ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSimon Gunnarsson ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ค่าจ้างต้องสมดุลกับผลิตภาพ : ทางออกแรงงานไทยก้าวผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ ประธานกรรมการบริษัทในเครือ วี-เซิร์ฟ กรุ๊ป และรองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย การประชุมสัมมนา “อนาคตค่าแรง ค่าจ้างขั้นต่ำของไทย ทางออกจะไปทางไหนในยุคไทยแลนด์ 4.0” สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 12 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพ ฯ
2
ค่าจ้างภายใต้บริบท : ดิสรัปทีฟเทคโนโลยี
1) ทิศทางของประเทศไทย ภาคเอกชนต่างเร่งที่จะนําเทคโนโลยี 4.0 เช่น หุ่นยนต์เชิงพาณิชย์, ปัญญาประดิษฐ์, ระบบออโตเมชั่นและแอปพลิเคชั่นอัจฉริยะเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุน ผลิตภาพแรงงาน และทดแทนแรงงานมนุษย์ 2) ดิสรัปทีฟเทคโนโลยีลดความเสี่ยงในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน เช่น ความไม่แน่นอนของค่าจ้าง, แรงงาน สัมพันธ์ และกฎหมายแรงงาน 3) ประโยชน์ของเทคโนโลยี 4.0 สามารถแก้ปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพการผลิต แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและด้านการพัฒนาทักษะ 4) ความท้าทายในอนาคตแรงงานอาจต้องเผชิญกับการเข้ามาแทนที่ของสมาร์ทเทคโนโลยี ในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นทั้งโอกาสของแรงงานกลุ่มใหม่ ขณะเดียวกันอาจเป็นภัยคุกคามทั้งของผู้ประกอบการและหรือกลุ่มแรงงานซึ่งด้อยโอกาส 5) ผลกระทบที่จะตามมาจากความไม่แน่นอนของการจ้างงาน ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีเหล่านี้นําเข้าเพื่อใช้ในการทดแทนแรงงานจากมนุษย์ 2/19
3
การใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีเป็นการตอบโจทย์เศรษฐกิจดิจิทัล
เศรษฐกิจดิจิทัลขับเคลื่อนจากวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีก้าวหน้า นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ภาคเอกชนไทยมีการตื่นตัวและตอบรับในการเพิ่มสัดส่วนการใช้สมาร์ทเทคโนโลยี ปัจจุบันสัดส่วนการใช้หุ่นยนต์ต่อแรงงานของไทยอยู่ในลำดับ 10 ของโลกและในอาเซียนไทยอยู่ในลำดับที่ 1 2) แนวโน้มการเร่งตัวเพิ่มสัดส่วนของเทคโนโลยี ไม่ใช่เฉพาะอยู่ในภาคการผลิตแต่การเร่งตัวอยู่ในภาคบริการ เช่น เทคโนโลยีฟินเทคของสถาบันการเงิน, โมบายแบงก์กิ้ง, อี-คอมเมิร์ซ ฯลฯ 3) การจ้างงานในอนาคตอาจลดน้อยถอยลง อาจมีส่วนทำให้การพึ่งแรงงานในอนาคตลดน้อยถอยลงหรือชะลอตัวเป็นทางเดินของประเทศที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 4) ความเสี่ยงของการก้าวผ่าน เกี่ยวกับความพร้อมของแรงงานกลุ่มด้อยโอกาสทั้งด้านทักษะต่ำการศึกษาน้อยและแรงงานอายุมาก เป็นกลุ่มด้อยศักยภาพมีจำนวนมากจะไปด้วยกันได้อย่างไรเป็นความท้าทายค่อนข้างสูง 3/19
4
โครงสร้างอายุแรงงานไทยครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานค่อนข้างอายุมาก
กลุ่ม อายุ ความเสี่ยง สัดส่วนร้อยละ จำนวนแรงงาน (ประมาณ) 1 20-29 ปี ต่ำ 21.1% 7.9 ล้านคน 2 30-39 ปี ต่ำ-ปานกลาง 25.4% 9.51 ล้านคน 3 40-49 ปี เริ่มมีความเสี่ยง ต้องปรับตัว 25.1% 9.40 ล้านคน 4 50-59 ปี เสี่ยง 17.7% 6.63 ล้านคน 5 60 ปีขึ้นไป เสี่ยงมาก 7.7% 2.88 ล้าน ที่มา : ข้อมูลทุติยภูมิ สนง.สถิติแห่งชาติและกรมจัดหางาน ไตรมาส 1/2560 4/19
5
ที่มา : ดร.ธนิต โสรัตน์, สถานการณ์และการเตือนภัยแรงงาน กระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม (30 มิ.ย.2561) 5/19
6
อุตสาหกรรมไทยที่มีศักยภาพการใช้เทคโนโลยีออโตเมชั่น
ลำดับ รายละเอียด 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. ยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์-แผนวงจร-ฮาร์ดไดร์ เหล็กรีดร้อนและรีดเย็น, โลหะ ผลิตภัณฑ์ยางและยางรถยนต์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีคอล ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน อุตสาหกรรมเลนซ์ 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. ผลิตกระป๋องบรรจุอาหาร สายไฟฟ้าสายเคเบิ้ล ทองแดงและผลิตภัณฑ์จากทองแดง การแปรรูปอาหาร,อาหารและเครื่องดื่ม ยา-เครื่องสำอาง อุปกรณ์การแพทย์ เยื่อและกระดาษ ตลับลูกปืน อะไหล่และโมลด์ขึ้นรูป อุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์และชิ้นส่วน ที่มา : ดร.ธนิต โสรัตน์ (2561) 6/19
7
โจทย์ของอนาคต : การรับแรงงานใหม่จะชะลอตัว
แรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ปีละ 640,667 คน ร้อยละ53 จบป.ตรี สถานประกอบการ เฉลี่ยรับได้ คน/ปี มีผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน แสนคน (มิ.ย.61) สถานประกอบการมีแนวโน้มชะลอการจ้างงาน เทคโนโลยีก้าวหน้าประสิทธิภาพดีกว่า แรงงานมนุษย์ แขนกลอุตสาหกรรม 1 ตัวทดแทนแรงงาน 7-10 คน ลดไลน์การผลิต 3/4 ผลผลิตมากกว่า คุณภาพดีกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า ลดความเสี่ยงด้านแรงงานดีกว่า ราคาเทคโนโลยีออโตเมชั่นลดลงสวนทางต้นทุนค่าจ้างสูงขึ้น ระยะเวลาคุ้มทุน 3-5 ปีขึ้นอยู่ กับความซับซ้อน-อัตราค่าจ้าง และสัดส่วนต้นทุนแรงงาน แขนกลในอุตสาหกรรมยานยนต์ สามารถคืนทุนได้ 1-2 ปี การลดน้อยถอยลงของอุปสงค์แรงงาน คาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าผลกระทบจาก เทคโนโลยีจะทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมลดลง 6.5 แสนคน และแรงงานภาคบริการจะ ลดลงในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน 7/19
8
กลุ่มแรงงานที่เสี่ยงอาจทดแทนจากเทคโนโลยี
ลำดับ คลัสเตอร์ จำนวนแรงงาน (คน) ความเสี่ยงต่ำ (ร้อยละ) ความเสี่ยง ปานกลาง ความเสี่ยงสูง 1. ลูกจ้างภาคเกษตร 1,695,815 2.34 40.85 56.81 2. อุตสาหกรรมการผลิต 4,992,130 24.10 20.90 55.0 3. ก่อสร้าง 1,817,151 21.82 49.85 28.33 4. ค้าปลีก-ค้าส่ง 2,476,605 35.93 9.33 54.74 5. บริการอื่นๆ 7,486,922 60.67 11.17 28.10 18,468,623 ที่มา : INDUSTRIAL ROBOT AND IT IMPACT : พัชรพร และนันทนิตย์ (2018) คำนวณเป็นสัดส่วนโดย ดร.ธนิต โสรัตน์ 8/19
9
เทคโนโลยีก้าวหน้า ในปี 2570 ส่งผลต่อการลดลงของตำแหน่งงาน (ร้อยละ)
แรงงานอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักรพื้นฐาน % แรงงานด้านตรวจสอบสินค้าในสายการผลิต (QC) % แรงงานเกี่ยวกับทำเอกสารคีย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ % แรงงานใช้ทักษะพื้นฐาน (Basic & Manual Skill) % ช่างซ่อมและช่างเทคนิค % แรงงานเครื่องยนต์สันดาป % แรงงานในคลัสเตอร์สินค้า-บริการและงานของยุค 3.0 มากกว่า % แรงงานอายุ 40 ปีขึ้นไปและทักษะต่ำ (หากปรับตัวไม่ทัน) มากกว่า 50% คนงานในภาคการผลิต 10 คน จะหายไป 7 คน สื่อสิ่งพิมพ์, สถาบันการเงิน, ขายของหน้าร้าน- เคาน์เตอร์เซอร์วิส มากกว่า 50% ที่มา : สถาบัน แมคคินซีย์ โกลบอล 9/19
10
ค่าจ้างเท่าใดไม่สำคัญ : แต่ต้องสมดุลกับผลิตภาพแรงงาน
รัฐต้องไม่แทรกแซงค่าจ้าง อย่าใช้ค่าจ้างเป็นกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและหวังผลจากการเมือง แต่ ข้อเท็จจริงในอดีตกรรมการไตรภาคีมักถูกการเมืองเข้ามาครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อมเพียงแต่ในแต่ละยุคสมัย ของแต่ละรัฐบาลจะมากหรือน้อยเท่านั้น การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าจ้างอ้างอิง หากค่าจ้างไม่สมดุลกับผลิตภาพแรงงานจะเป็นปัจจัยเร่งให้ภาคเอกชนหันมา ใช้เทคโนโลยีแทนแรงงาน โดยเฉลี่ยค่าจ้างจะเป็นต้นทุนร้อยละ 10-12 ค่าจ้างต้องสามารถแข่งขันได้ ค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศมาเลเซียเล็กน้อยแต่สูงกว่าประเทศอินโดนีเซียประมาณ เท่า อีกทั้งสูงกว่าเวียดนามและกัมพูชาเกือบ 2 เท่ารวมทั้งสูงกว่าค่าแรงประเทศเมียนมาถึง 2.8 เท่า การเร่งตัวของการใช้เทคโนโลยีกระทบอุปสงค์การจ้างงานลดน้อยถอยลง ในปี 2564 มูลค่าการลงทุนหุ่นยนต์และ ออโตเมชั่นจะสูงขึ้น 2.4 เท่า (ปี 2560) ระยะสั้นอาจไม่เห็นผลกระทบชัดเจนเพราะนายจ้างใช้วิธีย้ายงานแต่จะชะลอ การจ้างแรงงานใหม่ 10/19
11
เปรียบเทียบค่าแรงงานประเทศ AEC
( มีนาคม 2561 ) ลำดับ ประเทศ เงินท้องถิ่น ค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน (บาท) รายเดือน (บาท) 1 สิงคโปร์ 1,000 SGD / เดือน 833.- 25,000.- 2 ไทย - 9,750.- 3 ฟิลิปปินส์ 16,000 เปโซ / เดือน 300 – 350.- (เมืองรอบนอก 197) 9,100.- 4 มาเลเซีย ,000 ริงกิต / เดือน 8,200 – 8,500.- 5 อินโดนีเซีย (เกาะบาหลี) 2.182 ล้านรูเปี๊ยะ / เดือน 5,895.- 6 เวียดนาม (โฮจิมินห์ / ฮานอย) 3.5 ล้านด่อง / เดือน (จังหวัดรอบนอก 156) 5,250.- 7 กัมพูชา แสนเรียว หรือ 153 เหรียญ / เดือน 168.- 8 เมียนมา (ย่างกุ้ง) 4,800 จ๊าด / เดือน 3,600-4,000.- 9 สปป.ลาว 9.5 แสนกีบ / เดือน 3,600-3,900.- 11/19
12
แรงงานไทยภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล
เศรษฐกิจดิจิทัลค่าจ้างขั้นต่ำใช้กับแรงงานไร้ทักษะและแรงงานต่างด้าว แรงงานต้องยกระดับไปสู่แรงงานทักษะทำงานกับเทคโนโลยี ไม่สามารถใช้ค่าจ้างถูกเป็นจุดแข็งของประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ แรงงานทักษะทางรอดของประเทศ การก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจำเป็นด้านพัฒนาแรงงานทักษะ (Skill Labor) เป็นทางเดินของประเทศเกี่ยวข้องกับการยกระดับผลิตภาพแรงงาน ความท้าทายยกระดับแรงงาน 4.0 เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี เกี่ยวข้องกับทั้งคน, ทัศนคติ, แรงจูงใจ จะสามารถก้าวผ่านทรานฟอร์มไปด้วยกันได้อย่างไร โครงสร้างแรงงานมีความซับซ้อน ทั้งมีการศึกษา ,การศึกษาน้อย ไปจนถึงระดับประถมซึ่งกลุ่มนี้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 45 ขณะที่แรงงานอายุปานกลางไปจนถึงสูงอายุมีสัดส่วนถึงครึ่งของคนที่มีงานทำจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร ค่าจ้างที่เหมาะสมภายใต้ช่วงรอยต่อยังมีความจำเป็น ร้อยละ 88 เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก, อุตสาหกรรมที่เทคโนโลยีมีข้อจำกัด, อุตสาหกรรมรับจ้าง OEM และแรงงานในภาคประมง-เกษตร-ปศุสัตว์ 12/19
13
โจทย์แรงงาน 4.0 ไม่ใช่แค่ค่าจ้างขั้นต่ำแต่เป็นการพัฒนาทักษะ
ลักษณะงานที่เปลี่ยนไปจากอดีต เป็นเรื่องสำคัญต้องเร่งพัฒนาอย่างจริงจัง ด้านทักษะที่จำเป็นต่อลักษณะของงานและการจ้างงานที่เปลี่ยนไป แรงงานต้องทำงานกับเทคโนโลยี เศรษฐกิจดิจิทัลจะมาพร้อมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของศตวรรษที่ 21 ทั้งในด้านอุตสาหกรรม, บริการ, โลจิสติกส์รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และหรือระบบ ออโตเมชั่นมาใช้ในกระบวนการทำงานและการผลิต GIG ECONOMY งานในอนาคตจะเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น งานอิสระ (Freelance), งานพาร์ทไทม์ (Part time worker), ทำงานที่บ้าน (Homeworker), งานเกษตรพอเพียง ความท้าทายการก้าวผ่านให้หลุดจากกับดักแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำ เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนและทัศนคติวิสัยทัศน์ให้ก้าวผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งความเป็นธรรมในการจ้างงานต้องเป็นความสมดุลระหว่างผลิตภาพแรงงานเพื่อแลกกับอัตราค่าจ้างสูง 13/19
14
จำนวนปีที่คุ้มค่าต่อการลงทุน IR ในอุตสาหกรรมทั่วไป ณ ระดับค่าจ้างงานต่างๆ
530 370 300 450 อัตราค่าจ้าง ในปัจจุบัน/วัน ที่มา : EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ 14/19
15
ราคาหุ่นยนต์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับต้นทุนค่าจ้างแรงงาน
ต้นทุนแรงงาน ราคาหุ่นยนต์ ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ McKinsey และ J.P.Morgan 15/19
16
การก้าวผ่านแรงงาน4.0 ความสำเร็จอยู่ที่การมียุทธศาสตร์ด้านแรงงาน
ประเทศไทยยังติดกับดักอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในอนาคตโจทย์ของประเทศช่องว่างของค่าจ้างไทยที่นับวัน จะห่างจากอัตราค่าจ้างของประเทศเพื่อนบ้าน ผลิตภาพแรงงานจะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับอัตรา ค่าจ้างโดยเฉพาะประเด็นผลิตภาพแรงงานของไทยต่ำกว่าผลตอบแทนที่นายจ้างจ่ายซึ่งจะเป็นปัญหา ของประเทศในอนาคต อนาคตค่าจ้างขั้นต่ำอาจไม่ใช่ประเด็นที่จะมาถกเถียง เพราะแนวโน้มเทคโนโลยีที่จะมาทดแทนแรงงาน ต้องการแรงงานทักษะและแรงงานคุณภาพที่จะต้องมาทำงานภายใต้เศรษฐกิจดิจิทัล แรงงานบางสาขา และบางอาชีพอาจไม่มีอีกเตรียมการรับมืออย่างไร การประเมินสถานการณ์แรงงานในช่วงรอยต่อที่จะก้าวผ่าน เกี่ยวข้องกับการประเมินว่าแรงงานทั้ง ระบบจะต้องปรับตัวรับมือกับอะไรบ้าง การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยียุค 4.0 จะมาเร็วแค่ไหนผลกระทบ จะเป็นอย่างไร การคุ้มครองแรงงานโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพและผลิตภาพแรงงาน อาจเป็นกับดักต่อการยกระดับเป็น ประเทศมีรายได้สูงตามโรดแมปยุทธศาสตร์ชาติ 20 ยุทธศาสตร์แรงงาน 4.0 เพื่อเป็นโรดแมปในการพัฒนาแรงงานทั้งระบบโดยสอดคล้องกับโจทย์ของ แรงงานทั้งด้านโอกาส, การศึกษา, อายุ และศักยภาพที่แตกต่างกัน 16/19
17
ดิสรัปทีฟเทคโนโลยีของยุค 4. ตัวแปรกำหนดการจ้างงานและค่าจ้างในอนาคต
ดิสรัปทีฟเทคโนโลยีของยุค ตัวแปรกำหนดการจ้างงานและค่าจ้างในอนาคต การก้าวผ่านคือการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 17/19
18
สามารถสแกนด้วยมือถือ
Power point ค่าจ้างต้องสมดุลกับผลิตภาพแรงงาน:ทางออกแรงงานไทยก้าวผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล เอกสารค่าจ้างต้องสมดุลกับผลิตภาพแรงงาน:ทางออกแรงงานไทยก้าวผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล และสามารถติดตามบทความอื่นๆได้ที่ช่องทาง / Facebook : Tanit Sorat / Youtube : 18/19
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.