ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยCecilia Carpenter ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ จันทรวงษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพัน ของบุคลากร สถาบันในเครือตั้งตรงจิตร ดำเนินการวิจัย นางสาวขวัญใจ จันทรวงษ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมล ศรีย่าน
2
1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การบริหารสถานศึกษา จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวย่อมขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นสำคัญ สถานศึกษาสมัยใหม่จึงมองว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่ต้องรักษา และหวงแหน ทำนุบำรุง ให้มีความสุขในการทำงาน 1
3
สถาบันในเครือตั้งตรงจิตร บุคลากรทำงานตั้งแต่เริ่มแรกเกษียณอายุ เป็นเวลา 40 ปี และโดยส่วนใหญ่จะอยู่กินเกินกว่า 10 ปี แต่อย่างไรก็ตามบุคลากรบางส่วนจำนวนหนึ่งก็อยู่กับสถาบันเพียงสั้น ๆ เมื่อพบโอกาสที่ดีกว่าจะลาออกไปหรือจะทิ้งงานในหน้าที่กลางคันส่งผลกระทบต่อการบริหารงานบุคลากรในสถาบันในเครือ ขาดแคลนครู 2
4
การลาออกไปสมัครเป็นครูรัฐบาลเพื่อสอบบรรจุได้ในช่วงที่มีการเรียนการสอน การขาดงานและการปฏิบัติงานของบุคลากร เมื่อพิจารณาแล้วสาเหตุปัญหาพบว่า เรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทน ภาระหน้าที่ สวัสดิการ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลกรจำนวนหนึ่งลาออกไปจากโรงเรียน 3
5
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร สถาบันในเครือตั้งตรงจิตร 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจและความผูกพันต่อสถานศึกษา ของบุคลากร 3. เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรองบุคลากรสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร 4
6
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม 1. ปัจจัยแรงจูงใจ - ความก้าวหน้าส่วนตัว - ลักษณะงาน - ความสำเร็จ - การได้รับการยอมรับนับถือ - การรับผิดชอบ 2. ปัจจัยค้ำจุน - ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน - เงินเดือน - สภาพการทำงาน - มั่นคงในการทำงาน ปัจจัยผูกพันต่อองค์กร บุคลากร สถาบันในเครือตั้งตรงจิตร - ความเชื่อมั่นขององค์กร เต็มใจทุ่มเทเต็มทำงาน - ปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกองค์กร 9
7
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ กับความผูกพันของบุคลากรสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร 2. ผลการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและกำหนด นโยบายให้กับผู้บริหาร ด้านการบริหารบุคลากร ของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร 10
8
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ระเบียบวิธีวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ บุคลากรสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร จำนวน 328 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 178 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน 11
9
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับ ความผูกพันของบุคลากร สถาบันในเครือตั้งตรงจิตร แรงจูงใจ SD แปลค่า อันดับ 1.ปัจจัยจูงใจ 3.70 .51 มาก 2 2.ปัจจัยค้ำจุน 3.80 .63 1 รวม 3.75 .57 17
10
ตอนที่ 2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรในภาพรวม
SD แปลค่า อันดับ 1. การยอมรับเป้าหมายและค่านิยม ความเชื่อมั่นใน องค์กร 3.99 .54 มาก 3 2. การเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามในการทำงานเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร 4.09 .61 1 3. ความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกของ องค์กร 4.06 .53 2 รวม 4.04 .55 18
11
ตัวแปร ความผูกพันต่อองค์กร
ตอนที่ 3 การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กร ตัวแปร ความผูกพันต่อองค์กร แรงจูงใจ N r P 1.ปัจจัยจูงใจ 178 .56 .00* 2.ปัจจัยค้ำจุน .45 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 75 คนและครู 748 คน ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 19
12
สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ปี และปฏิบัติ การสอน ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านปัจจัยค้ำจุน มีค่าเฉลี่ยมาก รองลงมาคือปัจจัยแรงจูงใจ 20
13
สรุปผลการวิจัย ระดับความผูกพันต่อองค์กร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่าง เต็มที่ในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยมาก รองลงมาคือ ด้านยอมรับเป้าหมาย และด้านปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์กต่อไป ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า แรงจูงใจในทุกด้านมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กร โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
14
ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์กรของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญปัจจัยแรงจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน ความผูกพันต่อองค์กร นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากบุคลากร มีระดับดีจะส่งผลให้เกิดความพอใจและปฏิบัติงานได้อย่างเต็มความสมารถเกิดความผูกพันต่อองค์กร ดังนี้ ด้านผลตอบแทน ที่ได้รับอาจไม่ใช่เพียงตัวเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจเป็นด้านอื่น ๆ เช่นมีจำนวนชั่วโมงสอนที่เหมาะสม จะทำให้มีเวลาไปฏิบัติหน้าที่ในส่วนอื่น ๆ เช่น การทำวิจัยและงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ในการต่อสัญญาควรมีการต่อสัญญาว่าจ้างให้นานขึ้นเช่น 5 ปี และควรมีการบรรจุให้เร็วขึ้น จะทำให้เกิดขวัญและกำลัฃใจของบุคลากร
15
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร เช่น ภาวะผู้นำของบริหารองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น 2. ควรศึกษารูปแบบการบริหารบุคคลของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร ด
16
1. ควรศึกษารูปแบบการบริหารบุคคลของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร
2. คารศึกษา ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนที่มีต่อสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้รับมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างขวัญและกำลังใจที่ตรงตามความต้องการของครูผู้สอนที่มีต่อสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.