งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิวัฒนาการคณิตศาสตร์ในประเทศไทย Evolutions of Mathematics in Thailand

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิวัฒนาการคณิตศาสตร์ในประเทศไทย Evolutions of Mathematics in Thailand"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิวัฒนาการคณิตศาสตร์ในประเทศไทย Evolutions of Mathematics in Thailand
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนัชยศ จำปาหวาย

2 สมัยสุโขทัย พ.ศ

3 สมัยสุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ศึกษาจากศิลาจารึก
มีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน สถานศึกษา : วัดและสำนักราชบัณฑิต ลักษณะการสอน : ครูเป็นผู้บอก / เล่าปากต่อปากในครอบครัวและเพื่อนบ้าน

4

5 ตัวเลขที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกในสมัยสุโขทัย
ตัวเลขที่ใช้ ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๔ ๕ ๗

6 สมัยสุโขทัย มีการใช้ ”เงินกลม” ที่เรียกว่า “เงินพดด้วง” และมีการใช้
“เบี้ยหอย” มีการแสดงการอ่านและการใช้จำนวน เช่น สาม สอง สิบเก้า หมื่น แสน ล้าน มีการระบุบทลงโทษสำหรับผู้ที่ให้ที่พักพิงแก่คนโทษหรือทาส ที่หนีไป

7

8 สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.1893-2310

9 สมัยกรุงศรีอยุธยา เริ่มแรก: มีการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกันกับสมัยสุโขทัย หลังสงคราม: มีการติดต่อจากชาวตะวันตก และเอเชียมากขึ้น (ฝรั่งเศส, จีน, อินเดีย) มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการศึกษาอย่างยิ่งในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

10 คณิตศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มีการใช้ตัวเลขแทนจำนวน ได้แก่ ตัวเลขไทย , ตัวเลขสยาม และตัวเลขฮินดูอารบิก (หมอชาวฝรั่งเศสเป็นผู้นำมา)

11 คณิตศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มีการใช้มาตราชั่ง คลิก มีการใช้มาตราวัด คลิก มีการใช้มาตราเงิน คลิก

12 การใช้มาตราชั่ง บทกลอน การใช้มาตราชั่ง
  ทองภาราหนึ่งแท้               ยี่สิบดุนแน่ ดุนหนึ่งยี่สิบชั่งนา     ชั่งหนึ่งยี่สิบตำลึงหนา         ตำลึงหนึ่งรา สี่บาทถ้วนจงจำไว้     บาทหนึ่งสี่สลึงไทย            สลึงหนึ่งท่านใช้ สองเฟื้องจงจำไว้นา     เฟื้องหนึ่งนั้นสี่ไพหนา         ไพหนึ่งท่านว่า สองกล่ำจงกำหนดไว้     กล่ำหนึ่งสองกล่อมตามใช้    กล่อมหนึ่งลงไป สองเมล็ดเข้าตามมีมา     อันนี้นับด้วยชั่งหนา             จงเร่งศึกษา เปนสามประการวิธี   เข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า    เป็นสองบั้นหนา บั้นหนึ่งสี่สิบสัด      สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด       ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจงจำไว้      จังออนหนึ่งสี่กำมือได้         กำมือหนึ่งไซร้ สี่ใจมือตามมีมา      ใจมือหนึ่งนั้นท่านว่า          ร้อยเมล็ดเข้าหนา นับด้วยตวงเพียงนี้แล  

13 การใช้มาตราชั่ง ๒๐  ดุน             เท่ากับ        ๑  ทองภารา ๒๐  ชั่ง             เท่ากับ        ๑  ดุน ๒๐  ตำลึง         เท่ากับ         ๑  ชั่ง ๔   บาท           เท่ากับ         ๑  ตำลึง ๔   สลึง           เท่ากับ         ๑  บาท ๒   เฟื้อง          เท่ากับ         ๑  สลึง ๔   ไพ             เท่ากับ         ๑  เฟื้อง ๒   กล่ำ            เท่ากับ        ๑  ไพ ๒   กล่อม         เท่ากับ         ๑  กล่ำ ๒   เมล็ดเข้า     เท่ากับ         ๑  กล่อม เช่น   ทองคำหนัก  ๒๐ ชั่ง  เรียกว่า  ดุนหนึ่ง  (ปัจจุบัน สะกด  ดุล)

14 การใช้มาตราชั่ง    ๒  บั้น            เท่ากับ   ๑  เกวียน                     ๔๐  สัด            เท่ากับ   ๑  บั้น                     ๒๐  ทะนาน       เท่ากับ   ๑  สัด                  (ต่างกับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน                    ๒๕  ทะนาน   เป็น  ๑  สัด)                               ๒   จังออน       เท่ากับ   ๑  ทะนาน                      ๔   กำมือ         เท่ากับ   ๑  จังออน                           ๔   ใจมือ         เท่ากับ   ๑  กำมือ                   ๑๐๐   เมล็ดข้าว   เท่ากับ    ๑  ใจมือ         หมายเหตุ  ๑   :  ส่วนมากใช้ตวงข้าว

15 การใช้มาตราชั่ง   ๘๐  สัด  หรือ  ๑๐๐  ถัง           เป็น    ๑  เกวียน                       ๒๕ ทะนาน           เป็น     ๑  สัด  (เท่ากับ  ๒๐ ลิตร)                       ๒๐ ทะนาน            เป็น    ๑  ถัง                         ๘  ฟายมือ          เป็น     ๑  ทะนาน                         ๒  จังออน          เป็น     ๑  แล่ง                         ๑   เกวียนหลวง      เท่ากับ     ๒๐๐๐  ลิตร                           ๑   ทะนานหลวง     เท่ากับ           ๑  ลิตร                         ที่มา :  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๒๕ คลิก

16 การใช้มาตราเงิน ๒  โสฬส        เท่ากับ        ๑  อัฐ ๒  อัฐ            เท่ากับ        ๑  ไพ ๔  ไพ            เท่ากับ        ๑  เฟื้อง ๒  เฟื้อง         เท่ากับ        ๑  สลึง ๔  สลึง          เท่ากับ        ๑  บาท ๔  บาท          เท่ากับ        ๑  ตำลึง ๒๐ ตำลึง        เท่ากับ        ๑  ชั่ง

17 การใช้มาตราเงิน คลิก

18 การใช้มาตราวัด คลิก ไม้ ๑ ยก เท่ากับ กว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา
  ๑  ไร่  เท่ากับ กว้าง  ๒๐ วา ยาว  ๒๐ วา เท่ากับ ๔  งาน         (เท่ากับ     ๔๐๐  ตารางวา)     ๑  งาน เท่ากับ กว้าง  ๕  วา    ยาว  ๑  เส้น           (เท่ากับ     ๑๐๐  ตารางวา) ไม้  ๑  ยก   เท่ากับ     กว้าง  ๑  ศอก  ยาว  ๑๖  วา ๑๐๐  เมล็ดข้าว          เป็น     ๑  ใจมือ         ๔  ใจมือ                เป็น     ๑  กำมือ         ๔  กำมือ                เป็น     ๑  จังออน         ๒  จังออน              เป็น     ๑  แล่ง         ๒  แล่ง                  เป็น     ๑  ทะนาน       คลิก

19 เครื่องคำนวณที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน

20 โจทย์เลขที่พบในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชาวอินเดีย เป็นผู้นำโจทย์เลขคณิตศาสตร์เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ “โจทย์เลขสี่เหลี่ยมมหัศจรรย์ตามแบบชมพูทวีป”

21 โจทย์เลขสี่เหลี่ยมมหัศจรรย์ตามแบบชมพูทวีป

22 สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการใช้ความรู้เกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต และเรขาคณิต
มีการใช้ความรู้เกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต และเรขาคณิต ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และการสร้างพระพุทธรูป มีหนังสือเรียนเล่มแรก “จินดามณี”

23 การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ในสมัยกรุงธนบุรี (2310 – 2325)

24 สมัยกรุงธนบุรี ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม
การศึกษาไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร คาดกันว่าคงจะมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา

25 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-4) พ.ศ.2325-2410

26 สมัยรัชกาลที่ 1 มีการฟื้นฟูหนังสือ ตำรา เรียน ภายหลังสงครามยุติ
การสอนวิชาคณิตศาสตร์คาดว่า มีลักษณะเช่นเดียวกันกับสมัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี การพัฒนาการศึกษายังมีไม่มาก ผลจากสงคราม

27 สมัยรัชกาลที่ 2 มีชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศ มากขึ้น
มีหลักฐานในการเรียนวิชา เลขเบื้องต้น ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดี และดนตรีได้รับการเผยแพร่อย่างหลากหลาย การสร้าง “โรงทานหลวง” ใช้เป็นสถานศึกษา

28 สมัยรัชกาลที่ 3 จารึกวิชาความรู้สามัญ และวิชาชีพในแผ่นศิลาประดับไว้ตามระเบียงวัดพระเชตุพน (มหาวิทยาลัยแห่งแรก) เรียบเรียงหนังสือเรียนจินดามณีขึ้นมาใหม่ การใช้หนังสือ ประถม ก กา และ ปฐมมาลา การสร้างโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย พ.ศ.2379

29 สมัยรัชกาลที่ 4 ชาวยุโรป และอเมริกาเริ่มเข้ามาในประเทศ
หมอศาสนาพัฒนาการศึกษา วิชาการ และศาสนา ใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณทางดาราศาสตร์ “การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง” (8 กุมภาพันธ์ 2379) มีการตีพิมพ์บทความคณิตศาสตร์ ในหนังสือ “วชิรญาณ”

30 บทความคณิตศาสตร์ที่ปรากฏในสมัย ร.4


ดาวน์โหลด ppt วิวัฒนาการคณิตศาสตร์ในประเทศไทย Evolutions of Mathematics in Thailand

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google