ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBruno Smets ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตุลาการภิวัฒน์ บทเรียนจากศาลต่างแดน สู่การตัดแต่งพันธุกรรม เข้าสู่กระบวนการล้มประชาชนในไทย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
ข้อสงสัยเกี่ยวกับ “ตุลาการภิวัฒน์”
ตุลาการภิวัฒน์ คืออะไรกันแน่? Judicialization, Judicial Activism/Intervention ทำไมต้อง “ตุลาการภิวัฒน์” ที่ไหน เมื่อไหร่ ยังไง Check and Balance >>> การถ่วงดุลอำนาจ ใช้อำนาจตัดสินตามกฎหมาย อยู่เหนือกฎหมาย สร้างกฎหมาย ความเสี่ยงของ “ตุลาการภิวัฒน์”
3
การใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการแบบดั้งเดิม
ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ตุลาการ บริหาร นิติบัญญัติ ศาลตัดสินตามกฎหมาย – รัฐธรรมนูญ กม.ของนิติบัญญัติ/ฝ่ายบริหาร ศาลสามารถควบคุมการใช้อำนาจฝ่ายอื่นได้เท่าที่กฎหมายกำหนด คุมการออกกฎหมายของรัฐสภาได้ ถ้า กม.นั้นขัดกับ รัฐธรรมนูญ คุมการออกกฎหมายของฝ่ายบริหาร ถ้าขัด รธน. หรือ กม.ของรัฐสภา คุมการใช้อำนาจนอกกฎหมาย ละเมิดกฎหมาย ได้ (Judiciary) การใช้อำนาจของศาลทั่วไปจึงเป็นไปในเชิง Negative Rights ตุลาการภิวัฒน์เสริม Positive Rights ที่เดิม Non-Judiciary
4
บทเรียนตุลาการภิวัฒน์ในต่างประเทศ
คดีสำคัญที่มักถูกอ้างถึงบทบาท “ตุลาการภิวัฒน์” - คดีศาลสูงอินเดียขยายสิทธิในการมีชีวิตไปสู่ “การมีอาหาร” - คดีศาลรธน.อัฟริกาใต้บังคับให้รัฐบาลจัดหาที่พักให้ “คนถูกไล่ที่” - คดีศาลสวิสเซอร์แลนด์ประกันสิทธิ “คนเช็กเข้าเมืองผิดกฎหมาย” ศาลบังคับรัฐบาล รัฐสภาให้ประกันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม Positive Rights กฎหมายเขียนรับรอง “สิทธิ” กว้าง ไม่ละเอียด การใช้อำนาจศาลที่มิได้มาจากประชาชน คัดง้าง ฝ่ายตัวแทนประชาชน อำนาจในการตีความ “ขยายสิทธิ” ให้ไปรับรองประชาชน เกิดมาตรการ
5
เทียบคดีศาลอินเดีย กับ คดีจำนำข้าว
ประชาชนอดอยาก แต่ข้าวในคลังรัฐเต็ม ประชาชนขอให้เอาออกมา รัฐไม่ยอมเพราะบอกข้าวซื้อมา ห้ามแจกจ่ายถ้า “ไม่ได้กำไร” > เน่าทิ้ง ศาลชี้แม้ รธน. ไม่รับรองสิทธิด้านอาหาร แต่กระทบสิทธิในการมีชีวิต ศาลอินเดีย “ตีความขยายสิทธิ” บังคับรัฐบาลให้ประกันสิทธิประชาชน รัฐบาลเพื่อไทยทำโครงการ “จำนำข้าวทุกเมล็ด” เพราะหาเสียงไว้ การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยแท้ >>> ศาลแทรกแซงได้? ทุจริต! TDRI ชี้ว่าอย่านำตัวเลขเก่าในงานวิจัยไป “ตัดแปะ” สำนวนคดี จะเป็นตุลาการภิวัฒน์ ต้องฟ้องให้เอาข้าวไปแจกคนจน “ยอมขาดทุน”
6
เทียบคดีศาลอัฟริกาใต้ กับ กรณีสิทธิชุมชนไทย
รัฐบาลขับไล่ชุมชนแออัดออกจากที่ดินของรัฐ ประชาชนย้ายไปอยู่ในสนามกีฬา กสม.ฟ้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ศาลสั่งรัฐให้จัด “ที่พักอาศัย” ให้ประชาชน แม้ไม่มีสิทธิในที่ดินเดิม ศาลบังคับให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณเพื่อประกันสิทธิตาม รธน. สิทธิชุมชนไทยถูกรับรองไว้โดยรับธรรมนูญ 2550 ชัดแจ้ง คดีมาบตาพุดสร้างปัญหาให้รัฐบาล อุตสาหกรรม ที่ปรึกษา กรรมการ? หลังรัฐประหารยกเลิกสิทธิชุมชน กึ่งยกเลิกประชาพิจารณ์ ริบสิทธิ! ศาลรัฐธรรมนูญไทยริเริ่มคดีเองได้ ตุลาการภิวัฒน์ถ่วงดุลรัฐบาล คสช?
7
เทียบกรณี ศาลสวิสเซอร์แลนด์ กับ ผู้อพยพโรฮิงญา
ผู้อพยพชาวเช็คเข้าเมืองผิดกฎหมาย หางานไม่ได้ ขอทานไร้บ้าน ตำรวจจับไปคุมขัง NGO ฟ้องศาลให้รับรองสิทธิขั้นต่ำ ตาม รธน. ศาลท้องถิ่น ศาลสูงสวิสต่างรับรองสิทธิ แม้เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แม้เทศบาลท้องถิ่นไม่อยากรับผิดชอบ/เปลืองงบ แต่ก็โดนศาลบังคับ ชาวโรฮิงญาอพยพอยู่ในสภาวะเสี่ยงภัย แต่รัฐไทยผลักดันกลับ รัฐบาลไม่ต้องการรับภาระงบประมาณ และดำเนินคดีอาญา เนรเทศ ความเข้าใจผิดว่า รัฐธรรมนูญไทยรับรองเฉพาะสิทธิของ “ชนชาวไทย” ถ้าตุลาการภิวัฒน์ ศาลต้องยืนยันว่า สิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์ได้ทุกคน
8
การนำเข้า “ตุลาการภิวัฒน์” สู่ประเทศไทย
กระแสทั่วโลก เกิดจากลัทธิ Neo-Liberalism ครอบฝ่ายตัวแทน ศาลคัดง้างนโยบายที่เน้นประสิทธิภาพ ให้คำนึงถึงสิทธิความเป็นธรรม วาทกรรมทางการเมืองไทย “ทักษิโณมิกส์” - CEO ประเทศไทย - เผด็จการรัฐสภา สภาผัวเมีย - ศรัทธาต่อ “ตัวแทนประชาชน” ความขัดแย้งถึงวิกฤตที่สุดต้องอาศัยการทำหน้าที่ “ตุลาการ” ระงับข้อพิพาท หรือ จัดการความขัดแย้ง ตุลาการตัดสินคดีโดยไม่ใช้กฎหมาย หรือ เกิน “ตัวบท” ได้ไหม?
9
ศาลไทย ก้าวสู่การใช้อำนาจแบบใหม่?
การกระทำที่เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารโดยแท้ ศาลยุ่งไม่ได้ อำนาจในการริเริ่มออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ (Initiative) อำนาจในการริเริ่มโครงการ/นโยบาย/ใช้งบประมาณ/ทำสนธิสัญญา ศาลจะเข้ามาได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายอื่น “ล้ำเส้น” กรอบอำนาจตามกฎหมาย ศาลบังคับรัฐบาล รัฐสภาในคดีสิทธิพลเมืองและการเมือง ศาลตีความกฎหมายที่เขียนชัดแจ้งอยู่แล้วให้มีผลวิปริต ศาลใช้อำนาจที่มิได้มาจากประชาชน คัดง้าง ฝ่ายตัวแทนประชาชน การตีความ “นอกกรอบกม.” ถูกใจฝ่ายนึง ไปตัดสิทธิประชาชนอีกกลุ่ม
10
แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 2557
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอยู่ยั้งยืนยงแม้ไม่มีรัฐธรรมนูญ การ่างรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจ “ตีความ” ว่าการกระทำใดฝ่าฝืน รธน. มีอำนาจใน “กรณีใด” ไม่ปรากฏชัด นั่นคือ ตุลาการริเริ่มได้เอง ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจมากเสียกว่าตัว “รัฐธรรมนูญ” “เขียนเช็คเปล่า” ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจล่วงหน้า ผู้นำรัฐประหารโยกไปที่อื่น แล้วให้ศาลรับธรรมนูญมารับไม้ผลัด
11
“ตุลาการภิวัฒน์” อีกคำที่เปลี่ยนความหมายไปในไทย
เช่นเดียวกับ สมานฉันท์ ปรองดอง เปลี่ยนผ่าน “ขอบคุณ”
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.