ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยปานใจ รักไทย ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
แนวทางการปฏิบัติงานของเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ
นางจุฑารัตน์ ศักดิ์โชตินนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด 9 มีนาคม 2560
2
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สภานายิกาสภากาชาดไทย อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
3
จุดกำเนิดเหล่ากาชาดจังหวัด
ปี พ.ศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ว่า “ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีเหล่ากาชาดจังหวัด ให้เป็นรูปธรรม” จึงได้มีการประกาศ แต่งตั้งเหล่ากาชาดจังหวัด ครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2504 เริ่มจาก 69 จังหวัด ปัจจุบันมี 76 จังหวัด
4
จุดกำเนิดกิ่งกาชาดอำเภอ
สภากาชาดไทย ได้มีการอนุมัติให้ จัดตั้งกิ่งกาชาดอำเภอเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2510 ณ อ.สันป่าตอง จ. เชียงใหม่ และมีกิ่งกาชาดอำเภอรุ่นแรก ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ได้แก่ กิ่งกาชาดอำเภอห้างฉัตร เกาะคา แจ้ห่ม งาว วังเหนือ แม่พริก เถิน แม่ ทะ และสบปราบ (ปัจจุบันมี 240 กิ่ง กาชาดอำเภอ)
5
พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานในวันเปิดการชุมนุมกาชาด ครั้งที่ 5 วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2536 พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระราชทานในวันเปิดการชุมนุมกาชาด ครั้งที่ ๔ “เหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอ ได้เป็นกำลังสำคัญของสภากาชาดไทยในส่วนภูมิภาค ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้เดือดร้อนในท้องถิ่นของตน ตลอดจนการดำเนินภารกิจต่างๆ ในฐานะตัวแทนของสภากาชาดไทย” “...เหล่ากาชาดจังหวัและกิ่งกาชาดอำเภอ ได้เป็นกำลังสำคัญ ของสภากาชาดไทยในส่วนภูมิภาค ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้เดือดร้อนในท้องถิ่นของตน ตลอดจนดำเนินภารกิจต่าง ๆ ในฐานะตัวแทนของสภากาชาดไทย...”
6
หลักการกาชาด 7 ประการ 1. มนุษยธรรม (Humanity) 2. ความไม่ลำเอียง/การไม่เลือก ปฏิบัติ(Impartiality) 3. ความเป็นกลาง (Neutrality) 4. ความเป็นอิสระ (Independence) 5. บริการอาสาสมัคร (Voluntary Service) 6. ความเป็นเอกภาพ (Unity) 7. ความเป็นสากล (Universality)
7
พันธกิจของเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ มี 8 ประการ
1. บรรเทาทุกข์ 2. สังคมสงเคราะห์ 3. รับบริจาคโลหิต ดวงตา และอวัยวะอื่น 4. ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิต 5. สนับสนุนและส่งเสริมกิจการยุวกาชาด อาสากาชาด และกิจการต่างๆ ของสภากาชาดไทย 6. ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ 7. เหล่ากาชาดจังหวัด คือสภากาชาดไทยในจังหวัด 8. ส่งเสริม เผยแพร่อุดมการณ์และหลักการกาชาด
8
โครงสร้างการบริหาร และบทบาทหน้าที่ของเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ
9
ผู้แทนภาค ประกอบด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้แทนภาค รองผู้แทนภาค
หมายเหตุ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดผู้แทนภาคทั้ง 12 ภาค เป็น คณะกรรมการสภากาชาดไทย
10
นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธาน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัด รองประธาน
คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด ประกอบด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธาน รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัด รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ กรรมการอื่นๆ ( คน) นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอาจแต่งตั้งผู้ที่ช่วยเหลือกิจการ ของกาชาดเป็นที่ปรึกษาได้ตามที่เห็นสมควร
11
นายกกิ่งกาชาดอำเภอ ประธาน รองนายกกิ่งกาชาดอำเภอ รองประธาน
คณะกรรมการกิ่งกาชาดอำเภอ ประกอบด้วย นายกกิ่งกาชาดอำเภอ ประธาน รองนายกกิ่งกาชาดอำเภอ รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ กรรมการอื่นๆ (20-24 คน) นายกกิ่งกาชาดอำเภออาจแต่งตั้งผู้ที่ช่วยเหลือกิจการ ของกาชาดเป็นที่ปรึกษาได้ตามที่เห็นสมควร
12
การนับวาระคณะกรรมการ
สภากาชาดไทยมีหนังสือสั่งการ ที่ กช 11365/2554 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2554 ให้ปรับวาระคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ เป็นไปตามข้อบังคับฯ ฉบับที่ 74 พ.ศ.2553 ที่ประกาศใช้ โดยปรับวาระตามปีปฏิทินเป็นวาระเดียวกันทั่วประเทศ เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 นับเป็นวาระแรก ดังนั้น เหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอ จะต้องดำเนินการ เลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน หลังจากครบวาระ หรือสามารถดำเนินการล่วงหน้าได้
13
สิ่งที่ สภากาชาดไทยและสังคมไทยอยากจะเห็น
เหล่ากาชาดจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภอ (อันหมายรวมถึง คณะกรรมการ สมาชิก อาสาสมัคร ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานทุกคน ภายใต้การนำของนายกเหล่ากาชาดจังหวัด นายกกิ่งกาชาดอำเภอ) ต้องทำงานอย่าง “จิตอาสา ใจเป็นกุศล มีธรรมาภิบาล เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของสาธารณชน และมีประสิทธิภาพ”
14
บทบาทหน้าที่ของ คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ
15
บทบาทหน้าที่ของนายกเหล่ากาชาดจังหวัด/นายกกิ่งกาชาดอำเภอ
สามารถจำแนกได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบริหารภายในองค์กร การแสวงหาความร่วมมือภายนอกองค์กร
16
บทบาทหน้าที่ของเหรัญญิก
1. รับผิดชอบงานด้านการเงิน การบัญชีและการพัสดุของเหล่ากาชาดจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบและคู่มือการปฏิบัติงานของสภากาชาดไทย 2. ร่วมประชุมกับคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดเพื่อจัดทำงบประมาณประจำปี 3. รายงานการเงิน ตามกรอบระยะเวลา ที่สภากาชาดไทยกำหนด ได้แก่ งบรับ-จ่ายรายเดือน รายไตรมาส และงบดุล 4. รายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดทุกครั้งที่มีการประชุม 5. จัดเก็บเอกสารทางการเงินต่างๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบ ณ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด และส่งมอบให้แก่ผู้มารับตำแหน่งใหม่ 6. มอบหมาย กำกับดูแล และควบคุม การจัดทำงบประมาณ การเงิน และการบัญชีของเหล่ากาชาดจังหวัด
17
บทบาทหน้าที่ของเลขานุการเหล่ากาชาดจังหวัด
1. ดูแลรับผิดชอบงานของสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด 2. ทำแผนปฏิบัติงานของเหล่ากาชาดจังหวัดและรายงานผลส่งสภากาชาดไทย 3. ประสาน+ร่วมมือเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน ประสานกับหน่วยงานของสภากาชาดไทย ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการ เหรัญญิก สมาชิก เจ้าหน้าที่ ขยายเครือข่ายการทำงานสร้างอาสาสมัครรุ่นใหม่
18
บทบาทกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาด
1. ร่วมปฏิบัติภารกิจของเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาด อย่างสม่ำเสมอ และให้ความร่วมมือสนับสนุนงานของเหล่ากาชาด จังหวัดและกิ่งกาชาดให้บรรลุตามกิจกรรม/แผนงานที่วางไว้ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ 2 . ร่วมประชุม คณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด และไม่ควร ขาดประชุม สามครั้ง ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
19
บทบาทกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาด
3. ร่วมเป็นกรรมการในการดำเนินการซื้อ/จ้างของ เหล่ากาชาดและกิ่งกาชาด เช่น กรรมการตรวจรับพัสดุ กรรมกรรมการตรวจการจ้าง 4. ไม่กระทำการหรือละเว้นกระทำการอื่นใดเพื่อแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง กรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือในทางการเมือง 5. รับมอบงานในหน้าที่ของเหล่ากาชาด/กิ่งกาชาด เมื่อนายกเหล่ากาชาด/นายกกิ่งกาชาด เกษียณ หรือ โยกย้าย
20
การแต่งกายของคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัด/กิ่งกาชาดอำเภอ
21
* การสวมเสื้อประเภทอื่นๆ ในการปฏิบัติงาน
- เสื้อกั๊ก - เสื้อของจังหวัด เสื้อของเหล่ากาชาดจังหวัด - เสื้อทีเซิ้ต เช่น สีขาว-แดง สีเหลือง สีฟ้า สีชมพู (ตามกาลสมัย) ให้แต่ละเหล่ากาชาดจังหวัดและกิ่งกาชาดอำเภอทำเอง หากมีการใช้เครื่องหมายกาชาด ปัก หรือ สกรีนบนเสื้อ ให้ขออนุญาตใช้ตามระเบียบฯ ก่อนจัดทำ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.