งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและคุ้มครองผู้บริโภค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและคุ้มครองผู้บริโภค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและคุ้มครองผู้บริโภค
ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 7/21/2019

2 กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541 พรบ.ยา พ.ศ.2510, 2518, 2522 พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 พรบ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ.2518 พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 7/21/2019

3 เหตุผลที่จะต้องคุ้มครองผู้บริโภค
ตามรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทั้งคำพรรณนาสรรพคุณสินค้าที่ถูกต้อง เพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สิทธิที่จะมีอิสระเลือกหาสินค้าและบริการ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมจากนิติกรรมสัญญาต่างๆ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย หลักธรรมาภิบาลของผู้ผลิตที่จะต้องมีต่อผู้บริโภค 7/21/2019

4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม แพทยสภา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนัก นสพ. องค์กรพัฒนาเอกชน : สหพันธ์บริโภค องค์กรพัฒนาสตรีและเด็ก มูลนิธิเพื่อนหญิง สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมฯ 7/21/2019

5 การคุ้มครองผู้บริโภคตามพรบ.คุ้มครองฯ
ด้านโฆษณา และด้านฉลาก ด้านโฆษณา ได้แก่ 1. การโฆษณาต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือข้อความที่ก่อให้เกิดผลเสียโดยรวมของสังคม (ม.22) 2. การโฆษณาต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจหรือก่อความรำคาญแก่ผู้บริโภค (ม.23) 3. กรณีที่คณะกก.ว่าด้วยโฆษณาเห็นว่าสินค้านั้นอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และคณะกก.ว่าด้วยฉลากกำหนดให้สินค้าเป็นสินค้าควบคุมฉลากตาม ม.30 คณะกก.โฆษณามีอำนาจสั่งดังนี้ 1) กำหนดให้ทำโฆษณาพร้อมคำแนะนำหรือคำเตือน 2) จำกัดการใช้สื่อโฆษณาสำหรับสินค้านั้น 3) ห้ามการโฆษณานั้น (ม.24) 7/21/2019

6 การคุ้มครองด้านโฆษณา (ต่อ)
4. ผู้บริโภคจำเป็นต้องรู้สภาพฐานะ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ผลิต คณะกก.สั่งให้การโฆษณาต้องให้ข้อมูลดังกล่าว (ม.25) 5. คณะกก.กำหนดให้การโฆษณาข้อความทางสื่อ ต้องมีถ้อยคำกำกับว่าข้อความดังกล่าวเป็นโฆษณา (ม.26) (advertorial) 6. โฆษณาที่ฝ่าฝืนม หรือ25 คณะกก.จะสั่งดังนี้ 1) แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา 2) ห้ามใช้ข้อความบางอย่างในโฆษณา 3) ห้ามโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการโฆษณา 4) ให้โฆษณาแก้ไขความเข้าใจผิด ** (ม.27) 7. โฆษณาที่ชวนสงสัยตาม ม.22 วรรคสอง ให้ผู้โฆษณาพิสูจน์ความจริงได้ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ให้ถือว่าผู้โฆษณารู้หรือควรรู้ได้ว่าเป็นเท็จ (ม.28) 8. ผู้ผลิตสงสัยในโฆษณาของตน อาจขอให้คณะกก.พิจารณาก่อนได้ โดยแจ้งกลับภายใน 30 วัน หากไม่แจ้งถือว่าเห็นชอบแล้ว 7/21/2019

7 ด้านโฆษณา (ต่อ) ม.22 (เพิ่มเติม) 1. ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
2. ข้อความที่ก่อให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะใช้รายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดที่ไม่เป็นความจริงหรือเกินจริง 3. ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรมหรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ 4. ข้อความที่ทำให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในหมู่ประชาชน 5. ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 7/21/2019

8 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
สินค้าที่ผลิตเพื่อขาย สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ฉลากสินค้าควบคุมต้องมีลักษณะดังนี้ ใช้ข้อความที่ตรงต่อความจริง ไม่เข้าใจผิดในสาระสำคัญ ระบุชื่อ เครื่องหมายการค้า ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า สถานที่ผลิต สินค้าคืออะไร ระบุชื่อประเทศที่ผลิต ระบุราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วันเดือนปีที่หมดอายุ และกรณีอื่นๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 7/21/2019

9 บทลงโทษ ผู้ใดขัดขวาง ไม่อำนวยความสะดวก ไม่ให้ถ้อยคำ ไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานแก่จนพ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.45) ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกก. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.46) ผู้ใดเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ใช้ฉลากเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำผิดตามวรรคหนึ่งทำผิดซ้ำอีก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.47) 7/21/2019

10 บทลงโทษ (ต่อ) ผู้ใช้โฆษณาตามม.22 หรือฝ่าฝืนม หรือ 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน /ปรับไม่เกิน 3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.48) ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกก.ที่สั่งตามม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน /ปรับไม่เกิน 5 หมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.49) 7/21/2019

11 พรบ.ยา พ.ศ.2510, 2518, 2522 การโฆษณาขายยาต้องดำเนินการตาม ม.88 ได้แก่
ไม่โอ้อวดสรรพคุณได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรืออหายขาด ไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ หรือเกินจริง ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีตัวยา ส่วนประกอบยา ซึ่งความจริงไม่มี ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูก หรือยาขับระดูอย่างแรง ไม่ทำให้เข้าใจว่าบำรุงกามหรือคุมกำเนิด ไม่แสดงสรรพคุณอันตราย ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น ไม่แสดงสรรพคุณว่าบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคตามม. 77 ห้ามโฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพหรือร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ม.89 ห้ามโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพก หรือออกสลากรางวัล ม.90 7/21/2019

12 บทลงโทษ ผู้ใดฝ่าฝืนม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน /ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ม.124 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาของเลขาธิการคณะกก.อาหารและยาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับรายวันอีกวันละ 500 บาทจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่ง ม.124 ทวิ 7/21/2019


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและคุ้มครองผู้บริโภค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google