งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
โดย นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง หัวหน้าฝ่ายนิติการ สำนักงานกิจการสตรีฯ

2 ความชั่วร้ายของความรุนแรง (Vice and Evils of Violence)
ทำมิตรให้เป็นศัตรู ทำให้หมู่ญาติขาดจากกัน ทำลายความรัก ทำลายความสัมพันธ์ ทำลายความสมานฉันท์

3 เหตุปัจจัยของความรุนแรง (Causes of Violence)
ฝนตกขี้หมูไหล คนหลงตัวว่ายิ่งใหญ่มาพบกัน จึงเกิดเรื่อง เพราะถือตัวเป็นศูนย์กลาง ใครขวางจึงขัดเคือง เพราะเรื่องตัณหามันหนาหนัก มักมากรักหลากหลาย เพราะไม่รู้ฤทธิ์ร้ายความรุนแรง จึงหลงผิดคิดว่าข้าแกร่งแข็งขัน ทำเด็ดเดี่ยว ดีเดือด ดุดัน เด็ดขาดฟาดฟันให้บรรลัย

4 วัฒนธรรมสันติสุข (Peace Culture)
ต้องมีเครือข่ายพันธมิตร ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางปัญญา สื่อสาธารณะ ผู้นำทางการเมือง พ่อแม่ ผู้บังคับบัญชา

5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐
มาตรา ๕๒ วรรคสอง “เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว” วรรคสาม “การแทรกแซงและจำกัดสิทธิเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น”

6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐
มาตรา ๘๐(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

7 แนวคิดทางกฎหมายอาญา แนวคิดของ “ซีซา แบคเคอเรีย” แห่งสำนัก CLASSICAL SCHOOL เน้นการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน แนวคิดของ “ซีซา ลอมโบร์โซ” แห่งสำนัก POSITIVE SCHOOL เน้นการแก้ไขฟื้นฟู

8 ทำไมต้องมีกฎหมายนี้ มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้บังคับกับการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เพราะว่า ๑. ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีความละเอียดอ่อนซับซ้อนเกี่ยวพันกับบุคคลใกล้ชิด ๒. ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการทำร้ายร่างกายทั่วไป ๓. กฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ลงโทษมากกว่าแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด หรือปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำ

9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. สามารถกำหนดรูปแบบ วิธีการ และขั้นตอนที่มีลักษณะแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาทั่วไป ๒. ทำให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ ๓. รักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวไว้ได้ ๔. เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

10 “ความรุนแรงในครอบครัว”
- การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย อันตรายแก่จิตใจ อันตรายแก่สุขภาพ - การกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิด อันตรายแก่ร่างกาย อันตรายแก่จิตใจ อันตรายแก่สุขภาพ (ของบุคคลในครอบครัว) - การกระทำโดยบังคับ หรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้อง กระทำการ ไม่กระทำการ ยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ - ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท

11 “บุคคลในครอบครัว” - คู่สมรส - คู่สมรสเดิม
- ผู้ที่อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส - ผู้ที่เคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส - บุตร - บุตรบุญธรรม - สมาชิกในครอบครัว - บุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

12 โทษสำหรับผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว
โทษตามกฎหมายนี้ - ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือ - ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท หรือ - ต้องระวางโทษทั้งจำทั้งปรับ โทษตามกฎหมายอื่น - โทษตามประมวลกฎหมายอาญา - โทษตามกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา - โทษตามประมวลกฎหมายแพ่ง

13 หน้าที่ของบุคคล - หน้าที่ของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว - หน้าที่ผู้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือ - หน้าที่ผู้ทราบการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว คือ แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และถ้าได้แจ้งโดยสุจริตได้รับความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง การแจ้งกระทำได้โดยวาจา เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ ทางอิเล็กทรอนิกส์

14 การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่
กระบวนการทางปกครอง การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่

15 อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
๑. เข้าไปในเคหะสถาน หรือสถานที่ที่เกิดเหตุ เพื่อ - สอบถามผู้กระทำ - สอบถามผู้ถูกกระทำ - สอบถามบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้น ๒. จัดให้ผู้ถูกกระทำเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ๓. จัดให้ผู้ถูกกระทำ ร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีตามความประสงค์ของผู้ถูกกระทำ ๔. ร้องทุกข์แทนผู้ถูกกระทำ ถ้าผู้ถูกกระทำไม่อาจดำเนินการเองได้

16 อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
๕. ออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์แก่ผู้ถูกกระทำเป็นการชั่วคราว ๖. ออกคำสั่งใดๆ เท่าที่จำเป็นและสมควร รวมถึง - การให้ผู้กระทำเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ - การให้ผู้กระทำชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ - การห้ามผู้กระทำเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวหรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว - การกำหนดวิธีการดูแลบุตร ๗. เสนอมาตรการดังกล่าวต่อศาล ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่วันออกคำสั่ง ถ้าศาลเห็นชอบ มาตรการนั้นมีผลต่อไป หากไม่เห็นชอบด้วยให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่ง

17 (ต่อ) - ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคำสั่ง (ไม่ว่าจะเป็นของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือของศาล) สามารถยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลทบทวนคำสั่งได้ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง - ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือของศาล(ในเรื่องนี้) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

18 โทษสำหรับผู้พิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่
จำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือ ปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

19 กระบวนการทางอาญา การร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีของผู้เสียหายหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวน การฟ้องคดีของพนักงานอัยการ การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล

20 การร้องทุกข์(แจ้งความ)
- ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือร้องทุกข์ ภายใน ๓ เดือน นับแต่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในวิสัยและมีโอกาสที่จะแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ มิฉะนั้น “ขาดอายุความ” - ความผิดฐานกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นความผิดอันยอมความได้ (ไม่ลบล้างความผิดตามกฎหมายอื่น) - ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกกระทำหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอคุ้มครองสวัสดิภาพตาม พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ

21 การสอบสวนของตำรวจ - พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนโดยเร็ว - การสอบปากคำต้องจัดให้มีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำร้องขอร่วมอยู่ในขณะสอบปากคำ - กรณีจำเป็นเร่งด่วน ไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวได้ ให้สอบปากคำไปก่อนโดยไม่ต้องมีบุคคลที่ว่าร่วมอยู่ด้วย แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอไว้ในสำนวนการสอบสวน - ต้องกระทำตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของพนักงานสอบสวน

22 การฟ้องคดีของอัยการ - พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้กระทำพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาล ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่ได้ตัวผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว - หากจำเป็น ขอผัดฟ้องต่อศาลได้ไม่เกิน ๓ คราว คราวละไม่เกิน ๖ วัน - ถ้าเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดตามกฎหมายอื่น ให้ดำเนินคดีนี้ต่อศาลรวมกับความผิดตามกฎหมายอื่น - ถ้าความผิดตามกฎหมายอื่นมีอัตราโทษสูงกว่า ให้ดำเนินคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายนั้น

23 การพิจารณาพิพากษาของศาล
๑. ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ ๒. ออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ๓. ออกคำสั่งใดๆ ตามที่เห็นสมควร ๔. แก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ หรือกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ๕. ในกรณีที่พิพากษาว่าผู้กระทำมีความผิด อาจกำหนดใช้วิธีการฟื้นฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติ ให้ชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรง หรือทำทัณฑ์บนผู้กระทำก็ได้

24 การพิจารณาพิพากษาของศาล
๕. จัดให้มีการทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความ หรือถอนฟ้อง ๖. พยายามเปรียบเทียบให้ได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ โดยให้คำนึงถึงหลัก - การคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำ - การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรส หากจำเป็นต้องหย่า ก็ให้เป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด - การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว - มาตรการช่วยเหลือสามีภริยาและบุคคลในครอบครัวให้ปรองดองและปรับปรุงสัมพันธภาพ

25 วิธีการแทนการลงโทษของศาล
วิธีการฟื้นฟูและบำบัดรักษา - อบรม ว่ากล่าวตักเตือน หรือให้เข้าร่วมฝึกอบรมทางศีลธรรม หรือทางวินัยไม่เกิน ๗ วัน - บำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ไม่เกิน ๖ เดือน - บำบัดรักษาอาการบกพร่องทางร่างกายและจิตใจ หรือให้ผู้เต็มใจรับดูแลรักษา ไม่เกิน ๑ ปี - บำบัดรักษาอาการติดสุรา หรือของมึนเมา ไม่เกิน ๖ เดือน

26 วิธีการแทนการลงโทษของศาล
วิธีการคุมความประพฤติ - ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ - ห้ามเข้าสถานที่จูงใจให้ประพฤติชั่ว หรือกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประพฤติชั่ว - ให้ฝึกหัด หรือประกอบอาชีพ - ให้ละเว้นคบหาสมาคม หรือประพฤติใดอันอาจนำสู่การกระทำผิดอีก - ห้ามเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพสิ่งเสพติด

27 วิธีการแทนการลงโทษของศาล
วิธีการชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ - สำหรับรายได้ที่สูญเสีย ให้ชดใช้ในวงเงินที่สูญเสีย ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท - ค่ารักษาพยาบาล ให้ชดใช้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท - ค่าใช้จ่ายหาที่อยู่ใหม่ ให้ชดใช้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท ไม่เกิน ๑ ปี - ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น ให้ชดใช้ตามที่จำเป็น ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท

28 วิธีการแทนการลงโทษของศาล
การให้ทำงานบริการสาธารณะ - ศาลกำหนดประเภท สถานที่ ระยะเวลา ไม่เกินวันละ ๓ ชั่วโมง และไม่เกิน ๗ วัน การให้ละเว้นการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรง การทำทัณฑ์บน โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ - ถ้าผิดทัณฑ์บน จะสั่งให้ชำระเงิน ไม่ชำระเงินจะสั่งกักขังแทนค่าปรับตาม ปอ. เว้นเป็นเด็กหรือเยาวชน การยอมความ ถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้อง ศาลจะจัดให้มีการทำบันทึกข้อตกลงก่อน

29 กรณีตั้งผู้ประนีประนอมยอมความ
๑. ผู้ที่มีอำนาจตั้งผู้ประนีประนอมยอมความ - พนักงานเจ้าหน้าที่ - ศาล ๒. ผู้ประนีประนอมยอมความ ประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคล เช่น - บิดา, มารดา, ผู้ปกครอง, ญาติของคู่ความ, บุคคลที่เห็นสมควร - หรืออาจมอบหมายให้นักสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดช่วยไกล่เกลี่ย

30 (ต่อ) ๓. ผู้ประนีประนอมยอมความ ต้องรายงานผลการไกล่เกลี่ย - ถ้าการไกล่เกลี่ยสำเร็จ จะจัดให้มีการทำสัญญายอมความ หรือขอให้เรียกคู่ความมาทำสัญญายอมความ - สัญญายอมความจะต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

31 ภารกิจของกระทรวง ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รักษาการตามกฎหมายนี้ ๒. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ๓. ออกกฎกระทรวง ๔. ออกระเบียบ ๕. จัดทำรายงานประจำปี ต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาปีละครั้ง - แสดงจำนวนคดี - จำนวนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ - จำนวนการละเมิดคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาล - จำนวนการยอมความ

32 เอวังก็มีด้วยประการละฉะนี้
สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google