ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยเยาวพา บราวน์ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
Office of Basic Education Commission Quality Award (OBECQA)
รางวัลคุณภาพ แห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน Office of Basic Education Commission Quality Award (OBECQA) โดย นายทรงวิทย์ นิลเทียน ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
2
เจตนารมณ์... OBECQA เป็นชุดเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการคุณภาพ และเป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินระดับพัฒนาการของสถานศึกษาโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
3
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
สหรัฐอเมริกา MBNQA Malcolm Baldrige National Quality Award ออสเตรเลีย ABEA Australia Business Excellence Award ญี่ปุ่น JQA Japan Quality Award สหภาพยุโรป EQA European Quality Awa ไทย TQA Thailand Quality Award
4
ระดับ สพฐ. ระดับโรงเรียน
รางวัลคุณภาพของ สพฐ. OBECQA : Office of the Basic Education Commission Quality Award ระดับ สพฐ. ScQA : School Quality Award ระดับโรงเรียน
5
ท่านมั่นใจหรือไม่ที่จะใช้เครื่องมือ การบริหารจัดการองค์กรสำหรับศตวรรษที่ 19 มาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรในศตวรรษที่ 21
6
ลักษณะที่สำคัญ ของเกณฑ์
การมุ่งเน้นที่ค่านิยมและแนวคิดหลัก การมุ่งเน้นกระบวนการ การมุ่งเน้นผลลัพธ์ การมุ่งเน้นการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกัน การมุ่งเน้นการปรับปรุง
7
OBECQA เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ
ขับเคลื่อนให้โรงเรียนบรรลุเป้าประสงค์ ปรับปรุงผลลัพธ์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ OBECQA
8
ค่านิยมและแนวคิดหลัก 11 ประการ
OBECQA
9
1.มุมมองเชิงระบบ
10
2.การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
11
3.ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นนักเรียน
12
4.การให้ความสำคัญกับบุคลากร
13
5.การเรียนรู้ระดับองค์กรและความคล่องตัว
14
6.การมุ่งเน้นความสำเร็จ
15
7.การจัดการเพื่อนวัตกรรม
16
8.การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
17
9.ความรับผิดชอบต่อสังคม
18
10.จริยธรรมและความโปร่งใส
19
11.การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์
20
โครงสร้างเกณฑ์ OBECQA
หัวข้อ ประเด็น การพิจารณา ข้อกำหนด หมายเหตุ
21
หัวข้อ มีทั้งหมด 19 หัวข้อ โครงสร้างองค์กร มี หัวข้อ หมวด 1 – 6 มี หัวข้อ หมวด 7 มี หัวข้อ ใช้หมายเลขแสดงหัวข้อ เช่น 1.1 , 1.2, 2.1, 5.1 เป็นต้น
24
ประเด็นการพิจารณา ในแต่ละหัวข้อ มีประเด็นพิจารณาอย่างน้อย 1 ประเด็น (ใช้ตัวอักษร ก. ข. ค )
25
ข้อกำหนด แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ข้อกำหนดพื้นฐาน : Basic requirements (คำถามที่ตามหลังหัวข้อหลัก) ข้อกำหนดโดยรวม : Overal requirements (แสดงด้วยคำถามตัวอักษรเข้มเป็นจุดเริ่มต้น ในการตอบข้อกำหนดของเกณฑ์) ข้อกำหนดย่อย : Multiple requirements (เป็นคำถามเดี่ยวในแต่ละประเด็นพิจารณา คำถามแรกแสดงถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดในชุดคำถามนั้น)
26
หมายเหตุของหัวข้อ อธิบายคำหรือข้อกำหนดของแต่ละหัวข้อ
แนะนำและให้ตัวอย่างของวิธีการตอบข้อกำหนดของหัวข้อ ชี้ให้เห็นการปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกันที่สำคัญกับหัวข้ออื่น ๆ
27
Criteria for Performance Excellence Framework : OBECQA
28
รูปแบบของหัวข้อ
29
คำถาม โครงร่างองค์กร : ถามเพื่อให้โรงเรียนระบุสภาพแวดล้อม ของโรงเรียน
หัวข้อที่เป็นกระบวนการ : ถามเพื่อให้โรงเรียนระบุ กระบวนการต่างๆ ของโรงเรียน หัวข้อที่เป็นผลลัพธ์ : ถามเพื่อให้โรงเรียนรายงาน ผลลัพธ์ของกระบวนการต่างๆ
30
3.มุมมองของการประเมินผลลัพธ์
มุมมองภายใน มุมมองภายนอก มุมมองอนาคต การปฏิบัติการ ของโรงเรียนมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างไร นักเรียนและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มองโรงเรียนอย่างไร โรงเรียนมี การเรียนรู้และเติบโตหรือไม่
31
แนวทางการตอบเกณฑ์ เรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ทบทวนแนวทางการให้คะแนน
1 เรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ 2 ทำความเข้าใจวิธีการอ่านและตอบข้อกำหนดของหัวข้อต่างๆของเกณฑ์ 3 ทบทวนแนวทางการให้คะแนน 4 ทำความเข้าใจความหมายของคำสำคัญ 5 จัดทำโครงร่างองค์กร
32
แนวทางการตอบหัวข้อ ในหมวดกระบวนการ
แนวทางการตอบหัวข้อ ในหมวดกระบวนการ อย่างไร การตอบคำถาม ตอบโดยการนำเสนอสารสนเทศของกระบวนการ ที่สำคัญ 1.แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นระบบ (Approach) เป็นขั้นตอน สามารถทำ/ใช้ซ้ำได้ มีการประเมิน มีการปรับปรุง มีการสร้างนวัตกรรม
33
2.แสดงการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment)
มีการนำแนวทางไปปฏิบัติในส่วนต่างๆ ของโรงเรียน 3.แสดงหลักฐานการเรียนรู้ (Learning) แสดงหลักฐานของการประเมิน แสดงหลักฐานการปรับปรุงกระบวนการ แสดงหลักฐานการสร้างนวัตกรรม แสดงหลักฐานการเรียนรู้ระดับองค์กร 4.แสดงการบูรณาการ (Deployment) แสดงความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันและ ความกลมกลืนระหว่างกระบวนการ แผนงาน ตัวชี้วัด และผลลัพธ์
34
1. ให้แสดงสารสนเทศพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการ
อะไร การตอบคำถาม 1. ให้แสดงสารสนเทศพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการ ที่สำคัญ และขั้นตอนการดำเนินงาน ว่าคืออะไร 2. ให้รายงานผลของแผน วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์ หรือตัววัดที่สำคัญ ว่าคืออะไร
35
แนวทางการตอบหัวข้อในหมวดผลลัพธ์
1. มุ่งเน้นผลลัพธ์การดำเนินงานของโรงเรียน ที่สำคัญที่สุด 2. รายงานผลการดำเนินงาน แนวโน้ม การเปรียบเทียบ และแสดงการบูรณาการ
36
การตอบเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิงหัวข้ออื่นตามความเหมาะสม ใช้รูปแบบที่กระชับ เช่น แผนภูมิ ตาราง หัวข้อสั้น ๆ ใช้กราฟและตาราง
37
ระบบการให้คะแนน การประเมิน 2 มิติ กระบวนการ (หมวด 1-6) ผลลัพธ์ (หมวด 7)
38
มี 4 ปัจจัยที่ใช้ในการประเมิน
มิติกระบวนการ มี 4 ปัจจัยที่ใช้ในการประเมิน A = Approach (แนวทาง) D = Deployment (การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ) L = Learning (การเรียนรู้) I = Integration (การบูรณาการ)
39
A : Approach (แนวทาง) วิธีการที่ใช้เพื่อให้บรรลุผลตามกระบวนการ ความเหมาะสมของวิธีการที่ใช้ ความมีประสิทธิผลของการใช้วิธีการต่างๆ วิธีการนั้นสามารถนำไปใช้ซ้ำได้ มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
40
(การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ)
D : Deployment (การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ) การนำแนวทางไปปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา การนำแนวทางไปปฏิบัติในทุกหน่วยงาน ทั่วทั้งโรงเรียน
41
L : Learning (การเรียนรู้) การปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้น โดยใช้วงจร การประเมิน และการปรับปรุง การสร้างนวัตกรรม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด การแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการปรับปรุงและการสร้างนวัตกรรม
42
I : Integration (การบูรณาการ)
แนวทางที่ใช้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับ ความต้องการของโรงเรียนที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กร การใช้ตัววัด สารสนเทศ และระบบการปรับปรุง ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่างกระบวนการ และระหว่างหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร แผนงาน กระบวนการ การปฏิบัติการ การเรียนรู้ และผลลัพธ์ มีความสอดคล้องกลมกลืนกันในทุกกระบวนการและหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ระดับโรงเรียน
43
มี 4 ปัจจัยที่ใช้ในการประเมิน
มิติผลลัพธ์ มี 4 ปัจจัยที่ใช้ในการประเมิน Le = Level (ระดับ) T = Trend (แนวโน้ม) C = Comparison (การเปรียบเทียบ) I = Integration (การบูรณาการ)
44
Le : Level (ระดับ) ผลการดำเนินการในปัจจุบัน
45
T : Trend (แนวโน้ม) อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ของโรงเรียน การรักษาไว้ของผลการดำเนินการที่ดี (ความคงเส้นคงวา) ควรระบุข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี (จากปีที่เขียนรายงาน)
46
C : Comparison (การเปรียบเทียบ) ผลการดำเนินงานของโรงเรียนเปรียบเทียบกับโรงเรียนคู่แข่งขัน(คู่เปรียบเทียบ) ผลการดำเนินงานของโรงเรียนเปรียบเทียบกับระดับเทียบเคียงที่สำคัญ
47
I : Integration (การบูรณาการ) ผลลัพธ์มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจและเป้าประสงค์ของโรงเรียน
48
แผนที่แสดงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ กลยุทธ์ แนวทาง การพัฒนา โครงการ/กิจกรรม
49
แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ หมวด 1-6
50
แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ หมวด 1-6
51
แนวทางการให้คะแนนผลลัพธ์ หมวด 7
52
แนวทางการให้คะแนนผลลัพธ์ หมวด 7
53
แห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA)
เกณฑ์รางวัลคุณภาพ แห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) บทนำ : โครงร่างองค์กร โครงร่างองค์กรมี 2 ส่วน ดังนี้ 1. ลักษณะองค์กร 2. สภาวการณ์ขององค์กร
54
1. ลักษณะองค์กร : คุณลักษณะที่สำคัญของโรงเรียน คืออะไร
ก. สภาพแวดล้อมขององค์กร (1) หลักสูตร โรงเรียนมีหลักสูตรหรือโปรแกรมการจัดการเรียน การสอนที่สำคัญอะไรบ้าง ความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของแต่ละหลักสูตรหรือโปรแกรมการเรียนการสอน ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียน คืออะไร กลไกที่โรงเรียนใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามหลักสูตร คืออะไร
55
(2) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ
ค่านิยม ที่โรงเรียนได้ประกาศไว้คืออะไร สมรรถนะหลัก ของโรงเรียนคืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ พันธกิจของโรงเรียน
56
(3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร ลักษณะโดยรวมของบุคลากรคืออะไร
มีการจำแนกบุคลากรออกเป็นกลุ่มและประเภทอะไรบ้าง และกลุ่มเหล่านี้มีข้อกำหนด ด้านการศึกษาระดับใด ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้บุคลากรมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนคืออะไร มีกลุ่มอะไรบ้างที่จัดตั้งให้ทำหน้าที่เจรจา สิทธิประโยชน์กับโรงเรียน สิทธิประโยชน์และข้อกำหนดพิเศษด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่สำคัญของบุคลากร มีอะไรบ้าง
57
(4) สินทรัพย์ โรงเรียนมีอาคารสถานที่ เทคโนโลยี ครุภัณฑ์
และอุปกรณ์ที่สำคัญต่อการบริหารจัดการหลักสูตร อะไรบ้าง (5) กฎระเบียบข้อบังคับ โรงเรียนดำเนินงานภายใต้ สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบข้อบังคับที่สำคัญอะไรบ้าง ในด้านต่อไปนี้ กฎระเบียบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อกำหนดด้านมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียน การสอน และการบริการเสริมพิเศษ กฎระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางการศึกษา กฎระเบียบข้อบังคับด้านการเงินและสิ่งแวดล้อม
58
ข. ความสัมพันธ์ระดับองค์กร
(1) โครงสร้างองค์กร โครงสร้างองค์กรและระบบการกำกับดูแลองค์กรของโรงเรียนมีลักษณะอย่างไร ระบบการรายงานระหว่างคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร ผู้นำระดับสูง หน่วยงานต้นสังกัด มีลักษณะเช่นใด (2) นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนตลาดหรือเขตพื้นที่ บริการ กลุ่มนักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญจำแนกตามหลักสูตรของโรงเรียนมีอะไรบ้าง ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของกลุ่มนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรและการบริการต่างๆ มีอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร
59
(3) ผู้ส่งมอบและพันธมิตร ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ ความร่วมมือที่สำคัญมีประเภทใดบ้าง และมีบทบาทอะไรในระบบงานของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน การจบหลักสูตรของนักเรียน และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียน โรงเรียนมีกลไกที่สำคัญอะไรในการสื่อสารแบบสองทิศทางกับผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือ ผู้ส่งมอบ พันธมิตร และผู้ให้ความร่วมมือมีส่วนร่วมอะไรในการสร้างนวัตกรรมให้แก่โรงเรียน ข้อกำหนดสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของโรงเรียน คืออะไร (พิจารณาจากระบบการบริหารจัดการหลักสูตร)
60
2. สภาวการณ์ขององค์กร : สภาวการณ์เชิงกลยุทธ์ ของโรงเรียน คืออะไร
ก. สภาพแวดล้อมของการแข่งขัน (1) ลำดับในการแข่งขัน โรงเรียนอยู่ในลำดับที่เท่าใด ในการแข่งขัน ให้อธิบายขนาดและการเติบโตของโรงเรียน เมื่อเปรียบเทียบ กับโรงเรียนที่มีหลักสูตรลักษณะเดียวกัน หรือตลาดเดียวกัน โรงเรียนที่เป็นคู่แข่งมีจำนวนเท่าไร และประเภทอะไรบ้าง
61
(2) การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการแข่งขัน ระบุการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ (ถ้ามี) ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์ในการแข่งขันของโรงเรียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่สร้างโอกาสสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือ (3) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ระบุแหล่งที่มาสำคัญสำหรับข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ และเชิงแข่งขันทางการศึกษา มีอะไรบ้าง มีข้อจำกัดอะไรบ้างในการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ หรือมีข้อจำกัดอะไรในการใช้ข้อมูลเหล่านี้
62
ข. บริบทเชิงกลยุทธ์ ระบุความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ด้านการจัดการหลักสูตร ด้านการปฏิบัติการ ด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคม และด้านทรัพยากรบุคคลของโรงเรียน ค. ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินงาน ระบุองค์ประกอบสำคัญของระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ รวมถึงกระบวนการของโรงเรียนสำหรับการประเมินผลและปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญของโรงเรียน
63
หมวด 1 การนำองค์กร(Leadership)
110 คะแนน
64
1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง(Senior
Leadership) : ผู้นำระดับสูงนำองค์กรอย่างไร (60 คะแนน) ก. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม (1) วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ผู้นำระดับสูง ดำเนินการอย่างไรในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม
65
(2) การส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย และการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม การปฏิบัติตนของผู้นำระดับสูงแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมอย่างไร (3) การสร้างโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต
66
ข. การสื่อสารและผลการดำเนินการของโรงเรียน
(1) การสื่อสาร ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากร (2) การทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้นำระดับสูงดำเนินการอย่างไรให้เกิดการปฏิบัติการอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กร
67
1.2 การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบ
ต่อสังคม : โรงเรียนดำเนินการอย่างไร ในการกำกับดูแล และทำให้บรรลุผล ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (50 คะแนน) ก. การกำกับดูแลโรงเรียน (1) ระบบการกำกับดูแลโรงเรียน โรงเรียนดำเนินการ อย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการกำกับดูแลที่มีความรับผิดชอบ (2) การประเมินผลการดำเนินการ โรงเรียน ประเมินผลการดำเนินการของผู้นำระดับสูงอย่างไร
68
ข. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม
(1) การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ โรงเรียนได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงความกังวลของสาธารณะ ที่มีต่อหลักสูตรการจัดการศึกษา และการปฏิบัติการอย่างไร (2) การประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม โรงเรียน มีการดำเนินการอย่างไรในการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจว่าปฏิสัมพันธ์ทุกด้านขององค์กรเป็นไปอย่างมีจริยธรรม
69
ค. ความรับผิดชอบต่อสังคม
(1) ความผาสุกของสังคม โรงเรียนคำนึงถึงความผาสุกและผลประโยชน์ของสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์และ การปฏิบัติการประจำวันอย่างไร (2) การสนับสนุนชุมชน โรงเรียนดำเนินการสนับสนุนและการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญของโรงเรียนอย่างไร
70
หมวด 2 กลยุทธ์ (Strategy) 95 คะแนน
71
2.1 การจัดทำกลยุทธ์ : โรงเรียนมีวิธีการ
ในการจัดทำกลยุทธ์อย่างไร (45 คะแนน) ก. กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ (1) กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ โรงเรียนมีวิธีการ อย่างไรในการวางแผนกลยุทธ์
72
(2) นวัตกรรม กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ของโรงเรียนกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมอย่างไร
(3) นวัตกรรมการวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาสารสนเทศในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (4) ระบบงานและสมรรถนะหลักของโรงเรียน ระบบงาน ที่สำคัญของโรงเรียนคืออะไร
73
ข. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
(1) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของโรงเรียนมีอะไรบ้าง ให้ระบุตารางเวลา ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น (2) การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนสามารถสร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่าง ความต้องการที่หลากหลายและแข่งขันกันเองในโรงเรียนได้ อย่างไร
74
2.2 การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ : โรงเรียนนำกลยุทธ์
ไปปฏิบัติอย่างไร (50 คะแนน) ก. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (1) การจัดทำแผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติการ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวของโรงเรียนมีอะไรบ้าง (2) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติ
75
(3) การจัดสรรทรัพยากร โรงเรียนทำอย่างไรให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จและบรรลุพันธะผูกพันในปัจจุบัน (4) แผนด้านบุคลากร แผนด้านบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการทั้ง ระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง
76
(5) ตัววัดผลการดำเนินการ ตัววัดหรือตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่สำคัญที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง (6) การคาดการณ์ผลการดำเนินการ การคาดการณ์ ผลการดำเนินการตามกรอบเวลาของการวางแผน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวของโรงเรียนตามตัววัดหรือตัวชี้วัดที่ระบุไว้ มีอะไรบ้าง
77
ข. การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ
โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการปรับเปลี่ยนและ นำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติในกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ต้อง ปรับแผนและนำไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว
78
หมวด 3 นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Student and Stakeholders)
หมวด 3 นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Student and Stakeholders) 95 คะแนน
79
3.1 เสียงของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ จากนักเรียนและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (45 คะแนน) ก. การรับฟังนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (1) นักเรียนปัจจุบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการรับฟัง มีปฏิสัมพันธ์และสังเกตนักเรียน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างไร (2) นักเรียนในอนาคตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการรับฟังเสียงจากนักเรียนในอนาคต และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ต่อได้
80
ข. การประเมินความพึงพอใจและความผูกพันของนักเรียน
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (1) ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพัน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ และความผูกพันของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) ความพึงพอใจเปรียบเทียบกับคู่แข่ง โรงเรียน มีวิธีการอย่างไรในการเสาะหาสารสนเทศด้านความพึงพอใจ ของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อโรงเรียนเปรียบเทียบ กับโรงเรียนอื่น
81
3.2 ความผูกพันของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันกับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยตอบสนองความต้องการและ สร้างสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (50 คะแนน) หลักสูตรและการสนับสนุนนักเรียนและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (1) หลักสูตร โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการกำหนด หลักสูตร
82
(2) การสนับสนุนนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการสนับสนุนให้นักเรียนสามารถสืบค้นสารสนเทศและรับการสนับสนุน (3) การจำแนกนักเรียน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการจำแนกนักเรียน
83
ข. การสร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย (1) การจัดการความสัมพันธ์ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการสร้างและจัดการความสัมพันธ์กับนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) การจัดการกับข้อร้องเรียน โรงเรียนมีวิธีจัดการกับข้อร้องเรียนของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร
84
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์
หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 100 คะแนน
85
ก. การวัดผลการดำเนินการ
4.1 การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนิน การของโรงเรียน : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการวัด วิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของโรงเรียน (55 คะแนน) ก. การวัดผลการดำเนินการ (1) ตัววัดผลการดำเนินการ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อติดตามการปฏิบัติการประจำวันและ ผลการดำเนินการโดยรวมของโรงเรียน (2) ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร ในการเลือกและใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญ อย่างมีประสิทธิผล
86
(3) ข้อมูลนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูลและสารสนเทศ จากเสียงของนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตลาด (4) ความคล่องตัวของการวัดผล โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการเลือกและใช้ข้อมูลและสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบที่สำคัญอย่างมีประสิทธิผลเพื่อให้มั่นใจว่าระบบการวัดผลการดำเนินการของโรงเรียนสามารถตอบสนอง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือที่ไม่ได้คาดคิดทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร
87
ข. การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ
โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของโรงเรียน
88
ค. การปรับปรุงผลการดำเนินการ
(1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในโรงเรียน (2) ผลการดำเนินการในอนาคต โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต (3) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและนวัตกรรม โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการนำผลการทบทวนผลการดำเนินการ (ที่ระบุใน 4.1 ข) ไปใช้จัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องนำไปปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และนำไปเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรม
89
4.2 การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ :
โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการจัดการทรัพย์สินทางความรู้ ของโรงเรียน สารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ (45 คะแนน) ก. ความรู้ขององค์กร (1) การจัดการความรู้ : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการจัดการความรู้ของโรงเรียน (2) การเรียนรู้ระดับองค์กร : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร ในการใช้องค์ความรู้และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกลงไปในวิถีการปฏิบัติของโรงเรียน
90
ข. ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(1) คุณภาพของข้อมูลและสารสนเทศ : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทวนสอบและทำให้มั่นใจถึงคุณภาพของข้อมูล และสารสนเทศของโรงเรียน (2) ความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ : โรงเรียน มีวิธีการอย่างไรในการทำให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศ ที่อ่อนไหวหรือสำคัญมีความปลอดภัย
91
(3) ความพร้อมใช้งานของข้อมูลและสารสนเทศ : โรงเรียน มีวิธีการอย่างไรในการทำให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศของโรงเรียนมีความพร้อมใช้งาน (4) คุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทำให้มั่นใจว่าระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ มีความเชื่อถือได้ ปลอดภัย และใช้งานง่าย
92
(5) ความพร้อมใช้งานในภาวะฉุกเฉิน : ในกรณีฉุกเฉิน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทำให้มั่นใจว่าระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งข้อมูลและสารสนเทศ มีความปลอดภัยและความพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองนักเรียนและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
94
5.1 สภาพแวดล้อมของบุคลากร : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร
ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บุคลากรทำงาน อย่างมีประสิทธิผล (45 คะแนน) ก. ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร (1) ขีดความสามารถและอัตรากำลัง โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร ในการประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถ และอัตรากำลังบุคลากร (2) บุคลากรใหม่ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร ในการ สรรหา ว่าจ้าง บรรจุ และรักษาบุคลากรใหม่ไว้
95
(3) ความสำเร็จในงาน โรงเรียนมีวิธีอย่างไรในการจัดรูปแบบการทำงาน และบริหารบุคลากร
(4) การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการเตรียมบุคลากร ให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรโรงเรียนดำเนินการ
96
ข. บรรยากาศการทำงานของบุคลากร
(1) สภาพแวดล้อมของการทำงาน โรงเรียนดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการสร้างความมั่นใจด้านสุขภาพ สวัสดิภาพของบุคลากร และความสะดวกในการเข้าถึงสถานที่ทำงานของบุคลากร (2) นโยบาย และสิทธิประโยชน์ โรงเรียนสนับสนุนบุคลากรโดยจัดให้มีการบริการ สิทธิประโยชน์ และนโยบายอย่างไร
97
5.2 ความผูกพันของบุคลากร : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร
ในการสร้างความผูกพันบุคลากรเพื่อสร้างสภาพแวดล้อม การทำงานที่มีผลการดำเนินการที่ดี (55 คะแนน) ก. ความผูกพันและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (1) วัฒนธรรมองค์กร โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการสื่อสารที่เปิดกว้าง การทางานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดี และบุคลากรที่มีความผูกพัน
98
(2) ปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพัน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร (3) การประเมินความผูกพัน โรงเรียนประเมิน ความผูกพันของบุคลากรอย่างไร (4) การจัดการผลการปฏิบัติงาน ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสนับสนุนทำให้เกิดการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและความผูกพันของบุคลากรอย่างไร
99
ข. การพัฒนาบุคลากรและผู้นำ
(1) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนา ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาสนับสนุนความต้องการของโรงเรียน และการพัฒนาตนเองของบุคลากร ผู้บริหาร และผู้นำอย่างไร (2) ประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา โรงเรียนวิธีการประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพของระบบการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างไร (3) ความก้าวหน้าในวิชาชีพ โรงเรียนวิธีการอย่างไรในการจัดการความก้าวหน้าในวิชาชีพของโรงเรียน
100
หมวด 6 การปฏิบัติการ (Operations) 100คะแนน
101
6.1 กระบวนการทางาน : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบ จัดการ และปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการทางานที่สำคัญ (55 คะแนน) ก. การออกแบบหลักสูตรและกระบวนการ (1) ข้อกำหนดของหลักสูตรและกระบวนการ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของหลักสูตรและกระบวนการทำงาน (2) แนวคิดในการออกแบบ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร ในการออกแบบหลักสูตร และกระบวนการทำงานเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ
102
ข. การจัดการกระบวนการ (1) การนำกระบวนการไปปฏิบัติ โรงเรียนมั่นใจได้อย่างไรว่า การปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการเหล่านี้จะเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ (2) กระบวนการสนับสนุน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ (3) การปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการ โรงเรียนมีวิธีการอย่างไร ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อปรับปรุงหลักสูตรและผลการดำเนินการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ของสมรรถนะหลักขององค์กร และลดความแปรปรวนของกระบวนการ
103
ค. การจัดการนวัตกรรม โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการจัดการนวัตกรรม
104
6.2 ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ : โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทำให้มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิผล (45 คะแนน) ก. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ โรงเรียน มีวิธีการอย่างไรในการควบคุมต้นทุนโดยรวมของการปฏิบัติการ ข. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
105
ค. การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยและภาวะฉุกเฉิน (1) ความปลอดภัย โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรในการทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการที่ปลอดภัย (2) การเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน โรงเรียนมีวิธีการอย่างไรเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่า โรงเรียนมีการเตรียม ความพร้อมต่อภัยพิบัติ หรือภาวะฉุกเฉิน
106
หมวด 7 ผลลัพธ์ (Results) 400คะแนน
107
7.1 ผลลัพธ์ด้านหลักสูตรและกระบวนการ : ผลลัพธ์การดำเนินการด้านหลักสูตร และประสิทธิผลของกระบวนการเป็นอย่างไร (120 คะแนน) ก. ผลลัพธ์ด้านหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นนักเรียน ผลลัพธ์ด้านหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการที่ให้บริการทางการศึกษาแก่นักเรียนเป็นอย่างไร
108
ข. ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของกระบวนการทำงาน
(1) ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการ ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการเป็นอย่างไร (2) การเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน ผลลัพธ์ด้านการเตรียมพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินเป็นอย่างไร ค. ผลลัพธ์ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ผลลัพธ์ด้าน การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นอย่างไร
109
7.2 ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : ผลลัพธ์การดำเนินการด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นอย่างไร (75 คะแนน) ก. ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจของนักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นอย่างไร (2) ความผูกพันของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลลัพธ์ ด้านความผูกพันของนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นอย่างไร
110
7.3 ผลลัพธ์ด้านบุคลากร : ผลลัพธ์การดำเนินการด้านบุคลากรเป็นอย่างไร (75 คะแนน)
ก. ผลลัพธ์ด้านบุคลากร (1) ขีดความสามารถและอัตรากาลังบุคลากร ผลลัพธ์ด้าน ขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลกรเป็นอย่างไร (2) บรรยากาศการทางาน ผลลัพธ์ด้านบรรยากาศการทำงาน เป็นอย่างไร
111
(3) การทำให้บุคลากรมีความผูกพัน ผลลัพธ์ด้าน การทำให้บุคลากรมีความผูกพัน เป็นอย่างไร
(4) การพัฒนาบุคลากร ผลลัพธ์ด้านการพัฒนาบุคลากร เป็นอย่างไร
112
7.4 ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร : ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กรเป็นอย่างไร (65 คะแนน) ก. ผลลัพธ์ด้านการนำองค์กร การกำกับดูแลองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม การนำองค์กร ผลลัพธ์ด้านการสื่อสารของผู้นำระดับ สูงกับบุคลากร และนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นอย่างไร
113
(2) การกำกับดูแลองค์กร ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบ
ในการกำกับดูแลองค์กรเป็นอย่างไร (3) กฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับ ผลลัพธ์ด้านกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับเป็นอย่างไร (4) จริยธรรม ผลลัพธ์ด้านการประพฤติปฏิบัติอย่างมี จริยธรรมเป็นอย่างไร (5) สังคม ผลลัพธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ การสนับสนุนชุมชนที่สำคัญเป็นอย่างไร
114
ข. ผลลัพธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ผลลัพธ์ด้านการบรรลุกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเป็นอย่างไร
115
7.5 ผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด : ผลลัพธ์การดำเนินการ ด้านการเงินและตลาดมีอะไรบ้าง (65 คะแนน)
ก. ผลลัพธ์ด้านการเงินและตลาด (1) ผลการดำเนินการด้านการเงิน ผลลัพธ์ด้านการเงิน เป็นอย่างไร (2) ผลลัพธ์การดำเนินการด้านตลาด ผลลัพธ์ด้านการตลาด
116
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.