งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
โดย นายวรรธนพงศ์ คำดี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ส่วนดำเนินการเรื่องร้องเรียนและตอบข้อหารือ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

2 ความเป็นมา พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
พ.ศ : รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน - มีการยกร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้น พ.ศ : รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - ส่งร่างให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2540 - ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2540 - มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2540 ประเทศไทย : เป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีกฎหมายนี้

3 เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
17/07/62 เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ 1. ให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ การดำเนินการต่างๆ ของรัฐ 2. กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ที่หน่วยงานของรัฐไม่ต้องเปิดเผยหรืออาจไม่เปิดเผย 3. คุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ใน ความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ 3

4 หลักการของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
- ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย - เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น - ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ส่วนที่ ว่าด้วย สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน มาตรา “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐฯ เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้น จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือ ส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือ เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ..”

6 บทบัญญัติของกฎหมาย - หลักทั่วไป
- หลักทั่วไป - หมวด 1 : ข้อมูลข่าวสารทั่วไป & การเปิดเผย - หมวด 2 : ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย - หมวด 3 : ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล - หมวด 4 : เอกสารประวัติศาสตร์ - หมวด 5 : คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ - หมวด 6 : คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร - หมวด 7 : บทกำหนดโทษ - บทเฉพาะกาล 6

7 นิยามความหมาย ข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการ MENU STOP

8 ข้อมูลข่าวสารของราชการ
นิยาม/คำสำคัญ มาตรา 4 ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง : สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือ สิ่งใดๆ โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใดๆ เช่น เอกสาร แผนที่ ภาพ เป็นต้น ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายถึง : ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของ หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐ หรือข้อมูลข่าวสารของเอกชน

9 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
นิยาม/คำสำคัญ มาตรา 4 (ต่อ) ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายถึง: ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัว (การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน ประวัติอาชญากรรม ฯลฯ) รวมกับ สิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น(สิ่งระบุตัว) (ชื่อ-นามสกุล รหัส หมายเลข ลายพิมพ์นิ้วมือ รูปภาพ แผ่นบันทึกเสียงคน ฯลฯ)

10 หน่วยงานของรัฐ - ราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ)
17/07/62 - ราชการส่วนกลาง (กระทรวง กรม) - ราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) - ราชการส่วนท้องถิ่น (อบต. อบจ. เทศบาล กทม. พัทยา) - รัฐวิสาหกิจ (กฟผ. ปตท. ธอส. ธกส. ฯลฯ) - ราชการสังกัดรัฐสภา (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) 10

11 หน่วยงานของรัฐ (ต่อ) 17/07/62 - ศาลเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี(สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง) - องค์กรควบคุมประกอบวิชาชีพ (สภาทนายความ แพทยสภา สภาวิชาชีพบัญชี ฯลฯ) - หน่วยงานอิสระ (สตง. กกต. ป.ป.ช. ฯลฯ) - หน่วยงานอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (องค์การมหาชน ได้แก่ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ) 11

12 17/07/62 องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ - สภาทนายความ - แพทยสภา - คณะกรรมการควบคุมการประกอบ อาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม - เนติบัณฑิตยสภา - สภาผู้สอบบัญชีรับอนุญาต - สภาการพยาบาล

13 มาตรา 4 (ต่อ) นิยาม/คำสำคัญ คนต่างด้าว ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
หมายถึง : บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และ ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

14 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 7 เป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ( 1. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน 2. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน 3. สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการ ติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ

15 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 7 (ต่อ) 4. กฎ มติ ครม. ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ ฯลฯ ที่มีสภาพอย่างกฎ มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชน มีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้กับกรณีใด/บุคคลใดเป็นการเฉพาะ เป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและจะมีผลก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงเกิดขึ้นตรงกับที่กำหนด จึงจะเกิดสภาพบังคับทางกฎหมาย 5. ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

16 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 ภายใต้บังคับมาตรา 14 และ 15 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานจะต้องจัด/รวบรวมไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูในศูนย์ข้อมูลข่าวสาร 1. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การอนุญาต/อนุมัติ การวินิจฉัย การอุทธรณ์ที่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐนั้นๆ (คำสั่งทางปกครอง) เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในกรณีทำนองเดียวกัน เช่น * ผลการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเก็บรังนกตาม พ.ร.บ. รังนกอีแอ่น * คำสั่งไม่อนุญาตให้ตั้งท่าเรือ * คำสั่งพักใบอนุญาต/ถอนใบอนุญาตของกรมการขนส่งทางน้ำ

17 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 2. นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่าย ม.7 (4) ได้แก่ 2.1 นโยบาย เช่น * นโยบายของรัฐบาล * วิสัยทัศน์/นโยบายของหัวหน้าส่วนราชการ * นโยบายตำรวจแห่งชาติ * นโยบายพลังงานแห่งชาติ 2.2 การให้ความเห็น การตีความข้อกฎหมาย/ผลการหารือ เช่น * การหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน * การหารือปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

18 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 3. แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินงาน ได้แก่ แผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี/แผนพัฒนาด้านต่าง ๆ ของปีที่กำลังดำเนินการอยู่ของหน่วยงาน เช่น * แผนปฏิบัติการประจำปีของกรมป่าไม้ * แผนงานการจัดเก็บรายได้ของจังหวัด * เทศบัญญัติงบประมาณ * แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี

19 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 4. คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของ จนท. รัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน เป็นคู่มือการปฏิบัติงานที่หน่วยงานใช้อยู่ในปัจจุบันและจะใช้ต่อไปในอนาคต เช่น * คู่มือการขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย หรือรื้อถอน อาคาร ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 * คู่มือการขอประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นต่างๆ (ชั้นตำรวจ ชั้นศาล) * คู่มือการขออนุญาตตั้งโรงแรม/ตั้งปั๊มน้ำมัน * คู่มือการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ * แผนผังขั้นตอน ระยะเวลาในการให้บริการแก่ประชาชน

20 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 5. สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงในราชกิจจาฯ ตาม มาตรา 7 วรรคสอง “ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้น ก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวม และจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามสมควร” เช่น * ประกาศคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีฉบับที่ 42 เรื่อง มาตรฐานการบัญชี

21 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 6. สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะในการผูกขาดตัดตอนหรือร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ 6.1 สัญญาสัมปทาน คือ สัญญาที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะ เช่น สัมปทานการเดินรถประจำทาง เป็นต้น หรือจัดทำประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น สัมปทานการทำเหมืองแร่/การทำป่าไม้/การทำโรงโม่หิน เป็นต้น 6.2 สัญญาผูกขาดตัดตอน คือ สัญญาที่ให้สิทธิเอกชนกระทำการแต่เพียงผู้เดียว เช่น สัญญาโครงการทางด่วน สัญญาให้ผลิตสุรา สัญญาจ้างเอกชนดูแลความปลอดภัย ภายในหน่วยงาน เป็นต้น 6.3 สัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ คือ กิจการที่เป็นของ รัฐแต่มีการร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำ เช่น สัญญาเช่าโครงข่ายโทรคมนาคม เป็นต้น 6.4 สัญญาอื่นๆ เช่น สัญญาจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ เป็นต้น

22 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 7. มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย และโดยมติ ครม. (เน้นมติที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน) 7.1 มติคณะรัฐมนตรี 7.2 มติคณะกรรมการ - ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย เช่น * มติคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย - ที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี เช่น * มติคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) * มติคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ * มติคณะกรรมการมาตรฐานสินค้า * มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ * มติคณะกรรมการกำกับนโยบายราคากลางงานก่อสร้าง

23 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่ คณะกรรมการกำหนด 8.1 ประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคาที่หัวหน้า ส่วนราชการลงนามแล้ว (21 ต.ค. 2542)

24 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด 8.2 สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน ตามแบบ สขร.1 (1 ธ.ค. 2543)

25 มติคณะรัฐมนตรี 28 ธันวาคม 2547
17/07/62 มติคณะรัฐมนตรี 28 ธันวาคม 2547 ให้นำประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคา ผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน เผยแพร่ผ่าน website ของหน่วยงาน 25 25

26 17/07/62 26 26

27 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) 8. ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด 8.3 เอกสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (7 มิ.ย. 2553) เช่น ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของบริษัทเอกชนในพื้นที่ เป็นต้น

28 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ เป็นการทั่วไป
มาตรา 9 (ต่อ) ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนตรวจดู ถ้ามีส่วนที่ต้องห้าม มิให้เปิดเผยตามมาตรา 14 และมาตรา 15 ให้ลบหรือตัดทอนหรือประการอื่นที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น บุคคลไม่ว่ามีส่วนได้เสียหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนา ของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้ คนต่างด้าวมีสิทธิเพียงใด เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

29 การขอข้อมูลข่าวสารเป็นการเฉพาะราย
มาตรา 11 เป็นการจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนที่มายื่นคำขอเป็นการเฉพาะราย ผู้ขอต้องระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เข้าใจได้ตามควร 1. หน่วยงานจัดให้ ภายในเวลาอันสมควร (มติ ครม. 28 ธ.ค. 2547) เว้นแต่ขอจำนวนมาก หรือบ่อยครั้ง โดยไม่มีเหตุผลอันควร 2. ถ้าไม่มี ให้แนะนำไปยื่นที่อื่น (ม.12) 3. ข้อมูลที่หน่วยงานอื่นจัดทำและห้ามเปิดเผย (กำหนดชั้นความลับ ตาม ม.16) ให้ส่งคำขอให้หน่วยงานอื่นพิจารณา (ม.12)

30 มติ ครม. เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๗
กรณีประชาชนขอข้อมูลข่าวสาร และหน่วยงานรัฐมีพร้อมอยู่แล้วให้ดำเนินการโดยเร็ว หรือภายในวันที่ขอ ถ้าขอมากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน ให้แจ้งผู้ขอทราบภายใน ๑๕ วัน และแจ้งกำหนดวันแล้วเสร็จด้วย

31 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๓๘ กำหนดให้ เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผลการดำเนินการ ให้ประชาชนผู้สอบถามทราบ ภายใน ๑๕ วัน” 31

32 การขอข้อมูลข่าวสารเป็นการเฉพาะราย
มาตรา 11 (ต่อ) ข้อมูลที่จัดให้ 1. เป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพพร้อมจะให้ได้ 2. ไม่ต้องจัดทำขึ้นใหม่ เว้นแต่การแปรสภาพเป็นเอกสาร แต่หากเห็นว่ามิใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางการค้า และเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ หรือเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ อาจจัดหาให้ก็ได้ 3. ไม่เป็นการห้ามหน่วยงานที่จะจัดให้ หากเป็นการสอดคล้อง ด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงาน

33 การขอข้อมูลข่าวสารเป็นการเฉพาะราย
มาตรา 12 1. ข้อมูลข่าวสารอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น แนะนำให้ไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ครอบครองข้อมูล 2. เป็นข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นจัดทำ และระบุห้ามเปิดเผยไว้ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ (ตามมาตรา 16) ให้ส่งคำขอให้หน่วยงานของรัฐผู้จัดทำข้อมูลพิจารณา

34 การห้ามมิให้เปิดเผย มิให้เปิดเผย มาตรา 14 ความเสียหายต่อ
เป็นข้อมูลที่อาจก่อให้เกิด ความเสียหายต่อ สถาบันพระมหากษัตริย์ มิให้เปิดเผย

35 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 15 เป็นข้อมูลที่ต้องใช้ดุลพินิจ ก่อนที่มีคำสั่ง..... 1. ให้เปิดเผย 2. มิให้เปิดเผย

36 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 15 (ต่อ) ลักษณะของข้อมูลที่ต้องใช้ดุลพินิจก่อนออกคำสั่ง 1. ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจฯ 2. จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การฟ้องคดี การสอบสวน การตรวจสอบ ป้องกัน ปราบปราม 3. ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐ (ไม่รวมรายงานทางวิชาการ ข้อเท็จจริงที่ใช้ทำความเห็น)

37 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 15 (ต่อ) ลักษณะของข้อมูลที่ต้องใช้ดุลพินิจก่อนออกคำสั่ง (ต่อ) 4. อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคล 5. รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เปิดเผยแล้วเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร 6. ข้อมูลที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผยหรือที่ให้มาแต่ไม่ให้เปิดเผยต่อผู้อื่น 7. ข้อมูลอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม

38 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
การใช้ดุลพินิจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย จะต้องคำนึงถึง 1. การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ (เปิดเผยแล้วกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ อย่างไร) 2. ประโยชน์สาธารณะ (เปิดเผยแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือสังคมโดยรวม หรือไม่ เพียงใด) 3. ประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง (เป็นสิ่งจำเป็นหรือกระทบต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างไร เพียงใด)

39 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
ขั้นตอนการใช้ดุลพินิจ 1. พิจารณาถึงผลดี ผลเสีย หรือผลกระทบต่างๆ 2. ชั่งน้ำหนักผลดี ผลเสีย ผลกระทบ 3. ตัดสินใจ (โดยปกติ หากต้องเลือกระหว่างประโยชน์สาธารณะและ ประโยชน์ของเอกชน มักเลือกประโยชน์สาธารณะก่อน)

40 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
การออกคำสั่งหลังจากใช้ดุลพินิจ มีอยู่ 2 กรณี คือ เปิดเผย หรือ ไม่เปิดเผย - กรณีเปิดเผย อาจกำหนดเงื่อนไขได้ ดังนี้ 1. กรณีมีส่วนของม. 14 ม.15 ให้ลบ/ตัดทอน/ทำโดยประการอื่นใด ที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนนั้น (ม.9 วรรคสอง) 2. วางหลักเกณฑ์/เงื่อนไขในการเปิดเผย (ม.9 วรรคแรก) 3. ให้เปิดเผยเป็นการทั่วไป/เฉพาะแก่บุคคลใด (ม.11) - กรณีไม่เปิดเผย 1. ต้องให้เหตุผลของการไม่เปิดเผย (ม.15 วรรคสอง) 2. ต้องแจ้งสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยนั้น ต่อ กวฉ. (ม.18)

41 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 16 เป็นข้อมูลที่หน่วยงานกำหนดการคุ้มครองข้อมูลข่าวสาร ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 1. ให้เปิดเผย ลับ 2. มิให้เปิดเผย

42 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 17 “จนท.รัฐเห็นว่า การเปิดเผยอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้แจ้งผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด” - จนท.รัฐต้องแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้าน ภายในเวลาที่กำหนด (ไม่น้อยกว่า 15 วัน) - จนท.รัฐต้องพิจารณาว่า เหตุผลที่คัดค้าน ฟังขึ้นหรือไม่ - แจ้งผลการพิจารณา และแจ้งสิทธิอุทธรณ์ตาม ม.18 เปิด ปิด

43 การอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
มาตรา 20 ความรับผิด การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใด แม้เข้าข่ายต้องรับผิดจามกฎหมายใด เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิด หากทำการโดยสุจริต (1) ข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 ถ้าดำเนินการถูกต้องตามมาตรา 16 (2) ข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตามกฎกระทรวง เปิดเผยเพื่อประโยชน์สำคัญยิ่งกว่า เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์อื่น และกระทำโดยสมควรแก่เหตุ การเปิดเผยตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐพ้นความรับผิดตามกฎหมาย ถ้าหากมี

44 หมวด 3 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
44

45 ความหมาย “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม. 4 วรรคที่ห้า)
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” (ม. 4 วรรคที่ห้า) ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ __________ ของบุคคล เช่นการศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือ ______________ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย สิ่งเฉพาะตัว สิ่งบอกลักษณะอื่น

46 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล : องค์ประกอบ
ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่ง เฉพาะตัวของบุคคล ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล มีสิ่งบอกลักษณะ ที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ 46

47 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
สิ่งเฉพาะตัวบุคคล สิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น เช่น เช่น ฐานะการเงิน ชื่อ-นามสกุล การศึกษา ลายพิมพ์นิ้วมือ ประวัติสุขภาพ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง ประวัติอาชญากรรม รูปภาพ ประวัติการทำงาน ฯลฯ 47

48 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 23 หน่วยงานของรัฐ ต้องดำเนินการ ดังนี้ จัดให้มีระบบข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่เกี่ยวข้อง/จำเป็น และยกเลิกเมื่อหมดความจำเป็น เก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูล จัดพิมพ์ในราชกิจจาฯ เช่น ประเภทของบุคคลที่เก็บ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ แหล่งที่มาของข้อมูล เป็นต้น แก้ไขให้ถูกต้องเสมอ จัดระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อไม่ให้นำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

49 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 24 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่ * ต่อ จนท. ในหน่วยงาน เพื่อนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ * การใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ * ต่อหน่วยงานที่ทำงานด้านแผน/การสถิติ/สำมะโน * การใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย * ต่อหอจดหมายเหตุฯ เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา * ต่อ จนท. เพื่อป้องกันการฝ่าฝืน/ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย * กรณีจำเป็นเพื่อป้องกัน/ระงับอันตรายต่อชีวิต/สุขภาพ * ต่อศาล และ จนท. หน่วยงาน/บุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย * กรณีอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

50 การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 25 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เกี่ยวกับตน สิทธิได้รู้ข้อมูลส่วนบุคคลของตน (ขอตรวจดู หรือได้รับสำเนา) สิทธิในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารของตน สิทธิในการอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานไม่ลบหรือเปลี่ยนแปลงตาม คำขอ (ภายใน 30 วัน)

51 (1) หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ จะเก็บรักษา
เอกสารประวัติศาสตร์ (1) หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์ จะเก็บรักษา (2) มีอายุครบกำหนด  ตาม ม. 14 เมื่อครบ 75 ปี  ตาม ม. 15 เมื่อครบ 20 ปี ให้ส่งมอบให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกให้ประชาชนศึกษา

52 การส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์
มาตรา 26 ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา หรืออายุครบกำหนด ส่งมอบหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อครบกำหนด 75 ปี (มาตรา 14) 20 ปี (มาตรา 15) * ขอขยายเวลา ได้คราวละ 5 ปี (ผู้มีอำนาจฯ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3) ขอเก็บไว้เองก็ได้

53 องค์กรตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ
17/07/62 กขร. หน่วยงานของรัฐ สขร. ประชาชน กวฉ. 53

54 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
17/07/62 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) รมต.ที่ นรม. มอบหมายเป็นประธาน กขร. ปลัดกระทรวง….. นร/กห/กษ/กค/กต/มท/พณ เลขาธิการ…….. สคก/กพ/สมช/สผ ผู้อำนวยการ….. สขช/สงป ผู้ทรงคุณวุฒิ……. ภาครัฐและเอกชน 9 ท่าน 54

55 อำนาจหน้าที่ของ กขร. 17/07/62 1. สอดส่อง ดูแล แนะนำการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. 2. ให้คำปรึกษาแก่ จนท.รัฐ/หน่วยงานรัฐตามที่รับคำขอ 3. เสนอแนะการตราพระราชกฤษฎีกา/กฎกระทรวง/ระเบียบ 4. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตาม ม.13 5. จัดทำรายงานการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. เสนอ ครม. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 6. ดำเนินการตามที่ ครม. หรือ นรม. มอบหมาย (ม. 28) 7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดใน พ.ร.บ. นี้ 55

56 คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร 5 สาขา
17/07/62 คณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร 5 สาขา สาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการเกษตร สาขาเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ สาขาการแพทย์และสาธารณสุข สาขาต่างประเทศและความมั่นคงของประเทศ สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย 56

57 อำนาจหน้าที่ของ กวฉ. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์
17/07/62 อำนาจหน้าที่ของ กวฉ. พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ * คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูล ตาม ม. 14 และ 15 * คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน ตาม ม. 17 * คำสั่งไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูล ข่าวสารส่วนบุคคล ตาม ม. 25 57

58 สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.)
มีหน้าที่ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการและ วิชาการให้แก่ กขร. และ กวฉ. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. นี้

59 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
17/07/62 - กำหนดนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลฯ - จัดตั้ง คกก.ข้อมูลข่าวสารฯ ของหน่วยงาน (มติ ครม. 29 ธ.ค. 2541) - จัดศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน (ประกาศ กขร. 29 ธ.ค. 2541) - ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายใน 7 วัน (มติ ครม. 9 มี.ค. 2542)

60 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
รายงานผลปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ปีละ 1 ครั้ง (มติ ครม. 21 ธ.ค. 2546) - บริการข้อมูลอย่างรวดเร็ว (มติ ครม.28 ธ.ค. 2547) นำข้อมูลตาม ม.7/ม.9 เผยแพร่ในเว็บไซต์ (มติ ครม. 20 เม.ย. 2554) - อบรมความรู้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ สนง. ก.พ. หรือหลักสูตรที่จัดของหน่วยงาน (มติ ครม. 24 ม.ค. 2555)

61 ประชาชนผู้ทรงสิทธิรับรู้
ประชาชนคนไทย คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล/กลุ่มบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ในกรณีที่กระทบสิทธิของตน)

62 กระบวนการใช้สิทธิของประชาชน
สิทธิอุทธรณ์ - คำสั่งมิให้เปิดเผย (ม.14 และ ม.15) - คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผย (ม.17) - คำสั่งไม่แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (ม.25) สิทธิได้รู้ - ยื่นคำขอ (ม.11) - เข้าตรวจดู (ม.7 แล 9) - ได้รับสำเนา/สำเนารับรองถูกต้องฯลฯ สิทธิร้องเรียน - กรณีไม่จัดหาข้อมูล/ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย/ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่อำนวยความสะดวก ฯลฯ (ม.13) - กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลแต่ผู้ขอไม่เชื่อ (ม.33)

63 การขอข้อมูลข่าวสาร 17/07/62 บุคคลสามารถใช้สิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐได้ โดยการยื่นคำขอ (การเขียนคำขอเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานทั้งผู้ขอ และหน่วยงานของรัฐ) บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการได้ ยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด ค่าธรรมเนียมการขอสำเนา (A 4 ไม่เกิน 1 บ.) หรือ ขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง (คำรับรองละไม่เกิน 5 บ.) 63

64 ตัวอย่าง คำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
17/07/62 วันที่ เรียน ข้าพเจ้าชื่อ นามสกุล อยู่บ้านเลขที่ หมู่ที่ ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด ไปรษณีย์ โทรศัพท์ มีความประสงค์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เพื่อขอข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของท่าน ดังต่อไปนี้ ระบุเหตุผล (ถ้ามี) ระบุเหตุผล (ถ้ามี) โดยต้องการ ( ) ขอตรวจดู ( ) ขอสำเนา ( ) ขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง โดยยินยอมเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ (ถ้ามี) ลงชื่อ ผู้ยื่นคำขอ ( ) 64

65 การร้องเรียน 17/07/62 มาตรา 13 ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนหน่วยงานของรัฐได้ ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารลงในราชกิจจาฯ (ม.7) 2. ไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดู (ม.9) 3. นิ่งเฉย ไม่จัดหาข้อมูลให้ตามคำขอ (ม.11) 4. ปฏิบัติงานล่าช้า 5. ไม่ได้รับความสะดวก 6. ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ 65

66 การร้องเรียน 17/07/62 มาตรา 33 ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ใช้อำนาจเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องได้ โดย คณะอนุกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ (กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ขอ และผู้ขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง) 66

67 ตัวอย่าง การเขียนหนังสือร้องเรียน
17/07/62 วันที่ เดือน พ.ศ เรียน ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้าพเจ้าชื่อ นามสกุล อยู่บ้านเลขที่ ตรอก/ซอย หมู่ที่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์ ขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการว่า หน่วยงานของรัฐ คือ ได้กระทำการเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้ (1) (2) (3) พร้อมนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย คือ เรื่อง จำนวน แผ่น ลงชื่อ ผู้ร้องเรียน ( ) สถานที่ติดต่อ : ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300 67

68 ขั้นตอนการใช้สิทธิร้องเรียน
17/07/62 ขั้นตอนการใช้สิทธิร้องเรียน ประชาชนยื่น คำร้องเรียนต่อ กขร. สขร. รับเรื่อง เจ้าหน้าที่ สขร. ให้คำแนะนำหน่วยงานที่ถูกร้องเรียน หน่วยงานปฏิบัติตาม แจ้งผลให้ผู้ร้องทราบและยุติเรื่อง หน่วยงานไม่ปฏิบัติตาม นำเสนอเรื่องให้ คอก. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน เชิญหน่วยงานไปชี้แจง คอก. ประชุมพิจารณาและแจ้งผลให้ ผู้ร้องเรียนและหน่วยงานทราบ * คอก. พิจารณาให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน ภายใน 30 วัน กรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาได้แต่ต้องแสดงเหตุผล รวมแล้วไม่เกิน 60 วัน หน่วยงานรายงานผลการปฏิบัติ ยุติเรื่องและรายงาน กขร. ทราบ 68

69 การอุทธรณ์ อุทธรณ์ ได้ใน 3 กรณี
17/07/62 อุทธรณ์ ได้ใน 3 กรณี 1. จนท.รัฐมีคำสั่งไม่เปิดเผย/ปฏิเสธคำขอข้อมูลตาม ม.14/ม เป็นลายลักษณ์อักษร ต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน (ม.18) 2. จนท.รัฐไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียตาม ม.17 วรรคสาม ต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ( ม.18) 3. หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลง/ลบข้อมูลส่วนบุคคลตามที่มีคำขอ ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน (ม. 25 วรรคสี่) โดยยื่นคำอุทธรณ์มาที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 69

70 ตัวอย่าง การเขียนหนังสืออุทธรณ์
17/07/62 วันที่ เดือน พ.ศ เรียน ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้าพเจ้าชื่อ นามสกุล อยู่บ้านเลขที่ ตรอก/ซอย หมู่ที่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์ ขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการว่า หน่วยงานของรัฐ คือ ได้กระทำการดังนี้ 1. ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ตามที่ข้าพเจ้าขอ ซึ่งเป็นข้อมูลเรื่อง หรือ 2. ไม่รับฟังคำคัดค้านของข้าพเจ้าที่คัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเรื่อง หรือ 3. ไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับข้าพเจ้าเรื่อง จึงอุทธรณ์คำสั่งของหน่วยงานดังกล่าว และขอให้กรรมการดำเนินการต่อไป พร้อมนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วยแล้ว คือ (1) จำนวน แผ่น ลงชื่อ ผู้อุทธรณ์ ( ) สถานที่ติดต่อ : ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300 70

71 ขั้นตอนการใช้สิทธิอุทธรณ์
17/07/62 ขั้นตอนการใช้สิทธิอุทธรณ์ ประชาชนยื่น คำอุทธรณ์ต่อ กขร. สขร. รับเรื่อง คอก.พิจารณาส่งเรื่องอุทธรณ์ พิจารณาส่งเรื่องให้ กวฉ. แต่ละสาขา กวฉ. พิจารณารับเรื่อง และเชิญผู้อุทธรณ์ และหน่วยงานมาขี้แจง กวฉ. พิจารณาวินิจฉัย และมีคำวินิจฉัย กวฉ. แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ หน่วยงานถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยภายใน 7 วัน นับแต่ทราบคำวินิจฉัย กวฉ.ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน กรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาได้ แต่ต้องแสดงเหตุผล รวมแล้วไม่เกิน 60 วัน 71

72 คำวินิจฉัยของ กวฉ. 17/07/62 คำวินิจฉัยของ กวฉ. ให้เป็นที่สุด (ม. 37) ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ กวฉ. ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ (พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ม. 42) หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยโดยเคร่งครัดภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับทราบคำวินิจฉัย ถ้าไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร ให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษทางวินัยทุกกรณี (มติ ครม. 9 มี.ค. 2542) ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐฟ้องคดีปกครองเพื่อเพิกถอน คำวินิจฉัย (มติ ครม. 11 เม.ย. 2549) 72

73 การปฏิบัติตามคำแนะนำ/ความเห็น
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 มี.ค ให้เจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานรัฐปฏิบัติ ดังนี้ 1. เมื่อ กขร. ให้คำแนะนำ/ความเห็นต่อเรื่องร้องเรียน ให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยด่วนที่สุด 2. เมื่อ กวฉ. มีคำวินิจฉัย ให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตาม คำวินิจฉัยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง 3. หากไม่ปฏิบัติตาม โดยไม่มีเหตุผลโดยสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษทุกกรณี

74 บทกำหนดโทษ การฝ่าฝืน ม. 32 (เรียกบุคคล/ให้ส่งเอกสาร)
17/07/62 การฝ่าฝืน ม. 32 (เรียกบุคคล/ให้ส่งเอกสาร) มีโทษตาม ม.40 (จำคุก 3 เดือน/ปรับ 5,000 บาท) การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข/ข้อจำกัด ตาม ม.20 (การเปิดเผยข้อมูล เจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับผิดหากทำโดยสุจริต) มีโทษตาม ม.41 (จำคุก 1 ปี/ปรับ 20,000 บาท) 74

75 เงื่อนไข/ข้อจำกัด มาตรา 20
จนท.รัฐ ไม่ต้องรับผิดหากกระทำโดยสุจริตในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม ม.15 - เมื่อ จนท.รัฐ ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 - เมื่อ จนท.รัฐ ในระดับตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทำโดยสมควรแก่เหตุ ซึ่งจะต้องกำหนดข้อจำกัดเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลนั้นไว้ด้วย

76 Website : http://www.oic.go.th E-mail : infothai@oic.go.th
สถานที่ติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ชั้น 2 ทำเนียบรัฐบาล กทม โทรศัพท์ : โทรสาร : Website :

77 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ กำหนดให้ หน่วยงานรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (ประกาศ กขร. 24 ก.พ. 2541) 1. จัดให้มีสถานที่ให้ประชาชนค้นหา/ศึกษา 2. จัดทำดัชนี เพื่อประชาชนสามารถค้นหาได้เอง 3. จัดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนสามารถค้นหาได้สะดวก 4. กำหนดระเบียบปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน

78 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ป้ายชื่อศูนย์

79 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร อุปกรณ์ เช่น Computer / โต๊ะ เก้าอี้

80 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ป้ายบอกทาง

81 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ตู้เอกสารใส่แฟ้มข้อมูลฯ

82 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์


ดาวน์โหลด ppt พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google