาร โฆษก และวิทยากร เพื่อแถลงข่าว ให้ข่าวสื่อมวลชน และให้ความรู้ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการสื่อสารความเสี่ยง ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานสื่อสารความเสี่ยงต่อผู้บัญชาการเหตุการณ์

21 กลุ่มภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วย (Case Management)
หน้าที่หลัก: จัดทำมาตรฐานแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยตลอดจนแนวทางในการ ป้องกันการติดเชื้อ ประสานกับห้องปฏิบัติการทางสาธารณสุขเพื่อจัดทำแนวทางการส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม ประสานและ/หรือจัดเตรียมสถานที่สำหรับการ คัดกรอง แยกกัก รักษา ผู้ป่วย จัดกลุ่มภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic case) และ ฝึกซ้อมกลุ่มภารกิจเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกัน การติดเชื้อได้อย่างเหมาะสม จัดกลุ่มภารกิจผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และการ ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแก่สถานพยาบาลที่รับดูแล รักษาผู้ป่วย กลุ่มภารกิจที่ 3 ในผู้ปฏิบัติการหลัก ได้แก่ กลุ่มภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วย (Case Management ) ซึ่งมีหน้าที่ จัดทำมาตรฐานแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยตลอดจนแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ ประสานกับห้องปฏิบัติการทางสาธารณสุขเพื่อจัดทำแนวทางการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม ประสานและ/หรือจัดเตรียมสถานที่สำหรับการ คัดกรอง แยกกัก รักษาผู้ป่วย จัดกลุ่มภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic case) และฝึกซ้อมกลุ่มภารกิจเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อได้อย่างเหมาะสม จัดกลุ่มภารกิจผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแก่สถานพยาบาลที่รับดูแลรักษาผู้ป่วย

22 กลุ่มภารกิจด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ (Point of Entry)
หน้าที่หลัก: ตรวจคัดกรองผู้เดินทางที่มาจากพื้นที่เสี่ยง สาธิตฝึกปฏิบัติการดำเนินงานตามมาตรฐานการควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศแก่เจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานใน ภาวะฉุกเฉิน ควบคุมกำกับให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐาน IHR2005 Point of Entry (ภาวะฉุกเฉิน) ตามมาตรฐาน คู่มือพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกระหว่าง ประเทศ IHR 2005 จัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ และส่งต่อข้อมูลให้ SAT กลุ่มภารกิจด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ (Point of Entry) มีหน้าที่หลัก ดังนี้ ตรวจคัดกรองผู้เดินทางที่มาจากพื้นที่เสี่ยง สาธิตฝึกปฏิบัติการดำเนินงานตามมาตรฐานการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศแก่เจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน ควบคุมกำกับให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐาน IHR2005 Point of Entry (ภาวะฉุกเฉิน) ตามมาตรฐานคู่มือพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ IHR 2005 จัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และส่งต่อข้อมูลให้ SAT

23 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ผู้ปฏิบัติ : ทีมสนับสนุน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ผู้ปฏิบัติ : ทีมสนับสนุน ทีมสนับสนุน กลุ่มภารกิจการสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุง (Stockpiling and Logistics) กลุ่มภารกิจกฎหมาย กลุ่มภารกิจการเงิน และงบประมาณ (Finance/Administration) กลุ่มภารกิจกำลังคน กลุ่มภารกิจประสานงานและเลขานุการ (Liaison) ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 6 นี้จะกล่าวถึงหน้าที่ของทีมสนับสนุน ซึ่งมีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทีมปฏิบัติการหลัก ถ้าจะเปรียบเทียบกับเรือบรรทุกเครื่องบิน ก็คือ ทุกคนบนเรือสำคัญไม่แพ้กัน ไม่ใช่มีเพียงแต่นักบินเท่านั้นที่สำคัญ ไม่มีพ่อครัว แม่ครัว เรือก็ออกไปรบไม่ได้เหมือนกัน ในส่วนของกรมควบคุมโรค ทีมสนับสนุนประกอบด้วย 5 กลุ่มภารกิจดังนี้ กลุ่มภารกิจการสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุง (Stockpiling and Logistics) กลุ่มภารกิจกฎหมาย กลุ่มภารกิจการเงินและงบประมาณ (Finance/Administration) กลุ่มภารกิจกำลังคน กลุ่มภารกิจประสานงานและเลขานุการ (Liaison)

24 กลุ่มภารกิจการสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุง (Stockpiling and Logistics)
จัดทำแผน สรรหา สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สำรองเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ (IT) อุปกรณ์และระบบสื่อสาร เสบียงและอุปกรณ์ยังชีพ และ ยานพาหนะ ตามแผนที่กำหนด จัดทำแผน กระจาย ดูแลกำกับ และจัดส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์เทคโนโลยีและ สารสนเทศ (IT) อุปกรณ์และระบบสื่อสาร เสบียงและอุปกรณ์ยังชีพ ยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ตามแผนที่กำหนด จัดทำแผน สรรหา จัดตั้งสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทีมปฏิบัติการ และศูนย์พักพิง สำหรับผู้ประสบภัย ดูแลรักษาทีมปฏิบัติการที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย กลุ่มภารกิจการสำรองวัสดุ เวชภัณฑ์ และส่งกำลังบำรุง (Stockpiling and Logistics) 1. จัดทำแผน สรรหา สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สำรองเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์เทคโนโลยีและสารสนเทศ ( IT ) อุปกรณ์และระบบการสื่อสาร เสบียงและอุปกรณ์ยังชีพ และยานพาหนะ ตามแผนที่กำหนด 2. จัดทำแผน กระจาย ดูแลกำกับ และจัดส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์เทคโนโลยีและสารสนเทศ ( IT ) อุปกรณ์และระบบการสื่อสาร เสบียงและอุปกรณ์ยังชีพ ยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ตามแผนที่กำหนด 3. จัดทำแผน สรรหา จัดตั้งสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทีมปฏิบัติการ และศูนย์พักพิงสำหรับผู้ประสบภัย 4. ดูแลรักษาทีมปฏิบัติการที่ได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย

25 กลุ่มภารกิจกฎหมาย ทบทวน รวบรวม วิเคราะห์ พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์ ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ร่าง ปรับปรุง หรือเพิ่มกฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย สื่อสารและถ่ายทอดกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้อง ประเมินผลกระทบของกฎหมายที่บังคับใช้ ช่วยจัดทำคำร้องเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย กลุ่มภารกิจกฎหมาย 1. ทบทวน รวบรวม วิเคราะห์ พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2. ร่าง ปรับปรุง หรือเพิ่มกฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน 3. เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย 4. สื่อสารและถ่ายทอดกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้อง 5. ประเมินผลกระทบของกฎหมายที่บังคับใช้ 6. ช่วยจัดทำคำร้องเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

26 กลุ่มภารกิจการเงินและงบประมาณ (Finance/Administration)
วางแผนงบประมาณของ EOC ในภาวะฉุกเฉิน จัดทำระบบธุรการการเงิน งบประมาณ สนับสนุนภารกิจ EOC ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณและรายงาน EOC สนับสนุนงบประมาณให้ทีมปฏิบัติงานได้ทันเวลา บันทึกเวลาปฏิบัติงานและจ่ายค่าตอบแทนตามเวลา สรุปรายงานทางการเงินและวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินการและความคุ้มค่า จัดทำประกันชีวิต ดำเนินการเรียกร้อง ดูแลชดเชยค่าเสียหายสำหรับอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ จากการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กลุ่มภารกิจการเงินและงบประมาณ 1. วางแผนงบประมาณของ EOC ในภาวะฉุกเฉิน 2. จัดทำระบบธุรการการเงิน งบประมาณ สนับสนุนภารกิจ EOC 3. ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณและรายงาน EOC 4. สนับสนุนงบประมาณให้ทีมปฏิบัติงานได้ทันเวลา 5. บันทึกเวลาปฏิบัติงานและจ่ายค่าตอบแทนตามเวลา 6. สรุปรายงานทางการเงินและวิเคราะห์ต้นทุนการดำเนินการและความคุ้มค่า 7. จัดทำประกันชีวิต ดำเนินการเรียกร้อง ดูแลชดเชยค่าเสียหาย สำหรับอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ

27 กลุ่มภารกิจกำลังคน จัดทำฐานข้อมูลกำลังคน พร้อมระบุสมรรถนะให้เป็นปัจจุบัน จัดหากำลังคนเข้าทำงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินตามที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์กำหนด จัดทำแผนพัฒนากำลังคน และมีระบบกำกับติดตามประเมินผล จัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องของภารกิจองค์กรด้านสำรองกำลังคน (BCP) จัดทำ พัฒนา และประเมินระบบการสร้างแรงจูงใจ กำหนดตัวชี้วัดร่วมของแต่ละสำนัก/กลุ่มงานเพื่อให้เกิดการทำงานอย่าง บูรณาการ กลุ่มภารกิจกำลังคน 1. จัดทำฐานข้อมูลกำลังคน พร้อมระบุสมรรถนะให้เป็นปัจจุบัน 2. จัดหากำลังคนเข้าทำงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินตามที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์กำหนด 3. จัดทำแผนพัฒนากำลังคน และมีระบบกำกับติดตามประเมินผล 4. จัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องของภารกิจองค์กรด้านสำรองกำลังคน (BCP) 5. จัดทำ พัฒนาและประเมินระบบการสร้างแรงจูงใจ 6. กำหนดตัวชี้วัดร่วมของแต่ละสำนัก/กลุ่มงานเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างบูรณาการ

28 กลุ่มภารกิจประสานงานและเลขานุการ (Liaison)
จัดทำทำเนียบเครือข่ายเพื่อการประสานงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก ประสานหาสถานที่สำหรับการทำงานของทีมย่อยต่างๆ ในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ( EOC) ให้เพียงพอ ประสานจัดการประชุม สรุปรายงานการประชุม ข้อสั่งการ ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และสื่อสารข้อสั่งการ ไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว วางแผน ผลักดัน และติดตามให้ข้อสั่งการของผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้รับการปฏิบัติอย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ ให้การสนับสนุนงานด้านบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในทุกๆด้านให้กับทีมย่อยทุกทีมในระบบ บัญชาการเหตุการณ์ รับผิดชอบงานสารบรรณของระบบบัญชาการเหตุการณ์ กลุ่มภารกิจประสานงานและเลขานุการ 1. จัดทำทำเนียบเครือข่ายเพื่อการประสานงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข 2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข 3. ประสานหาสถานที่สำหรับการทำงานของทีมย่อยต่างๆ ในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ( EOC) ให้เพียงพอ 4. ประสานจัดการประชุม จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานของระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS) และทีมย่อย 5. สรุปรายงานการประชุม ข้อสั่งการ ผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และสื่อสารข้อสั่งการไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว 6. วางแผน ผลักดัน และติดตามให้ข้อสั่งการของผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้รับการปฏิบัติอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 7. ให้การสนับสนุนงานด้านบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้านให้กับทีมย่อยทุกทีมในระบบบัญชาการเหตุการณ์ 8. รับผิดชอบงานสารบรรณของระบบบัญชาการเหตุการณ์


ดาวน์โหลด ppt ระบบบัญชาการเหตุการณ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google